PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ปัตตานี

Ampaipan Wachaporn ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 3 รูป
วันที่ 30 พ.ย.57 เผย..อาณาจักรปัตตานี เคยเป็นประเทศราชสยาม มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย (ตอนแรก)
Cr:แฉ..ความลับ @ เสธ นํ้าเงิน
ดั่งคำที่ว่า “หากเราไม่เรียนรู้อดีต ก็เท่ากับตามืดบอด และไม่อาจคาดอนาคต“ ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ ที่มีกลุ่มวาฮาบี นอกรีตศาสนา นำไปเป็นข้ออ้างแบ่งแยกดินแดน จนมีกำลังพล และประชาชน สูญเสียชีวิตไปแล้วกว่า 5,350 คน บาดเจ็บกว่า 9,970 คน
อะไรคือรากเหง้าความเป็นมาของปัญหา ข้อเท็จจริงประวัติศาสตร์เป็นดังกลุ่มก่อการร้ายกล่าวอ้างจริงหรือไม่ ประชาชนควรได้ศึกษาประวัติ ของอาณาจักรปัตตานี้ เพื่อทำความเข้าใจปัญหาปัจจุบัน และมองทางแก้อนาคตด้วย
อาณาจักรปัตตานี (มาเลย์: كراجأن ڤتاني; Kerajaan Patani) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในปัจจุบัน อาณาจักรปัตตานีถือกำเนิดสืบเนื่องไปถึงสมัยลังกาสุกะ ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11
พ.ศ.1836 อาณาจักรสิงหัดสาหรี ตั้งอยู่ได้ไม่นาน ก็ถูกเจ้าชายจายากัตวัง แห่งแคว้นเคดิรี ลอบเข้ามาโจมตีนครหลวง ในขณะที่พระเจ้า เกอรตานาการา กำลังประกอบพิธีบูชาศิวะ พุทธเจ้า เจ้าชายวิชายา ราชบุตรเขย ซึ่งยอมจำนนต่อเจ้าชายจายากัตวัง และได้รับการแต่งตั้งให้ไปปกครองดินแดนในแถบลุ่มน้ำ Brantas
ได้รวบรวมกำลังขึ้นต่อสู้กู้เอกราชกลับคืนมาได้ และได้จัดตั้ง อาณาจักร มัชฌปาหิต ขึ้น อิทธิพลของกษัตริย์มัชฌปาหิต ได้ส่ง กองทัพเรือ เข้ามายึดครอง ดินแดนตามหมู่เกาะ ตลอดขึ้นมาถึงปลายแหลมไทย-มลายู ยึดปาหัง เสียมวัง กลันตัน และตรังกานู ฯลฯ ซึ่งเรียกรวมๆ กันว่า ลังกาสุกะ
พ.ศ.1838 ในระยะเดียวกันนี้ อาณาจักรสุโขทัย ก็ได้แผ่อำนาจเข้ามาครอบครองรัฐละโว้-อโยธยา สุพรรณภูมิ และนครศรีธรรมราช ไว้ และได้ผนวกกำลังกันเข้าทำการขับไล่อิทธิพลของกษัตริย์มัชฌปาหิต ออกไปจากแหลมไทยมลายู จีนส่งทูตมาตักเตือนสุโขทัย ไม่ให้รุกรานมาลิยูเออร์
รัฐลังกาสุกะ จึงเข้ามารวมอยู่ “ ในพระราชอาณาจักรของชาวสยาม” เป็นครั้งแรก ภายใต้การควบคุมของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพระญาติของพระเจ้าขุนรามคำแหง ตั้งแต่นั้นมา
พ.ศ.1866 อาณาจักรสุโขทัย หลังจากพ่อขุนรามคำแหงสิ้นพระชนม์แล้ว กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มา ไม่สามารถดำรงความเป็นผู้นำไว้ได้ พระบรมราชากษัตริย์แห่งรัฐละโว้ อโยธยา ทรงปฏิเสธต่ออำนาจอาณาจักรสุโขทัย และได้เข้ายึดครองเมืองนครศรีธรรมราช ตลอดไปจนถึงหัวเมืองต่างๆ บนแหลมมลายู
พ.ศ.1885 กษัตริย์ละโว้-อโยธยา ส่งพระพนมวัง-นางสะเดียงทอง ออกมาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช พระพนมวัง ได้สร้างเมืองนครดอนพระ (อำเภอกาญจนดิษฐ์) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นเป็นศูนย์การปกครองอยู่ชั่วคราว
พ.ศ.1887 พระพนมวัง แต่งตั้งให้พระฤทธิเทวา (เจสุตตรา) ออกไปครองเมืองปัตตานี โดยเรียกชื่อเมืองปัตตานีสมัยนั้นว่า "เมืองโกตามหลิฆัย" หรือ เรียกว่า "ลังกาสุกะ"
พ.ศ.1890 – 1893 พระฤทธิเทวา (พระเปตามไหยกา ของพญาอินทิรา) ได้นำชาวเมืองโกตามหลิฆัย ไปช่วยพระเจ้าอู่ทอง สร้างพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ.1892 สยาม (อาณาจักรละโว้-อโยธยา ของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง) โจมตี Tammasik (สิงคโปร์) พระฤทธิ์เทวา (เจสุตตรา) ครองเมืองโกตามหลิฆัยอยู่จนถึงปี พ.ศ.1927 ก็สิ้นพระชนม์ รวมเป็นระยะเวลาที่ครองราชย์อยู่ 40 ปี กษัตริย์องค์ต่อมา เป็นสมเด็จพระอัยกาของพญาอินทิรา พระโอรสมีนามว่าพญาตุกูรุปมหาจันทรา
พ.ศ.1944 กษัตริย์มะละกาขณะนั้น คือ เจ้าชายปรเมศวร มีเชื้อสาย มาจาก ราชวงศ์ ไศเลนทร์ แห่งเมืองปาเล็มบัง ไปได้เจ้าหญิงในราชวงศ์มัชฌปาหิตมาเป็นพระชายา ต่อมาเกิดขบถขึ้นในเมืองมัชฌปาหิต โดยเจ้าชาย วีรภูมิเป็นผู้นำ จึงลี้ภัยการเมืองมาอาศัยเจ้าเมือง Tamasik (สิงคโปร์) ภายหลังเจ้าชาย ปรเมศวร ได้ลอบฆ่าเจ้าเมือง Tammasik
พ.ศ.1946 เจ้าเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นพระญาติกับเจ้าเมือง Tammasik ได้ขับไล่ปรเมศวรออกไปจากเมือง Tammasik ปรเมศวร จึงหนีมาตั้งเมืองมะละกาขึ้นใน ต่อมา เจ้าชายปรเมศวรได้อภิเษกสมรส กับ พระธิดาเจ้าเมืองปาไซ ในเกาะสุมาตรา ที่นับถือศาสนาอิสลาม
เจ้าชาย ปรเมศวร จึงเปลี่ยนจากการนับถือ ศาสนาฮินดู (ศิวะพุทธ) มาเป็นศาสนาอิสลาม และได้เฉลิมพระนามตามหลักการของศาสนาอิสลามมีนามว่า เมกัตอิสกานเดอร์ชาฮ์ พระองค์เดินทางไปเฝ้าจักรพรรดิ์จีน เพื่อขอให้จีนช่วยเจรจาห้ามปรามกษัตริย์ไทย ทำการรุกราน มะละกา แต่ฝ่ายไทยถือว่า ดินแดนมะละกา อยู่ในความปกครองของสยามมาก่อน
ตามหลักฐาน พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศว่า ครั้งนั้น พระยาประเทศราชเมืองขึ้น 16 เมือง ของสยาม คือ เมืองมะละกา เมืองชวา เมืองตะนาวศรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองทวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิง เมืองสงขลา เมืองจันทบูร เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองพิจิตร เมืองกำแพงเพชร เมืองนครสวรรค์
พ.ศ.1903 - 1990 กฎมณเฑียรบาล ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ระบุว่ากษัตริย์ แต่ได้ถวายดอกไม้ทองเงินนั้น เมืองใต้ เมืองอุยงตาหนะ (หรือฮุยงเมทนี ยะโฮร์ และสิงคโปร์) เมืองมะละกา เมืองมลายู เมืองวรวารี (ไทรบุรี)
เดิมอาณาจักรปัตตานีนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เริ่มเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม และมีความเจริญรุ่งเรืองมาก โดยบางช่วงอาณาจักรแผ่ขยายครอบคลุมถึงกลันตันและตรังกานู ตอนกลางของมาเลเซีย
เมืองปัตตานี พัฒนาขึ้นมาจากหมู่บ้านเล็กๆ ริมฝั่งทะเล เมื่อมีเรือสินค้ามาจอดแวะอยู่บ่อยๆ เมืองก็ขยายตัวออกไป มีผู้คนมาอาศัยหนาแน่น รายาศรีวังสา จึงย้ายเมืองหลวงจากเมืองโกตามะห์ลิฆัย เมืองหลวงเก่า ไปยังปัตตานี สมัยนั้นการติดต่อกับต่างชาติ โดยเฉพาะอินเดียและอาหรับ ได้ส่งผลสำคัญคือการยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม
ในรัชสมัยของพญาอินทิรา (รายาอินทิรา) พระองค์ทรงประชวรด้วยโรคผิวหนังที่ไม่มีใครสามารถรักษาให้หายได้ (น่าจะเป็นโรคเรื้อน) หมอเป็นมุสลิม ชื่อ เช็คสอิด (เช็กซาฟานุคดีน) เป็นชาวเมืองปาไซ ในเกาะสุมาตรา ซึ่งเข้ามาตั้งบ้านอยู่ ณ หมู่บ้านปาไซ (บ้านป่าศรี ในท้องที่ อำเภอยะหริ่ง) ได้รับอาสาถวายการพยาบาล
โดยมีเงื่อนไขว่า หากพระองค์ได้รับการรักษาจนหายจากโรคแล้ว ขอให้รายาอินทิรา ทรงเปลี่ยนจากการเป็นพุทธมามกะ มาเป็นอิสลามิก ซึ่งต่อมาพระองค์ก็ได้รับการพยาบาลจากหมอเช็คสอิด จนโรคผิวหนังนั้นหายขาดสนิท และทรงปฏิบัติตามสัญญา ที่ให้ไว้แก่หมอเช็คสอิด
ด้วยการเข้ารับศาสนาอิสลาม เป็นพระองค์แรก ของกษัตริย์เมือง โกตามหลิฆัย และทรงเปลี่ยนพระนามพระองค์ ตามประเพณีศาสนามีนามว่า สุลต่านอิสมาแอล ชาห์ ซิลลุลลอฮ์ ฟิลอาลาม (สุลต่าน อิสมาเอลชาฮ์ หรือ สุลต่านมูฮัมหมัดชาฮ์) และการดัดแปลงอักษรอาหรับเป็นอักษรยาวี นอกจากนี้ยังติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาอย่างใกล้ชิด
มีการย้ายเมืองหลวงจากโกตามาหาลิไกย มาตั้งที่กรือเซะ แล้วเปลี่ยนเป็นเมือง "ปตานิง" หรือ "ปาตานี" และเรียกชื่อเมืองปาตานีเป็น “ปาตานีดารุส สาลาม” แล้วมีการสืบทอดการปกครอง อาณาจักรปาตานีดารุส สาลาม เป็นกษัตริย์องค์ต่อมา
พ.ศ.1988 – 2002 รัฐปัตตานี เปลี่ยนศาสนาเพราะมะละกา สาเหตุเพราะมะละกา โกรธแค้นไทยที่เคยไปโจมตีมะละกา สุลต่านมุซัฟฟาร์ชาฮ์ จึงส่งกองทัพมาตีหัวเมืองประเทศราชของไทย คือ ปาหัง ตรังกานู และปัตตานีไว้ได้ระยะหนึ่ง
ในปี พ.ศ.2002 - 2020 ในสมัยของสุลต่านมันสุร์ชาฮ์ ราชโอรสของสุลต่านมุซัฟฟาร์ชาฮ์ ซึ่งครองราช ต่อจากพระราชบิดา จึงยอมตกลงเป็นมิตรกับไทย ดังนั้น หัวเมืองประเทศราชของไทย ซึ่งเคยนับถือศาสนาพุทธมาก่อน
ได้แก่ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน ปัตตานี และไทรบุรี ก็ทำการเปลี่ยนศาสนา ในรัชสมัยของกษัตริย์มะละกา เพราะระยะนั้น อาณาจักรมะละกา มีอำนาจทางการเมืองเข้มแข็งมาก และยังทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลาง การเผยแพร่ศาสนาอิสลามอีกด้วย
ระหว่างปี พ.ศ.2012 - 2057 ระยะเวลาที่พญาอินทิรา เจ้าเมืองปัตตานี ผู้เปลี่ยนศาสนา มารับอิสลาม ครองเมืองปัตตานี นั้น ใกล้เคียงกับสมัยของสุลต่านมันสุร์ชาฮ์มาก
พ.ศ. 2106 พม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา รายามุซซอฟาร์ ได้ส่งทัพไปช่วย แต่เมื่อมาถึงปรากฏว่ากองทัพปัตตานี กลับบุกเข้าไปในเมือง แม้จะยึดพระราชวังไว้ได้ แต่สุดท้ายก็ถูกตีตอบโต้กลับมา รายามุซซอฟาร์สิ้นพระชนม์ขณะยกทัพกลับ พระศพถูกฝังไว้ที่ปากอ่าวริมแม่น้ำเจ้าพระยา โอรสของพระองค์จึงได้ชื่อว่า รายาปาเตะสิแย
จากเหตุการณ์นี้ทำให้ความสัมพันธ์กับอยุธยาตกต่ำลง ขณะที่เหตุการณ์ภายใน ก็เต็มไปด้วยการแย่งชิงอำนาจในหมู่เครือญาติเรื่อยมา จนกระทั่งไม่มีผู้สืบทอดอำนาจหลงเหลือ บัลลังก์รายาจึงตกเป็นของสตรีในที่สุด
พ.ศ. 2127-2131 อาณาจักรปัตตานีในช่วงสมัยรายาฮีเยา ถึงรายากูนิง ซึ่งล้วนเป็นกษัตรีย์ ถือเป็นอาณาจักรของชาวมลายู หลังจากมะละกา ตกเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส ทำให้ปัตตานี กลายเป็นศูนย์กลางการค้าขาย และมีความรุ่งเรืองมากที่สุด
พลเมืองปัตตานีมีชายอายุ 16-60 ปี มีอยู่ถึง 150,000 คน เมืองปัตตานีมีผู้คนหนาแน่น เต็มไปด้วยบ้านเรือน ราษฎร ตั้งแต่ประตูราชวัง ถึงตัวเมือง ปลูกสร้างเรียงรายไม่ขาดระยะ หากว่ามีแมวเดินบนหลังคาบ้านหลังแรกไปยังหลังสุดท้าย ก็เดินได้โดยไม่ต้องกระโดดลงบนพื้นดิน เจริญเทียบเท่ากับเมืองอัมสเตอร์ดัมในสเปนก็ไม่ปาน
ปัตตานีมีแคว้นต่างๆ อยู่ภายใต้การปกครองถึง 43 แคว้น รวมทั้งตรังกานู และกลันตันด้วย ในสมัยรายาฮิเยา การติดต่อค้าขายกับต่างชาติเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือสินค้าเข้ามาเทียบท่าอย่างไม่ขาดสาย และเริ่มการค้ากับ ฮอลันดา สเปน และ อังกฤษ เป็นครั้งแรก
พระองค์ยังพระราชทาน พระขนิษฐาอูงู แก่สุลต่านแคว้นปาหัง เพื่อคานอำนาจกับแคว้นยะโฮร์ ต่อมาในสมัยรายาบีรู ปัตตานีและกลันตัน รวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐปัตตานี และทรงพระราชทานพระธิดากูนิง ธิดาของพระขนิษฐาอูงู กับสุลต่านแคว้นปาหัง แก่ออกญาเดโช บุตรเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2167 หลังจากรายาบีรู สวรรคต รายาอูงู ซึ่งเสด็จกลับมาจากปาหัง ก็ตัดสัมพันธ์กับอยุธยา ทรงยุติการส่งบรรณาการแด่อยุธยา ยกทัพตีเมืองพัทลุง และนครศรีธรรมราช พระนางยังให้พระธิดากูนิง ภรรยาของออกญาเดโช อภิเษกกับสุลต่านแคว้นยะโฮร์
พ.ศ. 2177 ด้วยเหตุเหล่านี้ทำให้พระเจ้าปราสาททอง ทรงส่งกองทัพเข้าโจมตีเมืองปัตตานี แต่ไม่อาจเอาชนะได้ เมื่อถึงปี พ.ศ. 2178 รายาอูงู เสด็จสวรรคต นำไปสู่การเจริญสัมพันธไมตรีที่แน่นแฟ้นของ 2 อาณาจักรขึ้นใหม่ในช่วงสั้นๆ ปัตตานีส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองแก่อยุธยาตามเดิม
พ.ศ. 2184 รายากูนิง เสด็จเยือนกรุงศรีอยุธยา แต่ความสัมพันธ์กับกลันตัน กลับตกต่ำลง ราชวงศ์ศรีวังสา สิ้นสุดลง เมื่อกองทัพกลันตันยกทัพตีเมืองปัตตานี แตกในปี พ.ศ. 2231 รายากูนิง เสด็จหนีไปแคว้นยะโฮร์ และสิ้นพระชนม์ลงระหว่างทางที่แคว้นกลันตัน
หลังจากนั้นมาอาณาจักรปัตตานี ก็ไม่สามารถกลับมารุ่งเรืองได้อย่างเก่าอีก และอยู่ภายใต้การปกครองของกลันตัน เศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้อาณาจักรอ่อนแอลง ปาตานีได้เปลี่ยนผู้ปกครองอีกหลายต่อหลายสมัย จนถึง สุลต่านอะหมัด
พ.ศ. 2329 รัชกาลที่ 1 ทรงยกกองทัพสยามตีเมืองปัตตานี เพราะถือเป็นเมืองประเทศราชเก่าแก่มาตั้งแต่อยุธยาตอนต้น โดยเข้าโจมตีทางบกและทางเรือ สุลต่านอะหมัด สิ้นชีพในการต่อสู้กับศัตรู ชาวมลายูปาตานีหลบหนี แยกย้ายกันไปอาศัยเมืองข้างเคียงอื่นๆ
บางกอก เป็นการทำสงครามครั้งที่ 6 ปาตานีต้องสูญเสียอำนาจแก่สยาม ประชาชนส่วนหนึ่งเป็นเชลย กองทัพสยามยึดเอาทรัพย์สมบัติ และปืนใหญ่ที่หล่อในสมัยรายาบีรูไป 3 กระบอก แต่เหลือมาถึงกรุงเทพเพียง 1 กระบอก คือปืนใหญ่พญาตานี (ปัจจุบันอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม )
ปัตตานีจีงเป็นประเทศราช ของสยามอีกครั้งตั้งแต่บัดนั้นมา สยามได้สถาปนา เต็งกูลัมมีเด็น เป็นเจ้าเมืองปาตานี แต่ภายหลังก็ต้องเสียชีวิต ในการทำสงครามกับสยามที่เขาลูกช้าง ในเมืองสงขลา
พ.ศ. 2334 - 2351 เกิดกบฏครั้งใหญ่ 4 ครั้ง ดาโต๊ะปังกาลัน ก็พ่ายแพ้แก่แม่ทัพสยามที่ปากน้ำปาตานี หลังจากนั้นอีก 5 ปี นายกวงไส ชาวจีนจากจะนะ เป็นเจ้าเมืองปาตานี
พ.ศ.2359 ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงได้ปฏิรูปหัวเมืองประเทศราชโดย แบ่งแยกอาณาจักรปาตานีออกเป็น 7 หัวเมือง เพื่อลดทอนอำนาจของปาตานีลง และให้อยู่ภายใต้การควบคุมของสงขลา แต่งตั้งให้ ต่วนสุหลง เป็นเจ้าเมืองปาตานี , ต่วนนิ เป็นเจ้าเมืองหนองจิก , ต่วนมันโซร์ เป็นเจ้าเมืองรามัน
ต่วนยาลอ เป็นเจ้าเมืองยะลา , ต่วนนิดะห์ เป็นเจ้าเมืองระแงะ , ต่วนนิเด๊ะ เป็นเจ้าเมืองสายบุรี และนายพ่าย (ชาวสยาม) เป็นเจ้าเมืองยะหริ่ง
ปี พ.ศ. 2375 เกิดสงครามระหว่างสยาม กับ มลายู โดยเต็งกูเด็น แม่ทัพของสุลต่านอาหมัด ตายูดดีน แห่งรัฐเคดะห์ เมืองเล็กเมืองน้อยต่างๆ ของปาตานี ต่างก็ถูกเกณฑ์ไปร่วมกับสยามโดยหัวเมืองสงขลา และนครศรีธรรมราช ต่อสู้กับเคดะห์
แต่การณ์กลับตาลปัด ที่บรรดาเจ้าเมืองมายู กลับเข้าร่วมกับกองทัพของเต็งกูเด็น แม่ทัพเคดะห์ เข้ารบพุ่งกับกองทัพสยาม จนต้องล่าถอยไป จวบจนกระทั่งกองทัพใหญ่จากกรุงเทพฯ ลงมาร่วมกับนครศรีธรรมราช สงขลา เข้าตีกองทัพเคดะห์ และปาตานี จนแตกล่าถอยไป
ต่อมา ต่วนกูสุหลง เจ้าเมืองปัตตานี , ต่วนกูโน เจ้าเมือง ยะลา , และต่วนกือจิ เจ้าเมืองหนองจิก สามพี่น้อง ถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตโทษฐานเป็นกบฏต่อสยาม หลังจากนั้นเจ้าเมืองสงขลา ได้แต่งตั้งเจ้าเมืองปกครองหัวเมืองปัตตานีต่างๆ เสียใหม่ ภายใต้การควบคุมของเมืองสงขลาเช่นเดิม เจ้าเมืองที่ได้รับการแต่งตั้ง ตกทอดแก่ชาวมลายูบ้าง ชาวสยามบ้างตามสถานการณ์
พ.ศ. 2374 - 2381 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงตัดสินพระทัย ให้ราชวงศ์กลันตัน ปกครองปัตตานี
** ในตอนต่อไปจะยิ่งเข้มข้น ถึงจุดการล่มสลายของเจ้าผู้ปกครองรัฐปัตตานี ที่https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/295017520688282
@ เสธ น้ำเงิน3

ไม่มีความคิดเห็น: