PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

ปานเทพ:ความเสี่ยงกับความคุ้มค่า

ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

"ความเสี่ยง" กับ "ความคุ้มค่า"

สถานการณ์บ้านเมืองในเวลานี้เข้าสู่ภาวะอันตราย เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนเต็มที่แล้ว

สัตว์นรกยิงปืนขว้างลูกระเบิดใส่ผู้ชุมนุมลูกแล้วลูกเล่า มีผู้คนบริสุทธิ์บาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมากทุกวัน สถานการณ์ปัจจุบันนี้การเคลื่อนตัวของมวลชนไม่ว่ากลางวัน หรือกลางคืน คนมากหรือคนน้อย พวกสัตว์นรกก็พร้อมประหัตประหารประชาชนผู้บริสุทธิ์เพราะมีพวกตำรวจชั่วหนุนหลัง

ผมคิดว่าสถานการณ์เช่นนี้จึงต้องมาพิจารณาเรื่อง "ความเสี่ยง" กับ "ความคุ้มค่า"ในการชั่งน้ำหนักการเคลื่อนมวลชนให้มากขึ้นกว่าเดิม

การสูญเสียชีวิตคนดีๆ เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นเลยแม้แต่คนเดียว

ในสถานการณ์ภาวะวิสัยปัจจุบัน เวลาคิดถึงความเสี่ยงในการปฏิบัติการมวลชนจุดใดจุดหนึ่งจึงต้องมาพร้อมกับคำตอบด้วยว่า

1. ทำไปแล้วถ้าสำเร็จจะเกิดอะไรมากขึ้นไปกว่าเดิมหรือไม่? (โดยเฉพาะในทางยุทธศาสตร์) และถ้าสำเร็จจะคุ้มค่ากับความเสี่ยงที่จะสูญเสียหรือไม่?

ควบคู่ไปกับคำถามด้วยว่า

2. ถ้าเราไม่ทำในจุดนั้นแล้วจะมีจุดอื่นทดแทนที่ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายอยู่หรือไม่ โดยมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียน้อยกว่า หรือแทบไม่มีความเสี่ยงเลย?

เวลานี้จึงมีคำถามที่ตามมา คือ จะหยุดการเลือกตั้งได้อย่างไรถ้าไม่เสี่ยง ?

เพราะความเสี่ยงสู้กับคนมีอาวุธสงครามที่ถืออำนาจรัฐตำรวจด้วยแล้ว เพียงประชาชนอย่างเดียวต่อให้มีอาวุธก็ไม่มีทางชนะในการใช้ความรุนแรงได้เลย 

นอกจากจะได้กองทัพทหาร(ไม่นับพวกถั่งเช่า)เข้ามาสนับสนุนแล้วเท่านั้น!!!

ด้วยเหตุนี้ผมจึงเห็นว่าถ้าเราสู้ด้วยการใช้กำลังในเวลานี้ไม่ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปฏิบัติการมวลชนเข้าสู่ความเสี่ยงที่ยังไม่คุ้มค่าเพียงพอ

เพราะอย่างไรเสียการเลือกตั้งครั้งนี้รัฐบาลก็จะกลับเข้าสู่อำนาจไม่ได้อยู่แล้ว 

เพราะพี่น้องมวลมหาประชาชนภาคใต้จะคัดค้านการลงคะแนนเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ได้สำเร็จโดยไม่มีความเสี่ยงในการเผชิญหน้ากับอันธพาลเสื้อแดงอยู่แล้ว (แต่อาจมีความเสี่ยงในทางคดีความ)

นั่นหมายความว่า ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อจะหายไป 125 คน เพราะนับคะแนนได้ไม่ครบทุกหน่วยเลือกตั้ง ดังนั้นตามรัฐธรรมนูญเมื่อมี ส.ส.ไม่ครบ 95%จาก 500 คน ก็เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ ไม่มีการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และไม่มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากระบบการเลือกตั้งที่ไม่สมบูรณ์ครั้งนี้

ด้วยเหตุผลนี้พื้นที่ใดไม่มีความเสี่ยงก็คัดค้านและขัดขวางการเลือกตั้งได้สำเร็จอย่างง่ายดายเพราะความคิดของประชาชนในพื้นที่นั้นมีความเป็นเอกภาพ

แต่ถ้าพื้นที่ใดมีความเสี่ยงอย่าว่าแต่การเผชิญหน้าระหว่างอันธพาลคนเสื้อแดงเลย แม้แต่ความเสี่ยงทางความคิดที่ประชาชนบางพื้นที่ที่เขาต้องการไปเลือกตั้ง(หลายคนต้องการเข้าไปโหวตโน)เพื่อรักษาสิทธิ์ในการรวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือคัดค้านผลการเลือกตั้ง ตลอดจนเข้าชื่อร่วมกับประชาชนเสนอกฎหมาย(ซึ่งอาจจำเป็นในขั้นตอนการปฏิรูปกฎหมาย) การขัดขวางไม่ให้ลงคะแนนก็อาจจะเกิดความสูญเสียหรือเสียแนวร่วมคนเหล่านี้ได้ด้วยเช่นกัน 

ดังนั้นต้องไม่ลืมว่าต่อให้ขัดขวางใน"พื้นที่เสี่ยง"ได้สำเร็จหรือไม่สำเร็จ ก็ไม่เปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ที่ว่า "ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรอยู่ดี" เพราะการสมัครรับเลือกตั้งที่ภาคใต้ไม่สำเร็จ (ส.ส. 28 คน )และการนับคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อจะไม่ครบทั้งประเทศ (ส.ส. 125 คน) ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเข้าพื้นที่เสี่ยงต่ออันตราย หรือเสี่ยงต่อการเสียแนวร่วมทางความคิดโดยไม่จำเป็น 

เพราะเรามีหลักประกันพอแล้วว่ารัฐบาลจะไม่สามารถกลับเข้าสู่อำนาจรัฐได้แล้วค่อนข้างแน่นอน หากมวลมหาประชาชนไม่ยินยอม

ไม่มีความคิดเห็น: