PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559

‘ทำไมระบอบเผด็จการจึงประสบความสำเร็จในสังคมไทย’ งานวิจัยชิ้นใหม่ของ ประจักษ์ ก้องกีรติ

‘ทำไมระบอบเผด็จการจึงประสบความสำเร็จในสังคมไทย’
งานวิจัยชิ้นใหม่ของ ประจักษ์ ก้องกีรติ
วันนี้คือวันครบรอบ 40 ปีเหตุการณ์ 6 ตุลา ซึ่งถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่สังคมไทยควรเรียนรู้และจดจำ เพราะนอกจากจะเป็นวันมหาวิปโยคที่ ‘ไทยฆ่าไทย’ แล้ว ยังเป็นวันที่มีการรัฐประหารอย่างป่าเถื่อนและโหดเหี้ยมที่สุด เพื่อนำการเมืองไทยกลับสู่การปกครองโดยคณะทหารอีกครั้ง
แม้ว่าจะบอกว่าเราเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมา 80 กว่าปี แต่แท้จริงแล้ว สังคมไทยไม่ได้แต่งงานกับประชาธิปไตย แล้วใช้ชีวิตคู่อย่างราบรื่นมาโดยตลอด มันมีการหย่าร้างกันหลายช่วง ตั้งแต่พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา เกิดการรัฐประหารที่สำเร็จไปแล้วถึง 13 ครั้ง
หากมองว่าประชาธิปไตยคือปลายทางสำคัญ คำถามที่ถามกันมาตลอดก็คือว่า ‘ทำไมประชาธิปไตยในไทยจึงล้มเหลว?’ ซึ่งนักวิชาการหลายคนสรุปแทบไม่ต่างกัน เช่น วัฒนธรรมไทยไม่เอื้อ สังคมไทยเป็นสังคมอุปถัมภ์ ไม่ได้เชื่อเรื่องความเท่าเทียมกัน (บางคนใช้คำว่าเนื้อดินมันไม่เอื้อ วัฒนธรรมเราเป็นแบบหนึ่ง ประชาธิปไตยเป็นของนอก เอามาปลูกเลยไม่โต) หรือบางคนมักจะบอกว่าช่องว่างทางเศรษฐกิจยอะเกินไป ยากที่ประชาธิปไตยจะเติบโตในสังคมที่มีช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยสูง
ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกกับ The Momentum ว่า คำตอบเหล่านี้เริ่มวนและไปไหนต่อไม่ได้ เลยอยากหาโจทย์วิจัยใหม่ๆ โดยมองไปที่อีกด้านของเหรียญ
แทนที่จะมองว่าทำไม 84 ปีมานี้ประชาธิปไตยล้มเหลว เขากลับพลิกมุมมองว่า
ทำไมระบอบเผด็จการถึงประสบความสำเร็จในสังคมไทย
เขาใช้เวลานานกว่า 6 เดือน เก็บตัวอย่างศึกษาระบอบเผด็จการอย่างจริงจังที่ประเทศสิงคโปร์ จนสุดท้ายกลายมาเป็นผลงานวิจัยที่ใช้ชื่อว่า A Tales of Three Authoritarianism หรือ เรื่องเล่าจากระบอบเผด็จการ 3 ยุค โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบทั้ง 3 ยุค คือ ยุคสฤษดิ์-ถนอม ยุคสุจินดา และยุคปัจจุบัน
และนี่คือเครื่องมือที่ระบอบเผด็จการไทยใช้จนประสบความสำเร็จครั้งแล้วครั้งเล่า

ไม่มีความคิดเห็น: