PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ศึกคอนเทนต์สะท้อนจอ : อนาคต “สื่อไทย” วัดกันที่ “เนื้อหา” ?


FacebookTwittertumblrGoogle+EmailLinkedInPinterestStumbleUponRedditflattrDiggbuffer

tv1
ภาพประกอบจาก www.it24hrs.com
“…ท่ามกลางการแข่งขันที่สูง เราต้องพัฒนาผลงานให้ทันสมัย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ชม เพื่อที่ผู้ชมจะได้เลือกเสพสื่อที่แต่ละองค์กรสร้างสรรค์ขึ้นมา…”


เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดสัมมนาหัวข้อ “ศึกคอนเทนต์สะท้านจอ”โดยมีวิทยากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในแวดวงผู้ผลิต ผู้สร้างคอนเทนต์ นักวิชาการอิสระ ผู้สร้างสรรค์สื่อโฆษณา และสื่อมวลชน มาร่วมพูดคุย วิพากษ์ แลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ เกี่ยวกับทิศทางการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และโดนใจผู้ชม


นายจักรกฤต โยมพยอม Creative รายการโทรทัศน์กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการคิดคอนเทนต์รายการต่างๆ นอกจากต้องวิเคราะห์ให้ออกว่าคนดูคือใคร แต่ต้องตอบให้ได้ว่าอยากให้คนดูได้อะไรจากการดูรายการของเราท่ามกลางการแข่งขันที่สูง เราต้องพัฒนาผลงานให้ทันสมัย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ชม เพื่อที่ผู้ชมจะได้เลือกเสพสื่อที่แต่ละองค์กรสร้างสรรค์ขึ้นมา


“หลายรายการก็พยายามสร้างกระแสให้เกิดขึ้น เช่น กรณีรายการไทยแลนด์ก๊อตทาเลนท์ ที่มีการเชิญให้ผู้หญิงมาร่วมแสดงถอดเสื้อและวาดภาพกลางรายการ หรือการให้ผู้ป่วยทางจิตมาออกรายการแม้รายการจะออกอากาศไปแล้ว แต่สิ่งสำคัญนอกจากความรับผิดชอบ คือ การนำมาเป็นบทเรียนและไม่ทำอีก” นายจักรกฤต กล่าว


นายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิจัยชำนาญการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.)กล่าวว่า การแข่งขันของสื่อมวลชนขณะนี้ทำให้เกิดปัญหา เพราะผู้ผลิตพยายามทำให้คอนเทนต์โดนใจผู้บริโภค โดยเฉพาะความอยากรู้อยากเห็น ในเรื่องของเพศ ภาวะทางความพิการ ชาติพันธุ์ ซึ่งอาจละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่นี่กลับเป็นเรื่องแปลกที่สามารถขายได้กับคนไทย โดยไม่ได้สะท้อนความเป็นมืออาชีพของคนผลิต ต่างจากในต่างประเทศ ที่ส่วนใหญ่จะนำเสนอคอนเทนต์ที่เป็นเรื่องดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคม เหมือนซีรีส์เรื่อง “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น” ที่หากมองในแง่คุณค่าแล้ว เป็นการผลิตคอนเทนต์ที่ดี มีคุณค่าต่อสังคม เพราะคนในสังคมมีการวิพากษ์วิจารณ์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นมากขึ้น


“แนวโน้มของการคิดรูปแบบเนื้อหา และคอนเทนต์ในอนาคตอาจมีการพัฒนากล้าคิดกล้าทำมากขึ้น โดยเฉพาะในทีวีดาวเทียม หรือทีวีดิจิตอลในอนาคต” นายธามกล่าว


น.ส.วิภูษา สุขมาก ผู้สื่อข่าว รายการข่าว 9 โมง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวว่า คอนเทนต์ที่ถูกเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย มีหลายครั้งที่สื่อหยิบยกมานำเสนอ สื่ออาจจะไม่ได้มองว่าการนำเสนอเรื่องราวที่ได้รับการพูดถึง จะเป็นการโหมกระแสหรือช่วยสร้างกระแสให้กับละคร ภาพยนตร์ โฆษณา ให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น


“ท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่เพียงเฉพาะแต่ฟรีทีวี ทีวีดาวเทียมที่เกิดขึ้น แต่กระบวนทัศน์ของสื่อที่เปลี่ยนไป ยังทำให้สื่ออาจต้องตั้งคำถามว่า ได้ทำหน้าที่ผู้เฝ้าประตู ผู้คัดกรองข่าวสาร หรือแม้แต่เป็นผู้กำหนดวาระข่าวแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ที่สื่อมวลชนมักกล่าวกันว่า สื่อต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชน องค์กร และสังคมนั้น สื่อยังมีอยู่หรือไม่” น.ส.วิภูษากล่าว.

ไม่มีความคิดเห็น: