PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ผบ.สส.ยกหนังสือฝรั่ง พยากรณ์สงครามไซเบอร์ ยัน พ.ร.บ.คอมพ์ ปกป้องคนดี จากคนชั่ว

“บิ๊กปุย” การันตี พรบ.คอมพ์ ปกป้องคนบริสุทธิ์ ยกหนังสือฝรั่งพยากรณ์โลกยุคสงครามไซเบอร์
เมื่อวันที่ 28 ธันยาคม ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กล่าวถึงการป้องกันการแฮกข้อมูลทางไซเบอร์ ว่า ต้องเข้าใจว่าเรื่องไซเบอร์ ทางกองทัพดำเนินการมาหลายปี เพราะว่ากองทัพทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก จากสมัยก่อนเรารบด้วยปืนใหญ่ และรถถัง แต่ปัจจุบันไซเบอร์ถือเป็นการรบรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการรบระหว่างกองทัพที่เราพัฒนาควบคู่มาเรื่อยๆ แต่ที่เป็นปัญหาในสังคมไทยนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง โดยผู้เกี่ยวข้องชี้แจงทำความเข้าใจกับแล้วว่าพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2559 ที่กำบังบังคับใช้ ออกมาเพื่ออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
พล.อ.สุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ในมุมมองตนจะขออ้างงานเขียนของโทมัส ฟรีดแมน เรื่อง Thank you for being late หรือชื่อภาษาไทยว่า ขอบคุณที่มาช้าไปหน่อย ซึ่งแต่ก่อนเปลี่ยนเทคโนโลยีแต่ละครั้งใช้เวลา7-15 ปี ซึ่งก็ต้องพัฒนากฎกติกาป้องกันและควบคุมรองรับไว้ ส่วนคอมพิวเตอร์นั้นพัฒนาไปรวดเร็วมาก ดังนั้นกฎกติกาก็ต้องพัฒนาตามไปให้ทันด้วย โดยกฎกติกาเหล่านี้มีเจตนาเพื่อปกป้องคนดี คนบริสุทธิ์ จากพวกอาชญากรรมที่พยายามแสวงหาประโยชน์ในเทคโนโลยีใหม่ๆ เพราะฉะนั้นต้องหามาตรการมาคุ้มครองคนดีไม่ให้เดือดร้อน จึงต้องออกกฎหมายฉบับนี้มา ซึ่งทั่วโลกก็ทำกัน ถ้าไม่ทำผู้ไม่หวังดีจะขยายผล สุดท้ายกลไกในการลงโทษในสังคมก็จะตามไม่ทันในที่สุด
“กฎระเบียบต่างๆเหล่านี้ ก็มีการชี้แจงแล้วว่าสามารถแก้ไข หรือเพิ่มเติมได้ ถ้าเรารู้เจตนากฎหมายนี้จะทำให้ทุกคนมีความเข้าใจว่าออกมาเพื่อปกป้องคนบริสุทธิ์จากพวกอาชญากรทางเทคโนโลยี” พล.อ.สุรพงษ์ กล่าว

เมื่อถามว่าในส่วนกองทัพมีนักรบไซเบอร์ หรือไม่ ผบ.สส. กล่าวว่า ทุกกองทัพทั่วโลกมีนักรบไซเบอร์ทั้งนั้น อย่างเช่นในกองทัพสหรัฐอเมริกา ตั้งหน่วยบัญชาการไซเบอน์ขึ้นมา โดยมีนายทหารระดับพล.อ.เป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งตนคิดว่าเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่มีนักรบไซเบอร์เป็นหมื่นๆคน แต่ของเราเพิ่งเริ่มต้น เทคโนโลยีก็พัฒนาไม่มากนัก ดังนั้นงานพวกนี้ของเราก็ไม่เยอะ จึงจำเป็นต้องพัฒนาควบคู่กันไป อย่างไรก็ตามตนอยากให้แยกแยะมิติด้านความมั่นคงกับปัญหาในโซเชียลมิเดียนั้นแตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น: