PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562

หยุมหยิมเกินไป

หยุมหยิมเกินไป

การเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งใหม่ กำหนดกติกา พิสดารพันลึกแตกต่างจากการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา
การลดบัตรลงคะแนนเลือกตั้งจาก 2 ใบ เหลือใบเดียว จะทำให้ประชาชนเกิดความสับสนมึนเค
หรือการให้ผู้สมัครพรรคเดียวกัน ต้องใช้หมายเลขไม่เหมือนกันยังขัดแย้งกับสิ่งที่ชาวบ้านเคยชิน
จะส่งผลให้การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดบัตรเสียมากเป็นประวัติการณ์
กติกาเลือกตั้งพิลึกกึกกือยังทำให้ กกต.ต้องใช้งบจัดเลือกตั้ง ส.ส. สูงปรี๊ดถึง 5,000 ล้านบาท
แพงกว่างบจัดเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งล่าสุดเกือบเท่าตัว
“แม่ลูกจันทร์” ชี้ว่ากติกาการเลือกตั้งยุ่งยากซับซ้อนยังส่งผลให้พรรค การเมืองต้องวิ่งพล่านหาเงินลงขันระดม ทุนทำศึกเลือกตั้งกันเลือดตากระเด็น
ล่าสุด มีพรรคการเมืองในบัญชี กกต. 104 พรรค
แต่เชื่อว่ามีไม่เกิน 12 พรรค จาก 104 พรรคที่มีปัญญาส่งผู้สมัคร ส.ส.เขตได้ครบ 350 เขต และผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อได้เต็มโควตา 150 คน
เพราะเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้ กกต.เพิ่มค่าสมัครจากเดิม 5 พันบาท เป็น 1 หมื่นบาทต่อผู้สมัคร ส.ส. 1 คน
พรรคที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.เขตครบ 350 เขต และส่งผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อเต็มโควตา 150 คน จะต้องจ่ายค่าสมัคร 5 ล้านบาทขาดตัว
ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.ระบบเขต ซึ่ง กกต.กำหนดเพดานไว้ไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อผู้สมัคร 1 คน
เมื่อรวมงบหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 35 ล้านบาท
พรรคที่มีปัญญาส่งผู้สมัครเลือกตั้งเต็มพิกัด จะต้องระดมเงิน ลงขันพรรคละ 600 ล้านบาทขึ้นไป
ข้อสำคัญ 600 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายขั้นต่ำตามระเบียบ กกต.
แต่การใช้จ่ายจริงๆ (ทั้งบนดินใต้ดิน) จะสูงกว่านี้อีกเท่าตัว

//
พรรคที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.เขตครบ 350 เขต และส่งผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อเต็มโควตา 150 คน จะต้องจ่ายค่าสมัคร 5 ล้านบาทขาดตัว
ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.ระบบเขต ซึ่ง กกต.กำหนดเพดานไว้ไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อผู้สมัคร 1 คน
เมื่อรวมงบหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 35 ล้านบาท
พรรคที่มีปัญญาส่งผู้สมัครเลือกตั้งเต็มพิกัด จะต้องระดมเงิน ลงขันพรรคละ 600 ล้านบาทขึ้นไป
ข้อสำคัญ 600 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายขั้นต่ำตามระเบียบ กกต.
แต่การใช้จ่ายจริงๆ (ทั้งบนดินใต้ดิน) จะสูงกว่านี้อีกเท่าตัว

“แม่ลูกจันทร์” จึงเห็นด้วยที่ กกต.ออกระเบียบควบคุมการหาเสียงเลือกตั้งอย่างเข้มงวดทุกขั้นตอน
เพื่อปิดช่องไม่ให้พรรคการเมืองและผู้สมัครเลือกตั้งใช้เงินหาเสียงเกินเพดานวงเงินที่ กกต.กำหนด คือไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 คน
แต่ “แม่ลูกจันทร์” ก็เห็นด้วยกับเสียงบ่นจากพรรคการเมืองว่าระเบียบ การหาเสียงของ กกต.หลายเรื่องก็หยุมหยิมเกินควร
เช่น...การกำหนดให้ผู้สมัคร ส.ส.เขต มีผู้ช่วยหาเสียงได้ไม่เกินเขตเลือกตั้งละ 20 คน มันขัดแย้งหลักเกณฑ์การแบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต.เองเต็มเปา
เพราะ กกต.ใช้เกณฑ์การแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยยึดจำนวนประชากร 1.89 แสนคน ต่อ ส.ส.เขต 1 คน
“แม่ลูกจันทร์” มองว่าการกำหนดให้มีผู้ช่วยแจกใบปลิวไม่เกิน 20 คน ไม่สอดคล้องกับขนาดเขตเลือกตั้งที่มีประชากรเกือบ 2 แสนคน
หรือ การที่ กกต.ห้ามผู้สมัครเลือกตั้งติดป้ายหาเสียงตามอำเภอใจ
ต้องติดป้ายหาเสียงเฉพาะพื้นที่ที่ กกต.จัดไว้โดยตรง
แต่ต้องรอปิดรับสมัครเลือกตั้ง “วันที่ 8 กุมภาพันธ์” เสียก่อน กกต.จึงจะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ติดป้ายหาเสียงได้ในจุดใด??
นี่คือตัวอย่างเรื่องง่ายๆที่ กกต.ทำให้กลายเป็นเรื่องยาก เรื่องสั้นๆที่ กกต.ขยันทำให้กลายเป็นเรื่องยาว
แต่เรื่องเลี้ยงโต๊ะจีน...เงียบฉี่เชียวนะ กกต.
"แม่ลูกจันทร์"

ไม่มีความคิดเห็น: