PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

“30 องค์กรสื่อ” รวมพลังต้าน ร่าง กม.คุมสื่อ

“30 องค์กรสื่อ” รวมพลังต้าน ร่าง กม.คุมสื่อ

 “ 30 องค์กรสื่อ” รวมพลังต้าน ร่าง กม.คุมสื่อ แถลงจุดยืน 4 ประเด็น เรียกร้อง สปท.ทบทวน เชื่อยังมีโอกาสชี้แจงผู้นำรัฐอันตรายกม.ใส่พานนักการเมือง

          สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถ.สามเสน - 29 ม.ค.60 - “ 30 องค์กรสื่อ” รวมพลังต้าน ร่าง กม.คุมสื่อ แถลงจุดยืน 4 ประเด็น เรียกร้อง สปท.ทบทวน เชื่อยังมีโอกาสชี้แจงผู้นำรัฐอันตรายกม.ใส่พานนักการเมือง ปิดกั้นสื่อสารปชช.-สื่อ
“30 องค์กรสื่อ” รวมพลังต้าน ร่าง กม.คุมสื่อ
         ตัวแทนจาก 30 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน อาทิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ , สภาวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์ไทย , สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย , สถาบันอิศรา สมาคมผู้สื่อข่าวภูมิภาคได้นัดประชุมหารือกันพร้อมทั้งแสดงจุดยืนต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริม จริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน...ที่จัดทำโดยคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) โดยใช้ชื่องานว่า “รวมพลังต้าน กฎหมายคุมสื่อ”
                         “30 องค์กรสื่อ” รวมพลังต้าน ร่าง กม.คุมสื่อ
          ซึ่งนายเทพชัย หย่อง ประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า วันนี้ถือได้ว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ที่สื่อมวลชนทุกระดับมาเพื่อแสดงจุดยืนร่วมกัน ส่วนตัวมองว่าร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวเมื่อฟังชื่อแล้วสวยหรู แต่เนื้อหานั้นไม่ใช่การปฏิรูปสื่อแต่อย่างใด เพราะทุกประเด็นที่กำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวนั้นเป็นเหมือนการถอยหลังเข้าคลอง กลับไปในยุคที่อำนาจรัฐและการเมืองเข้ามามีอิทธิพลครอบงำการทำงานของสื่อได้มากกว่าที่เคยมีมา โดยหลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวที่ระบุไว้ชัดเจนว่าสื่อไม่สามารถดูแลกันเองได้ ดังนั้นสิ่งที่คนทำสื่อจะต้องนำไปคิดกันก็คือว่าจะเห็นด้วยหรือไม่กับข้อสังเกตดังกล่าวคือการลดทอนกระบวนการหรือกลไกในการดุแลกันเองของสื่อโดยมีการตั้งกลไกใหม่ขึ้นมา ใช้ชื่อว่าสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นกลไกที่มีอำนาจทางกฎหมายลงโทษทางปกครองสื่อได้ ขณะเดียวกันยังมีอำนาจในการออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสื่อ                       
          นายเทพชัย กล่าวต่อว่าส่วนโครงสร้างสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติจะมีกรรมการจำนวน 13 คน มีกรรมการจำนวน 4 คนที่เป็นปลัดกระทรวงหรือตำแหน่งได้แก่ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี,ปลัดกระทรวงการคลัง,ปลัดกระทรวงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและปลัดกระทรวงวัฒนธรรม แต่อย่างไรก็ตามตำแหน่งปลัดกระทรวงเป็นตำแหน่งที่นักการเมืองแต่งตั้งขึ้น ซึ่งชัดเจนว่าปลัดกระทรวงต้องเป็นคนที่สื่อถูกตรวจสอบ แต่กลับกันจะมาเป็นคนที่ตรวจสอบสื่อเสียเอง ซึ่งตนเชื่อว่ารัฐบาลที่จะได้ใช้อำนาจนี้ตามกำหนดเวลาที่กฎหมายจะผ่านการพิจารณาจะไม่ใช่รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่จะเป็นรัฐบาลที่จะมาหลังจากการเลือกตั้งผ่านไปแล้ว เป็นสิ่งที่นักการเมืองปรารถนาอยากจะได้มาก สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้คือการชงกฎหมายใส่พานให้กับนักการเมืองที่ต้องการกลับมาจะบริหารประเทศหลังจากการเลือกตั้ง ถือเป็นอันตรายที่ไม่ใช่ต่อผู้ทำวิชาชีพสื่อมวลชน แต่เป็นต่อเสรีภาพ การรับรู้ข่าวสาร และอันตรายต่อการตรวจสอบอำนาจรัฐของภาคประชาชน
                           “30 องค์กรสื่อ” รวมพลังต้าน ร่าง กม.คุมสื่อ
          นายโปรย สมบัติ นายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย กล่าวว่า พร้อมที่จะร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อในการที่จะออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ตัวนี้ โดยในวันที่ 17-18 ก.พ.จะมีการจัดสัมมนาที่ จ.อุตรดิตถ์ก็อยากจะให้มีตัวแทนจากองค์การวิชาชีพสื่อส่วนกลางไปให้ความรู้และความเห็นเพื่อคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ตัวนี้ด้วย
          ขณะที่นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา กล่าวว่า นอกจากที่จะมีการออกแถลงการณ์วันนี้แล้วก็อยากจะให้มีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การรวมตัวกันของกลุ่มองค์กรเพื่อไปยื่นหนังสือคัดค้านยัง สปท. โดยให้ไปยืนที่หน้ารัฐสภา ใส่เสื้อสีเดียวกันเพื่อแสดงสัญลักษณ์การคัดค้านให้สาธารณะได้เห็นภาพ และอยากจะให้ชวนกลุ่มองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นมาร่วมการเคลื่อนไหวด้วย เพื่อให้รัฐร่วมฟังเสียง
          ต่อมาเมื่อเวลา 13.30 น. นายเทพชัย ได้อ่านแถลงการณ์ ร่วมกันของ 30 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ที่มีเนื้อหาสรุปใจความสำคัญ 4 ข้อว่า 1.กฎหมายดังกล่าวไม่ได้อยู่บนหลักพื้นฐานของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน แต่กลับเน้นหลักการควบคุมสื่อมวลชนโดยใช้อำนาจรัฐ เข้ามาแทรกแซง การทำหน้าที่โดยอิสระของสื่อมวลชน และไม่สอดคล้องหลักการของร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านการทำประชามติ ซึ่งมีเจตนาให้สื่อมวลชนกำกับดูแลกันเอง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบทบาทของสื่อมวลชนในการตรวจสอบอำนาจรัฐ และปิดกั้นเสรีภาพการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน  2.สปท.โดย กมธ.ฯ สปท. ต้องทบทวนความจำเป็นในการออกกฎหมายดังกล่าว 3.หาก สปท.ยังผลักดันกฎหมายดังกล่าวต่อไป องค์กรวิชาชีพสื่อทั่วประเทศจะยกระดับ มาตรการในการคัดค้านร่างกฎหมายต่อไปให้ถึงที่สุด 4.ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา องค์การวิชาชีพสื่อมวลชนได้พัฒนาระบบการกำกับดูแลกันเอง ด้านจริยธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อยกระดับความรับผิดชอบของสื่อมวลชนและตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
                       “30 องค์กรสื่อ” รวมพลังต้าน ร่าง กม.คุมสื่อ
          ภายหลังอ่านแถลงการณ์ นายเทพชัย กล่าวว่า การยกระดับในการคัดค้านเราจะทำถึงที่สุดนั้น โดยเชื่อว่า ยังมีโอกาสที่จะสื่อสารผู้มีอำนาจรัฐถึงอันตรายของร่างกฎหมายนี้ โดยเราจะเล็งทำความเข้าใจกับผู้มีอำนาจให้เห็นถึงผลร้ายของกฎหมายดังกล่าวทุกระดับทั้ง นายกรัฐมนตรี , รัฐบาล , คสช. , สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สปท.
          นายสุทธิชัย หยุ่น ที่ปรึกษากองบรรณาธิการเครือเนชั่น กล่าวต่อที่ประชุมตอนหนึ่งว่า ภาพรวมร่างจะให้กำหนดคุณสมบัติของการที่จะมาขอใบอนุญาตสื่อแล้วคุณคิดว่าเขาจะเขียนกันอย่างไรโดยการกำหนดคุณสมบัติอย่างน้อยจบปริญญาตรีด้านไหน มีประสบการณ์อย่างน้อยกี่ปีและประวัติบุคคลมีอะไรอย่างไรบ้างที่จะให้ระบุ ดังนั้นก็จะถูกตีกรอบในกติกาที่ผมเชื่อว่าไม่มีใครทำหน้าที่สื่อได้อย่างถูกต้องและโดยเฉพาะในยุคโซเชียลมีเดียอย่างนี้ยิ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะเขียนกฎอะไรก็ตามแต่ที่จะคุมเฉพาะคนบางกลุ่มและที่เหลือคุณคุมไม่ได้ ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่กฎหมายนี้จะออกมาในทางปฏิบัติที่จะทำได้โดยไม่กระทบถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น
        ขณะที่นายสุทธิชัย ยังกล่าวถึงแนวทางการแสดงจุดยืนครั้งนี้ด้วยว่าในอดีตของการแสดงออกถึงการต่อต้านปร.42 (ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่42)เราเคยมีการเรียกประชุมใหญ่สมัชชาสื่อมวลชนแห่งชาติทั่วประเทศมาเจอกันที่สมาคมฯนี้โดยมีสัญลักษณ์รูปลิง3ตัว ครั้งนั้นเป็นการแสดงออกที่มีพลังมากที่ทำให้ทั้งประเทศเห็นว่าเป็นเรื่องระดับชาติเป็นผลประโยชน์ของประชาชนเราไม่ได้ต่อสู้เพื่อตัวเอง เราจะเน้นตลอดเวลาที่ต่อสู้ไม่ใช่เพื่อเสรีภาพของสื่อแต่เป็นเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นขั้นพื้นฐานและอย่าลืมว่าในรัฐธรรมนูญก็กำหนดเรื่องนี้ไว้ซึ่งเราต้องยันข้อนี้ไว้ว่ารัฐธรรมนูญระบุประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นดังนั้นการออกกฎหมายใดๆมาที่ขัดกับรัฐธรรมนูญถือว่าผิด
         ขณะที่การเคลื่อนไหวในอดีตหนังสือพิมพ์ทุกฉบับเขียนบทนำหน้า1ในข้อความเดียวกันตีพิมพ์วันเดียวกันเพื่อให้สังคมรู้สึกตื่นตัวเหมือนกันซึ่งทำให้ผู้มีอำนาจยุคสมัยนั้นเห็นว่าสื่อเอาจริงแล้วโดยในแง่ของความเอาจริงเอาจังในส่วนของการออกแถลงการณ์คงยังไม่เพียงพอซึ่งเวลาที่เราต้องการให้มีผลสูงสุดในการนำเสนออย่างกลุ่มโทรทัศน์ก็อ่านเป็นบทนำสรุปจากแถลงการณ์ทั้งหมดขณะที่ให้มีออกเป็นตัวหนังสือประกอบด้วยว่าเป็นแถลงการณ์จากสถานีโทรทัศน์ใดบ้างซี่งปกติโทรทัศน์จะไม่มีบทนำ แต่การมีบทนำจะทำให้ประชาชนนิ่งดูเพื่อให้เห็นเราร่วมกันยืนหยัดเรื่องเสรีภาพโดยตนเชื่อว่ากรรมการชุดนี้ทั้งคสช.และนายกรัฐมนตรีหรือใครต่อใครก็ต้องคิดว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมโทรทัศน์ทุกช่องหนังสือพิมพ์ทุกฉบับจึงมีบทความเรื่องนี้เหมือนกันเขาต้องหยุดคิดเขาจะต้องชะงักเพราะว่าพลังของเราอยู่ที่ว่าทั้งสังคมเห็นว่ามีอะไรผิดปกติขึ้นมาแต่ถ้าเราเพียงแต่รายงานข่าวเฉยๆเพียงว่ามีการประชุมและออกแถลงการณ์แล้วจบก็จะไม่เกิดพลังซึ่งนอกจากข่าวแล้วเรื่องที่กระทบต่อเสรีภาพของประชาชนสื่อจะต้องมีวิธีการทำให้เห็นimpactที่ชัดเจน
          และนอกจากนี้ก็น่าจะต้องทำให้ประเด็นนี้อยู่ในโซเชียลมีเดียมากกว่าประเด็นมิสยูนิเวิร์สหน่อยซึ่งที่ผ่านมาปรากฏการณ์ของมิสยูนิเวิร์สในโซเชียลมีเดียน่าสนใจที่ให้มีการโหวตผ่านทวิตเตอร์ตนเห็นว่าเรื่องร่างกฎหมายนี้ควรต้องมีการรณรงค์ผ่านโซเชียลมีเดียทั้งภาพ,เสียง,วีดีโอ,กราฟฟิคตี้ที่สวยๆที่มีพลังกับสโลแกนที่ชัดเจนที่ควรจะส่งต่อกันได้
          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ 30 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนที่เข้าร่วมการคัดค้านในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ 2.สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  3.สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 4.สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 5.สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 6.สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ 7.สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย 8.สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย 9.สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย 10.สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 11.สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย 12.สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย 13.สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย 14.สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย 15.สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ 16.สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย 17.สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 18.สมาคมสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย) 19.สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) 20.สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน 
          21.สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย 22.เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคเหนือ 17 จังหวัด 23.เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคอีสาน 24.เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคกลาง-ภาคตะวันออก 25.เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคใต้ 26.ชมรมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์อาวุโส 27.ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม 28.ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ 29.ชมรมเพื่อเพื่อนช่างภาพสื่อมวลชน และ 30.สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย.

ไม่มีความคิดเห็น: