PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว30/1/58

สหรัฐฯ/นายกฯ

"ปณิธาน" มองสัมพันธ์เฉพาะหน้ากับ USA มีปัญหา ทำถูกแล้ว ในการแสดงออก อาจต้องปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ในเชิงปฏิบัติ แต่ไม่ง่าย

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ความสัมพันธ์พื้นฐาน ระหว่าง ไทย กับสหรัฐอเมริกา ที่มีมายาวนาน นั้น ยังคงเหมือนเดิม แต่ใน
เรื่องเฉพาะหน้าโดยเฉพาะ ประเด็นการเดินทางมาเยือนของ นายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายเอเชียแปซิฟิก ของสหรัฐฯ นั้น คิดว่ายังเป็นปัญหา เพราะมองว่า สหรัฐต้องการเคลื่อนไหว และผลักดันทางการเมือง เนื่องจากยังมีความเห็นไม่ตรงกัน รวมถึงการพยายามแสวงหาอิทธิพล และผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในอาเซียน ซึ่งไทยจะต้องมีความระมัดระวัง ในเรื่องความสัมพันธ์มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ปณิธาน ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า การแสดงออกการประท้วงของไทย ถือเป็นแนวทางทางการทูตที่นานาชาติ นิยมปฏิบัติ แต่สหรัฐฯ จะยอมรับ หรือปรับเปลี่ยน ท่าทีหรือไม่นั้น ไม่สามารถตอบได้ แต่ในอนาคตไทย อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติ ให้มีความชัดเจนมากขึ้นด้วย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
-----------------
นายกฯ เข้าทำเนียบแล้ว เตรียมต้อนรับ รมว.กลาโหม มาเลเซีย ขณะช่วงบ่ายแถลงแผนงาน กอ.รมน.

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด ในช่วงนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เดินทางเข้ามาปฏิบัติงานที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว โดยในเวลา 09.00 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย จะเข้าเยี่ยมคาวระ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ตึกไทยคู่ฟ้า หลังจากนั้น คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร ประธานมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี นำคณะกรรมการฝ่ายจำหน่ายดอกไม้เข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อมอบดอกป๊อปปี้ ที่ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า

ขณะที่ ในเวลา 14.00 น. นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการจัดงาน สรุปผลการปฎิบัติงาน ประจำปี 2557 และแถลงแผนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2558 ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
------------------
"สุวพันธุ์" ยัน รัฐบาล ไม่กังวล ท่าทีสหรัฐฯ ส่วนตัวรู้สึกผิดหวัง หวัง USA จะเข้าใจ

นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงท่าทีของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประเทศไทย ว่า ประเทศไทย มีสิทธิในการดำเนินนโยบายทั้งในและต่างประเทศ แม้ว่า สหรัฐฯ จะมีความสัมพันธ์ร่วมกับไทยมาอย่างยาวนาน ก็ควรคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย ขณะเดียวกัน ไม่กังวลว่าท่าทีของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ จะกระทบต่อความสัมพันธ์และกรอบความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ ทีพีพี ทั้งนี้ ส่วนตัวรู้สึกผิดหวังกับเรื่องดังกล่าวเพราะตนทำงานร่วมกับสหรัฐฯ มาเป็นเวลานาน และขณะนี้ยังคงทำอยู่ จึงอยากให้สหรัฐฯ เข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทย

ส่วนกรณีการเดินธุดงค์ของวัดพระธรรมกาย ที่ส่งผลกระทบต่อการจราจรนั้น นายสุวพันธุ์ กล่าวว่า เบื้องต้นได้รับแจ้งจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้มาก เนื่องจากทางวัดได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และกรุงเทพมหานคร ไว้แล้ว และขณะนี้ ทางสำนักพระพุทธศาสนา ได้ทำการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจราจรแล้ว
----------------------------
นายกฯ ขอบคุณรัฐบาลมาเลเซีย อำนวยความสะดวกแนวทางการสร้างสันติสุข 3 จ.ใต้ หวังประชุม 3 ประเทศแก้ยางพารา

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการหารือระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย ที่เข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสเยือนไทย อย่างเป็นทางการ ว่า ได้มีการหารือกันในหลายประเด็น โดยเรื่องแนวทางการสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น

พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวว่า ทางรัฐบาลได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยสันติสุขเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีมาเลเซีย เป็นผู้อำนวยความสะดวก ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวขอบคุณทางการมาเลเซียอย่างยิ่ง ขณะเดียวกัน ในเรื่องปัญหายางพารา นายกรัฐมนตรี อยากให้มีการประชุมร่วมกัน 3 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยเร็ว เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว อีกทั้ง ยังฝากในเรื่องของการดูแลแรงงานไทยในมาเลเซียและการแก้ไขปัญหาบุคคลสองสัญชาติด้วย

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวชื่นชม นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะเป็นประธานอาเซียน โดยยืนยันว่า ยินดีให้การสนับสนุน พร้อมกันนี้ ยังกล่าวถึงประชาคมโลกในปัจจุบันว่า เป็นการเน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางและการสร้างความเชื่อมโยงต่างๆ โดยอยากฝากในเรื่องความเชื่อมโยงทางด้านคมนาคมระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายพร้อมให้ความร่วมมือเรื่องความช่วยเหลือด้านอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง
-----------------------
ผู้ประสานงานแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง เเถลงพร้อมรับซื้อยาง กก.ละ 80 บาท คัดค้าน แก้ไข พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535

นายสุนทร รักษ์รงค์ ผู้ประสานงานแนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง กล่าวแถลงการณ์เพื่อขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาวิกฤตราคายางตกต่ำ โดยเสนอให้รัฐบาลยุติโครงการมูลภัณฑ์กันชน ตั้งแต่เปิดฤดูกรีดยางใหม่ในเดือนพฤษภาคม และให้รัฐบาลรับซื้อยางพารากิโลกรัมละ 80 บาท โดยชดเชยส่วนต่างเป็นพันธบัตรรัฐบาล พร้อมให้รัฐบาลอนุมัติงบประมาณฉุกเฉินจำนวน 7,500 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือชาวสวนยางและคนกรีดยางจำนวน 500,000 ครัวเรือน ที่ไม่ได้รับเงินชดเชย 1000 บาทต่อไร่ของรัฐบาล โดยให้จ่ายเงินช่วยเหลือในช่วงปิดกรีดยางพาราตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนละ 5000 บาทต่อครัวเรือน

ขณะเดียวกัน ขอคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535 ที่จะทำให้การโค่นต้นยางต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ ซึ่งกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางกว่า 6 ล้านคน และทำให้ไม้ยางพารามีราคาตกต่ำ นอกจากนี้ แนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยางยังขอสนับสนุนให้จัดตั้งสมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชาวสวนยางได้รับสิทธิประโยชน์ผ่านกองทุนสวัสดิการเกษตรกร และสนับสนุนการเปิดพื้นที่เพื่อแสดงความคิดเห็น เพื่อปฏิรูปยางพาราทั้งระบบ

ทั้งนี้ นายสุนทร ระบุว่า ในวันนี้ได้แถลงข่าวพร้อมกับเครือข่ายคนกรีดยาง 300 คน ในจังหวัดตรัง และขอให้นายกรัฐมนตรีนำข้อเสนอไปพิจารณา ซึ่ง 1 เดือนหลังจากนี้จะลงพื้นที่เพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ รวมถึงประเมินโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ไม่สามารถช่วยเหลือชาวสวนยางได้อย่างแท้จริง
--------------------------
พล.ต.สรรเสริญ สรุปแผน กอ.รมน. ปี 2558 ต้องแก้ปัญหาดีกว่าเดิม - ผู้ว่าต้องทำงานรวดเร็วโปร่งใส 

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการสรุปผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2557 และแถลงแผนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2558 ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า ในวันนี้เป็นการประชุมเพื่อสรุปผลงานของ กอ.รมน. ในปีที่ผ่านมา และมอบนโยบายการขับเคลื่อนในปี 2558 ซึ่งนายกรัฐมนตรีพอใจกับการทำงานในปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลงานต่าง ๆ สามารถแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้ แต่ในปีนี้จะต้องดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ ได้ย้ำการทำงานของผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ว่า ต้องแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็วและโปร่งใส เน้นประชาชนเป็นส่วนกลาง หากพบว่าผู้ว่าราชการจังหวัดใดทุจริต รวมถึงแอบอ้างขอตำแหน่งทางราชการจะมีการสั่งย้ายทันที

ส่วนสถานการณ์ในภาคใต้นั้น พล.ต.สรรเสริญ ระบุว่า ในวันนี้ไม่ได้มีการพูดคุยกันเนื่องจากในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้มีการมอบหมายนโยบายไว้ทั้งหมดแล้ว
----------------
โฆษก กอ.รมน. เผย นายกฯ มอบนโยบาย ให้ กอ.รมน.จังหวัด หวังคลี่คลายปัญหาความเห็นทางการเมืองเเละการเกษตร

พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. เปิดเผยสรุปผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2557 และแถลงแผนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2558 พร้อมกับมอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานประจำปี 2558 ของ กอ.รมน. ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.รมน. เป็นประธานว่า นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายภาพรวมยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ และขอให้ กอ.รมน.จังหวัด ขับเคลื่อนตามที่มีคณะทำงานของรัฐบาลและ คสช. พร้อมกันนี้ยังชื่นชมผลการดำเนินงานในปี 2557 ซึ่งมีความเป็นรูปธรรมและขอบคุณจังหวัดที่ทำงานร่วมกัน ขณะเดียวกันยังให้ยึดประชาชนศูนย์กลางในแผนงานต่าง ๆ ส่วนในเรื่องความคิดต่างนั้น นายกรัฐมนตรีให้ระดับจังหวัดทำความเข้าใจให้ปัญหาคลี่คลาย ทั้งเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองและปัญหาการเกษตร
////////
ปรับทัศนคติ

"ณัฐวุฒิ" ไม่กังวล เข้าพบ ทหาร ปรับทัศนคติ เชื่อไม่มีการกักตัว ยันแสดงความเห็นต่าง แต่ไม่ได้ปลุกปั่น

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อกีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เปิดเผยว่า ไม่กังวลในการเข้าพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทหารในวันนี้ เพราะที่ผ่านมา ตนเองได้แสดงความเห็นชัดเจนมาโดยตลอดว่า มีความคิดที่แตกต่าง แต่ไม่ได้มีการปลุกปั่นเพื่อก่อให้เกิดการเผชิญหน้าแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เชื่อว่า เจ้าหน้าที่ทหารจะไม่มีการกักตัว แต่ตนเองก็พร้อมรับกับทุกสถานการณ์ ส่วนกรณีที่รัฐบาลขอความร่วมมือในการงดแสดงความคิดเห็นทางการเมืองนั้น นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ขอคุยกับเจ้าหน้าที่ก่อน แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะรับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผล เพราะถือเป็นเสรีภาพในการแสดงออกของทุกคน หลังจากนั้น นายณัฐวุฒิ ได้แจ้งว่า เจ้าหน้าที่ทหารได้โทรศัพท์ เพื่อขอให้ นายณัฐวุฒิ ไปที่สโมสรทหารบกเทเวศร์ เพื่อรอเจ้าหน้าทหารระดับสูงมาพูดคุยต่อไป
---------------------------------
"ณัฐวุฒิ" คุยปรับทัศนคติเรียบร้อย กลับบ้านแล้ว ระบุ ยินดีปฏิบัติ ยันแสดงความเห็นทางการเมืองด้วยความปรารถนาดี ไม่คิดปลุกปั่น    

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวภายหลังเข้าพูดคุยกับ พ.อ.นวกร สงวนศักดิ์โยธิน ผู้บังคับการทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 ที่สโมสรทหารบก เทเวศร์ ว่า การพูดคุยวันนี้เป็นการขอความร่วมมือให้งดแสดงความเห็นทางการเมือง ซึ่งตนเองไม่ได้ขัดข้อง แต่ขณะเดียวกันยืนยันว่า การแสดงความเห็นของตนเองอยู่บนหลักสิทธิเสรีภาพ และไม่เปลี่ยนจุดยืนเพราะเป็นการแสดงความเห็นด้วยความ ปรารถนาดีกับบ้านเมือง ซึ่งจะไม่ให้เกิดการปลุกปั่นสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง ทั้งนี้ พร้อมรับผิดชอบผลที่ตามมาจากการแสดงความเห็นของการแสดงความเห็นตนเอง

หลังจากนั้น นายณัฐวุฒิ ได้นั่งรถยนต์ของตนเอง โดยแจ้งว่าจะเดินทางกลับที่พัก โดยที่เจ้าหน้าที่ทหารไม่ได้มีการกักตัวไว้แต่อย่างใด
-------------------
พล.อ.อุดมเดช ระบุ เชิญคนเห็นต่างคุยเพื่อขอความร่วมมือ ยังตอบไม่ได้เชิญใครอีกหรือไม่ จับตาผู้แทน US พบแกนนำแดงอีสาน

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงการเชิญตัวผู้เห็นต่างทางการเมืองมาพูดคุยว่า เป็นการพูดคุยทำความเข้าใจและขอความร่วมมือในการแสดงออกให้อยู่ในกรอบ ซึ่งหลังจากพูดคุยทุกคนก็เข้าใจ และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนจะมีการเชิญตัวบุคคลใดเข้ามารายงานตัวอีกหรือไม่ ยังไม่สามารถตอบได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

ส่วนการแสดงท่าทีของทางการสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประเทศไทย ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พูดคุยทำความเข้าใจ และเชื่อว่าสหรัฐฯ จะเข้าใจมากขึ้น

ทั้งนี้ มองว่าการที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางไปรับฟังความคิดเห็นแกนนำคนเสื้อแดงภาคอีสานนั้น ได้มีการติดตามความเคลื่อนไหว และพยายามสร้างความเข้าใจ แต่ก็เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน

อย่างไรก็ตาม หวังว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ของสองประเทศ
------------------------
"วรชัย" รับ ทหารประสานเรียกปรับทัศนคติวันนี้ ติดภารกิจ ตจว. จะมาพบ บ่ายวันที่ 2 ก.พ. ที่กองทัพภาค 1 ยันไม่ได้พูดสร้างความแตกแยก

นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ได้รับการประสานจากนายทหารให้เข้ามาทำการพูดคุยปรับทัศนคติในวันนี้จริง แต่เบื้องต้นแจ้งไปว่าติดภารกิจอยู่ต่างจังหวัด ไม่สะดวก จึงขอเข้ามาพบในวันจันทร์ที่ 2 ก.พ. นี้ ในช่วงเวลาประมาณ 13.00 น. ที่กองทัพภาค 1

ทั้งนี้ นายวรชัย ยังกล่าวด้วยว่า ตนเองไม่ได้พูดหรือแสดงความเห็นที่สร้างความแตกแยกแต่อย่างใด มีเพียงการแนะนำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ด้วยความหวังดี ให้ลดการใช้อารมณ์เท่านั้น
------------------------
ทหารรับตัว "พิชัย" ขึ้นรถตู้ไปปรับทัศนคติ เจ้าตัวไม่กังวล ยันแสดงความเห็นและชี้แนะนโยบายด้านเศรษฐกิจและพลังงานอย่างมีเหตุผล

พ.ท.ชายธนัญชา วาจรัต ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 27 รักษาพระองค์ เดินทางมาที่บ้านพักของ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ คณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในซอยโรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย เขตาชเทวี เพื่อรับนายพิชัยขึ้นรถตู้ไปปรับทัศนคติ หลังจากนายพิชัยแสดงความคิดเห็นถึงนโยบายด้านเศรษฐกิจและพลังงานของรัฐบาล รวมถึงภาพลักษณ์ประเทศไทยในสายตาประชาคมโลก ซึ่งนายกรัฐมนตรีเคยให้สัมภาษณ์ว่าจะพานายพิชัยมาทำความเข้าใจ เช่นเดียวกับแกนนำพรรคเพื่อไทยอีกหลายรายที่แสดงความเห็นต่อการทำงานของรัฐบาล โดย พ.ท.ชายธนัญชา โดยบอกกับสื่อมวลชนว่าไม่สามารถให้รายละเอียดได้ว่าจะนำตัวไปที่ใด

ขณะที่ นายพิชัย กล่าวว่า ไม่ได้รู้สึกกังวลแต่ยืนยันว่าการแสดงความเห็นและชี้แนะนโยบายด้านเศรษฐกิจและพลังงานทุกครั้งเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล
---------------------
นายกฯ สรุปงาน กอ.รมน.ปี 57 วางแผนนโยบายความมั่นคงภายในปี 2558-2560

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คสช. ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นประธานการจัดงานสรุปผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2557 และแถลงแผนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2558 พร้อมกับมอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานประจำปี 2558 ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. ที่ตึกสันติไมตรี

โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ รวมถึงหัวหน้าหน่วยงานด้านความมั่นคง เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ทาง กอ.รมน. จะนำเสนอผลการปฏิบัติงานที่สนับสนุนนโยบายรัฐบาล ประเด็นยุทธศาสตร์ แผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ประจำปี 2558-2560
และแผนปฏิบัติที่สำคัญในปี 2558 อีกทั้งจะเป็นโอกาสให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวรับทราบผลการดำเนินงานรวมถึงรับทราบนโยบายจากนายกรัฐมนตรีเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
-------------------------
โฆษก กอ.รมน. เผย นายกฯ มอบนโยบาย ให้ กอ.รมน.จังหวัด หวังคลี่คลายปัญหาความเห็นทางการเมืองเเละการเกษตร

พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. เปิดเผยสรุปผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2557 และแถลงแผนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2558 พร้อมกับมอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานประจำปี 2558 ของ กอ.รมน. ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.รมน. เป็นประธานว่า นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายภาพรวมยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ และขอให้ กอ.รมน.จังหวัด ขับเคลื่อนตามที่มีคณะทำงานของรัฐบาลและ คสช. พร้อมกันนี้ยังชื่นชมผลการดำเนินงานในปี 2557 ซึ่งมีความเป็นรูปธรรมและขอบคุณจังหวัดที่ทำงานร่วมกัน ขณะเดียวกันยังให้ยึดประชาชนศูนย์กลางในแผนงานต่าง ๆ ส่วนในเรื่องความคิดต่างนั้น นายกรัฐมนตรีให้ระดับจังหวัดทำความเข้าใจให้ปัญหาคลี่คลาย ทั้งเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองและปัญหาการเกษตร
/////////

กมธ.ยกร่าง

"คำนูณ" มั่นใจ พิจารณารายมาตราเสร็จตามกรอบ เชื่อผ่านมติของ สปช. จัดเลือกตั้งได้ ก.พ. 2559 วันนี้ถกความสัมพันธ์ข้าราชการ-นักการเมือง

นายคำนูณ สิทธิสมาน ในฐานโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ในการพิจารณาหมวด 5 การคลังและการงบประมาณ ได้มีการวางหลักนิยามคำว่าเงินแผ่นดิน

ใหม่ ที่ไม่เคยมีมามาก่อน ตลอดจนว่ากรอบหลักธรรมาภิบาล หลักประสิทธิภาพและความคุ้มค่า หลักการรักษาวินัยทางการคลัง เพื่อให้มีการจัดสรรงบประมาณ และการใช้งบประมาณมี

ประสิทธิภาพมากที่สุด ส่วนในวันนี้จะมีการพิจารณารายมาตราในประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการประจำ นักการเมือง และประชาชน ส่วนในวันจันทร์หน้า จะเป็นเรื่องการ

ปกครองส่วนท้องถิ่น และการกระจายอำนาจ

ทั้งนี้ โฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ยังกล่าวด้วยว่า ตนเองยังเชื่อมั่นว่า การยกร่างรายมาตราจะเสร็จทันตามกรอบเวลาที่กำหนดอย่างแน่นอน โดยตั้งเป้าว่าจะให้เสร็จก่อนเดือนเมษายน และผ่าน

การลงมติของ สปช. เพื่อที่จะสามารถมีการเลือกตั้งใหม่ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559
-----
"พรเพชร" สั่งงดประชุม สนช. เปิดทางสมาชิกใช้เวลาประชุมกรรมาธิการ ขณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราต่อเนื่อง

บรรยากาศการรักษาความปลอดภัยที่รัฐสภา เช้านี้ ยังเป็นไปอย่างเข้มงวด ถึงแม้ไม่มีการประชุมใหญ่ เนื่องจากวานนี้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีคำสั่งงดประชุมวันที่

30 มกราคม 2558 โดยให้เลื่อนการพิจารณากระทู้ถามทั่วไปเรื่อง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. ที่ น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นผู้ตั้งถาม ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
สาธารณสุข ออกไปก่อน และวันนี้จะได้ให้สมาชิกใช้เวลาในการร่วมประชุมคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ อย่างเต็มที่ เพื่อให้การทำงานของ สนช. มีประสิทธิภาพ อีกทั้ง สามารถผลักดันร่างกฎหมาย

ให้ประกาศใช้โดยเร็ว ขณะที่การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยังพิจารณาเป็นรายมาตราอย่างต่อเนื่อง โดยมี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ทำหน้าประธานการประชุม
-------------
เสวนาสานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศ ที่เชียงใหม่ วันที่ 2 เริ่มคึกคัก แบ่งกลุ่มย่อย รวบรวมความเห็น

บรรยากาศเวทีเสวนา เรื่อง เวทีประชาเสวนาหาทางออก สานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศ ที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 2 ในช่วงเช้าเป็นไปด้วยความคึกคัก ผู้เข้าร่วมเสวนาเริ่มทำกิจกรรมสันทนาการก่อนทำการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อเสวนาหาทางออกประเทศไทย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพลเมือง เพื่อนำมาเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ จากนั้น ในช่วงบ่ายจะเป็นการเสวนากลุ่มย่อยเพื่อต่อยอดจากประเด็นอนาคตประเทศไทย ที่ผู้เข้าร่วมการเสวนาเสนอที่ประชุม เพื่อหากระบวนการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

อย่างไรก็ตาม ในนี้ถือเป็นวันสุดท้ายของเวทีเสวนาที่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยคาดว่า พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเดินทางมาติดตามการเสวนาในวันนี้ด้วย
-------------
กมธ.ยกร่าง รธน. เตรียมนำเรื่อง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน หารืออีกครั้ง หลังมีข้อเสนอควบรวม

บรรยากาศก่อนการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด สมาชิกกรรมาธิการฯ เริ่มทยอยเข้าเตรียมตัวประชุมแล้ว  เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ทั้งนี้ นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า วันนี้พิจารณาในส่วนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน มาพิจารณาใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางในการควบรวม 2 องค์กรเข้าด้วยกัน จำนวน 5 คน คือ นายปกรณ์ ปรียากร, นายเจษฏ์ โทณะวณิก, นางถวิลวดี บุรีกุล, นางสาวสุภัทรา นาคะผิว และ นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์

อย่างไรก็ตาม พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 5 การคลังและการงบประมาณ ซึ่งมีทั้งหมด 7 มาตรา ได้พิจารณาแล้วเสร็จทั้งหมดแล้ว ซึ่งในแต่มาตราในมาการนำหลักใหม่ๆ เข้ามา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอย่างเช่นที่ผ่านมา
-------------------
"เจษฏ์" ย้ำเขียน รธน.เพื่อป้องกันปัญหาในอดีต เดินหน้าประเทศ มั่นใจเสร็จทันตามกรอบ แจง ไม่ลดอำนาจหน้าที่องค์กรอิสระ

รศ.ดร.เจษฏ์ โทณะวณิก กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า ในการพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญ ของ คณะกรรมาธิการ นั้น ไม่สามารถที่จะบรรจุ ข้อเสนอ หรือความเห็นทั้งหมดที่ถูกส่งเข้ามาได้ แต่จะมีการนำทุกความเห็นมาประกอบการพิจารณา และประมวลผลเพื่อสะท้อนออกมา ในแต่ละมาตรา รวมถึงมีการนำรัฐธรรมนูญ ในทุกๆ ฉบับ มาศึกษา เพื่อเขียนวางโครงสร้างออกมาให้ดีที่สุด สำหรับอนาคต เพื่อไม่เกิดปัญหาเหมือนในอดีตอีก และมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการได้เสร็จ ตามกรอบเวลาอย่างแน่นอน และมีการสื่อสารกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละประเด็น ซึ่งหากใครมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ก็สามารถส่งมายังช่องทางต่างๆ ได้ทันที

พร้อมกันนี้ รศ.ดร.เจษฏ์ ยังชี้แจงด้วยว่า ในขั้นตอนการยกร่างพิจารณา ในส่วนขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะมีข้อเสนอ ให้ ควบรวมกับองค์กรอื่น หรือ ปรับลดภาระหน้าที่ นั้น แต่จริงๆ แล้ว
ไม่ได้มีการลดบทบาทแต่อย่าใด ในทางกลับกัน กลับเพิ่มอำนาจ และบทบาท ให้ขับเคลื่อนการทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น และไม่ซ้ำซ้อนเหมือนก่อน
--------------------
เวทีเสวนาสานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศ เลือกประธานรุ่น ก่อนมอบโจทย์ให้กลุ่มย่อย ระดมความเห็น เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม 

บรรยากาศเวทีเสวนา เรื่อง เวทีประชาเสวนาหาทางออก สานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศ ที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 2 ล่าสุด อยู่ในระหว่างการทบทวนกระบวนการทำประเสวนา พร้อมทั้งมอบโจทย์ในการเสวนากลุ่มย่อยซึ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่พลเมืองและการปฏิรูปประเทศ ก่อนที่จะแยกประชุมกลุ่มย่อยเพื่อหารือนำผลมาเสนอต่อที่ประชุมเช่นเดียวกับเมื่อวานที่ผ่านมา

ขณะที่ก่อนหน้านี้ผู้เข้าร่วมการเสวนาได้ทำเลือกประธานรุ่นจากตัวแทนจังหวัดที่ร่วมการเสวนา จังหวัดละ 1 คน โดยจะเปิดโอกาสให้แต่ละคนแสดงวิสัยทัศน์คนละประมาณ 1-2 นาที ซึ่งมีกติกาเพียงข้อเดียว คือ ไม่ว่าจะพูดดีแค่ไหน ผู้ฟังห้ามปรบมือ และเมื่อตัวแทนทุกคนพูดเสร็จผู้เข้าร่วมเสวนาจะทำการเลือกประธานรุ่น ซึ่งผลการลงมติพบว่า มีผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเท่ากัน 2 คน จึงได้ดำรงตำแหน่งร่วมกัน
----------------
กมธ.ยกร่าง พิจารณา ภาค 2 หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน อย่างต่อเนื่อง 

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด โดยมี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน ซึ่งมีทั้งหมด 5 มาตรา ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างประชาชน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้มีการวางกลไกที่จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะ และอำนาจในการตรวจสอบการใช้อำนาจที่มีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ขณะนี้ สมาชิกกรรมาธิการฯ ได้อภิปรายในเรื่องการตั้งกรรมการเพื่อแต่งข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยสมาชิกได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง
--------------------
"ถวิลวดี" เผย ปชช.ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพการศึกษา คุณภาพความเป็นอยู่ แตกต่างจากเวทีอื่นๆ ส่วนเรื่องการเมือง ต่อต้านทุจริตเห็นตรงกัน

ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ประธานคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงผลการทำเสวนากลุ่มย่อยของประชาชนใน 8 จังหวัดภาคเหนือ เมื่อวานนี้ว่า มีประเด็นที่น่าสนใจ โดยพบว่าประชาชนให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษา คุณภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความกังวลในเรื่องของการใช้สารเคมีของภาคการเกษตรกรรม ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ ถือเป็นประเด็นเฉพาะกลุ่มที่แตกต่างไปจากจากเวทีอื่น แต่มีบางประเด็นที่สอดคล้องกัน อาทิ หน้าที่ของนักการเมือง หน้าที่พลเมืองที่ดี และการต่อต้านการทุจริต ซึ่งชาวภาคเหนือนั้น แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่าต้องการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในรูปแบบของสภาพลเมือง เพื่อให้ผู้ใช้อำนาจเกิดความเกรงกลัว ซึ่งหลังจากนี้ ทางคณะอนุกรรมาธิการจะนำข้อเสนอที่ได้ไปเปรียบเทียบกับร่างรัฐธรรมนูญ ที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ กำลังพิจารณาอยู่ในขณะนี้ว่า สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
------------------
กมธ.ยกร่าง พิจารณา ระบบการแต่งตั้ง ขรก. ตั้ง กก. 5 คน นำรูปแบบ พ.ร.บ.กลาโหม มาใช้ ป้องกันการแทรกแซงจากการเมือง


บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนระบบคุณธรรม โดยจัดตั้งกรรมการเพื่อแต่งตั้งข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐขึ้น จำนวน 5 คน จากบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นกลางทางการเมือง โดยมาจากส่วนของข้าราชการพลเรือน จำนวน 2 คน และจากส่วนของอดีตปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าข้าราชการที่เทียบเท่า จำนวน 3 คน พร้อมนำแบบอย่างหลักการจากพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีการคัดสรรพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการภายในกระทรวงกลาโหม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้ไม่มีการก้าวก่าย หรือแทรกแซงทางการเมือง เพื่อให้การคัดสรรคนดีเข้าสู่ระบบข้าราชการ โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เสนอให้เพิ่มสัดส่วนของคณะกรรมการเพิ่มเติมอีก 2 คน ซึ่งยังไม่ได้มีการกำหนดว่าจะมาจากสัดส่วนของตัวแทนคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ ตัวแทนจากสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
------------------------------------------------------
การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณารายมาตราไปแล้ว 154 มาตรา และวันนี้เข้าสู่การพิจารณารายมาตราในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง โดยเฉพาะหมวด 6 ความ
สัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน

 นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ล่าสุด พิจารณาไปแล้ว 154 มาตรา สำหรับวันนี้ พิจารณาในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนระบบคุณธรรม โดยจัดตั้งกรรมการเพื่อแต่งตั้งข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐขึ้น จำนวน 5 คน จากบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นกลางทางการเมือง โดยมาจากส่วนของข้าราชการพลเรือน จำนวน 2 คน และจากส่วนของอดีตปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าราชการที่เท่าเทียบ จำนวน 3 คน พร้อมนำแบบอย่างหลักการจากพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่มีการคัดสรรพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการภายในกระทรวงกลาโหม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้ไม่มีการก้าวก่าย หรือแทรกแซงทางการเมือง เพื่อให้การคัดสรรคนดีเข้าสู่ระบบข้าราชการ มีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เสนอให้เพิ่มสัดส่วนของคณะกรรมการเพิ่มเติมอีก 2 คน ซึ่งยังไม่ได้มีการกำหนดว่าจะมาจากสัดส่วนของตัวแทนคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ  ตัวแทนจากสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ การเพิ่มสัดส่วนดังกล่าวก็เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความคลอบคลุมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงป้องกันการเกิดปัญหาการล็อบบี้

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการพิจารณาในหมวดดังกล่าวแล้วเสร็จ ที่ประชุมจะหยิบยกประเด็นการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน หรือ กสม. และผู้ตรวจการแผ่นดิน ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้าที่ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อศึกษาแนวทางในการควบรวม 2 ขององค์กรดังกล่าว
------------------------------
เวทีเสวนาปฏิรูปประเทศจังหวัดเชียงใหม่ เน้นค่านิยม 12 ประการ หน้าที่ของพลเมือง - เสนอชุมชนปกครองตนเอง

สำหรับเวทีเสวนา เรื่อง "เวทีประชาเสวนาหาทางออก" สานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศ ที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 2 ล่าสุด อยู่ในระหว่างการเสนอประเด็นเสวนากลุ่มย่อยซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนที่นำไปสู่อนาคตของประเทศที่วางไว้ โดยในส่วนของหัวข้อหน้าที่พลเมือง ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าควรสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ ยึดหลักค่านิยม 12 ประการ โดยมีการจัดค่ายเด็กและเยาวชนเพื่อปลูกฟังค่านิยมและหน้าที่ของพลเมืองที่ถูกต้อง

ส่วนผู้นำการเมืองที่ดีนั้น ควรมีทั้งความรู้ ธรรมาภิบาล และวิสัยทัศน์ที่ดี โดยควรมีการกำหนดคุณสมบัติของการเมืองซึ่งไม่เกี่ยวกับอายุ แต่ให้กำหนดเรื่องวุฒิการศึกษา รวมถึงเสนอให้มีการจัดตั้งโรงเรียนนักการเมืองเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่พึงมี ขณะที่นักการเมืองควรต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทุกปี

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมเสวนาส่วนใหญ่ยังเห็นตรงกันว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรบัญญัติให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบภาครัฐ ตั้งแต่การเริ่มต้นกระบวนการในรูปแบบของสภาประชาชน และควรสนับสนุนชุมชนปกครองตนเองเพื่อให้ประชาชนสามารถบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเองได้
--------------------------------
ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีมติให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ขึ้นมา 7 คน โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี เพียงวาระเดียว ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง

นายคำนูญ สิทธิสมาน เปิดเผยความคืบหน้าถึงผลการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน จำนวน 5 มาตรา  ซึ่งเป็นหมวดที่บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่เป็นครั้งแรก โดยที่ประชุมได้มีการหารือว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำไม่ใช่ข้าราชการการเมือง จะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นไม่ได้

นายคำนูญ กล่าวว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ดำเนินการภายใต้รัฐธรรมนูญ กฏหมาย และนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมตามหลักธรรมาภิบาล และให้บริการแก่ประชาชนด้วยความมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนการสั่งการในการบริหารราชการแผ่นดินให้ดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษร

หากเป็นการสั่งการเร่งด่วนด้วยวาจาให้ผู้รับคำสั่งบันทคดคำสั่งดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและเสนอให้ผู้สั่งลงนามภายหลัง นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดินในการให้ข้อมูลและความคิดเห็น ตรวจสอบ และติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในกรณีที่พบว่ามีการละเลยหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ ยังสามารถขอคำชี้แจงและแสดงเหตุผล หรือ เสนอเรื่องราวร้องทุกข์และฟ้องคดีต่อศาลได้ตามที่กฏหมายบัญญัติ
--------------------------
โฆษก กมธ.ยกร่าง เเถลง เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน ใน รธน.ใหม่

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงผลความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน จำนวน 5 มาตรา ซึ่งเป็นหมวดที่บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่เป็นครั้งแรก โดยที่ประชุมได้มีการหารือว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำไม่ใช่ข้าราชการการเมือง และจะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นไม่ได้ พร้อมทั้งยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการโดยใช้ระบบคุณธรรม โดยจะต้องจัดตั้งกรรมการเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน 7 คน ซึ่งจะต้องแต่งตั้งจากบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นกลางทางการเมือง ประกอบไปด้วย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2 คน บุคคลซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าราชการที่เทียบเท่าและพ้นจากราชการแล้ว 3 คน และประธาน

กรรมการจริยธรรมของทุกกระทรวงซึ่งเลือกกันเองในแต่ละกระทรวง 3 คน ทั้งนี้ กรรมการที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการดังกล่าวจะมีวาระการดำรงตำแหน่งเพียงวาระละ 3 ปีเท่านั้น
และยังมีอำนาจหน้าที่เสนอรายชื่อบุคคลหรือย้ายบุคคลออกจากตำแหน่งตามที่สมควรในการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่าตามที่กฎหมายบัญญัติ
----------------------
โฆษก กมธ.ยกร่าง เเถลง เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน ใน รธน.ใหม่

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงผลความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 6 ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน จำนวน 5 มาตรา ซึ่งเป็นหมวดที่บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่เป็นครั้งแรก โดยที่ประชุมได้มีการหารือว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำไม่ใช่ข้าราชการการเมือง และจะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นไม่ได้ พร้อมทั้งยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการโดยใช้ระบบคุณธรรม โดยจะต้องจัดตั้งกรรมการเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน 7 คน ซึ่งจะต้องแต่งตั้งจากบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นกลางทางการเมือง ประกอบไปด้วย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2 คน บุคคลซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าราชการที่เทียบเท่าและพ้นจากราชการแล้ว 3 คน และประธานกรรมการจริยธรรมของทุกกระทรวงซึ่งเลือกกันเองในแต่ละกระทรวง 3 คน ทั้งนี้ กรรมการที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการดังกล่าวจะมีวาระการดำรงตำแหน่งเพียงวาระละ 3 ปีเท่านั้น และยังมีอำนาจหน้าที่เสนอรายชื่อบุคคลหรือย้ายบุคคลออกจากตำแหน่งตามที่สมควรในการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่าตามที่กฎหมายบัญญัติ
///////////

ไม่มีความคิดเห็น: