PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

อยากลองก็ออกมา!!! "พล.อ.ประยุทธ์" ส่งสัญญาณถึง "พระเมธีธรรมาจารย์" มาแล้ว

วันที่ 28 ธ.ค.2559 พระเมธีธรรมาจารย์ หรือเจ้าคุณประสาร จนฺทสาโร เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค "พระเมธีธรรมาจารย์-เจ้าคุณประสาร" ระบุว่า
84 สนช.เข้าชื่อเสนอแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์
จากการที่ น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกวิป สนช. ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า บัดนี้ สนช.ได้เข้าชื่อกันแล้วจำนวน 84 ท่าน เพื่อเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 ในมาตราที่ 7 ว่าด้วยการเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช นั้น โดยในเรื่องนี้จะมีการประชุมกันในวันที่ 29 ธันวาคม
ในรายละเอียด โฆษกวิป สนช.อธิบายพอสรุปความได้ ดังนี้
1. ให้เป็นเรื่องของพระราชอำนาจ
2. เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชที่ผ่านมา
3. ตัดอำนาจของมหาเถรสมาคมออกไป
ในเรื่องดังกล่าว อาตมามีความเห็นแย้ง ดังนี้
1. พ.ร.บ. คณะสงฆ์ในปัจจุบัน ในมาตรา 7 เขียนไว้ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง" ขอถาม ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สนช. โฆษกวิป สนช. และสมาชิก สนช.ที่ลงชื่อทั้ง 84 ท่าน ว่า ความหมายตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ในปัจจุบันนี้ อำนาจการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชในปัจจุบันเป็นของพระองค์ท่านหรือไม่ เป็นหรือไม่เป็น ตามความหมายและเจตนารมณ์ในมาตรานี้ ท่านจะตอบว่าอย่างไร
2. เพื่อแก้ไขความขัดแย้งนั้น ถามท่านว่า ที่ผ่านมาใครขัดแย้งกับใคร ใครรูปไหนขัดแย้งกับใครในคณะสงฆ์หรือในฝ่ายบ้านเมือง ใครขัดแย้งกันในเรื่องนี้ บอกมาให้ชัดเจน ยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ อย่าพูดอะไรลอยๆ แล้วที่ทำแบบนี้มันจะลดความขัดแย้งได้จริงหรือไม่
ในข้อเท็จจริงความขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชนั้นไม่เคยมีปรากฎมาก่อน ไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์ของคณะสงฆ์ไทย เพราะพระราชอำนาจนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด ไม่มีใครก้าวล่วง แต่ขั้นตอนการเสนอตามกฎหมายนั้นให้เป็นของมหาเถรสมาคม (มส.) และรัฐบาล วันนี้ที่เห็นว่ามีความขัดแย้ง ก็เพราะมีกลุ่มคนบางกลุ่ม บางพวก และฝ่ายกุมอำนาจรัฐจับมือกันเข้ามาก้าวก่าย วุ่นวายในกิจการภายในของคณะสงฆ์จนทำให้เกิดมีความขัดแย้งกันขึ้น แล้วชี้มือให้สังคมเห็นว่า เป็นไงคณะสงฆ์มีความขัดแย้งกัน โดยเฉพาะปมการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ฉันจะเข้าไปแก้ปัญหาให้นะ ปัญหาทั้งปวงก็จะยุติ
จึงมีการเซ็ตเรื่อง เซ็ตคน เซ็ตปัญหาทั้งหลายทั้งปวงให้เกิดขึ้นแล้วก็โยนบาปมาให้คณะสงฆ์ตัวเองก็จะเป็นอัศวินม้าขาวเข้ามาแก้ปัญหา
ส่วนในเรื่องที่ว่า เพื่อลดความขัดแย้งที่ผ่านมานั้นท่านประธานคณะกรรมาธิการฯ โฆษกฯ และสมาชิก สนช.ที่ร่วมลงชื่อทั้งหลาย ท่านจะเชื่ออย่างนั้นจริงๆหรือ วันนี้ท่านทั้งหลายที่กล่าวมา ท่านจะซื่อหรือแกล้งซื่อกันแน่ เพราะวิธีที่ท่านกำลังคิดและร่วมกันทำอยู่ในขณะนี้มีแต่จะนำพาความขัดแย้งวุ่นวายสับสนมาสู่คณะสงฆ์และสังคมไทย
3. เพื่อตัดอำนาจมหาเถรสมาคมออกไป เรื่องนี้ไม่มีปัญหาใดๆ เพราะ มส. ท่านก็ไม่ได้หวงอำนาจใดๆ ของท่านอยู่แล้ว ถ้าหากว่าสิ่งเหล่านั้นจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ยุติธรรม เรียบร้อย ดีงาม ถูกต้องและชอบธรรม ในเรื่องนี้จึงขอให้ถามใจของท่านเองก็แล้วกัน ถามใจตัวเองให้ดีว่าที่ท่านทำอยู่นี้ ทำเพื่ออะไร บริสุทธิ์ใจจริงหรือไม่ ซึ่งถ้าท่าน สนช.จะอ้างกันแบบนี้ ในปัจจุบันนี้ความขัดแย้งเรื่องการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีก็มีสูงมากขึ้นทุกวันๆ ซึ่งการแก้ไขปัญหาก็ไม่เห็นมีใครเสนอให้ใช้วิธีการตัดอำนาจขั้นตอนการเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรีออกจากอำนาจของสภาฯ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง อย่างที่นำมาอ้างกันเลย
ท่านประธานคณะกรรมาธิการฯ โฆษกฯ และท่านสมาชิก สนช.ทั้ง 84 ท่าน ถ้าท่านคิดว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แก้ปัญหาได้ตรงจุด ท่านกำลังคิดผิดอย่างมหันต์ คิดผิดจริงๆ อาตมาจึงขอเตือนท่านด้วยความปรารถนาดี แต่ถ้าท่านคิดว่า เรื่องนี้เป็นอำนาจอันชอบธรรมของท่าน ท่านจะเดินหน้าในเรื่องนี้แน่นอน ถ้าเช่นนั้น อาตมา องค์กรพุทธ และพระสงฆ์ทั่วประเทศก็จะเดินหน้าในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ไม่มีทางเลือกอื่น และขอฝากเรื่องนี้ไปถึงรัฐมนตรี ออมสิน ชีวะพฤกษ์และคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลทุกท่านด้วย
#เจ้าคุณประสาร
28 ธันวาคม 2559


ซึ่งก่อนหน้านี้ พระเมธีธรรมาจารย์ ก็ได้โพสต์เมื่อ 11 ก.ค. ว่า
ในนามศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย สมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนาและภาคีเครือข่าย ขอแสดงความปรารถนาดีมายังรัฐบาลว่า บัดนี้มติมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 นั้นนับว่าถูกต้องดีงามแล้ว ทั้งตามหลักกฎหมายบ้านเมือง ชอบด้วยจารีตประเพณีอันดีงามของคณะสงฆ์ที่เคยปฏิบัติมายาวนานหลายยุคหลายสมัย
ในเมื่อมติดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายและจารีตประเพณีแล้ว มีเหตุผลอะไรที่นายกรัฐมนตรีจะไม่ปฏิบัติตาม มีเหตุผลอะไรที่นายกรัฐมนตรีจะไม่เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะที่ถูกเสนอชื่อโดยชอบแล้ว
นายกรัฐมนตรี ควรปฏิบัติตามกฎหมาย จารีตและครรลองอันดีงาม ช่วยกันให้ความเคารพบูชาต่อคณะสงฆ์ทั้งประเทศและมหาเถรสมาคมด้วยเถิด
อย่าประวิงเวลา อย่าเอาการเมืองมาเล่นในคณะสงฆ์ อย่าเดินตามกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดีต่อคณะสงฆ์เลย
เดินหน้าตามกระบวนการที่ถูกต้องเถิด ความสงบสุขจะกลับมาสู่คณะสงฆ์ดังเดิม
พระเมธีธรรมาจารย์
#เจ้าคุณประสาร
11 กรกฎาคม 2559


กระทั่งช่วงค่ำของวันเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นกรณีที่มีผู้ร้องเรียนให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตีความกฎหมายในมาตรา 7 พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 ในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ โดยให้เริ่มต้นจากมหาเถรสมาคม (มส.) ว่าไม่ได้ว่าอะไร อำนาจใครก็อำนาจใคร ตนมีหน้าที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย แล้วตนทูลเกล้าฯ ในสิ่งที่มีปัญหาได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็จบ เมื่อถามว่าต้องรอคดีจบก่อนใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า คิดไม่ออกหรือว่าต้องรอกระบวนการเรียบร้อยก่อน
      
แล้วไม่กลัวว่าจะเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันหรืออย่างไร วันนี้มีกี่พวก อย่ามองบ้านเมืองในแง่ดีแง่เดียว มันมีพร้อมทุกเรื่อง

และจากกรณีที่พระเมธีธรรมาจารย์ ออกมาแถลงว่าได้ให้เวลากับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี1 สัปดาห์ ในการพิจารณาแต่งตั้งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์  เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ขึ้นขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบออกมาอย่างชัดเจนว่าจะยังไม่มีการแต่งตั้งและพูดถึงพระเมธีธรรมาจารย์ ว่าหากออกมาเคลื่อนไหวผิดกฏหมายก็จะถูกจับกุมอย่างแน่นอน
จนพระเมธีธรรมาจารย์ ออกมาแสดงท่าทีอีกครั้งโดยระบุว่า ยืนยันตามมติที่ได้หารือร่วมกันระหว่าง สมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา และภาคีเครือข่ายในข้อ 5 ที่ระบุว่า ขอดูท่าทีทั้งหมดของผู้เกี่ยวข้องภายใน 1 สัปดาห์ก่อน
พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จันทสาโร) เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยังคงยืนยันตามมติที่ได้หารือร่วมกันระหว่างศพศ สมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา และภาคีเครือข่ายในข้อ 5 ที่ระบุว่า ขอดูท่าทีทั้งหมดของผู้เกี่ยวข้องภายใน 1 สัปดาห์ก่อน หลังจากนั้นจะประชุมกำหนดท่าทีหรือทิศทางร่วมกันในการเคลื่อนไหว ซึ่งอาตมายืนยันว่าแนวทางในข้อ 5 ดังกล่าวไม่ใช่การยื่นคำขาดหรือข่มขู่ว่าต้องทูลเกล้าฯ ชื่อสมเด็จพระสังฆราชภายใน 7 วันแต่อย่างใด แต่เป็นการรอดูท่าทีของฝ่ายที่เกี่ยวข้องภายใน 1 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการประชุมเพื่อกำหนดท่าทีในการเคลื่อนไหว ส่วนที่นายกฯ ระบุว่าถ้าออกมาเคลื่อนไหวแล้วจะจับหมดไม่ว่าจะเป็นใครนั้น ชี้แจงว่า ไม่ว่าที่ผ่านมาหรือนับจากนี้ต่อไป การเคลื่อนไหวใดๆ จะคำนึงถึงกฎหมายบ้านเมือง ธรรมวินัยและสมณสารูป




ขณะเดียวกันเมื่อย้อนกลับมาพิจารณาบทบาทของ  พระเมธีธรรมาจารย์  หรือ  เจ้าคุณประสาร ก็มีนัยที่ต้องพิจารณาเช่นเดียวกันว่ายังคงสถานะเป็นสงฆ์ผู้ประพฤติชอบในธรรมวินัย  ในระดับควรเคารพนับถือหรือไม่  อย่างไร    ถ้าพิจารณาจากพฤติกรรมในอดีตที่ผ่านมา เริ่มจากตัวตนของพระเมธีธรรมาจารย์     ถูกสืบค้นว่ามีนามเดิม   คือ     ประสาร  หนองพร้าว    เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม   พ.ศ. 2517 บ้านโคกก่อง  ตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด แต่เพิ่งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก มีราชทินนามตามสัญญาบัตรประกอบพัดยศสมณศักดิ์ว่า  "พระเมธีธรรมาจารย์"    เมื่อปี 2554 ขณะที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  พระเมธีธรรมาจารย์ถูกมองเป็นสงฆ์สายฮาร์ดคอร์   จากบทบาทการเป็นแกนนำปลุกองค์กรสงฆ์ทั่วประเทศ  ออกมาแสดงพลังในด้านต่างๆ    จนมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงพฤติการณ์ไม่ต่างอะไรกับการเป็นพระสายการเมือง  เพราะมีบทบาทการเคลื่อนไหวในยุครัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร  และรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  โดยเฉพาะเคยนำพระสงฆ์ในสหรัฐเข้าพบปะพูดคุย   ถ่ายรูปร่วมกับนายทักษิณ ที่โรงแรมแฟร์มอนต์   เมื่อวันที่  9 มิ.ย. 2556   ไม่นับรวมการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับคนเสื้อแดง นปช.  และพรรคเพื่อไทยในหลายวาระโอกาส และหลังจากเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร  22 พ.ค. 2557    พระเมธีธรรมาจารย์     ยังกลายเป็นไม้เบื่อไม้เมากับทั้ง นายไพบูลย์  นิติตะวัน อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ  (สปช.)  และ หลวงปู่พุทธะอิสระ    จากประเด็นว่าด้วยแนวทางการปฏิรูปพระพุทธศาสนา  ซึ่ง  พระเมธีธรรมาจารย์ ต้องการให้บรรจุพุทธศาสนาเป็น ศาสนาประจำชาติในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ   และบานปลายมาถึงความขัดแย้งเรื่องการพิจารณาแต่งตั้งพระสังฆราชองค์ใหม่   ผ่านการเคลื่อนไหวกดดันเป็นระยะ ๆ  ในนามของ   “ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย”กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ พระเมธีธรรมาจารย์ ก็ยังถือเป็นชนวนเริ่มต้นเหตุการณ์การขัดแย้งระหว่างทหารกับพระสงฆ์จำนวนหนึ่ง   หลังจากพระสงฆ์เหล่านั้นถูกพระเมธีธรรมาจารย์  ปลุกระดมออกมาชุมนุมพร้อมกันที่พุทธมณฑล  จ.นครปฐม   ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาล เร่งดำเนินการแต่งตั้งพระสังฆราชองค์ใหม่โดยเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น: