PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

อ่าน การเมืองไทย อ่าน ‘ยืมหอก สนองคืน’ สนองคืน ‘ทหาร’



ไม่ว่าความเห็นอันมาจากนายอลงกรณ์ พลบุตร ไม่ว่าความเห็นอันมาจากนายวันชัย สอนศิริ 2 คนสำคัญจาก สปท.ถือได้ว่าเป็นไปในแบบ
ร่วมด้วย ช่วยกัน
ไม่เพียงแต่ทำให้ “ความฝัน” ของนายพิชัย รัตตกุล ที่อยากให้พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา จับมือกันเพื่อต่อกรกับสิ่งที่เรียกว่า “พรรคทหาร”
ต้องกลายเป็นความล้มเหลว
หากแต่ยังทำให้โฉมหน้าของสถานะแห่งความเป็น “พรรคทหาร” ซึ่งดำรงอยู่ในลักษณะแห่ง “อีแอบ” ได้เผยแสดงออกมา
ที่คิดและประเมินกันว่าเป็น “พรรคภูมิใจไทย” นั้นไม่น่าจะใช่
แม้ว่านายอนุทิน ชาญวีรกูล และนายเนวิน ชิดชอบ จะมีความแนบแน่นเป็นอย่างสูงกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็ตาม
หากแต่ “ประชาธิปัตย์” ต่างหากที่ใกล้มากกว่า
ความน่าสนใจในสถานะและการดำรงอยู่ของพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะที่เป็น “ส่วนหนึ่ง” ในการเสริมความชอบธรรมให้กับ “พรรคทหาร”
มิใช่เพราะนายอลงกรณ์ พลบุตร ดำรงอยู่ในตำแหน่งรองประธาน สปท.
มิใช่เพราะพรรคประชาธิปัตย์เคยร่วมกับทหารมาตั้งแต่รัฐประหารเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2490 เท่านั้น
หากที่สำคัญขอให้ประเมินจากข้อเสนอของนายวันชัย สอนศิริ
“วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ต้องเป็นเอกภาพกว่านี้ ปัญหาภายในกับ กปปส.ต้องไม่ทะเลาะกันเอง และต้องไม่ทะเลาะกับทหาร ต้องแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง ร่วมกันต่อสู้กับระบอบทักษิณให้ได้ ถ้า 3 ฝ่ายแตกคอกันเมื่อไหร่จะไม่มีใครคัดง้างเขาได้
“พรรคประชาธิปัตย์ต้องรวมเป็นหนึ่งให้ได้ก่อน
“โดย 1 นายอภิสิทธิ์และพวกเป็นแกนนำในสภาสูง 2 นายสุเทพสู้ภาคประชาชน 3 พล.อ.ประยุทธ์ ดูแลเรื่องความมั่นคง ถ้า 3 ส่วนจับมือเป็น 1 จะต่อสู้กับระบอบทักษิณในระยะเปลี่ยนผ่านได้
“ถ้าต่างคนต่างแยกกันเดิน แยกกันตี เชื่อว่าจะพ่ายแพ้”
จากนี้จึงเห็นได้ว่า ที่มีการส่ง 8 แกนนำ กปปส.หวนคืนสู่พรรคประชาธิปัตย์ด้วยการอ้าแขนรับอย่างอบอุ่นจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เป็นไปตาม “ยุทธศาสตร์” อะไรในทางการเมือง
ขณะเดียวกัน การที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยืนหยัดอยู่ที่มูลนิธิและวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณบนเกาะสมุยนั้นมาจากการคาดการณ์อย่างไร
และความหวั่นไหวในเรื่อง “การเลือกตั้ง” ของ คสช.มีรากฐานมาจากปัจจัยใด
ตามแผนของ คสช.แล้วมิได้มีแต่เพียงพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น หากแม้กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ก็อยู่ในจุดที่จำเป็นต้องเลือก
จึงต้องปล่อยข่าวให้ร้ายในเรื่อง “เทกโอเวอร์” พรรคชาติไทยพัฒนา
ข้อเสนออันมาจากนายพิชัย รัตตกุล จึงเท่ากับดำเนินตามหลักการ “ยืมหอกสนองคืน” ของท่านม่อย้งแห่งแคว้นกังหนำ
เพราะตระหนักในพิมพ์เขียวอันมาจาก “พรรคทหาร”
จึงยืมหอกจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย ให้ผนึกตัวรวมพลังกับพรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา สวนกลับ
รู้ทั้งรู้ว่า กลยุทธ์ “ยืมหอกสนองคืน” ต่อ 4 พรรคการเมืองต้านพรรคทหารจะล้มเหลว ทำไมจึงนำเสนอต่อสังคม
เด่นชัดว่า เป็นการเสนอเหมือนกับ “โลกสวย”
แต่ภายในโลกสวยนั้นก็สำแดงบทบาทในการขุดคุ้ย เปิดโปง สภาพความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ในทางการเมือง
ล่อนจ้อนยิ่งกว่า น.ส.ม่วน ยาจำปา

ไม่มีความคิดเห็น: