PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Model "สภาประชาชน" ภายใต้หลักการประชาธิปไตย

FBประทีป เมขะติธรรม

ชูธงประชาธิปไตยทางตรง "Direct Democracy" เติมเต็มสร้างความสมบูรณ์ให้กับประชาธิปไตยทางอ้อม (การเลือกตั้ง) ผ่านกลไกสภาประชาชน คู่ขนานไปกับสภานิติบัญญัติ ตรวจสอบถอดถอน

นักการเมือง และตุลาการองค์กรอิสระ โดยมีหลักการตั้งอยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตย ที่ "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (ทุกคน)" ดังนี้

1.) หลักการ
1.1) สภาประชาชนเป็นกลไกของประชาชนในการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนตามหลักการ "ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy)" ผ่านกลไกการขอประชามติของประชาชนทั้งประเทศ
1.2) สภาประชาชนเป็นสภาคู่ขนานกับสภานิติบัญญัติ ในการจัดตั้งสภาประชาชน
1.3) ต้องดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีสภาประชาชน รวมทั้งตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยสภาประชาชน และกฎหมายว่าด้วยการลงประชามติ

2.) องค์ประกอบและที่มา
อาจได้มาด้วยหลากหลายวิธี เช่น มาจากการเลือกตั้ง มาจากสภาประชาชนระดับจังหวัดคัดเลือกกันขึ้นมา มาจากสายวิชาชีพ หรือมาจากการจัดสมัชชาประชาชน ฯลฯ แต่หลักการ คือ เป็นที่รวม

ของคนทุกกลุ่มในสังคม ทั้งกลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ไม่ใช่เฉพาะเอาเฉพาะพรรคพวกตัวเอง ซึ่งจะเป็น "ระบอบคณาธิปไตย" ไม่ใช่ประชาธิปไตย (ต้องใช้การศึกษาและการหาฉันทามติว่าที่มาของ

สภาประชาชนมาอย่างไร)

3.) อำนาจหน้าที่
สภาประชาชนเป็นกลไกกลาง ที่ทำหน้าที่หลักดังนี้
3.1) วีโต้กฎหมายของสภานิติบัญญัติ เช่น หากสภานิติบัญญัติผ่านกฎหมาย (เช่น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม) แล้วไม่เห็นด้วยก็วีโต้ หรือหากกฎหมายฉบับใดตกไป แต่สภาประชาชนไม่เห็นด้วยก็ใช้สิทธิ

ในการวีโต้

3.2) กลไกการวีโต้ ให้ใช้ "การทำประชามติ" ตามกฎหมายว่าด้วยการลงประชามติ กฎหมายใดทีสภานิติบัญญัติผ่านไป แต่เมื่อสภาประชาชนได้ทำการวีโต้แล้วลงประชามติ แล้วไม่เห็นด้วยกับ

กฎหมายของสภานิติบัญญัติก็ให้ถือว่าตกไป หรือในกรณีที่สภานิติบัญญัติไม่ผ่านร่างกฎหมายใด แต่ประชาชนวีโต้ลงประชามติผ่านกฎหมายนั้น ให้ถือว่า กฎหมายฉบับนั้นสามารถบังคับใช้ได้

3.3) สภาประชาชนสามารถขอให้ลงประชามติผ่านกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่ง โดยไม่ต้องผ่านสภานิติบัญญัติเลยก็ได้

3.4) เป็นกลไกในการเข้าชื่อถอดถอนนักการเมือง องค์กรอิสระต่างๆ โดยปรับปรุงรัฐธรรมนูญและกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3.5) ในด้านการปฏิรูป สภาประชาชนยกร่างพิมพ์เขียว Blue print การปฏิรูปในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม แล้วนำไปขอประชามติ หากประชามติพิมพ์เขียวผ่าน ถือว่า

ให้พิมพ์เขียวนั้นมีผลในทางกฎหมาย ผูกพันการดำเนินการงานรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หลักการ "ลงประชามติ" ถือว่าเป็น ไปตามหลักการประชาธิปไตย และถือว่าเป็นการคืนอำนาจให้กับประชาชนอย่างสมบูรณ์รูปแบบหนึ่ง

นอกจากนั้นต้องแก้ไขกลไกที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 4 เรื่อง ได้แก่
1.) ปรับปรุงกลไกการเลือกตั้งให้มีความเข้มแข็ง ขจัดการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.) ให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง
3.) สส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง
4.) ให้ สส. มีอิสระในทางกฎหมาย ไม่อยู่ใต้การครอบงำของพรรคหรือมติวิปทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล

ไม่มีความคิดเห็น: