PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ป.ป.ช.แจงถูกหาเที่ยวญี่ปุ่นคดีถอดถอนนักการเมืองช้า


 


สำนักงาน ป.ป.ช. ขอชี้แจงกรณีเรื่องกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการฯ และกรณีร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
 
 
ป.ป.ช. ดำเนินงานอย่างเป็นธรรม ตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม กรณีเรื่องกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการฯ และกรณีร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 
 
 
ตามที่ปรากฏข่าวสารผ่านสื่อมวลชน และสื่อสังคมออนไลน์ วิพากษ์การทำงานของ ป.ป.ช. ด้วยความคิดเห็นที่แตกต่างกัน 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งวิพากษ์ว่า ป.ป.ช. เร่งรีบอย่างผิดปกติในการดำเนินการเรื่องดังกล่าว ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการให้ ป.ป.ช. เร่งรัดการดำเนินการโดยเร็วที่สุด โดยอ้างว่ามีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญชัดเจนอยู่แล้ว จึงวิพากษ์ว่า ป.ป.ช. มีเจตนาดำเนินการล่าช้าและมีการให้ข้อมูลสาธารณะที่ไม่ถูกต้อง เช่น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยกคณะไปเที่ยวต่างประเทศ นั้น
 
สำนักงาน ป.ป.ช.ขอชี้แจงว่า
 
 
1. กรณีมีข้อวิพากษ์ว่า ป.ป.ช. เร่งรีบดำเนินการเรื่องการกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการฯ และกรณีร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีข้อเท็จจริง ดังนี้ 
 
สืบเนื่องจากเดิมที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เคยได้รับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนขอให้ดำเนินคดีอาญาและเรื่องการยื่นคำร้องให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 เรื่องมาก่อนแล้ว โดยกรณีเรื่องถอดถอนฯ จำนวน 3 เรื่องได้มีการแต่งตั้งศาสตราจารย์ ดร.ภักดี  โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนแล้ว 
 
ต่อมาเมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยและคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติให้รวมทั้ง 5 เรื่องเข้าด้วยกัน โดยให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะ เป็นองค์คณะไต่สวนข้อเท็จจริง และมอบหมายศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ นายใจเด็ด พรไชยา และศาสตราจารย์ ดร.ภักดี  โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นกรรมการผู้รับผิดชอบสำนวน 
 
ทั้งนี้ การดำเนินงานของ ป.ป.ช. ต้องเป็นไปด้วยความถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการไต่สวนข้อเท็จจริงอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
 
 2. กรณีมีข้อวิพากษ์ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ในช่วงที่ต้องมาพิจารณาเรื่องดังกล่าว มีข้อเท็จจริง ดังนี้
 
1) การเดินทางไปราชการประเทศญี่ปุ่นเป็นการเข้าร่วมการฝึกอบรมที่ United Nations Asia and Far East Institute for the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders (UNAFEI) ระหว่างวันที่ 16-23 พฤศจิกายน 2556 เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้เกี่ยวกับการไต่สวน การติดตามทรัพย์สินคืน และวิธีพิจารณาคดีให้แก่ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด โดยมีกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 2 ท่าน ร่วมเดินทางไปด้วย
 
 
 
2) การเดินทางไปประชุมการต่อต้านการทุจริตในภาครัฐแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย ครั้งที่ 4 (Australian Public Sector Anti-Corruption Conference 2013 : APSACC 2013) ระหว่างวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2556 โดยมีกรรมการ ป.ป.ช. 1 ท่าน เดินทางไปชี้แจงต่อนานาประเทศเกี่ยวกับกลไกการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของไทยที่จะแก้ไขปัญหาการทุจริตให้เป็นไปตามพันธกรณีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต สมัยที่ 5
ทั้งนี้ การเดินทางไปราชการต่างประเทศข้างต้นเป็นไปตามความจำเป็นตามพันธกรณีและภารกิจที่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว ส่วนกรรมการ ป.ป.ช. ท่านอื่นๆ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ และมีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามปกติอย่างต่อเนื่องโดยตลอ

ไม่มีความคิดเห็น: