PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

นายกฯ สั่งเรียก”พิชัย”รายงานตัว ปมไม่แก้ปัญหาพลังงาน ลั่น เชิญตัวได้ทุกที่แม้กรณี”

นายกฯ สั่งเรียก”พิชัย”รายงานตัว ปมไม่แก้ปัญหาพลังงาน ลั่น เชิญตัวได้ทุกที่แม้กรณี”สุรพงษ์” ขู๋ สื่อโดนด้วยหากเสนอข่าวไม่สร้างสรรค์
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 29 มกราคม ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่คสช.ทยอยเรียกนักการเมืองเข้ามารายงานตัวว่า ไม่ใช่เป็นการกดดัน เพียงให้มาร่วมพูดคุย หากต้องนอนค้างคืน ก็อยู่ที่ฝ่ายมั่นคงพิจารณา
กรณีรายงานว่าทหารล็อกตัวนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีฯ ที่ร้านอาหารย่านเมืองทองธานีนั้น ได้มีการกำชับห้ามออกมาพูดจาก่อความเสียหาย เมื่อฝ่าฝิน ก็เรียกมาคุนเพื่อทำความเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องมีการออกหนังสือเป็นทางการ เพราะให้ คสช.โทรติดเชิญทุกราย และการไปเชิญตัวนายสุรพงษ์ ที่ร้านอาหาร ก็ไม่ใช่สถานการณ์ผิดปกติใด เพราะสามารถเชิญตัวได้ทุกที และหากใครจะแสดงความคิดเห็นและต้องถูกเชิญมาปรับทัศนคติ ต้องดูที่ความเหมาะสม หากพูดแล้วเกิดความเสียหายถือว่าไม่สมควร
โดยเเฉพาะสื่อมวลชนที่มีปัญหามาก ถามมาก ถามหรือเขียนข่าวไม่สร้างสรรค์ ไม่อธิบายรายละเอียดเรื่องต่างๆให้ชัดเจน ก็ไม่สมควร โดยเฉพาะเรื่องเขียนโจมตีท้าท้ายรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มมือ ยังกระทำเช่นเดิมอยู่อีกหรือไม่
นอกจากนี้ จะเชิญตัวนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพราะขณะดำรงตำแหน่ง ไม่แก้ปัญหาพลังงาน ทำอะไรอยู่ ซึ่งขณะนี้มีปัญหามาก จึงต้องควรมาชี้แจง รวมถึงนายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ อดีตแกนนำเสื้อแดงและ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงพาณิชย์ พร้อม เตือน นักการเมืองหรือใครที่ออกมาพูดสร้างความเสียหาย ก็จะเชิญตัวทั้งหมด ไม่ใช่เป็นการก่อกวน แต่ เพราะความรำคาญ
ส่วนหากมีการเรียกไปปรับทัศนคติแล้วกลับมายังฝ่าฝืนอีก อาจมีบทลงโทษ ทั้งเรื่องห้ามออกนอกประเทศ และระงับธุรกรรมการเงิน เป็นต้น


จนท.ฑูตมะกันเดินสายพบแดงอีสาน

จนท.ฑูตมะกันเดินสายพบแดงอีสาน

มีรายงานว่า ทางคณะเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ประกอบด้วย Mr.Timothy Trengle เลขานุการเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย , Mrs.jennifer Green และ นายรชฏ อุทัยจันทร์ เจ้าหน้าที่ประสานงานการเมือง สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ได้ออกเดินทางมายังจังหวัดภาคอีสานตอนบน เพื่อพบปะพูดคุยกับอดีตแกนนำคนเสื้อแดงในหลายจังหวัด

รายงานข่าวแจ้งว่า คณะจากสถานฑูตอเมริกาฯ ได้เดินทางมาตั้งแต่ช่วงเช้าวานนี้ (29 ม.ค.) โดยจะเดินทางมาพบ นายวิชัย สามิตร และ นางเกสร บุดดา อดีตแกนนำคนเสื้อแดงของ จ.หนองบัวลำภู และหลังจากนั้นในช่วงบ่าย หลังเดินทางมาพบนางอาภรณ์ สาราคำ ภรรยาของ นายขวัญชัย สาราคำ หรือ ไพรพนา อดีตประธานชมรมคนรักอุดร แต่ไม่ได้เข้าพบ เนื่องจากนายขวัญชัยฯ และนางอาภรณ์ฯ เดินทางไปพบแพทย์ และขึ้นศาลที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้น นายขวัญชัยฯ ได้เดินทางไปพักผ่อนต่อยังจังหวัดชายทะเล ภาคตะวันออก
วันที่โพสข่าว : 30 มค. 2558 เวลา 17:20 น.
//////////////////////

29 ม.ค.58 หลังจากการเดินทางเข้ามาประเทศไทย ของนายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ถึงการล้วงลูกการเมืองไทยอย่างหนัก จนสร้างความไม่สบายใจให้กับหลายฝ่าย และเกิดกระแสต่อต้านสหรัฐฯ กันอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ ตามที่สื่อต่างๆ ได้เสนอข่าวไปแล้วก่อนหน้านั้น

ล่าสุด ยังมีประเด็นที่แชร์กันในโลกออนไลน์ กรณี นักการทูตของสหรัฐฯ เดินทางเข้าพบแกนนำคนเสื้อแดง ในพื้นที่จังหวัดเลย และ จ.หนองบัวลำภู  โดยอ้างว่า มีวัตถุประสงค์ เพื่อสอบถามและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองของไทย ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ท่ามกลางการคุ้มกันของการ์ดคนเสื้อแดงอย่างเข้มงวด

อย่างไรก็ดี แนวหน้าออนไลน์ จะได้ติดตามประเด็นดังกล่าวว่า เป็นจริง หรือเพียงแค่ข้อความปลุกระดมของฝ่ายผู้ไม่หวังดีหรือไม่
วันนี้::: คณะเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยประกอบด้วย Mr.Timothy  Trengle เลขานุการเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ,Mrs.jennifer  Green และ นายรชฏ  อุทัยจันทร์  เจ้าหน้าที่ประสานงานการเมือง สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย เดินทางมาพบ นางอัฌชิมา  แสงสุวรรณ (ดีเจดอกคูณ) แกนนำแดงไทเลย และนายสมัคร ทองคอนไท ณ บ้านพักของนางอัชฌิมา ฯ ซึ่งเปิดเป็นร้านเสริมสวย ชื่อ “มะนาว” และร้านซ่อมรถขายอุปกรณ์เครื่องยนต์ ชื่อ “วิทยาภัณฑ์” เลขที่ ๑๒/๑ ถนนพิพัฒนมงคล (ริมบึงกุดป่อง ด้านหลังโรงแรมคิง) ต.กุดป่อง อ.เมืองเลย จ.เลย โดยมีสมาชิกกลุ่มแดงไทเลย ประมาณ ๓๐ คน รอพบปะ วัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองของไทย ในห้วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของทหาร ขอทราบความคิดเห็นจากกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งสนับสนุนรัฐบาลที่ถูกรัฐประหารโดยกองทัพ เกี่ยวกับผลกระทบต่อการยึดอำนาจทหาร ความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหาร รู้สึกอย่างไรต่อสถานการณ์ของยิ่งลักษณ์ อนาคตจะสนับสนุนใคร เป็นต้น
๒. ข่าวสารอำนวยประโยชน์
- ก่อนหน้านี้ (ไม่ทราบวันเวลาที่ชัดเจน) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ไม่ทราบชื่อ (พ้นหน้าที่ไปแล้ว) ได้เดินทางเข้าพบกลุ่ม นปช.เลย ๕๔ นำโดย น.ส.จิราภรณ์ ฤทธิ์มนตรี ที่รีสอร์ทเชียง คาน ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศคติทางการเมือง
- คณะเจ้าหน้าที่ ฯ เดินทางมาถึงร้านเสริมสวยมะนาวที่นัดหมาย แล้วรีบเดินเข้าไปภายในร้านเสริมสวยอย่างรวดเร็ว จากนั้นปิดประตูเหล็กทันที  โดยมีการ์ดคนเสื้อแดง คอยสังเกตการณ์อยู่ภายนอกไม่ให้คนแปลกหน้าเข้าใกล้ ส่วนคนขับรถคณะเจ้าหน้าที่ ฯ ได้ขับรถออกไปจอดที่อื่นไม่จอดอยู่กับที่ คล้ายกับไม่อยากให้ใครทราบการเดินทางมาครั้งนี้
- คณะเจ้าหน้าที่ ฯ เดินทางเข้าพักที่โรงแรมเลยพาเลซ ต.กุดป่อง อ.เมืองเลย จ.เลย ห้องพักที่ ๒๐๓-๒๐๕ โดยจะพักที่โรงแรมแห่งนี้ ๑ คืน และจะเดินทางไปยังพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู ในช่วงเช้าวันที่ ๒๙ ม.ค.๕๘ ต่อไป
- See more at: http://m.naewna.com/view/breakingnews/142083#sthash.XniKKucs.dpuf

กอรมน.สร้างหนัง"ละติจูดที่6"ปีเตอร์-โบว์ลิ่งแสดงนำ

"ละติจูด ที่6"
กอ.รมน. สร้างภาพยนตร์เริ่องแรก.เตรียมฉายทุกโรงเมย.นี้. ดึง "ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล-โบว์ลิ่ง" นางสาวไทย เป็นพระเอก-นางเอก สะท้อนวิถีชีวิตมุสลิมในภาคใต้ของไทย ที่เดินเรื่อง ด้วย ความรักและน้ำตา จากการสูญเสีย เพราะเหตุการณ์ไม่สงบในพื่นที่ ที่มีภาพและมุมสวย มาก สะท้อนความสวยงามของ ปัตตานี ชายแดนใต้ของไทย ที่แม้จะมีสถานการณ์รุนแรง เกิดขึ่นก็ตาม โดย กอ.รมน. จะเชิญ นายกรัฐมนตรี และ ผอ.รมน. ชมรอบปฐมทัศน์ ในปลายเดือนเมย.หรือต้นพต. นี้ โดยขณะนั้ ถ่ายทำเสร็จแล้ว สำหรับชื่อ "ละติจูด ที่6" ชื่อภาพยนตร์นั้น . คือ เส้นที่พาดผ่านตรง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส


สรยุทธ์ มาศาล คดี ไร่ส้ม

30 ม.ค. 58 ภายหลังจากนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา นักเล่าข่าวและพิธีกรชื่อดัง ได้เดินทางมายังศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เพื่อรายงานตัวในคดียักยอกเงินค่าโฆษณา บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)นั้น
นายสรยุทธกล่าวว่า นี่คือจุดเริ่มต้นของกระบวนการในชั้นศาล และเป็นเรื่องที่พูดมาตลอดว่า จะต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมที่มีอยู่ ส่วนการทำงานก็ทำต่อไปเป็นปกติ ใช้กระบวนยุติธรรมศาลเป็นครั้งแรก อย่างเป็นทางการ ส่วนหนึ่งก่อนหน้านี้ เป็นข่าวว่า ถ้าไม่มาจะออกหมายจับ ก่อนหน้านี้กระบวนการต่าง ๆ ข่าวขยับนิดหนึ่งก็เป็นประเด็นข่าว ความจริงเมื่อเข้าสู่กระบวนการของศาล ข้อดีก็คือจะได้พิสูจน์ตัวเองกับกระบวนการของศาล ซึ่งรายละเอียดข้อเท็จจริงของคดีคงไม่ก้าวล่วงได้
“ผมจะสู้คดี ซึ่งมั่นใจความบริสุทธิ์ แต่อย่างน้อยเรื่องที่เคยประเด็นทีละนิดทีละหน่อยจะได้หมดไปเสียที เพราะว่ามันสู้คดีอย่างตรงไปตรงมาในกระบวนการยุติธรรม” นายสรยุทธ์กล่าว
นายสรยุทธกล่าวต่อถึงกรณีที่นางพิชชภาไม่ได้มารายงานตัวต่อ อสส. ว่า ติดต่อไม่ได้ และไม่ได้ติดต่อ เดิมตอนเช้าอย่างที่ว่า ตนจัดรายการจนถึง 09.30 น. และรอดูว่าเจ้าตัวจะมาหรือไม่ ซึ่งทางอัยการฯแจ้งว่าพยายามจะติดต่อ หนังสือนัดเห็นว่าไปนัดที่สำนักงานอัยการฯ ที่ ถ.แจ้งวัฒนะ ผมก็ไม่เข้าใจ สับสน แต่สุดท้ายขอบคุณขั้นตอนอัยการฯ ไม่เสียเวลา ไม่ต้องรอ ก็ฟ้องบริษัท และตัวผมเลย ฟ้องก่อน ฟ้องแยกไปเลย
อย่างไรก็ตาม นายสรุยทธได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด พร้อมกับยืนยันว่า กรณีที่เกิดขึ้น อสมท ไม่ได้เกิดความเสียหาย โดยจะพิสูจน์กับศาล เช่นเดียวกับที่พิสูจน์ในศาลปกครอง ซึ่งต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ ผมจะพิสูจน์ให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมนั้นมี และอสมท นอกจากจะไม่เสียหายแล้ว เป็นฝ่ายได้ประโยชน์ด้วยซ้ำไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : อัยการฟ้องแล้ว'สรยุทธ'คดีไร่ส้ม ศาลให้ประกัน-เจ้าตัวลั่นพร้อมสู้
'สรยุทธ'รายงานตัวคดีไร่ส้มแล้ว เมินตอบสื่อ-เดินชิ่งหนีขึ้นศาล
'สรยุทธ'ติดภารกิจเลื่อนพบอสส. ส่งทนายแจง-อัยการส่งฟ้องวันนี้

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักข่าวอิศรา


สถานการณ์ข่าว30/1/58

สหรัฐฯ/นายกฯ

"ปณิธาน" มองสัมพันธ์เฉพาะหน้ากับ USA มีปัญหา ทำถูกแล้ว ในการแสดงออก อาจต้องปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ในเชิงปฏิบัติ แต่ไม่ง่าย

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ความสัมพันธ์พื้นฐาน ระหว่าง ไทย กับสหรัฐอเมริกา ที่มีมายาวนาน นั้น ยังคงเหมือนเดิม แต่ใน
เรื่องเฉพาะหน้าโดยเฉพาะ ประเด็นการเดินทางมาเยือนของ นายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายเอเชียแปซิฟิก ของสหรัฐฯ นั้น คิดว่ายังเป็นปัญหา เพราะมองว่า สหรัฐต้องการเคลื่อนไหว และผลักดันทางการเมือง เนื่องจากยังมีความเห็นไม่ตรงกัน รวมถึงการพยายามแสวงหาอิทธิพล และผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในอาเซียน ซึ่งไทยจะต้องมีความระมัดระวัง ในเรื่องความสัมพันธ์มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ปณิธาน ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า การแสดงออกการประท้วงของไทย ถือเป็นแนวทางทางการทูตที่นานาชาติ นิยมปฏิบัติ แต่สหรัฐฯ จะยอมรับ หรือปรับเปลี่ยน ท่าทีหรือไม่นั้น ไม่สามารถตอบได้ แต่ในอนาคตไทย อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติ ให้มีความชัดเจนมากขึ้นด้วย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
-----------------
นายกฯ เข้าทำเนียบแล้ว เตรียมต้อนรับ รมว.กลาโหม มาเลเซีย ขณะช่วงบ่ายแถลงแผนงาน กอ.รมน.

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด ในช่วงนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เดินทางเข้ามาปฏิบัติงานที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว โดยในเวลา 09.00 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย จะเข้าเยี่ยมคาวระ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ตึกไทยคู่ฟ้า หลังจากนั้น คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร ประธานมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี นำคณะกรรมการฝ่ายจำหน่ายดอกไม้เข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อมอบดอกป๊อปปี้ ที่ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า

ขณะที่ ในเวลา 14.00 น. นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการจัดงาน สรุปผลการปฎิบัติงาน ประจำปี 2557 และแถลงแผนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2558 ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
------------------
"สุวพันธุ์" ยัน รัฐบาล ไม่กังวล ท่าทีสหรัฐฯ ส่วนตัวรู้สึกผิดหวัง หวัง USA จะเข้าใจ

นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงท่าทีของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประเทศไทย ว่า ประเทศไทย มีสิทธิในการดำเนินนโยบายทั้งในและต่างประเทศ แม้ว่า สหรัฐฯ จะมีความสัมพันธ์ร่วมกับไทยมาอย่างยาวนาน ก็ควรคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย ขณะเดียวกัน ไม่กังวลว่าท่าทีของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ จะกระทบต่อความสัมพันธ์และกรอบความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ ทีพีพี ทั้งนี้ ส่วนตัวรู้สึกผิดหวังกับเรื่องดังกล่าวเพราะตนทำงานร่วมกับสหรัฐฯ มาเป็นเวลานาน และขณะนี้ยังคงทำอยู่ จึงอยากให้สหรัฐฯ เข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทย

ส่วนกรณีการเดินธุดงค์ของวัดพระธรรมกาย ที่ส่งผลกระทบต่อการจราจรนั้น นายสุวพันธุ์ กล่าวว่า เบื้องต้นได้รับแจ้งจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้มาก เนื่องจากทางวัดได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และกรุงเทพมหานคร ไว้แล้ว และขณะนี้ ทางสำนักพระพุทธศาสนา ได้ทำการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจราจรแล้ว
----------------------------
นายกฯ ขอบคุณรัฐบาลมาเลเซีย อำนวยความสะดวกแนวทางการสร้างสันติสุข 3 จ.ใต้ หวังประชุม 3 ประเทศแก้ยางพารา

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการหารือระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย ที่เข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสเยือนไทย อย่างเป็นทางการ ว่า ได้มีการหารือกันในหลายประเด็น โดยเรื่องแนวทางการสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น

พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวว่า ทางรัฐบาลได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยสันติสุขเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีมาเลเซีย เป็นผู้อำนวยความสะดวก ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวขอบคุณทางการมาเลเซียอย่างยิ่ง ขณะเดียวกัน ในเรื่องปัญหายางพารา นายกรัฐมนตรี อยากให้มีการประชุมร่วมกัน 3 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยเร็ว เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว อีกทั้ง ยังฝากในเรื่องของการดูแลแรงงานไทยในมาเลเซียและการแก้ไขปัญหาบุคคลสองสัญชาติด้วย

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวชื่นชม นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะเป็นประธานอาเซียน โดยยืนยันว่า ยินดีให้การสนับสนุน พร้อมกันนี้ ยังกล่าวถึงประชาคมโลกในปัจจุบันว่า เป็นการเน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางและการสร้างความเชื่อมโยงต่างๆ โดยอยากฝากในเรื่องความเชื่อมโยงทางด้านคมนาคมระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายพร้อมให้ความร่วมมือเรื่องความช่วยเหลือด้านอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง
-----------------------
ผู้ประสานงานแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง เเถลงพร้อมรับซื้อยาง กก.ละ 80 บาท คัดค้าน แก้ไข พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535

นายสุนทร รักษ์รงค์ ผู้ประสานงานแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง กล่าวแถลงการณ์เพื่อขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาวิกฤตราคายางตกต่ำ โดยเสนอให้รัฐบาลยุติโครงการมูลภัณฑ์กันชน ตั้งแต่เปิดฤดูกรีดยางใหม่ในเดือนพฤษภาคม และให้รัฐบาลรับซื้อยางพารากิโลกรัมละ 80 บาท โดยชดเชยส่วนต่างเป็นพันธบัตรรัฐบาล พร้อมให้รัฐบาลอนุมัติงบประมาณฉุกเฉินจำนวน 7,500 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือชาวสวนยางและคนกรีดยางจำนวน 500,000 ครัวเรือน ที่ไม่ได้รับเงินชดเชย 1000 บาทต่อไร่ของรัฐบาล โดยให้จ่ายเงินช่วยเหลือในช่วงปิดกรีดยางพาราตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนละ 5000 บาทต่อครัวเรือน

ขณะเดียวกัน ขอคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535 ที่จะทำให้การโค่นต้นยางต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ ซึ่งกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางกว่า 6 ล้านคน และทำให้ไม้ยางพารามีราคาตกต่ำ นอกจากนี้ แนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยางยังขอสนับสนุนให้จัดตั้งสมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชาวสวนยางได้รับสิทธิประโยชน์ผ่านกองทุนสวัสดิการเกษตรกร และสนับสนุนการเปิดพื้นที่เพื่อแสดงความคิดเห็น เพื่อปฏิรูปยางพาราทั้งระบบ

ทั้งนี้ นายสุนทร ระบุว่า ในวันนี้ได้แถลงข่าวพร้อมกับเครือข่ายคนกรีดยาง 300 คน ในจังหวัดตรัง และขอให้นายกรัฐมนตรีนำข้อเสนอไปพิจารณา ซึ่ง 1 เดือนหลังจากนี้จะลงพื้นที่เพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ รวมถึงประเมินโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ไม่สามารถช่วยเหลือชาวสวนยางได้อย่างแท้จริง
--------------------------
พล.ต.สรรเสริญ สรุปแผน กอ.รมน. ปี 2558 ต้องแก้ปัญหาดีกว่าเดิม - ผู้ว่าต้องทำงานรวดเร็วโปร่งใส 

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการสรุปผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2557 และแถลงแผนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2558 ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า ในวันนี้เป็นการประชุมเพื่อสรุปผลงานของ กอ.รมน. ในปีที่ผ่านมา และมอบนโยบายการขับเคลื่อนในปี 2558 ซึ่งนายกรัฐมนตรีพอใจกับการทำงานในปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลงานต่าง ๆ สามารถแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้ แต่ในปีนี้จะต้องดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ ได้ย้ำการทำงานของผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ว่า ต้องแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็วและโปร่งใส เน้นประชาชนเป็นส่วนกลาง หากพบว่าผู้ว่าราชการจังหวัดใดทุจริต รวมถึงแอบอ้างขอตำแหน่งทางราชการจะมีการสั่งย้ายทันที

ส่วนสถานการณ์ในภาคใต้นั้น พล.ต.สรรเสริญ ระบุว่า ในวันนี้ไม่ได้มีการพูดคุยกันเนื่องจากในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้มีการมอบหมายนโยบายไว้ทั้งหมดแล้ว
----------------
โฆษก กอ.รมน. เผย นายกฯ มอบนโยบาย ให้ กอ.รมน.จังหวัด หวังคลี่คลายปัญหาความเห็นทางการเมืองเเละการเกษตร

พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. เปิดเผยสรุปผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2557 และแถลงแผนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2558 พร้อมกับมอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานประจำปี 2558 ของ กอ.รมน. ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.รมน. เป็นประธานว่า นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายภาพรวมยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ และขอให้ กอ.รมน.จังหวัด ขับเคลื่อนตามที่มีคณะทำงานของรัฐบาลและ คสช. พร้อมกันนี้ยังชื่นชมผลการดำเนินงานในปี 2557 ซึ่งมีความเป็นรูปธรรมและขอบคุณจังหวัดที่ทำงานร่วมกัน ขณะเดียวกันยังให้ยึดประชาชนศูนย์กลางในแผนงานต่าง ๆ ส่วนในเรื่องความคิดต่างนั้น นายกรัฐมนตรีให้ระดับจังหวัดทำความเข้าใจให้ปัญหาคลี่คลาย ทั้งเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองและปัญหาการเกษตร
////////
ปรับทัศนคติ

"ณัฐวุฒิ" ไม่กังวล เข้าพบ ทหาร ปรับทัศนคติ เชื่อไม่มีการกักตัว ยันแสดงความเห็นต่าง แต่ไม่ได้ปลุกปั่น

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อกีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เปิดเผยว่า ไม่กังวลในการเข้าพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทหารในวันนี้ เพราะที่ผ่านมา ตนเองได้แสดงความเห็นชัดเจนมาโดยตลอดว่า มีความคิดที่แตกต่าง แต่ไม่ได้มีการปลุกปั่นเพื่อก่อให้เกิดการเผชิญหน้าแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เชื่อว่า เจ้าหน้าที่ทหารจะไม่มีการกักตัว แต่ตนเองก็พร้อมรับกับทุกสถานการณ์ ส่วนกรณีที่รัฐบาลขอความร่วมมือในการงดแสดงความคิดเห็นทางการเมืองนั้น นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ขอคุยกับเจ้าหน้าที่ก่อน แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะรับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผล เพราะถือเป็นเสรีภาพในการแสดงออกของทุกคน หลังจากนั้น นายณัฐวุฒิ ได้แจ้งว่า เจ้าหน้าที่ทหารได้โทรศัพท์ เพื่อขอให้ นายณัฐวุฒิ ไปที่สโมสรทหารบกเทเวศร์ เพื่อรอเจ้าหน้าทหารระดับสูงมาพูดคุยต่อไป
---------------------------------
"ณัฐวุฒิ" คุยปรับทัศนคติเรียบร้อย กลับบ้านแล้ว ระบุ ยินดีปฏิบัติ ยันแสดงความเห็นทางการเมืองด้วยความปรารถนาดี ไม่คิดปลุกปั่น    

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวภายหลังเข้าพูดคุยกับ พ.อ.นวกร สงวนศักดิ์โยธิน ผู้บังคับการทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 ที่สโมสรทหารบก เทเวศร์ ว่า การพูดคุยวันนี้เป็นการขอความร่วมมือให้งดแสดงความเห็นทางการเมือง ซึ่งตนเองไม่ได้ขัดข้อง แต่ขณะเดียวกันยืนยันว่า การแสดงความเห็นของตนเองอยู่บนหลักสิทธิเสรีภาพ และไม่เปลี่ยนจุดยืนเพราะเป็นการแสดงความเห็นด้วยความ ปรารถนาดีกับบ้านเมือง ซึ่งจะไม่ให้เกิดการปลุกปั่นสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง ทั้งนี้ พร้อมรับผิดชอบผลที่ตามมาจากการแสดงความเห็นของการแสดงความเห็นตนเอง

หลังจากนั้น นายณัฐวุฒิ ได้นั่งรถยนต์ของตนเอง โดยแจ้งว่าจะเดินทางกลับที่พัก โดยที่เจ้าหน้าที่ทหารไม่ได้มีการกักตัวไว้แต่อย่างใด
-------------------
พล.อ.อุดมเดช ระบุ เชิญคนเห็นต่างคุยเพื่อขอความร่วมมือ ยังตอบไม่ได้เชิญใครอีกหรือไม่ จับตาผู้แทน US พบแกนนำแดงอีสาน

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงการเชิญตัวผู้เห็นต่างทางการเมืองมาพูดคุยว่า เป็นการพูดคุยทำความเข้าใจและขอความร่วมมือในการแสดงออกให้อยู่ในกรอบ ซึ่งหลังจากพูดคุยทุกคนก็เข้าใจ และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนจะมีการเชิญตัวบุคคลใดเข้ามารายงานตัวอีกหรือไม่ ยังไม่สามารถตอบได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

ส่วนการแสดงท่าทีของทางการสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประเทศไทย ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พูดคุยทำความเข้าใจ และเชื่อว่าสหรัฐฯ จะเข้าใจมากขึ้น

ทั้งนี้ มองว่าการที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางไปรับฟังความคิดเห็นแกนนำคนเสื้อแดงภาคอีสานนั้น ได้มีการติดตามความเคลื่อนไหว และพยายามสร้างความเข้าใจ แต่ก็เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน

อย่างไรก็ตาม หวังว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ของสองประเทศ
------------------------
"วรชัย" รับ ทหารประสานเรียกปรับทัศนคติวันนี้ ติดภารกิจ ตจว. จะมาพบ บ่ายวันที่ 2 ก.พ. ที่กองทัพภาค 1 ยันไม่ได้พูดสร้างความแตกแยก

นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ได้รับการประสานจากนายทหารให้เข้ามาทำการพูดคุยปรับทัศนคติในวันนี้จริง แต่เบื้องต้นแจ้งไปว่าติดภารกิจอยู่ต่างจังหวัด ไม่สะดวก จึงขอเข้ามาพบในวันจันทร์ที่ 2 ก.พ. นี้ ในช่วงเวลาประมาณ 13.00 น. ที่กองทัพภาค 1

ทั้งนี้ นายวรชัย ยังกล่าวด้วยว่า ตนเองไม่ได้พูดหรือแสดงความเห็นที่สร้างความแตกแยกแต่อย่างใด มีเพียงการแนะนำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ด้วยความหวังดี ให้ลดการใช้อารมณ์เท่านั้น
------------------------
ทหารรับตัว "พิชัย" ขึ้นรถตู้ไปปรับทัศนคติ เจ้าตัวไม่กังวล ยันแสดงความเห็นและชี้แนะนโยบายด้านเศรษฐกิจและพลังงานอย่างมีเหตุผล

พ.ท.ชายธนัญชา วาจรัต ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 27 รักษาพระองค์ เดินทางมาที่บ้านพักของ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ คณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในซอยโรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย เขตาชเทวี เพื่อรับนายพิชัยขึ้นรถตู้ไปปรับทัศนคติ หลังจากนายพิชัยแสดงความคิดเห็นถึงนโยบายด้านเศรษฐกิจและพลังงานของรัฐบาล รวมถึงภาพลักษณ์ประเทศไทยในสายตาประชาคมโลก ซึ่งนายกรัฐมนตรีเคยให้สัมภาษณ์ว่าจะพานายพิชัยมาทำความเข้าใจ เช่นเดียวกับแกนนำพรรคเพื่อไทยอีกหลายรายที่แสดงความเห็นต่อการทำงานของรัฐบาล โดย พ.ท.ชายธนัญชา โดยบอกกับสื่อมวลชนว่าไม่สามารถให้รายละเอียดได้ว่าจะนำตัวไปที่ใด

ขณะที่ นายพิชัย กล่าวว่า ไม่ได้รู้สึกกังวลแต่ยืนยันว่าการแสดงความเห็นและชี้แนะนโยบายด้านเศรษฐกิจและพลังงานทุกครั้งเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล
---------------------
นายกฯ สรุปงาน กอ.รมน.ปี 57 วางแผนนโยบายความมั่นคงภายในปี 2558-2560

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คสช. ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นประธานการจัดงานสรุปผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2557 และแถลงแผนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2558 พร้อมกับมอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานประจำปี 2558 ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. ที่ตึกสันติไมตรี

โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ รวมถึงหัวหน้าหน่วยงานด้านความมั่นคง เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ทาง กอ.รมน. จะนำเสนอผลการปฏิบัติงานที่สนับสนุนนโยบายรัฐบาล ประเด็นยุทธศาสตร์ แผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ประจำปี 2558-2560
และแผนปฏิบัติที่สำคัญในปี 2558 อีกทั้งจะเป็นโอกาสให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวรับทราบผลการดำเนินงานรวมถึงรับทราบนโยบายจากนายกรัฐมนตรีเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
-------------------------
โฆษก กอ.รมน. เผย นายกฯ มอบนโยบาย ให้ กอ.รมน.จังหวัด หวังคลี่คลายปัญหาความเห็นทางการเมืองเเละการเกษตร

พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. เปิดเผยสรุปผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2557 และแถลงแผนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2558 พร้อมกับมอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานประจำปี 2558 ของ กอ.รมน. ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.รมน. เป็นประธานว่า นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายภาพรวมยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ และขอให้ กอ.รมน.จังหวัด ขับเคลื่อนตามที่มีคณะทำงานของรัฐบาลและ คสช. พร้อมกันนี้ยังชื่นชมผลการดำเนินงานในปี 2557 ซึ่งมีความเป็นรูปธรรมและขอบคุณจังหวัดที่ทำงานร่วมกัน ขณะเดียวกันยังให้ยึดประชาชนศูนย์กลางในแผนงานต่าง ๆ ส่วนในเรื่องความคิดต่างนั้น นายกรัฐมนตรีให้ระดับจังหวัดทำความเข้าใจให้ปัญหาคลี่คลาย ทั้งเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองและปัญหาการเกษตร
/////////

กมธ.ยกร่าง

"คำนูณ" มั่นใจ พิจารณารายมาตราเสร็จตามกรอบ เชื่อผ่านมติของ สปช. จัดเลือกตั้งได้ ก.พ. 2559 วันนี้ถกความสัมพันธ์ข้าราชการ-นักการเมือง

นายคำนูณ สิทธิสมาน ในฐานโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ในการพิจารณาหมวด 5 การคลังและการงบประมาณ ได้มีการวางหลักนิยามคำว่าเงินแผ่นดิน

ใหม่ ที่ไม่เคยมีมามาก่อน ตลอดจนว่ากรอบหลักธรรมาภิบาล หลักประสิทธิภาพและความคุ้มค่า หลักการรักษาวินัยทางการคลัง เพื่อให้มีการจัดสรรงบประมาณ และการใช้งบประมาณมี

ประสิทธิภาพมากที่สุด ส่วนในวันนี้จะมีการพิจารณารายมาตราในประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการประจำ นักการเมือง และประชาชน ส่วนในวันจันทร์หน้า จะเป็นเรื่องการ

ปกครองส่วนท้องถิ่น และการกระจายอำนาจ

ทั้งนี้ โฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ยังกล่าวด้วยว่า ตนเองยังเชื่อมั่นว่า การยกร่างรายมาตราจะเสร็จทันตามกรอบเวลาที่กำหนดอย่างแน่นอน โดยตั้งเป้าว่าจะให้เสร็จก่อนเดือนเมษายน และผ่าน

การลงมติของ สปช. เพื่อที่จะสามารถมีการเลือกตั้งใหม่ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559
-----
"พรเพชร" สั่งงดประชุม สนช. เปิดทางสมาชิกใช้เวลาประชุมกรรมาธิการ ขณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราต่อเนื่อง

บรรยากาศการรักษาความปลอดภัยที่รัฐสภา เช้านี้ ยังเป็นไปอย่างเข้มงวด ถึงแม้ไม่มีการประชุมใหญ่ เนื่องจากวานนี้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีคำสั่งงดประชุมวันที่

30 มกราคม 2558 โดยให้เลื่อนการพิจารณากระทู้ถามทั่วไปเรื่อง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. ที่ น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นผู้ตั้งถาม ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
สาธารณสุข ออกไปก่อน และวันนี้จะได้ให้สมาชิกใช้เวลาในการร่วมประชุมคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ อย่างเต็มที่ เพื่อให้การทำงานของ สนช. มีประสิทธิภาพ อีกทั้ง สามารถผลักดันร่างกฎหมาย

ให้ประกาศใช้โดยเร็ว ขณะที่การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยังพิจารณาเป็นรายมาตราอย่างต่อเนื่อง โดยมี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ทำหน้าประธานการประชุม
-------------
เสวนาสานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศ ที่เชียงใหม่ วันที่ 2 เริ่มคึกคัก แบ่งกลุ่มย่อย รวบรวมความเห็น

บรรยากาศเวทีเสวนา เรื่อง เวทีประชาเสวนาหาทางออก สานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศ ที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 2 ในช่วงเช้าเป็นไปด้วยความคึกคัก ผู้เข้าร่วมเสวนาเริ่มทำกิจกรรมสันทนาการก่อนทำการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อเสวนาหาทางออกประเทศไทย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพลเมือง เพื่อนำมาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ จากนั้น ในช่วงบ่ายจะเป็นการเสวนากลุ่มย่อยเพื่อต่อยอดจากประเด็นอนาคตประเทศไทย ที่ผู้เข้าร่วมการเสวนาเสนอที่ประชุม เพื่อหากระบวนการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

อย่างไรก็ตาม ในนี้ถือเป็นวันสุดท้ายของเวทีเสวนาที่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยคาดว่า พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเดินทางมาติดตามการเสวนาในวันนี้ด้วย
-------------
กมธ.ยกร่าง รธน. เตรียมนำเรื่อง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน หารืออีกครั้ง หลังมีข้อเสนอควบรวม

บรรยากาศก่อนการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด สมาชิกกรรมาธิการฯ เริ่มทยอยเข้าเตรียมตัวประชุมแล้ว  เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ทั้งนี้ นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า วันนี้พิจารณาในส่วนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน มาพิจารณาใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางในการควบรวม 2 องค์กรเข้าด้วยกัน จำนวน 5 คน คือ นายปกรณ์ ปรียากร, นายเจษฏ์ โทณะวณิก, นางถวิลวดี บุรีกุล, นางสาวสุภัทรา นาคะผิว และ นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์

อย่างไรก็ตาม พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 5 การคลังและการงบประมาณ ซึ่งมีทั้งหมด 7 มาตรา ได้พิจารณาแล้วเสร็จทั้งหมดแล้ว ซึ่งในแต่มาตราในมาการนำหลักใหม่ๆ เข้ามา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอย่างเช่นที่ผ่านมา
-------------------
"เจษฏ์" ย้ำเขียน รธน.เพื่อป้องกันปัญหาในอดีต เดินหน้าประเทศ มั่นใจเสร็จทันตามกรอบ แจง ไม่ลดอำนาจหน้าที่องค์กรอิสระ

รศ.ดร.เจษฏ์ โทณะวณิก กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ในการพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญ ของ คณะกรรมาธิการ นั้น ไม่สามารถที่จะบรรจุ ข้อเสนอ หรือความเห็นทั้งหมดที่ถูกส่งเข้ามาได้ แต่จะมีการนำทุกความเห็นมาประกอบการพิจารณา และประมวลผลเพื่อสะท้อนออกมา ในแต่ละมาตรา รวมถึงมีการนำรัฐธรรมนูญ ในทุกๆ ฉบับ มาศึกษา เพื่อเขียนวางโครงสร้างออกมาให้ดีที่สุด สำหรับอนาคต เพื่อไม่เกิดปัญหาเหมือนในอดีตอีก และมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการได้เสร็จ ตามกรอบเวลาอย่างแน่นอน และมีการสื่อสารกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละประเด็น ซึ่งหากใครมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ก็สามารถส่งมายังช่องทางต่างๆ ได้ทันที

พร้อมกันนี้ รศ.ดร.เจษฏ์ ยังชี้แจงด้วยว่า ในขั้นตอนการยกร่างพิจารณา ในส่วนขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะมีข้อเสนอ ให้ ควบรวมกับองค์กรอื่น หรือ ปรับลดภาระหน้าที่ นั้น แต่จริงๆ แล้ว
ไม่ได้มีการลดบทบาทแต่อย่าใด ในทางกลับกัน กลับเพิ่มอำนาจ และบทบาท ให้ขับเคลื่อนการทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น และไม่ซ้ำซ้อนเหมือนก่อน
--------------------
เวทีเสวนาสานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศ เลือกประธานรุ่น ก่อนมอบโจทย์ให้กลุ่มย่อย ระดมความเห็น เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม 

บรรยากาศเวทีเสวนา เรื่อง เวทีประชาเสวนาหาทางออก สานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศ ที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 2 ล่าสุด อยู่ในระหว่างการทบทวนกระบวนการทำประเสวนา พร้อมทั้งมอบโจทย์ในการเสวนากลุ่มย่อยซึ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่พลเมืองและการปฏิรูปประเทศ ก่อนที่จะแยกประชุมกลุ่มย่อยเพื่อหารือนำผลมาเสนอต่อที่ประชุมเช่นเดียวกับเมื่อวานที่ผ่านมา

ขณะที่ก่อนหน้านี้ผู้เข้าร่วมการเสวนาได้ทำเลือกประธานรุ่นจากตัวแทนจังหวัดที่ร่วมการเสวนา จังหวัดละ 1 คน โดยจะเปิดโอกาสให้แต่ละคนแสดงวิสัยทัศน์คนละประมาณ 1-2 นาที ซึ่งมีกติกาเพียงข้อเดียว คือ ไม่ว่าจะพูดดีแค่ไหน ผู้ฟังห้ามปรบมือ และเมื่อตัวแทนทุกคนพูดเสร็จผู้เข้าร่วมเสวนาจะทำการเลือกประธานรุ่น ซึ่งผลการลงมติพบว่า มีผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเท่ากัน 2 คน จึงได้ดำรงตำแหน่งร่วมกัน
----------------
กมธ.ยกร่าง พิจารณา ภาค 2 หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน อย่างต่อเนื่อง 

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด โดยมี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน ซึ่งมีทั้งหมด 5 มาตรา ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างประชาชน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้มีการวางกลไกที่จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะ และอำนาจในการตรวจสอบการใช้อำนาจที่มีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ขณะนี้ สมาชิกกรรมาธิการฯ ได้อภิปรายในเรื่องการตั้งกรรมการเพื่อแต่งข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยสมาชิกได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง
--------------------
"ถวิลวดี" เผย ปชช.ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพการศึกษา คุณภาพความเป็นอยู่ แตกต่างจากเวทีอื่นๆ ส่วนเรื่องการเมือง ต่อต้านทุจริตเห็นตรงกัน

ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ประธานคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงผลการทำเสวนากลุ่มย่อยของประชาชนใน 8 จังหวัดภาคเหนือ เมื่อวานนี้ว่า มีประเด็นที่น่าสนใจ โดยพบว่าประชาชนให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษา คุณภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความกังวลในเรื่องของการใช้สารเคมีของภาคการเกษตรกรรม ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ ถือเป็นประเด็นเฉพาะกลุ่มที่แตกต่างไปจากจากเวทีอื่น แต่มีบางประเด็นที่สอดคล้องกัน อาทิ หน้าที่ของนักการเมือง หน้าที่พลเมืองที่ดี และการต่อต้านการทุจริต ซึ่งชาวภาคเหนือนั้น แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่าต้องการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในรูปแบบของสภาพลเมือง เพื่อให้ผู้ใช้อำนาจเกิดความเกรงกลัว ซึ่งหลังจากนี้ ทางคณะอนุกรรมาธิการจะนำข้อเสนอที่ได้ไปเปรียบเทียบกับร่างรัฐธรรมนูญ ที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ กำลังพิจารณาอยู่ในขณะนี้ว่า สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
------------------
กมธ.ยกร่าง พิจารณา ระบบการแต่งตั้ง ขรก. ตั้ง กก. 5 คน นำรูปแบบ พ.ร.บ.กลาโหม มาใช้ ป้องกันการแทรกแซงจากการเมือง


บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนระบบคุณธรรม โดยจัดตั้งกรรมการเพื่อแต่งตั้งข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐขึ้น จำนวน 5 คน จากบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นกลางทางการเมือง โดยมาจากส่วนของข้าราชการพลเรือน จำนวน 2 คน และจากส่วนของอดีตปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าข้าราชการที่เทียบเท่า จำนวน 3 คน พร้อมนำแบบอย่างหลักการจากพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีการคัดสรรพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการภายในกระทรวงกลาโหม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้ไม่มีการก้าวก่าย หรือแทรกแซงทางการเมือง เพื่อให้การคัดสรรคนดีเข้าสู่ระบบข้าราชการ โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เสนอให้เพิ่มสัดส่วนของคณะกรรมการเพิ่มเติมอีก 2 คน ซึ่งยังไม่ได้มีการกำหนดว่าจะมาจากสัดส่วนของตัวแทนคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ ตัวแทนจากสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
------------------------------------------------------
การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณารายมาตราไปแล้ว 154 มาตรา และวันนี้เข้าสู่การพิจารณารายมาตราในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง โดยเฉพาะหมวด 6 ความ
สัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน

 นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ล่าสุด พิจารณาไปแล้ว 154 มาตรา สำหรับวันนี้ พิจารณาในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนระบบคุณธรรม โดยจัดตั้งกรรมการเพื่อแต่งตั้งข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐขึ้น จำนวน 5 คน จากบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นกลางทางการเมือง โดยมาจากส่วนของข้าราชการพลเรือน จำนวน 2 คน และจากส่วนของอดีตปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าราชการที่เท่าเทียบ จำนวน 3 คน พร้อมนำแบบอย่างหลักการจากพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีการคัดสรรพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการภายในกระทรวงกลาโหม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้ไม่มีการก้าวก่าย หรือแทรกแซงทางการเมือง เพื่อให้การคัดสรรคนดีเข้าสู่ระบบข้าราชการ มีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เสนอให้เพิ่มสัดส่วนของคณะกรรมการเพิ่มเติมอีก 2 คน ซึ่งยังไม่ได้มีการกำหนดว่าจะมาจากสัดส่วนของตัวแทนคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ  ตัวแทนจากสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ การเพิ่มสัดส่วนดังกล่าวก็เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความคลอบคลุมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงป้องกันการเกิดปัญหาการล็อบบี้

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการพิจารณาในหมวดดังกล่าวแล้วเสร็จ ที่ประชุมจะหยิบยกประเด็นการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน หรือ กสม. และผู้ตรวจการแผ่นดิน ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้าที่ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อศึกษาแนวทางในการควบรวม 2 ขององค์กรดังกล่าว
------------------------------
เวทีเสวนาปฏิรูปประเทศจังหวัดเชียงใหม่ เน้นค่านิยม 12 ประการ หน้าที่ของพลเมือง - เสนอชุมชนปกครองตนเอง

สำหรับเวทีเสวนา เรื่อง "เวทีประชาเสวนาหาทางออก" สานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศ ที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 2 ล่าสุด อยู่ในระหว่างการเสนอประเด็นเสวนากลุ่มย่อยซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนที่นำไปสู่อนาคตของประเทศที่วางไว้ โดยในส่วนของหัวข้อหน้าที่พลเมือง ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าควรสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ ยึดหลักค่านิยม 12 ประการ โดยมีการจัดค่ายเด็กและเยาวชนเพื่อปลูกฟังค่านิยมและหน้าที่ของพลเมืองที่ถูกต้อง

ส่วนผู้นำการเมืองที่ดีนั้น ควรมีทั้งความรู้ ธรรมาภิบาล และวิสัยทัศน์ที่ดี โดยควรมีการกำหนดคุณสมบัติของการเมืองซึ่งไม่เกี่ยวกับอายุ แต่ให้กำหนดเรื่องวุฒิการศึกษา รวมถึงเสนอให้มีการจัดตั้งโรงเรียนนักการเมืองเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่พึงมี ขณะที่นักการเมืองควรต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทุกปี

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนาส่วนใหญ่ยังเห็นตรงกันว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรบัญญัติให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบภาครัฐ ตั้งแต่การเริ่มต้นกระบวนการในรูปแบบของสภาประชาชน และควรสนับสนุนชุมชนปกครองตนเองเพื่อให้ประชาชนสามารถบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเองได้
--------------------------------
ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีมติให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ขึ้นมา 7 คน โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี เพียงวาระเดียว ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง

นายคำนูญ สิทธิสมาน เปิดเผยความคืบหน้าถึงผลการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน จำนวน 5 มาตรา  ซึ่งเป็นหมวดที่บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่เป็นครั้งแรก โดยที่ประชุมได้มีการหารือว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำไม่ใช่ข้าราชการการเมือง จะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นไม่ได้

นายคำนูญ กล่าวว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ดำเนินการภายใต้รัฐธรรมนูญ กฏหมาย และนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมตามหลักธรรมาภิบาล และให้บริการแก่ประชาชนด้วยความมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนการสั่งการในการบริหารราชการแผ่นดินให้ดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษร

หากเป็นการสั่งการเร่งด่วนด้วยวาจาให้ผู้รับคำสั่งบันทคดคำสั่งดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและเสนอให้ผู้สั่งลงนามภายหลัง นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดินในการให้ข้อมูลและความคิดเห็น ตรวจสอบ และติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในกรณีที่พบว่ามีการละเลยหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ ยังสามารถขอคำชี้แจงและแสดงเหตุผล หรือ เสนอเรื่องราวร้องทุกข์และฟ้องคดีต่อศาลได้ตามที่กฏหมายบัญญัติ
--------------------------
โฆษก กมธ.ยกร่าง เเถลง เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน ใน รธน.ใหม่

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงผลความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน จำนวน 5 มาตรา ซึ่งเป็นหมวดที่บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่เป็นครั้งแรก โดยที่ประชุมได้มีการหารือว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำไม่ใช่ข้าราชการการเมือง และจะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นไม่ได้ พร้อมทั้งยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการโดยใช้ระบบคุณธรรม โดยจะต้องจัดตั้งกรรมการเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน 7 คน ซึ่งจะต้องแต่งตั้งจากบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นกลางทางการเมือง ประกอบไปด้วย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2 คน บุคคลซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าราชการที่เทียบเท่าและพ้นจากราชการแล้ว 3 คน และประธาน

กรรมการจริยธรรมของทุกกระทรวงซึ่งเลือกกันเองในแต่ละกระทรวง 3 คน ทั้งนี้ กรรมการที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการดังกล่าวจะมีวาระการดำรงตำแหน่งเพียงวาระละ 3 ปีเท่านั้น
และยังมีอำนาจหน้าที่เสนอรายชื่อบุคคลหรือย้ายบุคคลออกจากตำแหน่งตามที่สมควรในการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่าตามที่กฎหมายบัญญัติ
----------------------
โฆษก กมธ.ยกร่าง เเถลง เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน ใน รธน.ใหม่

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงผลความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน จำนวน 5 มาตรา ซึ่งเป็นหมวดที่บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่เป็นครั้งแรก โดยที่ประชุมได้มีการหารือว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำไม่ใช่ข้าราชการการเมือง และจะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นไม่ได้ พร้อมทั้งยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการโดยใช้ระบบคุณธรรม โดยจะต้องจัดตั้งกรรมการเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน 7 คน ซึ่งจะต้องแต่งตั้งจากบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นกลางทางการเมือง ประกอบไปด้วย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2 คน บุคคลซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าราชการที่เทียบเท่าและพ้นจากราชการแล้ว 3 คน และประธานกรรมการจริยธรรมของทุกกระทรวงซึ่งเลือกกันเองในแต่ละกระทรวง 3 คน ทั้งนี้ กรรมการที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการดังกล่าวจะมีวาระการดำรงตำแหน่งเพียงวาระละ 3 ปีเท่านั้น และยังมีอำนาจหน้าที่เสนอรายชื่อบุคคลหรือย้ายบุคคลออกจากตำแหน่งตามที่สมควรในการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่าตามที่กฎหมายบัญญัติ
///////////

คุยกับ "สุรชาติ บำรุงสุข" เรื่องความสัมพันธ์สหรัฐฯ-ไทย "น่าเสียดายนักการทูตไทยทำตัวเหมือนเด็ก"

วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 09:00:00 น

สัมภาษณ์พิเศษโดยมติชนออนไลน์

เหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญที่เกิดขึ้นช่วงนี้คือการเดินทางมาเยือนของนายแดเนียลรัสเซลผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ในฐานะผู้แทนรัฐบาลที่เดินทางมาพูดคุยกับผู้นำทางการเมืองทั้งสองฝ่ายคือนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปปัตย์

ประเด็นสำคัญอยู่ที่นัยยะทางการเมืองจากการบรรยายพิเศษของนายแดเนียลที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ถูกทางการไทยแถลงตอบโต้ว่าเป็นการแทรกเเซงทางการเมืองร้อนถึงท่านผู้นำของไทยซึ่งเเสดงความเสียใจที่สหรัฐฯไม่เข้าใจการเมืองไทย

มติชนออนไลน์ 
เห็นว่าการพูดคุยและนำเสนอความเห็นที่หลากหลายเป็นเรื่องสำคัญ จึงนำผู้อ่านมาสนทนากับ ศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในนักวิชาการที่นำเสนอมุมมองวิชาการด้านความมั่นคงเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทย ถึงนัยยะและความสัมพันธ์ของสหรัฐฯกับไทย ในการเมืองปัจจุบัน  ว่าเราจะเข้าใจสถานการณ์ขณะนี้อย่างไรได้บ้าง

@นัยยะทางการเมืองในการมาเยือนไทยที่ผ่านมาของผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ

ผมคิดว่าต้องคำความเข้าใจว่าถ้าจะตีความว่าสหรัฐอเมริกาแทรกแซงการเมืองไทยผมคิดว่าอาจะไม่ถึงขนาดนั้นหรือเปล่ายกเว้นเราจะทำใจไม่ได้ที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯพูดในทำนองว่าอยากเห็นประเทศไทยกลับสู่เส้นทางประชาธิปไตยสมมุติเอาว่าถ้าไม่พูดที่กรุงเทพฯ แต่ไปพูดที่กรุงวอชิงตันมันจะต่างกันไหม? ที่จริงก็อาจจะไม่ต่างกัน แต่เผอิญมาพูดที่กรุงเทพฯ แล้วมีคนรู้สึกรับไม่ได้ มันก็เลยกลายเป็นประเด็น ทั้งๆ ที่ถ้าหากเราย้อนอดีตจะพบว่าความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯมีมานาน ไม่ต้องพูดในยุคสงครามเย็นที่ไทยกับสหรัฐฯใกล้ชิดกันขนาดไหน จนมีความใกล้ชิดระดับที่เรามีความรู้สึกว่าการเมืองไทยส่วนหนึ่งผูกมัดอยู่กับสหรัฐอเมริกาอย่างมาก

แต่พอในวันนี้มันกลายเป็นความน่าแปลกใจที่ หลังการรัฐประหารในปี 2557 เสียงเรียกร้องมันแปลก หรือต่างจากเดิมๆ เช่นเสียงประท้วงหรือเสียงแสดงความเห็นในลักษณะที่ตรงกันข้ามไม่ว่าจะจากวอชิงตัน หรือจากสหภาพยุโรปในทำนองที่เหมือนกับไม่เห็นด้วยและอยากเห็นประเทศไทยแก้ปัญหาแบบประชาธิปไตย  พอกระบวนการแก้ปัญหาทางการเมืองของไทย จบลงด้วยการรัฐประหารนั้น ผมเชื่อว่าบรรดาประเทศในตะวันตก โดยเฉพาะประเทศประชาธิปไตยในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป รวมถึงในญี่ปุ่น ก็รู้สึกอิหลักอิเหลื่อพอสมควร

ต้องอย่าลืมว่าปี 2558 จะเป็นปีที่เมียนมาร์มีการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราเห็นมาตลอดคือเเรงกดดันของตะวันตก ทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย รวมทั้งญี่ปุ่นอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมาร์ที่เป็นประชาธิปไตย และเมียนมาร์ก็ตัดสินใจเดินบนเส้นทางประชาธิปไตย  แต่พอมาปี 2557 การเมืองไทยกลับถอยหลังสู่การรัฐประหาร  เพราะฉะนั้นสัญญานที่อยากเห็นไทยเป็นประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก  แล้วมีมาตั้งแต่หลังรัฐประหาร หรือว่าที่จริงสัญญาณเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อมีความขัดแย้งทางการเมืองไทย


ต้องยอมรับว่าในสถานการณ์การเมืองโลกและในสถานการณ์การแข่งขันในระดับภูมิภาค รวมถึงอีกเงื่อนไขหนึ่งคือการรวมกันเป็นประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในวันสุดท้ายของปี 2558 นั้น ไม่มีใครอยากเห็นการเมืองไทยถอยหลัง  วันนี้ต้องยอมรับว่าทุกประเทศอยากเห็นการเมืองไทยเป็นประชาธิปไตย แก้ปัญหาทางการเมืองด้วยระบบ รัฐสภา  เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดรัฐประหารในปี 2557 วันนี้หลายฝ่ายก็คงอยากเห็นไทยกลับมาสู่ถนนสายเดิมคือถนนสายประชาธิปไตย

แต่พอพูดอย่างนี้ก็คงไม่ถูกใจคนบางส่วนวันนี้ความน่ากังวลก็คือคนบางส่วนในสังคมไทยถูกสร้างให้เชื่อว่ารัฐประหารเป็นเครื่องมือของการแก้ปัญหาทางการเมืองไทยและรัฐประหารจะทำให้ความแตกแยกทางการเมืองไทยกลับสู่ความสมานฉันท์แต่ในความเป็นจริงเราอาจจะต้องยอมรับว่าไม่จริง ผมคิดว่ารัฐประหารเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของการสร้างปัญหาทางการเมืองไทยที่กำลังเกิดขึ้นกับปัญหาทางการเมืองชุดเดิมที่มีอยู่

โดยนัยยะเช่นนี้เชื่อว่ารัฐบาลในตะวันตกไม่ว่าจะในสหรัฐฯหรือในสหภาพยุโรปก็ตามอยากเห็นการเมืองไทยเข้าสู่ภาวะปกติ ถ้าไม่กลับสู่ภาวะปกติก็ต้องขอภาวะพื้นฐานเช่นการยกเลิกกฏอัยการศึก ซึ่งส่วนตัวก็เชื่อว่าคำตอบรับไม่มี ผู้นำไทยก็พูดชัดเจนเองว่าไม่มี ไม่ยกเลิก เพราะฉะนั้นสิ่งที่หลายฝ่ายกังวล คือเมื่อระบบประชาธิปไตยในไทยไม่เดินหน้าและไม่พัฒนา ในขณะที่รอบๆ ตัวไทย ไม่ว่าจะเป็นการเมืองในอินโดนีเซีย การเมืองในฟิลิปปินส์ แม้กระทั่งวันนี้การเมืองอย่างในเมียนมาร์เอง มันล้วนแต่เดินบนเส้นทางการเลือกตั้ง แล้วการเมืองไทยที่กำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั้น จะตอบโจทย์ชุดนี้อย่างไร

ในขณะเดียวกันกับการเมืองไทยที่มีรัฐประหาร กลับมีคนบางกลุ่มที่เชื่อว่าหลังรัฐประหาร ถ้าประเทศตะวันตกไม่สนับสนุนการรัฐประหารที่กรุงเทพฯ เชื่อว่าไทยสามารถย้ายข้างไปอยู่กับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นฝ่ายที่ยอมรับการรัฐประหาร  แต่ผมคิดว่าถ้ายังมีสติเหลืออยู่จะรู้ว่านโยบายต่างประเทศไม่สามารถเลือกข้างได้ ในสภาพที่มีการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจใหญ่ในภูมิภาค คิดว่าโจทย์ชุดนี้ตอบอย่างตรงไปตรงมาได้ง่ายที่สุด คือไทยไม่มีสิทธิ์เลือกข้างระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่ง  ผมคิดว่าผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของไทย คือไทยต้องอยู่ได้ทั้งกับ วอชิงตันและกับปักกิ่ง หรือในภาพรวม ไทยต้องอยู่ได้ ทั้งกับวอชิงตัน ปักกิ่ง และสหภาพยุโรป หรือตัวแสดงที่เป็นมหาอำนาจอื่นๆ เพื่อผลประโยชน์ระยะยาวของประเทศ

@กรณีที่มีการเรียกอุปทูตสหรัฐฯ เข้าไปชี้แจง เพื่อตอบโต้โดยเห็นว่าการเยือนของผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ มีการกล่าวบรรยายที่มีลักษณะแทรกแซงทางการเมือง และไม่เข้าใจการเมืองไทย 

ผมคิดว่าไทยมีสิทธิ์ตีความในแบบไทย  แต่ต้องถามว่าแล้วสิ่งที่รัฐบาลไทย ตีความแบบไทยๆ ถ้าเกิดคนทั่วโลกเขาไม่รับล่ะ  ผมคิดว่าวันนี้เราต้องตระหนักว่าในโลกที่เราเรียกว่าโลกยุคโลกาภิวัตน์นั้น ตกลงประเทศไทยจะปิดประเทศไหม ถ้าคิดอย่างนี้และรัฐบาลไทยตีความไปเองโดยไม่ต้องคิดกังวลกับสังคมนอกบ้านหรือประชาคมระหว่างประเทศ สุดท้ายคำตอบเหลืออย่างเดียวคือประเทศไทยต้องปิดประเทศแล้วล่ะ  แต่ตัดสินใจจะปิดประเทศ ผมคิดว่าผู้นำของไทยในปัจจุบัน น่าจะได้รับบทเรียนจากรัฐบาลของประเทศเมียนม่าร์ว่าสิ่งสุดท้ายแล้วที่เขาต้องการจะปิดประเทศมันทำได้แท้จริงเพียงใดการตีความหรือการพูดอย่างใดก็ตามสามารถทำได้แต่ต้องตระหนักว่าแล้วถ้าคนส่วนใหญ่ในโลกเขาไม่เห็นด้วยรัฐบาลที่กรุงเทพฯจะทำอย่างไร


@มีข้อโต้แย้งอันหนึ่งของไทย โดย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่กล่าวว่า การเกิดการยึดอำนาจในไทย ไม่ได้ส่งผลอะไรกับคนอเมริกัน หรือนักธุรกิจชาวสหรัฐฯที่มาลงทุนในไทยเลย ทุกอย่างเป็นปกติทั้งหมด แต่การคัดค้านของอเมริกาที่ผ่านมาน่าจะเป็นแค่เชิงหลักการ เป็นพิธีกรรมเท่านั้น 

ผมคิดว่ารัฐบาลไทยคงมีวิธีแก้ตัวให้กับตัวเอง รัฐประหารกระทบกับสหรัฐฯไหม กระทบแน่ๆ เพราะว่าหนึ่ง คือมันมีกฏหมายในตัวของสหรัฐฯเองว่าสหรัฐฯไม่ได้รับอนุญาตให้จัดความสัมพันธ์เต็มรูปกับรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ เพราะฉะนั้นในสภาพอย่างนี้ถ้าเราย้อนกลับไปในหลายกรณีถ้าเกิดรัฐประหารขึ้นสหรัฐฯจะหยุดให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศให้กับประเทศที่เกิดรัฐประหารขึ้นไม่ได้ตัดนะครับแต่หยุดจนกว่าเงื่อนไขการรัฐประหารจะเปลี่ยนหรือคลายตัวออก เช่นนักเรียนทหารที่อยู่ภายใต้ทุนของรัฐบาลสหรัฐฯ อาจจะต้องถูกส่งกลับ รวมทั้งความช่วยเหลือด้านต่างๆ ทั้งหลาย หรือความช่วยเหลือในภาคพลเรือน ปีนี้ผมเฝ้าดูตัวชี้วัดที่สำคัญอันหนึ่ง คือการฝึกคอบบร้าโกลล์ หลังรัฐประหารปี 2549 มีความพยายามในการแก้ตัวด้วยการสร้างคอบร้าโกลล์ให้เป็นเหมือนการยอมรับรัฐประหารที่กรุงเทพฯ มีการฝึกคอบบร้าโกลล์เป็นปกติ แต่ผมเชื่อว่าปีนี้ การฝึกคอบร้าโกลล์เป็นสัญญานบางอย่างที่ผู้นำของไทยต้องเรียนรู้ (หมายเหตุ: สัมภาษณ์วันที่ 28 ตุลาคม 1 วันก่อน สหรัฐฯแถลงลดความร่วมมือฝึกคอบร้าโกลล์)


@สัปดาห์ก่อนมีข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศยืนยันออกมาว่าน่าจะปกติทุกอย่าง

ที่ปกตินั้นต้องถามว่าปกติแค่ไหนผมคิดว่าเป็นอะไรที่น่าติดตามดู มุมหนึ่งผมคิดว่าประเทศตะวันตกมีมาตรฐานทางการเมืองพอสมควรในโลกปัจจุบันรัฐประหารถูกมองว่าเป็นการเมืองที่มีปัญหาเพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐฯหรือการเมืองในสหภาพยุโรปก็จะมีกฎหมายกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเหล่านั้นกับรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ถ้าจะตอบว่าไม่กระทบเลยมันก็ตอบง่าย  แต่วันนี้เราจะเห็นชัดว่าการท่องเที่ยวจากประเทศตะวันตกนั้นมีจำกัด หลังจากการเกิดรัฐประหารที่ประเทศไทย รวมถึงวันนี้เราเห็นตัวอย่างการถูกตัดสิทธิทางการค้ากรณีของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป เพราะฉะนั้นจะบอกว่าไม่กระทบ   แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงคือรัฐประหารกำลังเป็นผลกระทบกับตัวสังคมไทยเองต่างหาก ซึ่งปัจจัยนี้ผมคิดว่าเป็นความน่ากลัวที่สังคมไทยจะต้องเรียนรู้

@วิเคราะห์การทูตของสหรัฐฯต่อไทยในอนาคตต่อจากนี้ 

ผมคิดว่า สิ่งที่เราเห็นชัดและตอบได้ชัดเจนว่าสหรัฐฯ กังวลกับการเมืองไทย

@แต่ก็ไม่น่าจะมีการปิดกั้นหรือแสดงบทบาทคัดค้านเชิงรูปธรรมอีก

ผมคิดว่ารัฐมหาอำนาจเมื่อเขาเเสดงความกังวลก็มีน้ำหนักพอสมควร แต่ในขณะเดียวกันด้วยเงื่อนไขของมารยาททางการทูตสหรัฐฯอาจจะเเสดงอะไรไม่ได้มากกว่านี้  แต่เพียงแค่ความกังวลผมคิดว่าก็เป็นสัญญาณที่ผู้นำไทยอาจต้องคิดเหมือนกันยกเว้นวันนี้เราเชื่อว่าเราไม่แคร์กับปัจจัยของสหรัฐฯ แต่ผมคิดว่าในทางเศรษฐกิจ ก็ต้องตอบเหมือนกันว่าตลาดไทยในสหรัฐฯต่อไปจะเป็นอย่างไร และจะอยู่ยังไง  แม้วันนี้เราเชื่อว่าในความสัมพันธ์ไทยสหรัฐฯเราไม่ต้องพึ่งสหรัฐฯมาก  แต่ก็ต้องตอบว่า ตกลงเรายังจะจัดความสัมพันธ์กันต่อไหม? จะเชื่อว่าเราสามารถอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องมิติทางการทูต หรือการเมืองไทยกับสหรัฐฯ ผมคิดว่าคำตอบเหล่านี้ เอาเข้าจริงๆ ไม่เป็นจริงและไม่เป็นประโยชน์

@นายกฯมีกำหนดจะไปเยือนสหรัฐฯบนเวทีสหประชาชาติ นี่ถือเป็นการยอมรับสถานการณ์ในไทยจากสหรัฐฯได้หรือไม่
ผมคิดว่าการเยือนสหประชาชาติกับการเยือนสหรัฐฯ ต้องแยกว่าเป็นคนละประเด็น เนื่องจากการเยือนสหประชาชาติแม้ที่ตั้งจะอยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐฯ แต่การเดินทางไป UN ไม่ได้หมายความว่า นายกฯ ไปเยือนสหรัฐฯ คนละประเด็นกันอันนี้ต้องเเยก

@การตอบโต้ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เรื่องอัยการศึก ที่ใช้ตรรกะว่า คนไทยส่วนใหญ่เห็นด้วย ไม่มีใครรู้สึกว่ามีกฏอัยการศึก และ หากยกเลิก สหรัฐฯจะรับผิดชอบไหวไหม ในทัศนะอาจารย์มองการตอบโต้ทางการทูตนี้อย่างไร

ผมคิดว่านักการทูตไทยเล่นบทเป็นเด็กๆ ไม่ได้ นักการทูตที่มีวุฒิภาวะจะไม่พูดอย่างนี้ ผมคิดว่าคำพูดอย่างนี้สะท้อนวุฒิภาวะของนักการทูตไทยและเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะในอดีตนักการทูตไทยเป็นนักการทูตที่ได้รับการยกย่องในเรื่องความสามารถสำหรับงานการทูตในภูมิภาคแต่ถ้านักการทูตพูดได้แค่นี้เสียดายว่านักการทูตไทยเล่นเหมือนเด็กไปนิดนึงคือในมิติทางการทูตของอย่างนี้เขาไม่จำเป็นต้องมาพูดกัน หรือถามกันด้วยประโยคเหมือนเด็กๆ ท้าทายกันอย่างนี้

http://www.matichon.co.th/online/2015/01/14225232511422531872l.jpg

@แล้วที่ผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ มาพูดที่จุฬาฯ บอกว่าคดียิ่งลักษณ์เป็นเรื่องทางการเมือง นี่ถือเป็นการแทรกเเซงเเละเสียมารยาททางการทูตไหม?

ผมคิดว่าสหรัฐฯ คงสะท้อนว่าสหรัฐฯ มองการเมืองไทยอย่างไร ส่วนที่ไทยบอกว่าเป็นการเสียมารยาททางการทูตก็ขึ้นอยู่กับเราว่าเราคิดอย่างไรแต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องยอมรับว่าในเวทีโลกเราไม่ได้อยู่คนเดียว สองคือ ไทยไม่ได้เป็นมหาอำนาจใหญ่ ที่จะบอกว่าเราคิดอย่างไรก็ได้ ทำอย่างไรก็ได้ คงต้องยอมรับเหมือนกันว่าในสภาพของการเมืองระหว่างประเทศเนี่ย  ไทยเป็นรัฐหนึ่ง ที่ไม่ได้อยู่ในสถานะที่เป็นรัฐมหาอำนาจ แล้วจะคิดเองทำเอง ตามใจตัวเองได้ทุกอย่าง ผมว่าก็อาจจะต้องคิดต่อ

โฆษก คสช. ติง อุปทูตสหรัฐอเมริกา พบแกนนำแดงอิสาน ให้คำนึงถึงธรรมเนียมทางการทูต

โฆษก คสช. ติง อุปทูตสหรัฐอเมริกา พบแกนนำแดงอิสาน ให้คำนึงถึงธรรมเนียมทางการทูต ต้องให้เกียรติประเทศที่พำนัก ไม่ทำอะไรกระทบสัมพันธ์
พันเอก วินธัย สุวารี โฆษก คสช. ชี้แจง กรณีที่อุปทูตสหรัฐอเมริกา จะไปพบ แกนนำเสื้อแดงอีสาน ว่า ยังไม่ทราบในรายละเอียดของการเดินทางไปปฏิบัติงานหรือไปทำกิจกรรมภารกิจอันใด.ซึ่งทุกท่านมีสิทธิ์ที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามความเหมาะสมอยู่แล้ว ถ้าเรื่องนั้นๆไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์
"แต่ เชื่อว่าผู้แทนมิตรประเทศหรือนักการทูตทุกท่านจะให้เกียรติประเทศที่ตนเองพำนักอยู่ และคงไม่ทำอะไรที่จะทำให้กระทบกับความสัมพันธ์ของประเทศนั้น โดยเฉพาะในเรื่องของการเมืองหรือการแทรกแซงนโยบาย เพราะอาจจะส่งผลต่อความรู้สึกต่อคนขอประเทศที่พำนักได้"
นอกจากนี้โดยปกตินักการทูตจะมีธรรมเนียมและมารยาททางการทูตที่เป็นมาตรฐานสากลอยู่แล้ว และคิดว่าหลายๆประเทศได้ให้เกียรติประเทศไทย เสมอมาโดยเฉพาะ USA ก็มีความสัมพันธ์กันมานานกว่าร้อยปี


ผบทบ. เผย "นายกฯ"สั่งจับตา ทูตสหรัฐฯเดินสายพบ แกนนำเสิ้อแดงอีสาน

ผบทบ. เผย "นายกฯ"สั่งจับตา ทูตสหรัฐฯเดินสายพบ แกนนำเสิ้อแดงอีสาน ชี้ ต้องให้เกียรติกันและกัน หวังไม่มีผลกระทบ ยัน การเรียกรายงานตัว ถ้าใครไม่เข้าใจต้องเชิญคุย
บิ๊กโด่ง พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหมและ ผบ.ทบ. กล่าวถึงการที่ คสช.เรียกตัวอดีตนักการเมืองมาปรับทัศนคติ ว่า อยากให้ใช้คำว่าเป็นการเชิญบุคคลต่างๆมาพูดคุยเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ไม่ได้มีความรุนแรงใดๆ
จากสถานการณ์ปัจจุบันเป็นเรื่องที่ต้องพยายามทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ขอความร่วมมือในเรื่องของการแสดงออก และการแสดงความคิดเห็น ถ้าอยู่ในกรอบก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเกิดความไม่เข้าใจก็จะเป็นต้องเชิญมาพูดคุย แต่ละท่านที่มาพูดคุย และปรับทัศนคตินั้น ก็ได้รับรายงานว่าเป็นไปด้วยความเรียบร้อยทุกคนเข้าใจ และคงจะทำให้เกิดความเรียบร้อยต่อไป
ส่วนจะมีการเชิญตัวเพิ่มเติมและจะสามารถยุติความเคลื่อนไหวต่างๆได้หรือไม่ พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า คงไม่ได้มีความเคลื่อนไหวอะไร ขณะนี้เป็นเพียงเรื่องของการแสดงออก ด้านความคิดเห็น ซึ่งก็มาปรับความเข้าใจกัน
ผมเคยพูดและขอร้องแล้วว่า ให้อยู่ในกรอบแต่ถ้ายังมีการแสดงออกถึงความไม่เข้าใจก็คงต้องมีการพูดคุยกันต่อไป
เมื่อถามว่า แสดงว่ายังจะมีการเคลื่อนไหวอยู่อีกต่อไปใช่หรือไม่ พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่ายังตอบไม่ได้ แต่ถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบรอยก็ไม่ต้องมีการเรียกเพิ่มเติมมาอีก แต่บางท่านที่ไม่เรียบร้อยและไม่เข้าใจเราก็ต้องคุยให้เกิดความเข้าใจ
พล.อ.อุดมเดช กล่าวถึงข่าวว่าทูตสหรัฐฯจะเดินสายไปพบกับแกนนำเสื้อแดงในพื้นที่ภาคอีสานว่า เรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ได้ให้นโยบายว่าให้คอยติดตามสถานการณ์ดู เพียงแต่เราต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน เราต้องให้เกียรติเขา แต่ก็ต้องติดตาม ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า. จากการพูดคุยกันวันก่อนในระดับ รองนายกฯ และการแสดงออกของส่วนต่างๆน่าจะมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น และหวังว่าสิ่งต่างๆคงไม่มีผลกระทบใดๆ
"สหรัฐฯเองก็ต้องเข้าใจประเทศไทยด้วยว่าเราต้องทำให้ประเทศเกิดความสงบเรียบร้อย การดำเนินการต่างๆก็ต้องมีความจำเป็นที่ต้องทำเช่นนี้เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ต่างชาติก็ต้องทำความเข้าใจและเราเองก็พยายามสร้างความเข้าใจให้กับต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีความเข้าใจเพียงแต่อาจจะมีประเด็นบางอย่างซึ่งก็ได้ชี้แจงข้อคิดเห็นไปแล้ว"


ห้ามขรป.ใช้คอมฯหรือมือถือหลวงเล่นไลน์หรือโซเชียลส่วนตัว

ออกหนังสือด่วน! ถึงผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ห้าม ขรก.กรมการปกครองใช้เครื่องมือราชการเล่นเฟซบุ๊ก-ไลน์-ส่งเมล์ส่วนตัว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
30 มกราคม 2558 11:41 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ออกหนังสือด่วน! ถึงผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ห้าม ขรก.กรมการปกครองใช้เครื่องมือราชการเล่นเฟซบุ๊ก-ไลน์-ส่งเมล์ส่วนตัว
เผยแพร่หนังสือด่วนที่สุด จากกรมการปกครอง เลขที่ มท.0304 /ว 1515 ลงวันที่ 28 ม.ค.2558 ลงนามโดย นายกฤษฎา บุญราช อธิบดีกรมการปกครอง ส่งหนังสือมายังผู้ว่าราชการจังหวัด

กรมการปกครองออกหนังสือด่วน! ถึงผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ห้ามข้าราชการในสังกัดใช้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือสื่อสารของราชการเล่นเฟซบุ๊ก-ไลน์ หรือส่งอีเมล์ส่วนตัว หลังถูกร้องเรียนใช้ไม่เหมาะสม หวั่นผิดอาญา ผู้ฝ่าฝืนมีความผิด และถือเป็นความบกพร่องของผู้บังคับบัญชาด้วย
      
       วันนี้ (30 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการเผยแพร่หนังสือด่วนที่สุด จากกรมการปกครอง เลขที่ มท.0304/ว 1515 ลงวันที่ 28 ม.ค. 2558 ลงนามโดยนายกฤษฎา บุญราช อธิบดีกรมการปกครอง ส่งหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเรื่องแนวทางการใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารของทางราชการ
      
       โดยมีใจความในหนังสือว่า “ด้วยกรมการปกครองได้รับแจ้งว่า มีบุคลากรภาครัฐบางรายใช้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือสื่อสารทางราชการที่ติดตั้งไว้ตามที่ว่าการอำเภอ ศาลากลางจังหวัด หรือสำนักงานของกรมการปกครอง ไปใช้ในโปรแกรมโซเชียลมีเดีย เช่น โปรแกรมเฟซบุ๊ก ไลน์ อีเมลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ โดยส่งข้อความหรือรูปภาพที่อาจเข้าข่ายความผิดอาญาหรือเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น รวมทั้งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
      
       เพื่อให้การปฏิบัติราชการของกรมการปกครองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กรมการปกครอง จึงขอกำหนดแนวทางในการใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารของทางราชการกรมการปกครอง ดังนี้ 1. ให้บุคลากรของกรมการปกครองใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารของทางราชการเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยยึดถือตามระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยเคร่งครัด 2. ห้ามมิให้บุคลากรของกรมการปกครองใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารของทางราชการไปใช้ในทางส่วนตัวที่ใช้โปรแกรมโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ การส่งอีเมลที่เข้าข่ายความผิดอาญาหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นรวมถึงการกระทำผิดความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยเด็ดขาด
      
       3. ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นควบคุมดูแลการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือสื่อสารทางราชการของบุคลากรกรมการปกครองให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดข้างต้นอย่างเคร่งครัด หากมีบุคลากรกระทำความผิดจะถือเป็นความบกพร่องของผู้บังคับบัญชาด้วย
      
       รายงานข่าวแจ้งว่า คำสั่งลักษณะดังกล่าวไม่ใช่ครั้งแรก แต่มีการฝ่าฝืนจนกรมการปกครองต้องออกคำสั่งซ้ำอีกครั้ง โดยเมื่อปี 2555 ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามในหนังสือส่งไปยังผู้ว่าฯทั่วประเทศ แจ้งให้งดใช้เว็บไซต์ต่างประเทศจำนวน 10 รายการ รวมถึง facebook เนื้อหาเอกสารมีดังต่อไปนี้
      
       “ด้วยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ตรวจสอบการใช้งานของระบบอินเทอร์เน็ตในรอบ 8 เดือน ในปีงบประมาณ 2555 พบว่าโดเมนที่มีจำนวนการเรียกใช้มากที่สุด 10 อันดับแรก ปรากฏว่าเป็นการใช้บริการดาวน์โหลดข้อมูลภาพและเสียง ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเว็บไซต์ของต่างประเทศและมีการเรียกใช้มากในลักษณะออนไลน์ เช่น www.facebook.com เป็นต้น การใช้งานดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานราชการ ทำให้สิ้นเปลืองช่องสัญญาณ (Bandwidth) จำนวนมาก
      
       ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยเกิดประโยชน์สูงสุด สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยจึงได้กำหนดมาตรการการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต โดยระงับการเข้าถึง Website ที่ให้บริการดาวน์โหลดข้อมูลภาพและเสียงที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานบางเว็บไซต์ และงดการใช้งานเว็บออนไลน์ เช่น www.facebook.com ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป ในช่วงระหว่างเวลา 08.30-12.00 น. และ 13.00-16.30 น. จึงเรียนมาเพื่อทราบ และแจ้งผู้ปฏิบัติงานในสังกัดทราบและถือปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวต่อไป” 

จีนให้กำลังใจไทย

จีนให้กำลังใจไทย เชื่อไทยผ่านวิกฤตเลวร้ายไปได้
เมื่อเวลา 12.25 น. วานนี้(29/1/58)นาย สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ให้สัมภาษณ์ผ่าน สำนักข่าวเหอเป่ย์ไทม์ โดย นายสี จิ้นผิง ผู้นำจีนได้กล่าวไว้ว่า ทางจีนจะเป็นกำลังใจและสนับสนุนการบริหารงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. หากทางการไทยขาดเหลือบกพร่องประการใดก็ขอร้องมายังทางการจีนได้ทันที
ทางการจีนจะช่วยเหลืออย่างเต็มที และจีนกับไทยก็เป็นประเทศพี่น้องกัน เป็นพันธมิตรมายาวนานแสนนาน และขอให้กำลังใจแก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีของไทยด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น นาย สี จิ้นผิง ยังเปิดเผยว่า ประเทศไทยขณะนี้อยู่ในภาวะสงบดีและประเทศไทยก็ต้องผ่านวิฤตการเมืองที่เลวร้ายไปได้เช่นกัน