PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การลี้ภัยทางการเมืองยิ่งลักษณ์

สะพัดยิ่งลักษณ์ลี้ภัย หาช่องหนีกบดานสหรัฐ ทหารประกบ24ชั่วโมง! บิ๊กตู่บอกให้เกียรติแล้ว

  ป.ป.ช.เผยส่งหนังสือเรียกตัว “ยิ่งลักษณ์”  รายงานตัวอัยการสูงสุดเพื่อส่งฟ้องศาลแล้วในวันที่ 19 ก.พ.นี้ เจ้าตัวดอดเงียบขึ้นเชียงใหม่ทำบุญบรรพบุรุษ  เจอด่านค้นขบวนรถ “ทัพภาค 3” แจงเป็นระเบียบรักษาความปลอดภัยวีไอพีตามปกติ “บิ๊กป้อม” ชี้เป็นเจตนาดีหวั่นมือที่สามสร้างสถานการณ์ ดักคอคนเป็นนายกฯ คงไม่คิดหนี สั่งประกบติด 24 ชม.ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ สะพัดปูขอลี้ภัย “หมอเชิดชัย” โวนารีขี่ม้าขาวขอตายในสนามประชาธิปไตย ไม่มีหนีแน่ นักวิชาการคาดไม่ใช่เรื่องง่าย

เมื่อวันอังคาร(10ก.พ.) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในการส่งหนังสือเรียกตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้อัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อนำตัวไปส่งฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า ในวันที่ 10 ก.พ. นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. ได้ส่งหนังสือให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพื่อให้ไปรายงานตัวต่อ อสส.ในวันที่ 19 ก.พ.2558 เวลา 10.00 น. ก่อนนำตัวส่งฟ้องต่อศาลฎีกาฯ แล้ว

“ในวันที่ 19 ก.พ. น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องเดินทางไปรายงานตัวต่ออัยการสูงสุด หากไม่เดินทางมา อัยการสูงสุดจะส่งฟ้องเลย ซึ่งเป็นเรื่องของศาลฎีกาฯ ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป” นายปานเทพกล่าว
สำหรับความคืบหน้าการส่งสำนวนคดีทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์กับพวกให้ อสส.นั้น นายปานเทพกล่าวว่า กรรมการ ป.ป.ช.ได้ลงนามรับรองสำนวนเสร็จหมดแล้ว กำลังให้เจ้าหน้าที่รีบประสานกับฝ่าย อสส.อยู่ เนื่องจากต้องส่งสำนวนหลังวันที่ประชุมมีมติรับรองภายใน 14 วัน คาดว่าจะส่งสำนวนให้ อสส.ได้ภายในสัปดาห์หน้า

    ขณะเดียวกัน มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่อนุญาตให้เดินทางออกไปเกาะฮ่องกงตามคำขอ โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เดินทางไปยังจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ช่วงบ่ายวันที่ 9 ก.พ. เพื่อร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษร่วมกับญาติๆ ที่วัดโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ซึ่งการเดินทางมาเชียงใหม่ครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทหารจากกองทัพภาคที่ 3 ได้เข้ามาสืบข่าวถึงบ้านพักของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่หมู่บ้านกรีนวัลเลย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ด้วย

       โดยเมื่อช่วงเช้าวันที่ 10 ก.พ. ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมผู้ติดตามและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย กำลังเดินทางออกจากบ้านพักในหมู่บ้านกรีนวัลเลย์เพื่อไปร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับ
บรรพบุรุษ ได้มีเจ้าหน้าที่ทหารจากกองทัพภาคที่ 3 และตำรวจตั้งด่านตรวจระหว่างทาง ซึ่งก็ได้มีการค้นรถของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และเจ้าหน้าที่ที่ติดตามเพื่อรักษาความปลอดภัย โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งอยู่ในชุดเสื้อเขียว กางเกงดำ นั่งอยู่ในรถตู้ยี่ห้อโฟล์คสวาเกน สีบรอนซ์เงิน หมายเลขทะเบียน กธ 77 เชียงใหม่ ได้แสดงความบริสุทธิ์ใจให้เจ้าหน้าที่ได้ตรวจค้น ยุพราชเชิญวูแมนทัช

           ภายหลังตรวจค้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ยังคงเดินทางไปร่วมทำบุญที่วัดโรงธรรมสามัคคีตามปกติ รวมทั้งได้ไปซื้อของที่ตลาดสันกำแพง อ.สันกำแพง ซึ่งก็ยังคงได้รับการต้อนรับจากประชาชนและพ่อค้าแม่ค้าเป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจยังได้เฝ้าประกบติดตามความเคลื่อนไหว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตลอดทั้งวัน

           ทั้งนี้ มีรายงานแจ้งว่า โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อ.เมืองฯ จ.เชียงใหม่ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เคยศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ได้เชิญ น.ส.ยิ่งลักษณ์มาร่วมงาน "คืนสู่เหย้าชาวบานเย็น ก้าวสู่ปีที่ 110
ชาวบานเย็น" วันเสาร์ที่ 14 ก.พ.2558 ณ สนามฟุตบอล โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เวลา 18.00 น. เป็นต้นไปด้วย

       ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา มีข่าวแพร่ออกมาว่า คสช.ไม่อนุญาตให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางไปต่างประเทศตามที่ได้ทำเรื่องขออนุญาตเดินทางไปเกาะฮ่องกง โดยสาเหตุมาจากว่า อสส.
กำลังจะยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะเป็นจำเลยต่อศาลฎีกา ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบในโครงการรับจำนำข้าว ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 โดยอาจยื่นฟ้องในวันที่ 19 ก.พ.

    ด้าน พล.ท.สาธิต พิธรัตน์ แม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวถึงกรณีข่าวทหารตรวจค้นรถ น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า ขอยืนยันว่าทหารไม่ได้ตรวจค้นรถของอดีตนายกฯ แต่อย่างใด แต่ทหารของมณฑลทหารบกที่ 33 (
มทบ.33) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 5 ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยตั้งจุดตรวจจุดสกัดดูแลความมั่นคงเท่านั้น

          พล.ต.ธนา จารุวัต เสนาธิการกองทัพภาคที่ 3 ในฐานะโฆษกกองทัพภาคที่ 3 กล่าวว่า เป็นการตั้งจุดตรวจ-จุดสกัดหรือด่านตรวจความมั่นคงตามปกติร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะตั้งด่านตั้งแต่เวลา 22.00-12.00 น.ของอีกวัน เพื่อรักษาความปลอดภัย ประกอบกับมีกระแสข่าวเรื่องยาเสพติดและความเคลื่อนไหวที่จะก่อความวุ่นวาย จึงต้องมีความเข้มงวดกวดขัน โดยไม่ได้เป็นการเจาะจงบุคคลแต่อย่างใดมาตรการดูแลวีไอพี
 
          ขณะที่ พล.ต.ศรายุทธ รังษี ผบ.มทบ.33 กล่าวเช่นกันว่า ทหารไม่ได้ตรวจค้นรถ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพราะให้เกียรติ แต่การดำเนินการดังกล่าวเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยเมื่อเข้าพื้นที่ โดยยอมรับมีการตรวจค้นรถในขบวน แต่ไม่ได้แตะต้องรถอดีตนายกฯ เลย รวมทั้งการจัดรถทหารตามประกบเป็นเพียงการดูแลรักษาความปลอดภัยเมื่อมีบุคคลระดับวีไอพีเข้าพื้นที่เท่านั้น

"ต้องขออภัย หากทำให้อดีตนายกฯ ไม่สบายใจ แต่ทหารตั้งจุดตรวจร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดูแลบุคคลระดับวีไอพี โดยเบื้องต้นได้สั่งยกเลิกด่านจุดตรวจดังกล่าวแล้ว ซึ่งไม่ได้เป็นการร้องขอจากอดีตนายกฯ แต่อย่างใด ทั้งนี้ ขอชี้แจงว่าทหารมีวิธีดูแลรักษาความปลอดภัยบุคคลระดับวีไอพีในพื้นที่ตามระเบียบอยู่แล้ว และไม่ได้เป็นการตามประกบ อย่าคิดมากว่าทหารตาม เพราะกลัวหนีออกนอกประเทศ แต่เป็นการดูแลบุคคล สำคัญตามระเบียบเท่านั้น ตราบใดท่านยังอยู่ในพื้นที่เรา เราก็ต้องดูแล" พล.ต.ศรายุทธกล่าว

            ส่วนที่บ้านเกษะโกมล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม กล่าวในเรื่องนี้ว่า ไม่ได้เป็นการตรวจค้นหรือควบคุมตัว แต่เจ้าหน้าที่ดูแลในเรื่องการรักษาความปลอดภัย ขอยืนยันเจ้าหน้าที่ไม่มีความคิดทำอย่างนั้น แต่การดำเนินการดังกล่าวเพราะกลัวมือที่สามจะมาทำให้เกิดความเสียหายในภาพรวม เป็นเรื่องเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำ และถ้าหนักหนาอะไรก็จะพิจารณาอีกที

         "ถือเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารในพื้นที่รักษาความปลอดภัย ซึ่งเขาต้องกลัวในเรื่องมือที่สาม  ยืนยันไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตามประกบ เจ้าหน้าที่ทำก็เพื่อดูแลให้ท่านปลอดภัย เราไม่ได้ส่งคนไปควบคุม ติดตาม แต่เป็นการดูแลให้ท่านความปลอดภัยไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใด ถือเป็นเจตนาดีของเจ้าหน้าที่" พล.อ.ประวิตรกล่าว

         เมื่อถามว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ รู้สึกไม่สบายใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า แม่ทัพภาคที่ 3 คงมีการขยับขยายจุดตรวจดังกล่าวแล้ว และจะติดตามดูอีกที ซึ่งไม่ใช่คำสั่งของ คสช. เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ คสช.ไม่ได้สั่งการลงไป คสช.เพียงดูแลในภาพรวมในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลระดับวีไอพี

          เมื่อถามว่า เป็นการป้องกันไม่ให้อดีตนายกฯ ออกนอกประเทศใช่หรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า คงไม่ใช่จะหลบหนีอย่างไร ท่านเป็นผู้ใหญ่แล้ว และเป็นถึงอดีตนายกฯ ท่านรู้ดี ส่วนจะแจ้งให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ทราบล่วงหน้าที่จุดตรวจดังกล่าวหรือไม่นั้น ไม่ทราบ แต่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ต้องการให้เกิดความสงบเรียบร้อยในทุกพื้นที่ถือเป็นความปรารถนาดีเป็นระเบียบปฏิบัติประจำ ซึ่งท่านยังเป็นถึงอดีตนายกฯ ก็ต้องดูแล ท่านอยู่ กทม.เราก็ดูแลแบบนี้ ยืนยันไม่มีการแก้แค้นหรือจำกัดว่าท่านต้องไปอย่างโน้นอย่างนี้สั่งประกบติด 24 ชั่วโมง

             รายงานข่าวจากด้านความมั่นคงแจ้งว่า การตรวจค้นรถ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถือเป็นหนึ่งในภารกิจที่แจ้งให้จับตา โดยเป็นคำสั่งอย่างไม่เป็นทางการจากระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติการ เพราะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศ แต่ถูกชะลอออกไป และยังอยู่ในขั้นตอน อสส.จะส่งฟ้องต่อศาล ดังนั้นอดีตนายกฯ เดินทางไปไหนต้องติดตามใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง และรายงานกลับมายังผู้บังคับบัญชาทราบเป็นระยะๆ แต่ในมาถึงชั้นปฏิบัติแล้วปรากฏออกเป็นข่าวอาจดูออกมาเข้มข้น เข้มงวดเกินไป

            “คสช.กังวล น.ส.ยิ่งลักษณ์จะซ้ำรอยกับ พ.ต.ท.ทักษิณนั้น ที่เดินทางออกนอกประเทศก่อนมีคำพิพากษา ซึ่ง คสช.ต้องให้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการตามข้อเท็จจริง จึงต้องตามติดไม่ให้เกิดเหตุเดิมอีก เพราะไม่เช่นนั้น คสช.อาจถูกมองว่าไม่จริงจังต่อการปราบปรามคดีทุจริตคอร์รัปชัน” รายงานระบุ

           ขณะที่ นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวในเรื่องนี้ว่า ไม่อยากต่อว่าทหาร คนที่มีอำนาจเหมือนปากว่าตาขยิบ ปากบอกไม่ แต่ให้ลูกน้องไปทำ จะทำไปทำไม ความน่าเชื่อถือที่ลดลงอยู่แล้วจะลดลงไปอีก ไปรังแกอย่างนี้ ไม่รู้ว่าทหารต้องการอะไร ต้องการแสดงให้เห็นถึงอำนาจบาตรใหญ่อย่างนั้นหรือ ยิ่งทำให้บรรยากาศบ้านเมืองเลวร้ายลงไปอีก ทำแบบนี้ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่สุภาพบุรุษ คนเป็นอดีตนายกฯ ควรให้เกียรติกันบ้าง ไปค้นรถได้อย่างไร

             มีรายงานอีกว่า ตลอดทั้งวันมีกระแสข่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์เตรียมเดินทางออกนอกประเทศและขอลี้ภัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกระแสอ้างด้วยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์อาจประสานเป็นการภายในผ่านสถานทูตสหรัฐอเมริกาในไทยเพื่อเป็นช่องทางออกนอกประเทศ แต่ช่องทางนี้เป็นไปได้ยาก เพราะสหรัฐคงไม่กล้าเสี่ยง เพราะทำให้ความความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศเลวร้ายลงไปอีก  อีกทางที่เป็นไปได้มากที่สุดคือรอคำสั่งศาลฎีกาฯ หากให้ประกันตัวในคดีโครงการรับจำนำข้าวแล้วขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งก็อยู่ที่ดุลยพินิจของศาลฎีกาฯ และ คสช.  โวตายในสนาม ปชต.

             นพ.เชิดชัยกล่าวถึงกระแสนี้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งเคยประกาศว่าจะขอตายในสนามประชาธิปไตย ซึ่งฝ่ายไม่ต้องการประชาธิปไตยกลัว น.ส.ยิ่งลักษณ์จะกลับมาอีกผ่านการเลือกตั้ง เลยกลั่นแกล้งทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะทำให้ถูกเว้นวรรค 5 ปี ต่อไปคงมีเรื่องคดี ติดคุก ยึดทรัพย์แล้วก็ตามด้วยการยุบพรรคเพื่อไทย แต่ยังเชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่คิดหนี ประกอบกับอัยการยังไม่ส่งฟ้องต่อศาล มีแค่จะส่งฟ้อง หากยังไม่ฟ้องจะไปหาว่าอดีตนายกฯ มีความผิดได้อย่างไร

            “แม้ท่านขอเดินทางออกนอกประเทศ หากได้รับอนุญาตไปแล้วเชื่อว่าท่านจะกลับมาสู้คดีแน่นอน คนเป็นนายกฯ หากต่อสู้ตามกระบวนการจะได้ใจประชาชนด้วย แต่ถ้าหากยังกลั่นแกล้ง

แบบนี้ คนที่เสียก็คือ คสช. จะหลบหนีไหมเป็นเรื่องอนาคต แต่ยังเชื่อว่าท่านไม่คิดหนี จะสู้ตามกระบวนการ รวมทั้งผู้พิพากษาที่ยังรักความเป็นธรรมก็มีอยู่เยอะ ก็อยากให้ท่านคิดเหมือนกันบ้าน

เมืองที่มันเป็นอย่างนี้เพราะอะไร” นพ.เชิดชัยกล่าว

            ถามว่า มีการประเมินกันว่าหนึ่งในทางเลือกหากจะขอลี้ภัยไปยังต่างประเทศ อาจใช้ช่องทางขอหลบเข้าสถานทูตบางประเทศ นพ.เชิดชัยตอบทันทีว่า ได้เลย สถานทูตถือเป็นเขตอำนาจของ

ประเทศนั้นๆ อยู่แล้ว คนถ้าไม่มีความปลอดภัยในชีวิต ทำอย่างกับคนเถื่อนไล่ล่ามากๆ จะให้เขาทำอย่างไร จะสู้อย่างสันติตามกฎหมายแต่กลับไปไล่ล่า เขาก็ต้องหาทาง แต่ไม่เชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์

จะหลบหนี ท่านยังเป็นนารีขี่ม้าขาว เป็นคนที่เข้มแข็ง ยังต้องนำพาประชาธิปไตยกลับคืนมา

               ด้านความเห็นนักวิชาการในการขอลี้ภัยทางการเมืองนั้น นายนิยม รัฐอมฤต คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ขั้นตอนการขอลี้ภัยต้องเป็นผู้ที่ได้

รับผลกระทบทางการเมือง อาทิ ถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง มีการยึดอำนาจและรัฐประหาร โดยประเทศต้นทางที่บุคคลนั้นๆ จะทำเรื่องขอลี้ภัยจะพิจารณาว่าบุคคลนั้นถูกกระทำขัดต่อหลักการมนุษยธรรมและเข้าประเด็นดังกล่าวหรือไม่ อีกจุดหนึ่งคือต้องมองว่าประเทศดังกล่าวมีอุดมการณ์เป็นอย่างไร ส่วนประเด็นคดีในศาลฎีกาฯ เป็นเรื่องการเมืองหรือไม่นั้นขึ้น อยู่กับดุลยพินิจและการตีความของประเทศต้นทาง เพราะเวลานักการเมือกระทำผิดอาญาแล้วต้องขึ้นศาลฎีกาฯ ไม่ได้หมายความว่าเป็นเรื่องการเมืองเสมอไป ตัวเขาเป็นนักการเมืองจริง แต่กระทำผิดคดีอาญา เช่น กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ระบุว่าที่ถูกศาลฎีกาฯ พิพากษา แต่ให้เหตุผลว่าถูกกลั่นแกล้งทางการเมืองลี้ภัยไม่ใช่ง่าย

            “ขั้นตอนการขอลี้ภัยทางการเมืองจะกระทำผ่านช่องทางสถานทูต ที่ผ่านมามีการทำทั้งในลักษณะเป็นทางการและไม่เป็นทางการ บางครั้งทำกันแอบๆ ทำ จะให้รัฐบาลประเทศตัวเองรู้ไม่ได้
เพราะหากรัฐบาลรู้คงไม่ยอมแน่ เว้นแต่เรื่องปกติ อาทิ ผู้ลี้ภัยทางเศรษฐกิจเพื่อหนีความยากจน ซึ่งประเทศต้นทางส่วนใหญ่ที่มักมีนักการเมืองขอลี้ภัยจะเป็นประเทศประชาธิปไตย หรือพยายาม
แสดงออกว่ารักความเป็นธรรม มีมนุษยธรรมสูงส่ง ปัจจุบันมีหลายประเทศ ส่วนประเด็นเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น การจะตั้งได้ต้องมีประเทศนั้นๆ เปิดทางให้ก่อน เนื่องจากการจะให้ใครไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในประเทศตัวเองต้องมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย” นายนิยมระบุ

               นายสุรัตน์ โหราชัยกุล อาจารย์ประจำภาควิชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การลี้ภัยทางการเมืองที่ผ่านมาส่วนใหญ่บุคคลต่างๆ จะหลบหนี
ออกนอกประเทศทางชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านก่อน และค่อยไปทำเรื่องขอลี้ภัยทางการเมืองทีหลัง การทำเรื่องตั้งแต่อยู่ในประเทศ ต่อให้ประเทศต้นทางอนุญาตให้ลี้ภัยทางการเมืองได้ แต่หากรัฐบาลไม่อนุญาตก็ไม่สามารถออกนอกประเทศได้ เพราะอำนาจการให้คนเข้า-ออกอยู่ที่รัฐ ช่องทางทางสนามบินจึงหมดสิทธิ์ จะเหลือเพียงการหลบหนีออกทางประเทศเพื่อนบ้านไปอย่างเงียบๆ
แล้วไปทำเรื่องขอลี้ภัย ซึ่งมีช่องโหว่หลายช่องทาง อาจอาศัยคอนเน็กชั่นหรือสายสัมพันธ์กับระบบทุจริตที่ยังมีอยู่ หรือกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มีการมองว่ามีการจงใจปล่อยให้ไป
                  วันเดียวกัน เวลา 21.10 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) หลังเสร็จสิ้นภารกิจการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการว่า การเดินทางเยือนครั้งนี้ทำอย่างเต็มที่ในการพูดคุยหารือและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และในรายละเอียดต้องพูดคุยกันอีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจก็จะมีการร่วมมือกันหลายกิจกรรม
                ผู้สือข่าวถามว่า ระหว่างการเยือนต่างประเทศได้รับรายงานสถานการณ์การเมืองหรือไม่ เนื่องจากล่าสุดมีทหารเข้าตรวจค้นรถยนต์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ  ที่ จ.เชียงใหม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เรื่องนี้ตนยังไม่ทราบ  เดี๋ยวตนจะสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องดู
    "คงไม่มีอะไรหรอก เขาคงเป็นกังวล ก็คงไม่มีอะไรหรอกนะ ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่เขาตรวจรถทุกคัน ก็แล้วแต่มันก็ต้องตรวจ ก็บังเอิญเจอรถของอดีตนายกฯ พอดี พอเจอแล้วเขาคงไม่ค้นอะไร
มากมายอยู่แล้ว จะไปค้นอะไรกันนักหนา" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
    ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่มีการมองว่าการกระทำดังกล่าว เหมือนไม่ให้เกียรติอดีตนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ก็ให้เกียรติมาโดยตลอด นี่ก็ให้เกียรติ"
    นายกฯ กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องการไม่อนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศนั้น ตนไม่ได้สั่งการ เป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคง อย่าให้เป็นเรื่องนักเลยน่ะ การจะไปหรือไม่ไปต่างประเทศก็ต้องไปดู
ว่าฝ่ายกฎหมายว่าอย่างไร และเท่าที่จำได้ตนบอกไปครั้งหนึ่งแล้วว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของฝ่ายกฎหมาย ซึ่งเรื่องดังกล่าวอัยการสูงสุดได้ทำเรื่องมาเป็นเอกสาร
    ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า สรุปว่าอัยการสูงสุดเป็นคนทำหนังสือถึง คสช.ไม่ให้อดีตนายกฯ เดินทางออกนอกประเทศใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า "ถูกต้อง ผมเห็นเอกสารดังกล่าว  เอกสารบอกมาชัดเจน"
เมื่อถามว่า แต่อัยการสูงสุดยืนยันไม่ได้ทำเอกสารดังกล่าวมาที่ คสช. พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ก็ไปดูเอกสารอัยการสูงสุดสิ มันมีเอกสารอยู่ เพียงแต่ไม่ได้เอามาเผยแพร่ให้พวกคุณดู ยืนยันว่าผมเห็นเอกสารว่า เขาขอว่าเอาไว้ก่อน ก็ไปดูเอกสารราชการเขาสิ มันมีเอกสารอยู่  เขาไม่ได้มาแผ่ให้คุณดูเท่านั้น ผมเห็นเอกสารเขาใช้คำว่าไม่ควรให้เดินทาง ผมก็อนุมัติตามเสนอ เข้าใจยัง".
///////////////////////
การขอลี้ภัยทางการเมืองในสหรัฐอเมริการัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ผู้ที่ไม่มั่นใจในความปลอดภัยใน ชีวิต ทรัพย์สิน และเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็น หากเดินทางกลับไปยังประเทศบ้านเกิดเมืองนอนโดยสามารถพิสูจน์หรือ ทำให้Immigration Judgeเชื่อได้ว่า ถูกดำเนินคดี จับกุม ถูกเรียกตัวไปสอบสวน ถูกข่มขู่ กดดัน ถูกแสดงความอาฆาต ถูกปองร้าย ถูกทรมานทั้งทางร่างกาย และจิตใจจาก

เหตุผลทางด้าน เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนา สีผิว การเข้าร่วมกลุ่มทางสังคม และ การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดย กอง ทัพ ทหาร ตำรวจ รัฐบาล(ทั้งประชาธิปไตย และเผด็จการทหาร/พลเรือน)
กลุ่มทางสังคมกลุ่มอื่น ๆ ที่มีแนวความคิดอยู่ฝั่งตรงข้ามกับผู้ขอลี้ภัย(ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนหรือไม่มี ศักยภาพในการยับยั้ง)หาก"รู้สึก"กลัวที่จะเดินทางกลับประเทศด้วยเหตุผลเหล่านี้ คุณสามารถขอลี้ภัย(Asylum)อยู่ในสหรัฐอเมริกาได้ทันที

จะเห็นได้ว่า ข้อกฏหมายเกี่ยวกับการลี้ภัยนี้ค่อนข้างเปิดกว้าง เพียงแค่เรารู้สึกไม่มั่นใจในความปลอดภัย และ/หรือ พิสูจน์ได้ว่าเคยถูกดำเนินคดี ฯลฯ จากประเทศบ้านเกิด เราก็สามารถทำเรื่องขอลี้

ภัยได้เลย โดยมีข้อแม้ว่า จะต้องทำภายใน 1 ปี หลังจากเราเดินทางเข้ามาในสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะอย่างถูกกฏหมายหรือผิดกฏหมาย เราก็จะสามารถมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยได้

แต่สถานะของผู้ลี้ภัย(Asylee)นี้จะถูกจำกัดเฉพาะผู้ที่อยู่ภายในสหรัฐฯแล้วเท่านั้นผู้ที่ขอลี้ภัยจากภายนอกประเทศสหรัฐ จะถูกกำหนดอีกสถานะหนึ่งให้ นั่นก็คือ ผู้อพยพ(Refugee)
ซึ่งทั้งสองสถานะนี้ค่อนข้างจะมีความใกล้เคียงกัน แตกต่างกันเพียงแค่สถานที่ตั้งต้นในการขอลี้ภัยเท่านั้น

ดังนั้นความเข้าใจผิดหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับสถานะของผู้ลี้ภัยทางการเมืองเช่น ผู้ขอลี้ภัยทางการเมืองต้องเคยเป็นนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก่อนจะถูกโค่นอำนาจถึงจะเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ลี้

ภัยทางการเมือง(ผมก็เคยเข้าใจอย่างนั้น)

และจากคำจำกัดความของผู้ลี้ภัยทางการเมืองจากกฏหมาย Immigration ของสหรัฐ จะเห็นได้ว่า เราไม่จำเป็นต้องถูกคุกคามจากอำนาจรัฐเพียงแค่เราถูกคุกคามจากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
โดยที่รัฐไม่สามารถให้ความช่วยเหลือเราได้ เราก็จะมีคุณสมบัติเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองได้เช่นกัน

อัตราส่วนของผู้ที่ขอลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกานั้น ถ้าแบ่งตามสถิติคดี สัดส่วนที่มากที่สุดคือ

1. ลี้ภัยจากการค้ามนุษย์ ส่วนใหญ่พวกนี้มาจากแอฟริกา ผมเคยเห็นสภาพกับบางคนที่ศาลอิมมิเกรชั่น ดูแล้วหดหู่ว่ะ...ตามข้อมือข้อเท้ามีรอยถูกล่าม มีรอยโดนกรีด โดนไฟฟ้าชอต
2. ลี้ภัยจากการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จากสงครามกลางเมือง ก็ส่วนใหญ่ก็คือ แอฟริกันอีกเหมือนเดิม เช่นพวกคนรวันดา คองโก โซมาเลีย ไนจิเรีย
3. ลี้ภัยจากการถูกคุกคามด้านเสรีภาพในการนับถือศาสนา พวกนี้ส่วนใหญ่คือพวกตะวันออกกลาง เพราะแถวนั้นเป็นถิ่นของมุสลิมพวกคริสเตียนนิสต์ และ จิววิชช์ ไม่ค่อยได้รับการต้อนรับนัก

บางทีถูกอุ้มยกครัวเอาดื้อ ๆ
4. การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

อีกอย่างหนึ่งก็คือ การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ไม่จำเป็นว่า คุณจะต้องเป็นคนที่ขึ้นไปเป็นแกนนำบนเวที เพียงแค่คุณเข้าร่วมการประท้วง แล้วถูกไล่ล่า ปราบปราม นั่นก็เพียงพอแล้ว
ที่จะเป็นการแสดงให้ศาลสหรัฐเห็นว่าคุณได้แสดงความคิดเห็น ทางการเมืองไม่ใช่โดยวาจา ไม่ใช่โดยตัวอักษร แต่ผ่านทางการแสดงออกทางร่างกาย ซึ่ง หากคุณถูกหมายจับ หมายเรียกตัวของ สอฉ.

ระหว่างมี พรก. ฉุกเฉินคุณก็สามารถลี้ภัยในสหรัฐได้เช่นกัน

และไม่จำเป็นต้องเป็นคดีที่เกิดขึ้นกับคุณ คุณเห็นรายแล้วรายเล่าที่โดนอุ้มหาย โดนหมายเรียก หมายจับแม้ว่าคุณจะยังไม่โดน แต่จะโดนในไม่ช้าแน่ ๆ อันนี้ก็สามารถขออนุญาติลี้ภัยได้เลยจะจาก

ในหรือนอกประเทศก็แล้วแต่

ไม่มีความคิดเห็น: