PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560

‘สุวิทย์’แจงกรอบ 4 คณะกก.ปฏิรูป-ปรองดอง ‘บิ๊กตู่’ ถก’โครงสร้าง-แบ่งงาน’สัปดาห์หน้า

เมื่อวันที่ 7 มกราคม นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวคิดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ในการตั้ง 4 คณะกรรมการ ด้านยุทธศาสตร์ ปฏิรูป ปรองดอง ว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีความมุ่งมั่นที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 4 คณะเพื่อสานงานด้านยุทธศาสตร์ ปฏิรูป ปรองดอง โดยต้องการให้ปี 2560 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของรัฐบาล เป็นปีแห่งการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม เกิดผลอย่างแท้จริง โดยนำงานด้านการปฏิรูปจากสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และรัฐบาล มาพิจารณาหาแนวงานสานต่อ 
วัตถุประสงค์คือ 
1.ให้ออกมาเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง การบริหารงานด้านยุทธศาสตร์ จะมีทั้งการซ่อม เสริม และสร้างใหม่เพื่อเตรียมการสู่อนาคต 
2.ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะต้องมีเรื่องของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงต้องมีคณะกรรมการขึ้นมาสานต่อ 
3.เมื่อจะเข้าสู่การเลือกตั้ง จึงเห็นควรดำเนินการสร้างบรรยาการของความปรองดอง
นายสุวิทย์ กล่าวว่า ทั้งหมดนี้เป็นที่มาของการตั้งสำนักงานบริหารยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและปรองดอง โดยการทำงานจะมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและปรองดอง ซึ่งเป็นคณะกรรมการชุดใหญ่ และ
แบ่งเป็น 4 ชุดย่อยได้แก่ 
1.คณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 
2.คณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ 
3.คณะกรรมการปรองดอง และ 
4.คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ 
โดยคณะกรรมการชุดที่ 1และ 2 จะเป็นไปตามกรอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขณะที่คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์นั้น เป็นไปเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐมนตรี สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ เช่น ไทยแลนด์ 4.0 เป็นต้น

“สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและปรองดอง มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบประเมินว่า แต่ละคณะทำงานเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อรายงานต่อนายกฯ โดยในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมเพื่อแบ่งงาน และมอบหมายงานให้ผู้ที่มีความเหมาะสม ตอนนี้ยังอยู่ในระหว่างการดูว่าองค์ประกอบใหญ่ – ย่อยนั้น ควรจะมีใครบ้าง จะสามารถเอาผู้ทรงคุณวุฒิและประชารัฐเข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างไร ซึ่งบางคณะมีความชัดเจนแล้ว เช่น คณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ จะมีทั้งสนช. สปท.และรัฐบาลเข้ามาร่วมกันทำงาน”นายสุวิทย์ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น: