PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สงครามชิงน้ำจืดทั่วโลก สงครามครั้งใหม่ของมวลมนุษยชาติ


แผนภาพแนวโน้มการขาดแคลนน้ำจืด
ในระหว่างที่หาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำสะอาด และการปนเปื้อนของสารพิษและเชื้อโรคในน้ำดื่ม ผมก็ได้พบอินโฟกราฟิกชิ้นหนึ่ง ที่เป็นข้อมูลการทำนายว่าในอนาคตมีแน้วโน้มที่จะมีปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาดจนถึงขั้นมีการแย่งน้ำเกิดขึ้น และไม่แน่ว่าอาจจะเกิดเป็นสงครามเพื่อแย่งน้ำจืด
ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืด: น้ำจืดที่เราดื่มทุกวันนี้ก็เหมือนกับน้ำจืดเมื่อร้อยล้านปีก่อน ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ จนถึงวันนี้ปริมาณน้ำจืดในโลกใบนี้มีปริมาณคงที่ แต่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งหมายความว่าในทุกๆปี เราจำเป็นต้องมีภาระและกระบวนการทำให้น้ำสะอาดมากขึ้น เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ อย่างไรก็ตามปัญหาการขาดแคลนน้ำยังคงเป็นเรื่องนามธรรมสำหรับคนส่วนใหญ่
น้ำจืดมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับสัดส่วนของปริมาณน้ำทั้งหมดในโลกใบนี้ ในขณะที่เกือบ 70% ของพื้นที่โลกถูกปกคลุมไปด้วยน้ำ เพืยง 2.5% เท่านั้นที่เป็นน้ำจืด ที่เหลืิอเป็นน้ำกร่อยและน้ำทะเล และเพียง 1% ของน้ำจืดนั้นที่นำมาใช้ประโยชน์ดื่มกินได้เลย นอกนั้นเป็นหิมะและธารน้ำแข็ง ข้อสรุปก็คือ มีเพียง 0.007 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำจืดในโลกนี้ ที่ประชากรโลก 6.8 พันล้านคนสามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้
น้ำจืด ประเทศไทย
น้ำจืด ประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า ลาว กัมพูชา นั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเช่นกัน ดังที่เราได้ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปริมาณในแม่น้ำโขงลดลงไปอย่างมากนับแต่มีการสร้างเขื่อนพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ในประเทศจีน อีกประการหนึ่งคือ น้ำจืดตามภูมิประเทศทางธรรมชาติจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ แม่น้ำโขงก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราดูจากแผนที่จะเห็นได้ว่า หากในประเทศจีนมีการขาดแคลนน้ำจืดเกิดขึ้น ก็อาจจะมีการสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำจืดไว้อีกเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนในประเทศของตน ซึ่งจะส่งผลต่อ พม่า และลาวทันที และหากพม่าและลาวจัดการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอีกโดยการสร้างเขื่อน ปัญหาก็จะส่งผลถึงไทย และกัมพูชาทันที เป็นลูกโซ่ต่อเนื่องกันไป อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าดูจากรูปการณ์แบบนี้แล้ว ประเทศไทยคงต้องหาวิธีป้องกันการขาดน้ำจืดในประเทศเราโดยการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำฝนจากธรรมชาติให้มากที่สุดเป็นหลัก โดยลดการพึ่งพาการใช้ประโยชน์จากสายแม่น้ำที่มีต้นธารไหลมาจากตอนบนของทวีป อย่างไรก็ตาม ไทยอินโฟเน็ตไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ เพียงแต่นำข้อมูลที่อ่านพบเจอมาบอกเล่า คงต้องฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อและผู้เชี่ยวชาญได้นำไปพิจรณาหาทางป้องกันแก้ไขกันต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: