PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รธน.ในมุมอ.วรเจตน์

เพิ่งไปคุย อ.วรเจตน์มา รอ 1-2 วันถอดความลงประชาไท
บริ๊ฟนิดนึงเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ ชอบใจที อ.ยอดพล เทพสิทธา บอกว่า "พ่อทุกสถาบัน"
อ.วรเจตน์ให้ข้อสังเกตว่าร่างนี้ แยกศาล รธน.ออกจากหมวดศาล มาอยู่หมวด 11 แล้วหมวด 12 เป็นองค์กรอิสระ ซึ่งจะเห็นพัฒนาการการยึดอำนาจใน รธน. เพราะปี 40 ศาล รธน.อยู่ในหมวดศาล องค์กรอิสระกระจายในหมวดต่างๆ เช่น ปปช.อยู่หมวดการตรวจสอบ กกต.หมวดเลือกตั้ง พอปี 50 เอาองค์กรอิสระมารวม ปีนี้ เอาศาล รธน.โดดเด่นขึ้นเหนือทุกศาล และรวมองค์กรอิสระอย่างชัดเจน มี ม.211 เป็นคำประกาศโรดโชว์สโลแกน ในขณะที่มีชัยพูดชัดว่า ศาล องค์กรอิสระ ไม่ต้องยึดโยงอำนาจประชาชน (อำนาจที่ 4)
อำนาจศาล รธน.นอกจากยึด ม.7 ไปครอง ยังล้มรัฐบาล รัฐสภาได้ง่ายๆ ในหลายมาตรา เช่น ม.139 เรื่องงบประมาณ ซึ่งอ่านแล้วคลุมเครือมาก น่าจะหมกเม็ดเอาไว้ไปร่าง พรบ.การเงินการคลัง
สำหรับ ครม.ให้ดูมาตรา 155,165,162,163 จะเห็นว่าสามารถล้มรัฐบาล ตัดสินให้นายกฯ และ รมต.พ้นตำแหน่งได้ง่ายๆ
มาตรา 155 คุณสมบัติรัฐมนตรี (4) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
(5) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
มาตรา 165 เอามาตรา 77 มาใช้ ให้ ส.ส.หรือ ส.ว.1 ใน 10 เข้าชื่อร้องศาลได้ว่านายกฯ หรือรัฐมนตรีขาดคุณสมบัติ
ถ้าเป็นนายกฯ ขาดคุณสมบัติ ครม.ไปทั้งคณะตาม 162,163 (ดู 163 จะยิ่งเห็นชัดว่าเขียนถึงกรณีนายกฯ ตกเก้าอี้เพราะ 155(4) (5) ไว้ด้วย
จำสมัครทำกับข้าวได้ไหมครับ ไอ้นี่แม่-ยิ่งกว่าอีก เพราะตีความได้กว้างเป็นมหาสมุทร อะไรคือ "มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์" (ทุจริตก็ต้องโดน ปปช.โดนศาลฎีกาฯ ไปแล้วสิ ฉะนั้นนี่ไม่ใช่เรื่องทุจริต) แล้วอะไรคือมาตรฐานทางจริยธรรม
ทั้ง 2 ข้อมันคือความไม่เหมาะสมลมเพสมพัด แล้วแต่ทัศนะของคนตีความ ว่าชอบหรือเกลียดรัฐบาลไหน เป็นการให้อำนาจศาลอย่างมาก แค่โดนกล่าวหาว่าทำอะไรขัดหูขัดตาผู้ลากมากดีคนชั้นกลางชาวกรุง แม่-ปลดได้ทันที (ตัวอย่างกรณีอีปูโฟร์ซีซัน โดนแหงเลย แต่ตุลาการตั้งลูกเป็นเลขาฯ ส่งไปเรียนนอกกลับรอด)

ไม่มีความคิดเห็น: