PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พรรคมีสิทธิ์เลือกนายกฯ

พรรคมีสิทธิ์เลือกนายกฯ

มีเสียงวิจารณ์ว่าการที่กลุ่มอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่ม กปปส.กลับคืนสู่พรรค อาจนำไปสู่ความแตกแยก ของพรรคอย่างในอดีต หรือมิฉะนั้นก็จะเกิดภาวะ 1 พรรค 2 แนวทาง แต่นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท.และอดีตรองหัวหน้า พรรคประชาธิปัตย์ มองว่าสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการปฏิรูปประเทศ และการสร้าง ความปรองดอง
เหตุที่มีเสียงวิจารณ์ลักษณะนี้ เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์กับ กปปส.มี แนวทางการเมืองต่างกัน แกนนำ กปปส.ประกาศชัดเจนจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และฟนายกรัฐมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์คนหนึ่งยืนยัน พรรคจะไม่สนับสนุน เผด็จการ แต่สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
ส่วนหัวหน้าพรรคคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นสถาบัน เป็นพรรคที่มีระบบ มีอุดมการณ์การทำงานต้องยึดแนวทาง จึงไม่เกิดภาวะ 1 พรรค 2 แนวทาง แนวทางของพรรคประชาธิปัตย์คือ พรรคที่รวบรวมเสียง ส.ส.ได้เกิน 250 เสียง เป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทน ราษฎร ต้องเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เรียกร้อง ส.ว. 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. ให้เคารพเจตนารมณ์ของประชาชน น่าจะหมายความว่าต้องยินยอมให้การเลือกนายกรัฐมนตรีตามเสียงข้างมากในสภาผู้แทน ราษฎร โดยไม่สนับสนุน “คนนอก” มาแข่งเป็นข้อเสนอที่อาจเป็นไปได้ยาก เพราะ ส.ว.ก็มีสิทธิ์ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งยังอาจเป็นกลุ่มใหญ่สุดในสภา
การเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง 2561 อาจคล้ายกับ “ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ” ตามรัฐธรรมนูญ 2521 เมื่อ 40 ปีก่อน แต่มีบางอย่างที่ต่างกัน รัฐธรรมนูญ 2521 มี ส.ว. จากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารทั้งสภา มีสิทธิ์ร่วมการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี พิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณและกฎหมายสำคัญๆร่วมกับ ส.ส.
จึงทำให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี และบริหารประเทศอยู่นานกว่า 8 ปี ด้วยการสนับสนุนจาก ส.ว.แต่งตั้ง และจากพรรคการเมืองหลายพรรค เพราะภายใต้รัฐธรรมนูญ 2521 ส.ว.แต่งตั้งกลายเป็น “พรรค” ใหญ่สุดในสภา และมีอำนาจเท่ากับ ส.ส. จึงไม่มีพรรคใดจัดตั้งรัฐบาลได้ ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากวุฒิสภา
แต่รัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับปัจจุบัน แม้จะมีบทเฉพาะกาลให้มี ส.ว. แต่งตั้ง 250 คน ใน 5 ปีแรก แต่มีอำนาจเพียงร่วมเลือก นายกรัฐมนตรี ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือพิจารณาร่างกฎหมายสำคัญ ร่วมกับ ส.ส. พรรคการเมืองก็ยังมีสิทธิ์จับมือ กันตั้งรัฐบาลได้ ส่วน “นายกฯคนนอก” จะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่ได้เสียงข้างมากของ ส.ส.

ไม่มีความคิดเห็น: