PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กรธ.แบไต๋ เปิดทาง"คนนอก"นั่งนายกฯ อ้าง ส.ส.น่าจะเลือก ส.ส.ด้วยกันดำรงตำแหน่ง



กรธ. เห็นควร นายกฯไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.เชื่อ ส.ส.มีดุลยพินิจเลือกเองได้ พร้อมฟันบัตรเลือกตั้งใบเดียว ลดค่าใช้จ่าย กว่า 600 ล้านบาท   
 

เมื่อเวลา 13.00 น. นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(โฆษก กรธ.) แถลงความคืบหน้าการประชุมการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ.ว่า คณะอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างฝ่ายบริหารได้นำเสนอรายงานความคืบหน้าการใช้บัตรเลือกตั้งแบบ 1 และ 2 ใบ โดยบัตรเลือกตั้งแบบ 2 ใบนั้น ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขตที่ชอบและพรรคการเมืองที่ชอบได้ แต่ทั้งนี้อาจทำให้พรรคการเมืองขาดความเข้มแข็งได้ เนื่องจากพรรคการเมืองไม่มีความผูกพันธ์กับผู้สมัครแบบแบ่งเขต ส่วนบัตรเลือกตั้งแบบใบเดียวนั้น ส่งเสริมให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง และการใช้บัตรเดียวจะทำให้บัตรเสียลดลง พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในส่วนคณะกรรมการประจำหน่วย ลดค่าใช้จ่ายพิมพ์บัตร โดยสามารถลดค้าใช้จ่ายทั้งหมดได้กว่า 600 ล้านบาท นอกจานี้ผลการสำรวจ เห็นว่าการใช้บัตรเดียวจะสะดวกกับประชาชนมากกว่า โดยอนุกรรมการเห็นว่าการใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวเหมาะสมสุด

นายอมร กล่าวว่า  นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างฝ่ายบริหาร ได้เสนอรายงานความคืบหน้า ผลการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี โดยได้พิจารณาข้อดี ข้อเสีย ของทั้งสามระบบ คือ ระบบรัฐสภา ระบบการแบ่งแยกอำนาจอย่างเด็ดขาด และระบบผสมระหว่างการควบอำนาจกับการแบ่งแยกอำนาจอย่างเด็ดขาด  โดยที่ประชุมเห็นควรให้มีนายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภา โดยนายกต้องมาจาก มติของ ส.ส. และอาจจะเป็น ส.ส.หรือไม่ได้เป็นก็ได้ ทั้งนี้ต้องมีกลไกเพื่อเป็นหลักประกันให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติเลือกนายก แต่วิธิการหรือมติจะมีหลักการอย่างไรนั้น ที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะอนุศึกษาโครงสร้างฝ่ายบริหารไปพิจารณาศึกษาเพิ่มเติมและรายงานต่อที่ประชุมภายในสัปดาห์นี้    

นายอมร กล่าวว่า อย่างไรก็ดีเชื่อว่า ส.ส.น่าจะมีดุลยพินิจในการเลือกนายกรัฐมนตรีและเชื่อว่าส.ส.จะเลือกส.ส.ด้วยกันเองเป็นนากยรัฐมนตรี นอกจากนี้การที่เห็นควรในหลักการเช่นนี้โดยไม่ได้ระบุว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.เพื่อป้องกันในช่วงที่มีวิกฤติเพราะอาจไม่มีมาตรา 7 แบบเดิมเพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคือบเบื้องพระยุคลบาท

ไม่มีความคิดเห็น: