PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สถานการณ์ข่าว3ธ.ค.57

สปช./กมธ.ยกร่าง

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นัดประชุมเพื่อพิจารณารายงานจาก 10 อนุฯ ต่อเนื่อง ขณะบ่าย สสส. เตรียมยื่น "บวรศักดิ์" ขอเสนอแนวทางจัดทำรัฐธรรมนูญ

บรรยากาศที่รัฐสภา เช้านี้ การรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวด โดยในเวลา 10.00 น. ยังคงมีการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2557

เพื่อพิจารณารายงานข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมาธิการด้านเนื้อหา ทั้ง 10 คณะ ในการประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิด
เห็นของประชาชน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นัดประชุมเพื่อพิจารณาการตั้งคณะอนุกรรมาธิการฯ ประจำจังหวัด

สำหรับช่วงบ่ายเวลา 13.00 น. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะรับยื่นหนังสือจาก มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาดร่วมกับสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา และ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) เพื่อเสนอแนะแสดงความคิดเห็นต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญรวมทั้งแนวทางในการปฏิรูปด้านต่าง ๆ
-------
ปธ.อนุ กมธ.ชุดที่ 8 ย้ำเสนอความเห็น เน้นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ตั้งสภาตรวจสอบ 77 จังหวัด สมัชชาคุณธรรม สภาคุ้มครองสิทธิ์ฯ จี้ปฏิรูป กสทช. - อสส.

นายไพบูลย์ นิติตะวัน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการ คณะที่ 8 รับผิดชอบศึกษาเกี่ยวกับ ภาค 3 นิติธรรม ศาล และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด 2 การ

ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ องค์กรอิสระ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับสำนักข่าว INN ว่า กรอบเนื้อหาเบื้องต้นที่ได้รายงานต่อ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหญ่ไปนั้น มี 2 ส่วน ประกอบด้วย

เรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งจะมีการเพิ่มกลไกตรวจสอบของภาคประชาชน เช่น ตั้งสภาตรวจสอบ 77 จังหวัด ขณะที่ ส่วนกลาง ก็จะตั้ง สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ และสภาคุ้มครองสิทธิ

มนุษยชน และสิทธิผู้บริโภค ขึ้นมา

ส่วนเรื่ององค์กรอิสระ ก็จะมีการปรับปลี่ยนใหม่ เป็นองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่น คณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), ผู้

ตรวจการแผ่นดิน, สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น และ องค์กรกำกับดูแลอื่น ๆ เช่น กสทช. ที่จะต้องมีการยกเครื่องใหม่ เพราะการทำหน้าที่ มีปัญหาเรื่องความโปร่งใส ใช้งบประมาณตรวจ

สอบไม่ได้ และควรเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นคณกะรรมการกำกับสื่อสารสารธารณแห่งชาติเท่านั้น ตลอดจนองค์กรอัยการก็ควรจะมีการปรับปรุงด้วยเช่นกัน
------------
"วันชัย" แจงปฏิรูปตำรวจเพื่อแก้ปัญหาสะสมยาวนาน ป้องกันการเมืองแทรก พร้อมเดินหน้าทันที ยกร่างกฎหมายลูกรองรับ

นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า เบื้องต้น กมธ. มีมติเสนอให้มี

การปฏิรูปตำรวจอย่างเป็นระบบ เพราะเห็นว่ามีปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถึอว่าป็นการผ่าตัดใหญ่ เพื่อให้มีอิสระในการทำหน้าที่ ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง รวมถึงเพื่อ กระจายอำนาจ

ตำรวจ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเข้าไปบริหารองค์กรตำรวจมากขึ้น

ทั้งนี้ ในส่วนของรายละเอียดต่าง ๆ นั้น จะต้องรอดูเนื้อหาของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอีกครั้งว่าจะบัญญัติไว้อย่างไรบ้าง และ กมธ. จะต้องดำเนินการต่อในการร่างกฎหมายประกอบรัฐ

ธรรมนูญ ซึ่งเบื้องต้นมีการวางแผนที่จะตั้งอนุกรรมาธิการในแต่ละด้านที่จะต้องปฏิรูปตำรวจ ศึกษารายละเอียดและยกร่างกฎหมายขึ้นมา เพื่อเสนอให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออกเป็นกฎ
หมายต่อไป
-----------------
"สมบัติ" ระบุ ต้องปรับโครงสร้างทางการเมือง ให้ ปชช. มีส่วนร่วม ฝ่ายบริหาร - นิติบัญญัติ ต้องมีเสถียรภาพสูง ส.ส. ไม่จำเป็นสังกัดพรรค

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองกล่าวปาฐกถา หัวข้อเรื่อง "การปฏิรูปโครงสร้างการเมืองไทย" โดยกล่าว

ถึงโครงสร้างทางการเมืองในประเทศไทยที่ผ่านมาว่า จะต้องมีการปรับโครงสร้างการเมืองใหม่เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น และทำให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมีเสถียรภาพสูง สามารถ

อยู่ครบกำหนด พร้อมไม่มีการยุบสภาและไม่ไว้วางใจ มีการตรวจสอบเข้มข้น เนื่องจากอัยการมีความเป็นอิสระไม่มีการแทรกแซง ทั้งนี้ การใช้ระบบ 2 สภา ทำให้การแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และ

ส.ส. ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีจุดอ่อน เพราะประเทศไทยไม่ใช่ระบบพรรคการเมือง 2 พรรค และฝ่ายบริหารมีอำนาจเบ็ดเสร็จ จึงทำให้เกิดปัญหาอย่างเช่นปัจจุบัน
--------------
คำนูณ เผย กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เตรียมพิจารณาคณะอนุกรรมาธิการที่ 2 ว่าด้วยเรื่องสิทธิเสรีภาพของพลเมือง

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการ ล่าสุด เข้าสู่การประชุมแล้ว โดย นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่าง

รัฐธรรมนูญ เปิดเผยก่อนประชุมว่า วันนี้จะพิจารณารายงานของคณะอนุกรรมาธิการคณะที่ 2 เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ ของพลเมือง ประเด็นการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยมีกรอบสาระสำคัญ คือ

กระบวนการที่ให้ประชาชนมีส่วนในร่วมรับฟังความคิดเห็น ซึ่งจะนำบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2550 หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิ เสรีภาพของชนชาวไทย มาเป็นแนวทาง

จากนั้น จะเป็นการพิจารณาเรื่องศาลและกระบวนการยุติธรรมของคณะอนุกรรมาธิการคณะที่ 7 ส่วนข้อเสนอรูปแบบการเลือกตั้งแบบประเทศเยอรมนี นั้น คณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะพิจารณาใน

วันที่ 12 และ 13 ธันวาคมนี้
----------------
กมธ.ปฏิรูปการเมืองได้ข้อสรุปชง กมธ.ยกร่างฯ มี 2 สภาเหมือนเดิม ส.ส.แบ่งเป็นเขตใหญ่ ฝ่ายบริหารต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า เบื้องต้น ที่ประชุมคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองได้ข้อสรุปในการ

ปฏิรูปประเทศด้านการเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้จะเร่งดำเนินการส่งให้กับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาต่อไป

โดยรายละเอียดสำคัญ คือเสนอให้ยึดหลัก 2 สภา ให้ฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่พิจารณากฎหมายและตรวจสอบอำนาจรัฐ รวมถึงกำหนดให้สภาสูงมีอำนาจในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ส่วนการได้มาซึ่ง ส.ส.แบ่งเขตไม่เกิน 3 คน ส่วนเขตไหนเล็กก็จะมีการลดจำนวน ส.ส. ลงมา ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ และการได้มาซึ่ง ส.ว. ยังคงใช้การเลือกตั้งจากกลุ่มสาขาอาชีพต่าง ๆ แต่ขณะนี้

ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ตลอดจนการได้ซึ่งฝ่ายบริหารต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และเบื้องต้นให้พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่งเสนอบุคคลที่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีทั้งคณะ แล้ว

ให้ประชาชนเป็นคนเลือก รวมถึงต้องเสนอบุคคลเข้ามาเป็นคณะรัฐมนตรี

นอกจากนี้ จะเสนอให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการประเมินผลแห่งชาติ ว่ากระทรวงไหนหรือองค์กรอิสระจะแต่งตั้งใครเข้าในข้าราชการระดับสูงและตั้งคณะกรรมการเข้ามาตรวจสอบ เพื่อลดการ

แทรกแซงด้วย
--------------
"เทียนฉาย" เผย เตรียมแถลงรายงานสรุปต่อ กมธ.ยกร่าง รธน. 19 ธ.ค. นี้ โยนที่ประชุม สปช. พิจารณาเลือกตั้งนายกฯ-ครม. โดยตรง

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยว่า วันที่ 19 ธันวาคมนี้ เตรียมแถลงข่าวอย่างเป็นทางการถึงรายงานสรุปข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นที่จะส่งไปยังคณะกรรมมา

ธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งครบกำหนดกรอบเวลา 60 วัน ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2557 นับจากที่มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาตินัดแรก

พร้อมกันนี้ กล่าวถึงกรณีการเลือกตั้งโดยตรงของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีว่า เรื่องนี้ยังไม่เข้าสู่ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นเพียงความเห็นในชั้นอนุกรรมาธิการเบื้องต้นเท่านั้น

ทั้งนี้ เห็นว่าหากมีการสรุปในคณะอนุกรรมาธิการ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ แต่ก็ต้องให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาก่อน สำหรับปัญหาการทุจริตการเลือกตั้ง การซื้อ

สิทธิ์ขายเสียง ตนขอไม่แสดงความคิดเห็นส่วนตัว เพราะทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
--------------------
สาทิตย์" ชี้ การปฏิรูปการเมือง ต้องเริ่มที่ปรับโครงสร้าง มีระบบตรวจสอบที่เข้มข้น กระจายอำนาจอย่างเท่าเทียม แนะลดอำนาจ กกต.

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ จ.ตรัง และ แกนนำ กปปส. กล่าวว่า การปฏิรูปการเมืองไทยจะต้องปรับโครงสร้างชัดเจน เพื่อเข้าสู่การแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ซึ่งปัญหาที่ผ่านมาคือตัวแทนทางการเมืองไม่มาจากเจตจำนงของประชาชน และพรรคการเมืองยังเป็นแหล่งนายทุนต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น และการถ่วงดุลอำนาจยังไม่ใช่ระบบที่ยุติธรรม ใช้อำนาจเป็นเครื่องมือในการแทรกแซงการตรวจสอบ และการทุจริตเชิงนโยบาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องตั้งกระบวนการตรวจสอบที่เข้มข้นถึงจะเป็นการปฏิรูปอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ การกระจายอำนาจส่วนกลางออกไปสู่ส่วนต่าง ๆ เพื่อไม่ให้กระจุกตัว คือ ต้องเข้าสู่อำนาจที่อิงประชาชน กระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น และสร้างการตรวจสอบอำนาจ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นพรรคการเมืองต้องมีสมาชิกพรรรคมากกว่า 5% ของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ประชาชนสามารถตรวจสอบพรรคการเมืองได้ และควรลดอำนาจ กกต. ในการให้ใบเหลืองใบแดง โดยให้เป็นอำนาจศาลในการตัดสินนักการเมืองห้ามเล่นการเมืองตลอดชีวิต

ด้าน นายสมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. กล่าวว่า วิธีการได้มาในการปฏิรูปประเทศนั้นมันต้องนำมาข้อมูลทั้งหมดนำมาแก้ไขเพื่อให้ได้วิธีเหมาะสมกับประเทศ ส่วนฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหารนจะมาจากการเลือกตั้งทางตรงตรงหรือทางอ้อมหรือได้แต่ต้องมาจากการตรสจสอบจากประชาชนในการตรวจสอบอำนาจฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ
---------------------
"สุริยะใส" ความผิดพลาดของการเมืองไทย คือ การพยายามย่อลงมาอยู่ในรัฐธรรมนูญทั้งหมด แต่ตอบไม่ได้อยู่ภายใต้ รธน.

นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย หรือ สปท. กล่าวว่า โจทย์สำคัญคือการออกแบบรัฐธรรมนูญออกมาให้ดีที่สุดหรือยัง และความผิดพลาดของการเมืองไทย คือ การเมือง

ไทยถูกย่อลงมาอยู่ในรัฐธรรมนูญทั้งหมด และคำตอบทั้งหมดไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และเราเจอปัญหานอกรัฐธรรมนูญมามาก ดังนั้น คำถามใหญ่ คือ รัฐบาลควรมาจากประชาชนและรัฐบาลไม่

เคยตามสนองความต้องการของประชาชน และเห็นว่าต้องปรับกลไกการกระจายอำนาจระหว่างรัฐบาลและประชาชน และกลไกการปฏิรูปต้องมีความต่อเนื่อง ตลอดจนสร้างความปรองดองและ

อิสระจากลุ่มขั้วทางการเมือง
---------------------------
"สมบัติ" เผย ที่ประชุม กมธ.ปฏิรูป มีมติเสียงข้างมากเสนอ กมธ.ยกร่าง รธน. ให้ ฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรง

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ มีมติเสียงข้างมากในประเด็นข้อเสนอโครงสร้างทางการเมือง เพื่อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ อาทิ เห็นควรกำหนดให้ฝ่ายบริหาร หรือคณะรัฐมนตรี มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง หรือ cabinet list และให้ทำหน้าที่เฉพาะฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียว โดยให้พรรคการเมืองเสนอบัญชีรายชื่อคณะรัฐมนตรี กำหนดตำแหน่งทั้งนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวงอยู่ในบัญชีรายชื่อ ส่วนโครงสร้างของฝ่ายนิติบัญญัติ กำหนดให้มี 2 สภา คือสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมาธิการในวันจันทร์ที่ 8 ธันวาคมนี้ จะสรุปรวมข้อเสนอ เพื่อส่งต่อเข้าสู่การพิจารณาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ก่อนที่จะประชุมสรุปข้อเสนอทั้งหมด ส่งต่อให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
----------------------
กต. ผนึกกำลังสำนักเลขาฯ สภา จัดสานเสวนาแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อการปฏิรูป 

กระทรวงการต่างประเทศ โดยความร่วมมือกับสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะจัดงานสานเสวนาปฏิรูป “On the Path to Reform” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและเรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิรูปของประเทศต่างๆ และจะมีผู้เข้าร่วมจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ หน่วยราชการ ภาควิชาการ และผู้แทนคณะทูตานุทูต และองค์การระหว่างประเทศ

ซึ่งภายในงาน พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ นายมาร์ติน ชุนก็อง (Mr.
Martin Chungong) เลขาธิการสหภาพรัฐสภา จะกล่าวสุนทรพจน์ในช่วงพิธีเปิด

นอกจากนี้ ที่ประชุมจะได้รับฟังทัศนะและประสบการณ์ของประเทศต่าง ๆ จากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาการปฏิรูปจากมิตรประเทศต่างๆ อาทิ โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สหรัฐฯ และองค์กร Center for Humanitarian Dialogue ในสามสาขาของการปฏิรูป ได้แก่ การปฏิรูปการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน และการปกครองส่วนท้องถิ่น
----------------------
"พรเพชร" ย้ำหลักการออกกฎหมาย สนช. มี 5 ข้อ เป็นธรรม เคารพสิทธิ์ ไม่ก่อขัดแย้งสร้างปรองดอง ลดความเหลื่อมล้ำ

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวในงานสานเสวนาปฏิรูป “On the Path to Reform” ว่า ประเทศไทยอยู่ในช่วงการปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งการดำเนินงานได้เป็นไปตามโรดแมป ที่ คสช. ตั้งไว้ โดยขณะนี้อยู่ในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการบริหารบ้านเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่ง สนช. ได้ทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ในการตรากฎหมายที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ นายพรเพชร ยังกล่าวถึงคุณหลักการสำคัญในการตรากฎหมายของ สนช. ชุดนี้ ประกอบด้วย 5 ข้อ คือ อาทิ เป็นธรรม สอดคล้องกับหลักนิติธรรม เคารพสิทธิ ไม่เป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง สร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมยืนยันว่า สมาชิก สนช. มีความมุ่งมั่นพยายามตรากฎหมายให้สอดคล้องกับหลักการทั้ง 5 ข้อ ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว

อย่างไรก็ตาม สนช. ได้ให้ความสำคัญกับประชาชนในการตรากฎหมายโดยเปิดโอกาสให้กับประชาชนเสนอความเห็นมาได้โดยตรง เพราะมองว่า การปฏิรูปประเทศ ต้องอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจและตระหนักว่า แม้ สนช. จะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่ต้องเคารพและรับฟังเสียงของประชาชนเป็นหลัก ดังนั้น การปฏิรูปจะสำเร็จได้ต้องได้รับความเข้าใจและการยอมรับจากประชาชน
------------------------
กมธ.ปฏิรูปคุ้มครองผู้บริโภค เสนอความเห็นเตรียม กมธ.ยกร่าง รธน. 7 ประเด็น ชูคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคตามมาตรฐานสากล ลดเหลื่อมล้ำ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง คณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. แถลงว่า เสนอให้บรรจุสาระสำคัญการคุ้มครองผู้บริโภค 7 ประเด็น คือ ยกระดับความคุ้ม

ครองสิทธิผู้บริโภคตามมาตราฐานสากล ทำกฎหมายสนับสนุนคุ้มครองผู้บริโภคและพร้อมให้องค์กรผู้บริโภคตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายได้ พัฒนากลไกชดเชยเยียวยาความเสียหายทันที
และสะดวก สนับสนุนให้เกิดศาลผู้บริโภคในศาลยุติธรรม สนับสนุนให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีอำนาจส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคในท้องถิ่นได้ พร้อมทั้งพิจารณาพระราชบัญญัติที่ประชาชนเข้าชื่อ

เสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ ทุกขั้นตอนของการพิจารณาใน สนช. และรัฐต้องจัดกลไกในการป้องกันการผูกขาดทางการค้าที่มีประสิทธิภาพไม่ให้เกิดการผูกขาดตัดตอนโดยกลุ่มธุรกิจขนาด
ใหญ่

ทั้งนี้ เพื่อให้มีกลไกป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน และมีการบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัด เป็นธรรมในรัฐธรรมนูญ
-------------------
พล.อ.ธนะศักดิ์ ระบุ มอบสถานทูตรวบรวมความคิดเห็นคนไทยในต่างแดนส่ง สปช. ขณะ "พรเพชร" ชี้ ปฏิรูปประเทศต้องฟังเสียงต่างประเทศด้วย 

พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรววงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการเปิดการสานเสวนาปฎิรูป On the Path t  Reform ว่า การเสวนาครั้งนี้ถือเป็น

การจัดขึ้นครั้งแรก ซึ่งต่อจากนี้จะมีการจัดแบบนี้งานเสวนาอีกหลายครั้ง ส่วนการเสวนาครั้งนี้ เป็นในหัวข้อด้านบริหารราชการแผ่นดิน การปฏิรูป การปกครองท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำ

ให้เกิดความเข้าใจนโยบายของรัฐบาล โดยความเห็นทั้งหมดจากการเสวนาจะรวบรวมและนำสิ่งที่ดีมาใช้ประโยชน์เพื่อการปฏิรูป

นอกจากนี้ รัฐบาลจะรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายทั้งทั้งมนและต่างประเทศ โดยการรับฟังความเห็นคนไทยในต่างประเทศนั้น ได้มอบให้สถานเอกอัคราชฑูตทำหน้าที่รวบรวมความคิดเห็นเพื่อ

ส่งให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ต่อไป

ขณะที่ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ความเป็นไปของประเทศไทยอยู่ในสายตาของต่างประเทศ ดังนั้นการปฏิรูปนอกจากฟังเสียประชาชนแล้วต้องรับ

ฟังความเห็นของต่างประเทศด้วยแต่ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามแบบอย่างของต่างประเทศทุกอย่าง โดยสำหรับหลักการอยู่ร่วมกันในสังคม ความยุติธรรม ความเสนมอภาค และหลักของกฎหมายนั้น

เป็นสิ่งที่ต้องรับฟังและจะนับมา ปรับให้เข้ากับวัฒนธรรรมและรูปแบบการปกครองของไทยตามความเหมาะสม โดยไม่ทิ้งหลักการร่วมกันที่ใช้กันเป็นสากล
----------------------
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ย้ำรัฐบาลต้องเสนอ พรบ.นิรโทษกรรมเอง เพราะสนช. ไม่มีหน้าที่เสนอกฎหมาย พร้อมคัดค้านกฎหมายที่สร้างความขัดแย้ง ขณะคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 

พิจารณารายงานของคณะอนุกรรมาธิการ 2 คณะ

ความเคลื่อนไหวที่รัฐสภา นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระบุว่า การออกกฎหมายนิรโทษกรรมต้องเริ่มจากรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการ โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจาก

ประชาชนจนตกผลึก ก่อนเสนอร่างกฎหมายมายัง สนช. เพื่อพิจารณาตามหลักการ เพราะ สนช. ไม่มีหน้าที่เสนอกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาเอง

ขณะเดียวกัน นายพรเพชร กล่าวด้วยว่า การประชุม สนช. พรุ่งนี้ มีวาระพิจารณากฎหมายที่สำคัญคือ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก ที่สมาชิก สนช.ให้ความสนใจ โดยสมาชิกบางส่วนเห็นว่า ควรยก

เว้นการเสียภาษีสำหรับเกษตรกรที่รับมรดกที่ดิน เพื่อใช้ในการเกษตรกรรม ซึ่งที่ประชุมจะพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อไม่เกิดปัญหาโต้แย้งในภายหลัง

ขณะที่การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการฯ แถลงผลการประชุมว่า กมธ.ได้พิจารณาข้อเสนอของอนุ กมธ.2 คณะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ

หลักสิทธิเสรีภาพของพลเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดย อนุ กมธ.เสนอให้รัฐมีหน้าที่คุ้มครองประชาชนทุกคน ตามหลักสิทธิขั้นพื้นฐาน
อย่างเท่าเทียมกัน และให้คนไทยมีสิทธิทางพลเมือง

นอกจากนี้ อนุ กมธ. เกี่ยวกับนิติธรรม ศาล และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เสนอแนวทางเกี่ยวกับศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเสนอให้สามารถทบทวนคำวินิจฉัย

ได้ โดยเปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์ ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีการเสนอให้เพิ่มองค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และให้มีความหลากหลายมากขึ้น ส่วนศาลยุติธรรม กำหนดให้คดีทั่วไปสิ้นสุด

ขณะเดียวกันเรื่องของกระบวนการยุติธรรม กำหนดให้มีความเที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฏหมาย มีบรรทัดฐานการดำเนินคดีที่ชัดเจน ไม่เลือกปฏิบัติ
--------------
กมธ.ยกร่าง รธน. พิจารณารายงานของอนุกรรมาธิการเสร็จแล้ว 2 คณะ หลักสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอของอนุกรรมธิการ 2 คณะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักสิทธิเสรีภาพของพลเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง และการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยเสนอให้รัฐมีหน้าที่คุ้มครองประชาชนทุกคน ตามหลักสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน และให้คนไทยมีสิทธิทางพลเมือง ส่วนอนุกรรมาธิการ เกี่ยวกับนิติธรรม ศาล และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เสนอแนวทางเกี่ยวกับศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้สามารถทบทวนคำวินิจฉัยได้ พร้อมเปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์ ขณะที่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีการเสนอให้เพิ่มองค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และให้มีความหลากหลายมากขึ้น

ขณะเดียวกัน เรื่องของกระบวนการยุติธรรม กำหนดให้มีความเที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย มีบรรทัดฐานการดำเนินคดีที่ชัดเจน ไม่เลือกปฏิบัติ
------------------
"ถวิลวดี" ชี้ ความเชื่อคนไทย ยังเห็นว่าการทุจริตเป็นเรื่องจำเป็น แนะถึงเวลาปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้บังคับใช้มีประสิทธิภาพสูงสุด

สถาบันพระปกเกล้า จัดแถลงผลงานวิชาการเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย เพื่อนำข้อมูลข้อเสนอแนะความคิดเห็น พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อเสนอ ความเป็นไปได้ที่รวบรวมจากทุกภาคส่วน เพื่อนำเสนอ

ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการหาทางออกจากความขัดแย้ง และการปฏิรูปประเทศไทย อย่างยั่งยืน

นางสาวถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ที่เสนอผลงานในหัวข้อ "แนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริต เพื่อสร้างดุลอำนาจอย่างแท้จริง" ระบุว่า จากการศึกษาของสถาบันพระปกเกล้า

พบว่าที่มาของความเชื่อมั่น เรื่องการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่ลดลงเป็นเพราะประสิทธิภาพในการกำจัดการทุจริตคอร์รัปชันไม่ได้ผล และความเชื่อของคนไทย ยังเห็นว่าการทุจริตเป็นเรื่อง

จำเป็น เพราะจะทำให้เกิดผลงาน ซึ่งคนส่วนใหญ่เห็นว่า การทุจริตระดับชาติเกิดขึ้นมากกว่าระดับท้องถิ่น เพราะงบประมานที่แตกต่างกัน อีกทั้ง ปัญหาเรื่องข้อกฎหมายที่จะเอาผิดกับผู้ที่ทำการ

ทุจริตยังล้าสมัย เพราะไม่ได้รับการปรับปรุง ดังนั้น จึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้การบังคับใช้มีประสิทธิภาพสูงสุด
-----------------
กมธ.ปกครองส่วนท้องถิ่น ทำความเห็นเสนอ สปช.เสร็จแล้ว80% คาดสัปดาห์หน้าครบถ้วน เน้นการมีส่วนร่วม ปชช.กระจายอำนาจเต็มรูปแบบ 

นาย เกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดเผยกับสำนักข่าว INN  ว่า กมธ.ปฏิรูปด้านการปกครองส่วน

ท้องถิ่น มีการรวบรวมความเห็น เพื่อเตรียมเสนต่อที่ประชุมใหญ่ สปช. เพื่อส่งต่อให้กับ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 80 ซึ่งคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะ
ตกผลึกกรอบความคิดได้เสร็จอย่างแน่นอนโดยมีเนื้อหาที่สำคัญประกอบด้วย เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน  ที่อาจจะมีการจัดตั้งสภาพลเมือง มาเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นร่วมกับกลุ่มที่มาจากการ

เลือกตั้ง รวมถึงเรื่องของการกระจายอำนาจเต็มรูปแบบ  

ทั้งนี้ นายเกรียงไกร ยังกล่าวด้วยว่า ในส่วนของเนื้อหา รายละเอียดทั้งหมด นั้นอาจจะต้องมีการลงพื้นที่จริง สอบถามความคิดเห็นของส่วนราชการต่างๆ เพิ่มเติมว่าเห็นด้วยกับกรอบดังกล่าวหรือ

ไม่ด้วย
///////////////
นายกฯ

นายกฯ นำ ขรก.ถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นข้าราชการที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท แก้ปัญหาประเทศชาติ

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ในช่วงเช้าวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2557 ที่ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีคณะรัฐมนตรี ข้าราชการพลเรือนทุกส่วนราชการ ทั้งทหาร ตำรวจ ผู้บริหารของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ เข้าร่วมในพิธีอย่างพร้อมเพรียง

โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และนำข้าราชการที่ร่วมงานกล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณว่า จะประพฤติปฏิบัติตนเป็นข้าราชการที่ดี มีความซื่อสัตย์สุจริต เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท มุ่งมั่นแน่วแน่แก้ไขปัญหาของประเทศชาติและประชาชน สร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่แผ่นดิน และดำเนินชีวิตโดยยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนแห่งศาสนาตามแนวทางพระบรมราโชวาทตลอดไป
-----------
เลขาธิการสภาฯ นำข้าราชการถวายสัตย์ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2557

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ถือฤกษ์เวลา 09.09 น. ร่วมเป็นประธานในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2557 ที่บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา 1

โดยเริ่มจากผู้อำนวยการสำนักงานบริหารส่วนกลาง กล่าวรายงาน จากนั้นประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ถวายความเคารพพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเปิดกรวยกระทงดอกไม้ ถวายเครื่องสักการะแล้วถวายความเคารพ จุดเทียนชัย พร้อมกล่าวถวายพระพรชัยมงคลและกล่าวนำถวายสัตย์ปฏิญาณตน ต่อด้วยการร่วมร้องเพลงพ่อแห่งแผ่นดิน เพลงจำขึ้นใจ และเพลงสรรเสริญพระบารมี ถือเป็นอันเสร็จสิ้นพิธี

ทั้งนี้ บริเวณโดยรอบได้จัดบูธนิทรรศการ เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน พร้อมจัดสถานที่ลงนามถวายพระพรด้วย
------------------
เลขาธิการวุฒิสภา นำถวายสัตย์เป็นข้าราชการที่ดี ขณะ "วุฒิสาร" แถลงผลงานวิชาการเพื่อการปฏิรูปประเทศ

บรรยากาศที่รัฐสภา ล่าสุด นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา นำคณะผู้บริหารและข้าราชการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถวายพระพรชัยมงคลและถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2557

ทั้งนี้ บรรดาข้าราชการต่างสวมใส่เสื้อเหลือง เพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัว

ขณะเดียวกัน นายวุฒิสาร ตันไชย สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะรองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ร่วมเป็นประธานเปิดงานสัมมนา เรื่อง "แถลงผลงานวิชาการเพื่อการปฏิรูปประเทศ” ภายใต้โครงการสู่ทศวรรษที่เก้า : ก้าวใหม่ของระบอบประชาธิปไตย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองแบบตัวแทนกับการเมืองภาคพลเมืองที่เหมาะสม โดยจะมีการนำเสนอผลงานวิชาการในหัวข้อต่าง ๆ ด้วย

--------------------
ปลัด กห. นำบุคคลากรถวายสัตย์ปฏิญาณตน เป็นข้าราชการที่ดี ตามรอยพระยุคลบาท พร้อมจะมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาของชาติและประชาชน

กระทรวงกลาโหม จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล ทรงเจริญพระชนมพรรษา 87 พรรษาในวันที่ 5 ธันวาคม 2557 โดยมี พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ซึ่งในพิธีมีตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ  สังกัดกระทรวงกลาโหมถวายเครื่องราชสักการะ วางพานพุ่มทอง-พานพุ่มเงิน อาทิ กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ เป็นต้น

จากนั้นได้ร่วมถวายพระพรชัยมงคล พร้อมถวายสัตย์ปฏิญาณ โดยกล่าวว่าจะเป็นข้าราชการที่ดีและตามรอยพระยุคลบาท พร้อมจะมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาของชาติและประชาชน เสริมสร้างคุณประโยชน์ให้แก่แผ่นดิน โดยยึดมั่นในหลักธรรมและความถูกต้องตลอดไป

ทั้งนี้ ข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหมยังได้ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และเพลงพ่อแห่งแผ่นดิน เพื่อถวายความเคารพและจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
--------------------
พล.อ.อุดมเดช นำกล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล พร้อมถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นข้าราชการที่ดีซื่อสัตย์ สุจริต

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นประธานนำข้าราชการกองทัพบก กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และคำถวายสัตย์ปฏิญาณในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเพื่อเป็นข้าราชการ

ที่ดี และเป็นพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 87 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2557

โดย พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า ในนามของข้าราชการกองทัพบก ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่าจะประพฤประติปฏิบัติเป็นข้าราชการที่ดีมีความซื่อสัตย์ สุจริต เจริญรอยรอยตามพระราชดำรัส มุ่งมั่นแน่วแน่

แก้ไขปัญหาสร้างสรรค์ให้ประโยชน์แผ่นดิน ดำเนินชีวิตตามคำสอนศาสนาและแนวทางพระบรมราโชวาทสืบไป
--------------
ประธาน ป.ป.ช. นำข้าราชการถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นข้าราชการที่ดีของแผ่นดิน ก่อนเตรียมลงนามความร่วมมือกับมหาดไทย

ที่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)  นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. นำคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้ง 7 คน และข้าราชการใน

สังกัด เข้าถวายพระพร และถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นข้าราชการที่ดีของแผ่นดินต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระ

เจ้าอยู่หัว 5 ธันวามหาราช โดยกรรมการและเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ต่างพร้อมใจกันสวมเสื้อสีเหลืองตราสัญลักษณ์

ขณะที่ เวลาประมาณ 10.30 น. จะมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือในการรณรงค์ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระหว่าง ป.ป.ช. และกระทรวงมหาดไทย

-------------
"ยงยุทธ" ยัน ยังไม่ลาออก ทำหน้าที่ตามปกติ เร่งเตรียมการแถลงผลงานรัฐบาล 3 เดือน 

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าว จะลาออกจากตำแหน่งโฆษกรัฐบาลว่า ยังคงทำหน้าที่ตามปกติ  ซึ่งทีมโฆษกรัฐบาลยังคงประสานงานช่วยเหลือกันและไม่มีปัญหา โดยยังคงมุ่งมั่นทำงานทุ่มเทเต็มที่เช่นเดิม อีกทั้งตลอดเวลาที่ทำงานมา นายกรัฐมนตรี ยังให้กำลังใจมาโดยตลอด  และเชื่อว่า กระแสข่าวดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับกรณีการรับงานของบริษัทของตนแต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการเตรียมแถลงผลงานรัฐบาล 3 เดือน ซึ่ง นายกรัฐมนตรี ได้ให้แนวทางไว้แล้ว นายกรัฐมนตรีจะแถลงเป็นหลักและมีรองนายกรัฐมนตรีบางส่วนร่วมแถลงในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

ส่วนเรื่องของขวัญปีใหม่ที่จะมอบให้กับประชาชนนั้น มีเรื่องดี ๆ หลายเรื่องด้วยกัน ถือเป็นของขวัญให้กับประชาชนและมองไปสู่ปีหน้าที่ถือว่ามีความสำคัญ ซึ่งมีเรื่องการปฏิรูปที่จะต้องเดินหน้าต่อไป และอยากให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม
  ----------------
นายกฯ ปาฐกถา หอการค้าต่างประเทศ ย้ำเดินหน้าตามโรดแมป จะมี ปชต.-เลือกตั้งแน่นอน ขออย่ากังวลอัยการศึก มีไว้เพื่อดูแลความปลอดภัยเท่านั้น 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เดินทางมากล่าวปาฐกถากับสมาชิกหอการค้าต่างประเทศในไทย ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี

โดยกล่าวย้ำว่า รัฐบาลมีการดำเนินการตามขั้นตอน 3 ระยะ ซึ่งระยะที่ 2 คือ การปฏิรูปประเทศ ใน 18 ประเด็น ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนตามโรดแมป พร้อมยืนยันว่า ประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยอย่างแน่นอน และในอนาคตจะมีการเลือกตั้ง และจะไม่ให้เกิดความวุ่นวายในประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและอย่ากังวลเรื่องกฎอัยการศึก เนื่องจากมีไว้เพื่อความปลอดภัย โดยยืนยันว่ามีมาตรการดูแลเรื่องความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ระบุว่า เชื่อมั่นในทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล และยังเชื่อว่าเศรษฐกิจของไทยในไตรมาสแรกของปี 2558 จะดีขึ้น ซึ่งทางรัฐบาลได้กำหนดแนวทางเรื่องเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ การพัฒนาการค้าขายตามแนวชายแดน เศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งยืนยันว่าไทยพร้อมผลักดันความร่วมมือกับทุกประเทศ
///////////////
คสช./อัยการศึก

พล.อ.อุดมเดช รับ พิจารณาตามสถานการณ์ คงกฎอัยการศึก ติง ชู 3 นิ้วต้านนายกฯ ไม่เหมาะ เดินหน้าทำความเข้าใจ พร้อมคุยสันติสุขแก้ใต้

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก เปิดเผยถึง ของขวัญปีใหม่ที่จะมอบให้กับประชาชนว่า โดยทั่วไปของขวัญที่กองทัพบก จะมอบให้ประชาชน คือการทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในการดูแลปก

ป้องผืนแผ่นดิน และงานที่เกี่ยวกับการดูแลประชาชนในส่วนอื่น ๆ กรณีการประกาศใช้กฎอัยการศึกนั้น ต้องดูที่สถานการณ์เป็นหลัก ซึ่งหากเห็นว่า ยังมีความจำเป็นคงต้องคงกฎหมายพิเศษไว้

ส่วนกรณีที่ กลุ่มนักศึกษา ทำสัญลักษณ์ 3 นิ้ว ให้แก่นายกรัฐมนตรีนั้น มองว่า เป็นเรื่องไม่เหมาะสม จึงต้องมีกระบวนการทำความเข้าใจ พร้อมกันนี้ ขออย่าให้เป็นเรื่องราวใหญ่โต รวมถึงข้อมูลที่

พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ออกมาเปิดเผยว่า มีการจ้างวานนักศึกษากลุ่มดังกล่าว มีข้อมูลบางอย่างต้องตรวจสอบต่อไป

นอกจากนี้ พล.อ.อุดมเดช ยังกล่าวถึงกรณีการพูดคุยสันติสุขว่า ขณะนี้เป็นหน้าที่ของผู้ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงคือ พล.อ.อักษรา เกิดผล ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด การกำหนดขั้นตอนต่าง

ๆ และรอความพร้อม เพื่อดำเนินการต่อไป นอกจากนี้จะใช้แนวทางเปิดโอกาศให้ผู้กระทำความผิด ได้กลับเข้ามาสู่แนวทางที่ถูกต้อง  ซึ่งเป็นแนวทางที่ต้องการปฏิบัติมากกว่าการใช้กำลังปราบ

ปรามผู้กระทำผิด
-------------------
"พรเพชร" โยนรัฐบาลเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ย้ำ สนช. ไม่มีหน้าที่เสนอกฎหมายเอง พร้อมค้านกฎหมายสร้างความขัดแย้ง

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระบุว่า การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ต้องเริ่มจากรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการ โดยต้องรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนจนตกผลึก ก่อนเสนอ

ร่างกฎหมายมายัง สนช. เพื่อพิจารณาตามหลักการ เพราะ สนช. ไม่มีหน้าที่เสนอกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาเอง ส่วนข้อเสนอที่จะให้บรรจุเรื่องนิรโทษกรรมไว้ในร่างรัฐธรรมนูญนั้น ต้องไปถาม นาย

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ขอยืนยัน สนช. ไม่สนับสนุนหากการออกกฎหมายนิรโทษกรรมส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง

ขณะเดียวกัน นายพรเพชร กล่าวด้วยว่า การประชุม สนช. พรุ่งนี้ มีวาระพิจารณากฎหมายที่สำคัญคือ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก ที่สมาชิก สนช. ให้ความสนใจ โดยสมาชิกบางส่วนเห็นว่า ควรยก

เว้นการเสียภาษีสำหรับเกษตรกรที่รับมรดกที่ดิน เพื่อใช้ในการเกษตรกรรม ซึ่งที่ประชุมจะพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อไม่เกิดปัญหาโต้แย้งในภายหลัง
------------------------
พล.อ.อนุพงษ์ แจงมหาดไทยเร่งทำงานเพื่อสร้างความปรองดอง วอนอย่างสร้างความขัดแย้ง ให้ชาติเดินหน้า

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึง กระแสข่าวเรื่องที่นักการเมืองท้องถิ่นอยู่เบื้องหลังการออกมาต่อต้านรัฐประหารของกลุ่มดาวดิน ว่า ขณะนี้ ทางกระทรวง

มหาดไทยก็มีการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปรองดองซึ่งหากมีการลงพื้นที่ก็จะมีการเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจว่าสิ่งใดทำแล้วเกิดประโยชน์ต่อชาติ สิ่งใดที่ไม่ควรทำ แต่ถ้า

อาศัยความขัดแย้งไปทำให้เกิดเหตุการณ์ ประเทศชาติก็เดินไปไม่ได้

เมื่อถามว่า จะมีการป้องกันการต่อต้านตัวรัฐธรรมนูญที่กำลังจะออกมาอย่างไร พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ตนว่าจุดสำคัญของรัฐธรรมนูญ คือ การมีผลในอนาคตทำให้สังคมยอมรับ ทุกภาคส่วน ทุกฝ่าย

ที่อยู่ในความขัดแย้งหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง นักวิชาการผู้มีประสบการณ์ นักการเมือง ทำให้ได้ข้อยุติ ทะเลาะกันก่อน เถียงกันให้พอ แต่เมื่อรัฐธรรมนูญออกมาอยากให้ทุกคนยอมรับ
----------------------
ผบ.ทบ. ระบุ ยังไม่พบ "ยิ่งลักษณ์" ขออนุญาตไปต่างประเทศช่วงปีใหม่ รับมีนักการเมืองหลายคนประสานงานมาแล้ว

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นักการเมืองได้ขออนุญาตคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดิน

ทางออกไปนอกประเทศช่วงปีใหม่หรือไม่ ว่าได้มีการขออนุญาตมาบ้าง ซึ่งทาง คสช. ก็จะพิจารณาความเหมาะสมหากบุคคลเหล่านั้นมีความเรียบร้อยดีและปฏิบัติตัวดีอยู่ในกรอบ ส่วน น.ส.ยิ่ง

ลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ขออนุญาตในการเดินทางไปต่างประเทศหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่พบว่ามีการขออนุญาตมาแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วแต่ละบุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศก็ให้ความร่วมมือกับ คสช. ดังนั้นจึงต้องขอขอบคุณ และหากดำเนินการเรียบร้อยดีเช่นนี้โรดแมปที่ คสช. กำหนดไว้ก็จะสำเร็จ

ลุล่วงไปได้

นอกจากนี้ พล.อ.อุดมเดช ยังกล่าวถึงกรณีผบการตรวจสอบเฮลิคอปเตอร์ รุ่นเบลล์ 212 ที่ตกในจังหวัดพะเยานั้น เกิดจากความขัดข้องกระบวนการเครื่องยนต์ โดยไม่ใช่เรื่องสภาพอากาศหรือนักบิน

ซึ่งขณะนี้ กองทัพบกแม้ไม่ได้ระงับการใช้งานเฮลิคอปเตอร์รุ่นดังกล่าว แต่เฮลิคอปเตอร์ต้องได้รับการตรวจสอบทุกลำก่อนนำไปใช้ และทางกองทัพจะมีการพูดคุยในที่ประชุมถึงแผนการจัดหา

เฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่เพื่อนำมาใช้งานอีกด้วย
/////////////////
อญก.

ศาลอาญาพิพากษา จำคุก "จ่าประสิทธิ์" 5 ปี คดีหมิ่นสถาบัน สารภาพลดโทษเหลือ 2 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา  

ศาลอาญารัชดา อ่านคำพิพากษากรณีอัยการยื่นฟ้อง จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ไชยศรีษะ อดีต ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย หมิ่นสถาบันเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากกรณีเมื่อวันที่

7 พฤษภาคม 2557 จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ได้กล่าวปราศรัยบนเวทีในการจัดกิจกรรม “หยุดล้มล้างประชาธิปไตย” ที่ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ สาขาลาดพร้าว

ซึ่งก่อนหน้านี้ ศาลได้ตรวจพยานหลักฐานในคดี แต่ จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ได้ให้การปฏิเสธ ต่อมา จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ได้ยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาลขอกลับคำให้การ โดยขอรับ

สารภาพผิด ไม่ขอต่อสู้คดีอีกต่อไป เพราะสำนึกในความผิดที่ได้กระทำไป

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ มีความผิดตามฟ้อง พิพากษาจำคุก 5 ปี แต่รับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน

ทั้งนี้ ศาลได้พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี และรายงานการสืบเสาะแล้วเห็นว่า ข้อความที่ปราศรัยเป็นเรื่องร้ายแรงและจ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ เป็น ส.ส. ถึง 2 สมัย ย่อมต้องรู้ผิดชอบ มีวิจารณญาณ

มากกว่าคนทั่วไป และพบว่า จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ เคยมีประวัติกระทำความผิดมาแล้ว แต่กลับมาทำผิดอีกในเรื่องที่ร้ายแรงขึ้นกว่าเดิมจึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ

นอกจากนี้ จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ระบุว่า เบื้องต้นไม่ติดใจที่จะอุทธรณ์ และขณะนี้ถูกคุมขังมานานแล้วกว่า 6 เดือน
-------------
คดีพงศ์พัฒน์

ออกหมายจับอีก 2 คน แก๊งอุ้มทวงหนี้ โยง พงศ์พัฒน์ - ตร. เร่งล่าเสี่ยนพพร

พ.ต.อ.ฤทธิกร สายสนั่น ณ อยุธยา ผกก.สน.พระโขนง เปิดเผยว่า ศาลแขวงพระโขนง ได้อนุมัติหมายจับเครือข่าย พล.ต.ท.พงษ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีต ผบช.ก. เพิ่มอีก 2 ราย คือ นายปรีชา ดาราไตร

และ นายไพเชษฐ์ เมธิสริย์พงศ์ ในความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จ้างวาน ใช้กำลังข่มขู่ และทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย เพื่อขอประนอมหนี้ จากกรณีที่ นายปรีชา ซึ่ง

เป็นเจ้าหนี้ ได้ร่วมกับ นายไพเชษฐ์ นำตัวผู้เสียหาย ซึ่งเป็นลูกหนี้มาข่มขู่บังคับที่บ้านพักของ นายไพเชษฐ์ ในท้องที่ สน.พระโขนง โดยมีการทำร้ายร่างกาย ในลักษณะข่มขู่บังคับให้ใช้หนี้ ต่อมา ผู้

เสียหายคนดังกล่าวได้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ อยู่ในขั้นตอนการติดตามตัวทั้ง 2 มาดำเนินคดีตามกฎหมาย
--------------

//////////////
ปรับโครง ตร.

พล.อ.ประวิตร มอบนโยบายตำรวจ เน้นย้ำงานป้องกันมากขึ้น ชี้ การปฏิรูปองค์กรตำรวจ ควรฟังเสียงจากตำรวจด้วย แต่ สปช. ก็มีสิทธิ์เสนอความคิดเช่นกัน

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางมามอบนโยบายแก่ข้าราชการตำรวจตั้งแต่ระดับผู้บังคับการขึ้นไป โดยมีการตั้งแถวกองเกียรติยศจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจให้การต้อนรับ

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร กล่าวภายหลังว่า ได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และ คสช. พร้อมกำชับให้ตำรวจเน้นกำชับเรื่องการป้องกันก่อนเหตุอาชญากรรม มากกว่าการปราบปรามอาชญากรรม โดยในระยะการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในช่วงที่ผ่านมาถือว่าสอบผ่าน เนื่องจากตำรวจทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรี พร้อมชื่นชมการทำงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนปัจจุบันที่มีความตั้งใจและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยมองว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความสำคัญมาก ในองค์กรถือว่ามีทั้งคนดีและคนไม่ดี โดยเชื่อว่าตำรวจทุกคนมีกำลังใจที่ดีแม้จะมีกระแสข่าวด้านลบแต่ส่วนนั้นถือเป็นเรื่องบุคคล

ส่วนแนวคิดการปฏิรูปโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้น มองว่าเป็นสิ่งที่คิดหรือเสนอได้ ไม่ปิดกั้นแต่มองว่าคนที่รู้และเข้าใจเรื่องตำรวจดีที่สุดคือตำรวจเอง ซึ่งอาจจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันกับ สปช.
-------------
"วัชรพล" ชี้ ปรับโครงสร้างตำรวจต้องคำนึงผลประโยชน์ประชาชน หนุนการกระจายอำนาจ พร้อมส่งแนวคิดปรับโครงสร้างไปยังกรรมาธิการ สนช. แล้ว

พลต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะอนุกรรมการตำรวจและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เปิดเผย กรณีการปฏิรูปโครงสร้างตำรวจว่า ทุกคนมีสิทธิเสนอความคิดเห็นในการปรับโครงสร้าง แต่ที่สำคัญการปรับโครงสร้างต้องต้องคำนึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจในประเทศด้วย แต่เห็นด้วยกับการกระจายอำนาจขององค์กรตำรวจ ซึ่งในส่วนของอนุกรรมการได้มีการส่งแนวคิดปรับโครงสร้างไปยังกรรมาธิการ สนช. แล้ว

โดยเบื้องต้นมีแนวคิดจะกระจายอำนาจให้แต่ละกองบัญชาเป็นนิติบุคคล สามารถบริหารงานได้ด้วยตนเอง แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติยังขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นเดิม พร้อมมองว่าการ

ให้ตำรวจไปขึ้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อม เนื่องจากประเทศไทยปกครองแบบรัฐเดี่ยว ใช้กฎหมายฉบับเดียวปกครองทั่วราชอาณาจักร ซึ่งแตกต่างจากต่างประเทศ แต่อาจจะมีการนำระบบงานบางอย่างของต่างประเทศมาใช้บ้าง

แต่อย่างไรก็ตาม โครงสร้างนี้ยังคงมีอยู่ในหลายประเทศที่มีความแตกต่างทางด้านสังคม และมิติอื่น ๆ

ขณะเดียวกันมองว่าคณะกรรมการข้าราชการ หรือ ก.ตร.ยังมีความจำเป็นและความสำคัญ เพราะควรจะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยบริหารจัดการองค์กรตำรวจให้ดียิ่งขึ้น
//////////////
คดีสำคัญ

ศาลสั่ง 'หมอนิ่ม' เป็นผู้จัดการมรดก กว่า 200 ล้านบาท ร่วมกับ 'พ่อเอ็กซ์-จักรกฤษณ์' ชี้ แม้เป็นภรรยาที่มิได้จดทะเบียนสมรส แต่มีส่วนได้เสียต้องดูแลบุตร 2 คน

ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อ่านคำสั่งในคดีที่ นายมานพ พณิชย์ผาติกรรม บิดาของ เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ อดีตนักแม่นปืนทีมชาติไทย ซึ่งถูกลอบยิงเสียชีวิต เป็นโจทก์ยื่นเรื่องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

ของ เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ มูลค่าประมาณ 200 ล้านบาท โดย พญ.นิธิวดี ภู่เจริญยศ หรือ หมอนิ่ม ภรรยาของ เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ ได้ยื่นคัดค้านไว้ ซึ่งวันนี้ หมอนิ่ม หรือทนายความไม่ได้เดินทางไปฟังคำ

สั่งศาล โดยผู้พิพากษาไม่สามารถอ่านคำสั่งศาลได้ เนื่องจากทนายขอ งหมอนิ่ม ยังไม่ได้ยื่นค่าธรรมเนียมต่อศาลเป็นเงิน 200 บาท ซึ่งทนายโจทก์จึงได้ขอยื่นชำระแทน และศาลก็อนุญาต โดยศาลได้

พิเคราะห์คำร้องของโจทก์แล้ว เห็นว่า นายมานพ บิดาของ เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ ซึ่งเป็นผู้ยื่นคำร้องมีสิทธิในการยื่นขอจัดการมรดก และผู้คัดค้านมีสิทธิ์ในการยื่น เนื่องจากเป็นภรรยาที่มิได้จดทะเบียน

สมรส แต่เป็นผู้มีส่วนได้เสียและต้องดูแลบุตร 2 คน ซึ่งเป็นทายาทตามกฎหมายของผู้ตาย จึงสั่งให้ นายมานพ เป็นผู้จัดการมรดก ร่วมกับ พญ.นิธิวดี ทั้งนี้ นายมานพ พร้อมด้วย ทนายความ ระบุ
จะนำคำสั่งศาลเข้าสู่คณะทำงานทนายความ เพื่อเตรียมยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลต่อไป
----------
ผบก.ภ.จว.สุพรรณบุรี เผย ทำได้เพียงรอให้พม่าส่งตัว เบนซ์ ท่าทราย มาให้ ชี้ คงต้องรอเรื่องเงียบก่อนจึงจะได้ตัว ไม่แน่ใจว่าพม่าจับได้จริง 

พล.ต.ต.ชัชชรินทร์ สว่างวงศ์ ผบก.ภ.จว.สุพรรณบุรี เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. จากกรณีความคืบหน้าสำหรับการติดตามตัว นายอดิศักดิ์ ศรีสะอาด หรือ "เบนซ์ ท่าทราย" ผู้ต้องหาที่โพสต์

เฟซบุ๊กขู่ฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเป็นพ่อค้ายาบ้าข้ามชาติรายใหญ่ในพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี ก่อนที่จะได้ทำการหลบหนีไปอยู่ในประเทศเมียนมา ว่า ขณะนี้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายไทยยังคงต้องทำได้

เพียงแค่รอให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายประเทศเมียนมานั้นทำการส่งตัวของผู้ต้องมาให้ เนื่องจากทางฝ่ายประเทศเมียนมานั้นมีความต้องการที่จะให้เรื่องราวทุกอย่างที่เกี่ยวกับ "เบนซ์ ท่าทราย" ในฝั่ง

ประเทศไทย เงียบ และลดกระแสให้น้อยลงกว่านี้ก่อน จึงจะค่อยทำการส่งตัวของผู้ต้องหาคนดังกล่าวมาให้ยังกับฝ่ายประเทศไทย
 
ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายไทย ก็ยังคงไม่แน่ใจว่าทางประเทศเมียนมา นั้น ได้ทำการจับตัวของ เบนซ์ ท่าทราย ไว้ได้แล้วจริงหรือไม่
---------------

ไม่มีความคิดเห็น: