PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทพเปิดพิมพ์เขียวสภาประชาชน - นายกฯม.7 อังคาร 4 ธ.ค.นัดลุย"สตช."

วันที่ 03 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เวลา 21:15:41 น.

"สุเทพ" สั่งลุย สตช. ยึดที่มั่นสุดท้ายของตำรวจให้ได้ งัดมาตรา 3 - มาตรา 7 แจงตั้ง "สภา ปชช.-นายกฯ" ได้ เผยขั้นตอนปฏิรูป ประเทศ . พักรบ 5 ธันวาฯ ก่อนกลับมาลุยเผด็จศึก 6 ธ.ค.

ที่เวทีศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เมื่อเวลา 19.45 น. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ขึ้นปราศรัยหลังจากแถลงข่าว ว่า ใช้เวลากระชับเพื่อแถลงในส่วนของความสำคัญ และขอขอบคุณทุกสถานีด้วยความเคารพ วันนี้เป็นอีกวันที่เราต้องเหน็ดเหนื่อยกันมาก เพราะว่าสองวันที่ผ่านมา ถูกตำรวจที่นครบาลใช้ความรุนแรงเข้าดำเนินการ ยิงด้วยแก๊สน้ำตา แทนที่จะใช้แบบขว้างก็ใช้แบบยิงทำให้บาดเจ็บจำนวนมาก และยังเอาสารเคมีฉีดใส่ แต่น่าชื่นชมเหลือเกินที่ควบคุมอารมณ์ได้อย่างดี ยึดหลักสันติอหิงสา สู้อย่างองอาจกล้าหาญในวันนี้

และวันนี้ก็พิสูจน์ชัดเจนว่า แม้ประชาชนจะมือเปล่า ต่อสู้แบบสันติ อหิงสา แต่พลังของฝ่ายที่ถืออาวุธก็ไม่สามารถต้านทานพลังอันบริสุทธิ์ของประชาชนได้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งถือว่ายอมตายให้ระบอบทักษิณ วันนี้ต้องยอมจำนวนต่อพลังมวลมหาประชาชนอย่างปราศจากการที่จะคิดต่อสู้ได้ กับพื้นที่แข็งแรงอย่างทำเนียบรัฐบาลเพราะพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น.เคยให้สัมภาษณ์ว่า ยอมให้ยึด บช.น. แต่ไม่ยอมให้ยึดทำเนียบฯเด็ดขาด โดยจะขอต่อสู้ด้วยชีวิตรักษาทำเนียบรัฐบาลเอาไว้ แต่พลังมวลมหาประชาชนก็สามารถเข้ายึดทำเนียบฯ ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดและไม่เห็น พล.ต.ท.คำรณวิทย์ แต่ประการใด

ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ที่เหลือเฝ้าดูแลทรัพย์สมบัติของทำเนียบฯแท้ที่จริงคือทหารลูกหลานประชาชน ที่ทำหน้าที่ด้วยความสุภาพ และเข้าใจประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ทหารเหล่านั้นได้แสดงความเป็นข้าราชการของประชาชน ปฏิบัตต่อประชาชนด้วยความเข้าใจและสุภาพ

วันนี้น่าแปลกใจมาก พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ให้สัมภาษณ์ยกย่องเรา บอกพี่น้องและตนเป็นผู้มีอุดมการณ์ตั้งใจทำเพื่อประเทศชาติ ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ทีเมื่อวานยิงไปด่าไป วันนี้ไม่รู้เป็นอะไรไปแล้ว จนตนไปสืบทราบมาว่าแก๊สน้ำตายิงหมดแล้วใน 2 วันที่ผ่านมา วันนี้ไม่เหลือ เพราะ ผบ.ตร.สั่งนำแก๊สน้ำตาจากพื้นที่ใต้ขึ้นมาส่งให้ส่วนกลางเพราะยิงหมดแล้ว และ ผบ.ตร.ยังสั่งให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้รีบเอารถกันกระสุนที่เจ้าหน้าที่ใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ระดมขนมาให้หมดในคืนนี้ ไม่ทราบว่าเอามาทำไมเพราะเราไม่มีกระสุนเลย มีแค่หัวใจกับมือเปล่าเท่านั้น เพราะสั่งให้ขนมาแต่รถกลับพลิกคว่ำที่สุราษฎร์ธานี ทำเจ้าหน้าที่ตาย 2 คน ความเลยแตก ตอนเย็นเปลี่ยนแผนใหม่ใช้เฮลิคอปเตอร์เรดาห์ต่ำ จะปฏิบัติการโรยตัวลงมาจับตนที่นี่ โดยซ้อนแผนให้มวลชนไปรุมที่ประตู ก่อนจะมาอุ้มตัวตนเองที่นี่ กราบขอบพระคุณพี่น้องที่ดูแลอารักขาผมอย่างที่สุด และขอบอกไปยัง พล.ต.อ.อดุล แสงสิงห์แก้วว่า ไม่ต้องใช้รถกันกระสุน หรือเฮลิคอปเตอร์ เดินมาเลย อย่าถืออาวุธมา พี่น้องที่นี่ยินดีต้อนรับ แต่ไม่อยากมาไม่เป็นไร แต่พรุ่งนี้ (4 ธ.ค.) เราจะไปหาท่านที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ถึงที่ เพราะฉะนั้นพรุ่งนี้ไปภาระกิจเบาๆ ตร.ที่มั่นสุดท้ายของตำรวจ

ตนเข้าใจดีที่วันนี้พี่น้องอาจจะดีใจที่เราเข้าทำเนียบฯได้ แต่นี่คือส่วนหนึ่งของชัยชนะเท่านั้น ต้องรอชัยชนะที่เด็ดขาดที่สุด เราอาจจะดีใจที่ได้ชัยชนะวันนี้ แต่การต่อสู้ของเราต้องใช้เวลา วันนี้เราไม่ได้มายึดอำนาจรัฐ เรามาทวงอำนาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชนคืนกลับมาให้ประชาชน ไม่ให้คนชั่วใช้ทำความเสียหายให้ประเทศ

วันนี้ทั้งรัฐบาล สภา เป็นโมฆะหมดแล้ว เพราะปฏิเสธไม่เคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นคนไทยทั้งประเทศลุกขึ้นทวงอำนาจคืน เพื่อมาแก้ไขปัญหาบ้านเมืองที่วิกฤต ดังนั้นเราจึงต้องมาใช้ประชาธิปไตยทางตรงคือตรงนี้ คนที่ไม่เคารพรัฐธรรมนูญ ทำตัวเหนือกฎหมาย กลับมากล่าวหาคนที่พยายามรักษากฎหมายเป็นกบฏ

ขณะที่นายกฯยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร) ออกมาแถลงบอกจะไม่ใช้ความรุนแรง แล้วที่สั่งให้ยิงแก๊สน้ำตา สั่งโรยตัวลงมา อย่างนี้ไม่ใช้ความรุนแรงหรือ ถึงว่าจะต่อสู้กับระบอบทักษิณมีเล่ห์เหลี่ยมมาก ขอให้จับตาดูรัฐบาลให้ดี ให้ดูเถิดไม่กี่วันรัฐบาลจะยุบสภา แล้วบอกถอยแล้วคืนอำนาจแล้ว แต่คืนอำนาจโดยที่รัฐบาลชุดนี้รักษาการกุมอำนาจไว้ ข้าราชการก็จะช่วยกันโกง ตำรวจจะขนเงินซื้อเสียง แล้วก็จะได้เสียงเต็มสภานี่คือความชอบธรรมไม่ต้องกลัวใครแล้วก็จะโกงกันต่อไป โดยที่บุคคล 109 คนเพิ่งพ้นโทษ 5 ปีจะกลับมาแล้ว ทีนี้จะเอาตัวจริงลงเล่น ถ้ายุบสภาก็เป็นการนำตัวจริงพวกนี้ลงเล่น ลงตัวกันพอดี

"ผมวันนี้เป็นนายสุเทพธรรมดา ไม่มีหัวโขนใดๆ เพราะวันนี้คือวันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต ที่ได้ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชน ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต เป็นการต่อสู้ร่วมกัน ด้วยความอิ่มใจ"

แม้ว่าเราไม่มีอำนาจที่เป็นอาวุธ แต่เรามีอำนาจประชาชนที่มาจากหัวใจที่บริสุทธิ์ คิดเพื่อชาติ คิดเพื่อแผ่นดิน เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่และเราต้องอดทนนำพลังนี้ไปสู่มวลมหาประชาชนให้ได้ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา แต่ไม่เป็นไร เพราะตัดสินใจแล้ว จะชนะหรือไม่ก็ขอให้ตายไปกับแผ่นดิน ให้ลูกหลานลุกขึ้นสู้แทน เราไม่ยอมแพ้ ความพยายาม ความมุ่งมั่นเป็นเรื่องของเรา แต่เราจะอุทิศทั้งชีวิตทั้งวิญญาณให้บ้านเมือง ที่เหลือให้เป็นเรื่องฟ้าดินแล้วกัน เมื่อคิดได้อย่างนี้เราก็จะมีใจที่ผ่องแผ่ว ไม่คิดมาก ไม่วอกแวก พวกนักการเมืองจะคิดอย่างไรเชิญ ทหารคิดอย่างไรเชิญ แต่เราคือประชาชน คือเจ้าของประเทศ จะต้องแก้ไขด้วยมือของเรา

รายละเอียดเรื่องนี้ไม่เขียนในรัฐธรรมนูญ เขาไม่ได้เขียนไว้ เพราะคนร่างไม่เคยคิดว่าจะมีรัฐบาลอุบาทว์อย่างทุกวันนี้ รัฐธรรมนูญ จึงได้เขียนไว้รวมๆ ในมาตรา 7 บัญญัติว่า ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การตั้งสภาประชาชนและรัฐบาลของประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหานี้กลับบ้านไปเป็นประชาชน นักวิชาการ ที่มีการศึกษาดีๆ ก็จะเป็นผู้อธิบายให้พี่น้องฟัง พูดอย่างนี้ก็ยังมีคนอุตส่าห์สักอยู่นั่นแหละ ว่าสภาประชาชนจะมาอย่างไร ใครเป็นคนเลือก นำตัวแทนทุกสาขาอาชีพ ของพลเมืองในประเทศ ลงทะเบียนเลือกกันเอง เอาตัวแทนมาประกอบกันเข้าเป็นสภาประชาชน ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง ช่วงเปลี่ยนผ่านประเทศ ต่อการปฏิรูปประเทศ ไม่มีผลประโยชน์อื่นของทุนและพรรคการเมือง แต่ทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนรวม นี่คือสภาประชาชน

พอเรามีสภาประชาชนที่เป็นตัวแทนของคนในทุกสาขาอาชีพแล้ว หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ เราก็เคยมีการตั้งสภานิติบัญญัติ ลักษณะคล้ายกันนี้เช่นกัน โดยที่สภาประชาชนจะคัดเลือกบุคคลที่น่าเชื่อถือให้เป็นคณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี และนายกฯ คนที่สภาประชาชนจะเลือกนั้นเป็นใครตนก็บอกไม่ได้ แต่ที่บอกได้ชัดเจนคือไม่ใช่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพราะตนไม่เอารัฐบาลของประชาชนจะทำงานอยู่ช่วงเวลาสั้นๆ ไม่แช่แข็งประเทศไทย มีการเลือกผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด เหมือนที่คนกรุงเทพฯเลือกผู้ว่าฯ จะได้พอกันทีที่จะเลิกนำเงินไปให้นักการเมือง เสร็จแล้วก็จะไปถอนทุนคืน และจะดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ จะไม่มีได้ดีเพราะพี่ให้ จะต้องสูญพันธุ์ ที่จะเหลือคือตำรวจดีๆ ต่อไปนี้คณะกรรมการตำรวจจะมีแต่ประชาชน โดยที่ประชาชนเป็นนายตำรวจและตำรวจจะต้องรับใช้ประชาชน

พี่น้องข้าราชการได้ดูให้ชัดๆนักธุรกิจที่ทำมาหากินด้วยความซื่อสัตย์วันนี้ยอมขึ้นเวทีประกาศตัวขอต่อสู้กับระบอบทักษิณ และกำจัดระบอบทักษิณร่วมกับประชาชน ขอให้พี่น้องข้าราชการได้แวะเวียนมาดูว่าที่ศูนย์ราชการว่าประชาชนมาจากทุกที่ ข้าราชการเลือกได้แล้วว่าจะอยู่กับประชาชนหรือเป็นขี้ข้าระบอบทักษิณ หยุดไม่ต้องไปทำงาน ไม่ต้องรับใช้ระบอบทักษิณ หยุดงานไม่กี่วัน ไม่ต้องทำแดะๆ ว่าประเทศเสียหาย ที่โกงไปหมดไปกี่ล้านแล้ว

ปฏิบัติการที่ ตร.ให้สำเร็จ วันที่ 5 เป็นวันมหามงคลของชาวไทย เราจะร่วมใจกันจัดงานยิ่งใหญ่ เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เราเทิดทูนยิ่งในชีวิตนี้ ขอเชิญชวนทั่วประเทศ พร้อมใจกันออกมาแสดงความจงรักภักดี พี่น้องต่างจังหวัดก็ไปที่เวทีของพี่น้องของเรา ไปทำให้คนทั้งโลกให้เห็นว่าหัวใจของคนไทยอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ พี่น้องกรุงเทพฯ ไปพร้อมที่ราชดำเนิน กระทรวงการคลัง ศูนย์ราชการ ก็มาร่วมกันได้ มาสวดมนต์ไหว้พระถวายองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเวลา 19.00 น. เราก็จะจุดเทียนชัย และถวายพระพรร่วมกัน ใส่เสื้อสีอะไร

ก็ได้ เพราะเสื้อทุกสีเป็นพสกนิกรของพระองค์ทั้งนั้น มาร่วมแสดงความจงรักภักดี แต่อาจจะติดธงชาติกับนกหวีดมาด้วย วันนั้นจะขอทำใจให้ผ่องแผ่ว ขอพักรบกับยิ่งลักษณ์ รุ่งขึ้นเช้าวันที่ 6 ธ.ค.
รบต่อ และคราวนี้จะรบไม่หยุด รบต่อจนชนะ

/////////////
(ล้อมกรอบ)

ว่าด้วยการเสนอมาตรา7 นายกพระราชทาน

ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นำคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะและให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กราบบังคมทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตามมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อรักษาการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง สืบเนื่องจากนักวิชาการ นักการเมือง และประชาชน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ซึ่งอภิสิทธิ์ไม่ใช่ผู้ร่วมลงนามในฎีกาดังกล่าวตามหลักฐานรายชื่อในฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน

ข้อเสนอของอภิสิทธิ์มีความแตกต่างจากเนื้อหาในฎีกา เนื่องจากเสนอให้รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ ก่อนที่จะขอ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทำให้เกิดเงื่อนไขสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เนื้อหาในฎีกา เป็นการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทั้งที่ยังมีรักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่ง จึงเป็นการขอที่ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย[46] ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ได้มีแถลงการณ์ว่า ข้อเสนอของอภิสิทธิ์ ได้รับการยอมรับจาก สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงตามรัฐธรรมนูญทุกประการ

วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษาใจความตอนหนึ่งว่า "...เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทาน เป็นต้น จะขอนายกฯพระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย..."[47][48] และหลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ กลุ่มการเมืองฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้ตั้งฉายาให้กับอภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" ว่า "มาร์ค ม.7"

ภายใต้การบริหารพรรคของนายอภิสิทธิ์ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อาวุโสกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าเป็นผู้สมคบคิดแผนฟินแลนด์ เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี และก่อตั้งสาธารณรัฐ อภิสิทธิ์ได้เคยตัดสินใจคว่ำบาตรการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 โดยไม่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ขาดความชอบธรรม[49] อภิสิทธิ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ไม่ได้เคลื่อนไหวต่อต้านแบบกลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในปี พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ได้ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากพรรคอื่น ๆ ให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินว่าอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิด และตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทยในข้อหาเดียวกัน อภิสิทธิ์สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 โดยกล่าวว่าเป็นการปรับปรุงจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540[50] พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 ให้แก่พรรคพลังประชาชน

ในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศ จับมือทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยและ พรรคมหาชน ปฏิเสธการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการที่ควร[51][52] เป็นผลให้ พรรคไทยรักไทยต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง ในที่สุดนำมาซึ่งการฟ้องร้องดำเนินคดีข้อหาทุจริตในการเลือกตั้ง[53][54] และต่อมามีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ "คดียุบพรรค" และศาลก็ได้มีมติให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 3 คนต้องโทษจำคุก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วย[55][56]ข้อกล่าวหาทุจริตการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549

พรรคไทยรักไทยกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ว่าให้สินบนกับพรรคเล็กเพื่อคว่ำบาตรการเลือกตั้งเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 พรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าไม่มีความผิด เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2549

วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549 สมาชิกคณะกรรมการเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลเพื่อสรรหาข้อเท็จจริง ที่นำโดยรองอัยการสูงสุดชัยเกษม นิติสิริ มีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ (เช่นเดียวกับพรรคไทยรักไทยและอีก 3 พรรคการเมือง) ขึ้นอยู่กับหลักฐานให้สินบนกับพรรคเล็กต่าง ๆ ที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์ประชุมกับสายสัมพันธ์ทางการเมืองจาก 20 ประเทศเพื่อที่จะชี้แจงข้อเท็จจริง[57][58]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในกรณีก่อนที่กองทัพแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าสาบานตนว่าพวกเขาถูกหลอกให้สมัครเป็นคู่แข่งในการเลือกตั้งเดือนเมษายน[59]

พยาน 3 ปากยืนยันว่าเลขาพรรคประชาธิปัตย์ถาวร เสนเนียม, วิรัต กัลยาสิริ และเจือ ราชสีห์ สนับสนุนให้ผู้ประท้วงขัดขวางการลงสมัครรับเลือกตั้งในระหว่างการเลือกตั้งซ่อม[60] หลังจากการเลือกตั้งเดือนเมษายน 2549 อัยการยืนยันว่าพรรคพยายามตัดสิทธิ์ผลการเลือกตั้งและบังคับให้จัดการเลือกตั้งซ่อมต่อไป ข้อกล่าวหาของฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ถูกต้องซึ่งพยายานกลุ่มเดียวกันนี้ถูกว่าจ้างโดยกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม ในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พรรคประชาธิปัตย์พ้นความผิด ขณะที่พรรคไทยรักไทยมีความผิด[61][62]นโยบายทางการเมืองที่ตรงกันข้าม

วันที่ 29 เมษายน อภิสิทธิ์ประกาศเป็นผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมประจำปีของพรรคประชาธิปัตย์ เขาสัญญาว่าจะทำให้เป็นแผนงานเพื่อประชาชน ซึ่งเน้นการศึกษาเป็นหลัก โดยที่เขาใช้สโลแกนหาเสียงว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" เขายังได้สัญญาว่าจะไม่นำสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า ประปา เอามาเป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเหมือนกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณเคยทำมาแล้ว[63] อภิสิทธิให้สัญญาว่า "ประโยชน์ที่ได้จากนโยบายประชานิยม เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค, กองทุนหมู่บ้าน, และโครงการ SML จะไม่ถูกยกเลิก แต่จะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม"

อภิสิทธิ์ออกมากระตุ้นในภายหลังว่าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคนั้นควรจะเข้าใช้บริการทางการแพทย์ผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่เสียค่าบริการ[64] อภิสิทธิ์แถลงว่าอนาคตของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ทุกคนจะต้องเปิดเผยบัญชีทรัพยสิน และธุรกิจที่เข้าไปเกี่ยวข้องทั้งหมด (กฎหมายกำหนดเพียงให้สมาชิกคณะรัฐมนตรีทุกคนต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สิน) [65]

อภิสิทธิ์รวบรวมเงินจำนวน 200 ล้านบาทในงานเลี้ยงอาหารเย็นเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีของพรรคประชาธิปัตย์ภายในที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เขาสรุปนโยบายด้านพลังงานรวมถึงเพิ่มจำนวนการจ่ายเงินปันผลจากปตท. และการใช้กองทุนชดใช้หนี้ให้แก่กองทุนน้ำมัน และอนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระงับราคาเชื้อเพลิงที่กำลังพุ่งสูงขึ้น[66]

เขาสรุปแผนทีหลังว่าจะลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินโดยลดภาษี 2.50 บาท/ลิตรออกไปจากที่เคยใช้ปรับปรุงกองทุนน้ำมันของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม แผนของเขาถูกวิจารณ์ว่าเป็นการบิดเบือนตลาดการค้าและขัดขวางไม่ให้ลดการบริโภคน้ำมัน[67]

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 อภิสิทธิ์สัญญาว่าจะจัดการปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการทำปัญหานี้ให้อยู่ในระเบียบวาระของสังคมของจังหวัดภาคใต้[57]อีกทั้งสัญญาจะใช้นโยบายประชานิยมหลายอย่างรวมถึงนโยบายเรียนฟรี, ตำราเรียน, นมและอาหารเสริมสำหรับโรงเรียนอนุบาล และการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ[68]สนับสนุนรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550

อภิสิทธิ์สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญปี 50 อภิสิทธิ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์พิจาณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เหมือนกับที่เคยพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญปี 40 แต่ปรับปรุงพร้อมกับจุดบกพร่อง

"ถ้าเราขอร้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เราจะปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าเราปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มันจะเป็นสิ่งที่ชี้นำไปยัง (คมช.) เราเสนอจุดยืนตรงนี้ เพราะว่าเราเป็นห่วง
เกี่ยวกับส่วนได้ส่วนเสียของชาติ และต้องการประชาธิปไตยกลับคืนมาโดยเร็ว" เขากล่าวอย่างนั้น[69] การรับทราบถึงจุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ อภิสิทธิ์ได้เสนอพร้อมกับเชิญชวนพรรคการเมืองอื่นๆ ให้ร่วมมือกันแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่เขามีอำนาจ[70]เลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าสมัคร สุนทรเวช จากพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสม 6 พรรค ผลการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในรัฐสภาเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551 อภิสิทธิ์ได้รับคะแนนเสียง 163 เสียง ซึ่งน้อยกว่าสมัครที่ได้ 310 เสียง[71]การดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2548 อภิสิทธิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย คนที่ 7 หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในปี พ.ศ. 2548 และมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของนายกรัฐมนตรี และได้พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เพราะคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

อภิสิทธิ์ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 หลังแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในปี พ.ศ. 2550 ให้กับสมัคร สุนทรเวช และต่อมาในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 สมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นผลให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมา จวบจนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการยุบพรรคพลังประชาชน และเป็นเหตุให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในประเทศไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551 ผลปรากฏว่า อภิสิทธิ์ ได้คะแนนเสียงในสภามากกว่า จึงได้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551โดยต้องพ้นจากตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรก่อน

อภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนานสองปี ก็ได้ประกาศยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เขาแพ้การเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในปี พ.ศ. 2554 เขาได้รักษาการนายกรัฐมนตรีจนกระทั่งในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทยอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้สมัคร สุนทรเวชพ้นสภาพจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2551 อภิสิทธิ์ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น[72] ในระหว่างการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) สมาชิกประชาธิปัตย์บางคนกลายเป็นแกนนำของ (พธม.) ซึ่งยึดทำเนียบรัฐบาล, ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่มีการปะทะกันระหว่าง พธม. กับตำรวจและกลุ่มต่อต้านอย่างรุนแรง เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบ 3 พรรคการเมือง ซึ่งพรรคพลังประชาชนเป็นหนึ่งในนั้นด้วย ซึ่งทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นอันต้องยุติลง และศาลยังตัดสินให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ที่ร่วมก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถูกสื่อมวลชนรายงานว่าเขาเป็นผู้ที่สนับสนุนหรือบีบบังคับให้ ส.ส.ฝ่ายตรงข้ามแปรพักตร์มาอยู่ฝ่ายอภิสิทธิ์[73] ส.ส.เหล่านั้นมาจากพรรคเพื่อไทย (พรรคสืบทอดจากพรรคพลังประชาชน) สมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา (พรรคสืบทอดจากพรรคชาติไทย) นำโดยพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และกลุ่ม"เพื่อนเนวิน" อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชน ทำให้ให้พรรคประชาธิปัตย์มีเสียงข้างมากในสภา[74] สามารถเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลได้ จึงสนับสนุนให้อภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[75][76][77] และชนะการโหวตการเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมีพลตำรวจเอกประชา พรหมนอกเป็นคู่แข่ง[78]

ทางด้านคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาและแนวร่วม พธม. กล่าวถึงการที่อภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีว่า "เป็นชัยชนะของพันธมิตรฯ ที่แท้จริง" และ "รัฐประหารสไตล์อนุพงษ์"[79]โอกาสที่อภิสิทธิ์ได้ขึ้นเป็นนายกครั้งนี้ได้รับความเห็นชนชั้นกลาง[80]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ดูบทความหลักที่ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 ของไทยสมาชิกของรัฐบาลอภิสิทธิ์มีส่วนเกี่ยวข้องในความพยายามสังหารแกนนำ พธม. สนธิ ลิ้มทองกุล แม้รัฐบาลจะกล่าวโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ[81][82][83]

แม้อภิสิทธิ์จะดำเนินมาตรการตอบโต้ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอย่างเข้มข้น แต่ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากพลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ว่า มีท่าทีสนองช้าเกินไป[84]
การทุจริตเกิดขึ้นในรัฐบาลภายใต้การนำของอภิสิทธิ์หลายกรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วิฑูรย์ นามบุตร ลาออก หลังจากจัดหาปลากระป๋องเน่าให้กับผู้ประสบอุทกภัย[85] ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข วิทยา แก้วภราดัย มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตในการจัดซื้ออุปการณ์ทางการแพทย์เกินราคาในโครงการ ไทยเข้มแข็ง จึงได้ประกาศลาออก[86] อภิสิทธิ์ยังเผชิญกับความตึงเครียดซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากประเทศกัมพูชา ในหลายประเด็น รวมทั้งการแต่งตั้งแกนนำ พธม. กษิต ภิรมย์ อันเป็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การปะทะตามแนวชายแดนด้านเขาพระวิหาร และการแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลกัมพูชา

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 ของไทยสิ้นสุดการทำงานลงเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 หลังพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ปรากฏคะแนนออกมาว่า พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง จากนั้นได้รักษาการถึงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เมื่อสภาผู้แทนราษฎรลงมติให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

///////
(ล้อมกรอบ)

25 เมษายน 2549

17.42 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาล
ปกครองสูงสุด มีพระราชดำรัสที่น่าสนใจดังนี้

"... ฉะนั้นขอฝาก ไม่อย่างนั้นยุ่ง เพราะถ้าไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่มีทางจะปกครองแบบประชาธิปไตย ของเรามีศาลหลายชนิดมากมาย แล้วมีสภาหลายแบบ และทุกแบบจะต้องเข้ากันปรองดองกันและคิดทางที่จะแก้ไขได้

ที่พูดอย่างนี้ค่อนข้างจะประหลาดหน่อย ที่ขอร้องอย่างนี้ ก็เพราะไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็บอกว่าต้อง มาตรา 7 มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งขอยืนยันว่า มาตรา 7 ไม่ได้หมายถึงให้มอบให้พระมหา
กษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามชอบใจ ไม่ใช่

มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินได้ ทำได้ทุกอย่าง ถ้าทำเขาก็จะว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่ ซึ่งจริงๆ ไม่เคยทำเกินหน้าที่ ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย

ก็อ้างถึงก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ตอนนั้นไม่มีทำเกินอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตอนนั้นมีสภา มีประธานสภา รองประธานสภามีอยู่ ทำหน้าที่ แล้วมีนายกฯ ที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐธรรมนูญ..."


"... ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมาก ที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทานนายกฯ พระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองประชาธิปไตยกลับไปอ่าน มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญเป็นการอ้างที่ผิด อ้างไม่ได้ มาตรา 7 มี
2 บรรทัดว่า อะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีตามที่เคยทำมา ไม่มี เขาอยากจะได้ นายกฯ พระราชทานเป็นต้นจะขอนายกฯ พระราชทานไม่ใช่เรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ แบบมั่ว แบบไม่มีเหตุมีผล สำคัญอยู่ที่ท่านที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา มีสมองที่แจ่มใส สามารถ

กลับไปคิดวิธีที่จะปฏิบัติ คือ ปกครองต้องมีสภา สภาที่ครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วนก็ว่าไม่ได้ แต่อาจจะต้องหาวิธีที่ตั้งสภาที่ไม่ครบถ้วน แบบตำนานได้ แต่ก็มั่ว ขอโทษอีกทีนะ ใช้คำมั่วไม่ถูก ไม่ทราบใครจะทำมั่ว ปกครองประเทศมั่วไม่ได้ ที่จะคิดแบบว่าทำปัดๆ ไปให้เสร็จ ถ้าทำไม่ได้ก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่วอีก เพราะพระมหากษัตริย์ไม่มีหน้าที่ที่จะไป ก็เลยต้องมาขอร้องฝ่ายศาลให้คิดและช่วยกันคิด

เดี๋ยวนี้ประชาชนทั่วไปหวังในศาล โดยเฉพาะศาลฎีกา ศาลอื่นๆ ก็ยังมองว่าศาลฎีกามีความซื่อสัตย์สุจริต มีเหตุมีผล มีความรู้ เพราะท่านได้เรียนรู้กฎหมายมา พิจารณาเรื่องกฎหมายที่จะต้องศึกษาดีๆ
ประเทศจึงจะรอดพ้นได้ ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมาย หลักการปกครองที่ถูกต้อง ประเทศชาติไปไม่รอด อย่างที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เพราะว่าไม่มีสมาชิกสภาถึง 500 คน ทำงานไม่ได้ก็ต้องพิจารณาดูว่าจะทำยังไงจะพลิกตำนานได้ จะมาขอให้พระมหากษัตริย์ตัดสิน เขาอาจจะว่ารัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์เป็นคนพระปรมาภิไธยจริง ในหลวงลงพระปรมาภิไธย ก็เดือดร้อน

แต่ว่าในมาตรา 7 ไม่ได้บอกว่าพระมหากษัตริย์สั่งได้ ไม่มี ลองไปดูมาตรา 7 เขาเขียนว่าถ้าไม่มีการบัญญัติแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ไม่ได้บอกว่ามีพระมหากษัตริย์สั่งการได้ แล้วก็ขอยืนยันว่าไม่เคยสั่งการอะไรที่ไม่มีกฎเกณฑ์ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติต่างๆ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง อย่างที่เขาขอให้มีพระราชทาน นายกฯ พระราชทาน ไม่เคยมี มีนายกฯ แต่รับสนองพระบรมราชโองการอย่างถูกต้องทุกครั้ง มีคนที่เขาอาจจะมาบอกว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ทำตามใจชอบ ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบตั้งแต่เป็นมา รัฐธรรมนูญเป็นมาหลายฉบับหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ ถ้าทำตามใจชอบ ก็เข้าใจว่าบ้านเมืองล่มจมมานานแล้ว..."
/////////////

(ล้อมกรอบ)

ในปี พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ได้ลงนามร่วมกับนักวิชาการและประชาชนจำนวนหนึ่ง เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตาม มาตรา 7 (ม.7) ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.

2540 ต่อมาได้มีพระบรมราชวินิจฉัยว่ากรณีดังกล่าวไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้นายอภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" ถูกสื่อมวลชนตั้งฉายาว่า "มาร์ค ม.7" ในกรณีดังกล่าวนายอภิสิทธิ์ได้เคย ให้เหตุผล

ที่ตัดสินใจร่วมถวายฎีกาไว้ว่า เป็นการพยายามหาทางออกที่ดีที่สุด ให้กับสถานการณ์การเมืองที่ ถึงทางตันและในที่สุดก็เกิดการรัฐประหารรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหา ทางตันอีก

วิธีหนึ่ง ที่โดยหลักการแล้วไม่ได้รับการยอมรับอย่างยิ่งในสังคมประชาธิปไตย
/////////////////
(ล้อมกรอบ)

รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

หมวดที่1 บททั่วไป


 มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
 มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข
** มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหา กษัตริย์ผู้ ทรง เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้
 มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้ม ครอง
 มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
 มาตรา 6 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใด ของกฎหมายกฎ หรือ ข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัติ นั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
 **มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ไม่มีความคิดเห็น: