PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความเห็นนักการเมือง กรณีใช้ ม.44 ลดโทษผู้จ่ายสินบน

ค้านคลังแก้กม.ลดโทษผู้ให้สินบน แค่ปรับ-ไม่ติดคุก

"ราเมศ" ค้าน แนวคิดคลังแก้กม.อาญา ลดโทษคนให้สินบนเหลือแค่ปรับไม่ต้องติดคุก ชี้เดินผิด สวนทางนโยบายปราบโกง ส่งเสริมทุจริตมากขึ้น กระทบฐานความผิดหลายกรณีต้องแก้หมด หวัง

รัฐบาลทบทวน ด้าน"ชาญชัย" เผยกฎหมาย ป.ป.ช.กันคนชี้ทุจริตเป็นพยานไม่ต้องรับโทษอยู่แล้ว หวั่นแก้ตามคลัง ทำล้มคดีเพียบ หมดหวังเอาผิดสินบนข้ามชาติโรลส์-รอยซ์ หลัง ป.ป.ช. อ้างต้อง

รอชื่อคนรับสินบนจากต่างชาติ ส่อซ้ำรอย "ซีทีเอ็กซ์" เตรียมเอาผิดป.ป.ช. ย้อนหลัง
     
       นายราเมศ รัตนะเชวง ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีรมว.คลัง เตรียมเสนอให้นายกรัฐมนตรี แก้กฎหมายลดโทษผู้ให้สินบนจากจำคุกเหลือแค่โทษปรับ ว่า ตนไม่เห็นด้วย และ

เสียงของสังคมก็ไม่เห็นด้วย จึงอยากให้มีการทบทวนในเรื่องนี้ ซึ่งตนเห็นว่า ขณะนี้มีความผิดปกติหลายอย่าง ที่เกิดขึ้นกับรัฐบาล สนช. และ สปท. นายราเมศ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีปัญหาเกี่ยวกับ

ร่าง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างหลายมาตราเอื้อทุจริต ทั้งที่ นายกฯ และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ระบุว่า จะให้เป็นของขวัญกับคนไทยแต่เป็นของขวัญที่ไม่สมบูรณ์ เพราะมีการยกเว้นให้กับรัฐ

วิสาหกิจ ทั้งที่เป็นแหล่งที่มีงบประมาณ และมีการแสวงหาประโยชน์กันมากที่สุด กระทั่งเกิดกรณีรับสินบนข้ามชาติ จึงขอเรียกร้องให้นายกฯ ทบทวนเพื่อให้รัฐวิสาหกิจ มีหลักเกณฑ์ในการจัดซื้อ

จัดจ้างที่ชัดเจน โดยเสนอกฎหมายเฉพาะมาอีกหนึ่งฉบับ แทนที่จะเปิดช่องให้แต่ละรัฐวิสาหกิจไปออกระเบียบกันเอง
     
       "รัฐบาลขายฝันว่าเอาจริงกับการปราบทุจริต อยากให้ทำให้เห็นสักราย โดยเฉพาะกรณีที่มีสนช.สองคนพัวพันกับการทุจริต แต่กลับยังคงทำหน้าที่ปกติ จึงมีข้อสงสัยว่า มีการปิดตาข้างหนึ่งหรือ

ไม่ นอกจากนี้กระทรวงการคลัง ยังเสนอให้ลดโทษคนให้สินบนโดยอ้างต่างประเทศ ไม่อยากให้เกิดความสับสน โดยเห็นว่ากฎหมายที่บังคับใช้อยู่นั้น ดีอยู่แล้ว หากทำตามข้อเสนอของกระทรวง

การคลัง จะมีผลกระทบต่อฐานความผิดอีกหลายฐานความผิด ที่สำคัญ จะกระทบกับฐานความผิดต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แล้วกระบวนการยุติธรรมจะศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร หาก

เดินตามแนวนี้ จะส่งเสริมให้เกิดการทุจริตอย่างใหญ่หลวง เพราะแค่รับสารภาพ และเสียค่าปรับเท่านั้น จะเป็นมูลเหตุจูงใจทำให้คนกล้าให้สินบนมากขึ้น เพราะถ้าไม่ถูกจับได้ ก็สบาย แต่ถ้าถูกจับ

ได้ ก็แค่เสียค่าปรับ จึงอยากให้ คสช.และรัฐบาลทบทวน ถ้าเดินตามนี้ ถือว่าเป็นการเดินผิดทาง
     
       ด้านนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กฎหมายเดิมมีการระบุเกี่ยวกับคนให้ข้อมูลเรื่องการทุจริต เพื่อชี้มูลความผิดผู้อื่น ป.ป.ช.สามารถกันเป็นพยาน

ได้อยู่แล้ว ซึ่งก็จะไม่ต้องรับโทษเพื่อเอาตัวผู้กระทำผิด โดยมีการใช้มาแล้วหลายครั้ง เช่น กรณีการโกงสอบนายอำเภอ และกรณีผู้ประกอบการที่ให้สินบนกับเจ้าหน้าที่ ในคดีจำนำข้าว ดังนั้นการจะ

เขียนกฎหมายใหม่ ก็จะซ้อนกับกฎหมายป.ป.ช. มาตรา 123/5 วรรคสอง โดยสรุปคือ ให้ปรับบริษัทหรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตได้หนึ่งเท่า แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้น หรือ

ประโยชน์ที่ได้รับ
     
       นอกจากนี้ มาตรา 103/6 ระบุว่า ให้กันผู้ร่วมกระทำความผิด หรือผู้ที่ถูกกล่าวหาให้เป็นพยานได้ ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ตั้งแต่ปี 54 จึงสงสัยว่ากระทรวงการคลัง คิดครบถ้วนหรือยัง เพราะ

ถ้าทำตามที่กระทรวงการคลังเสนอ จะกระทบไปหลายคดี จนอาจนำไปสู่การวิ่งเต้นล้มคดีได้
     
       สำหรับการแก้ปัญหานั้น เสนอให้คดีทุจริตไม่มีอายุความ มีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจในการอนุมัติ อนุญาตทุกตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ และห้ามนำคน

ในกระบวนการยุติธรรม เข้ามาเป็นคณะกรรมการบริหาร หรือบอร์ดในรัฐวิสาหกิจ เพราะแม้จะเป็นคนดี แต่เมื่อมีเรื่องทุจริตในองค์กรนั้น ก็จะเสียคนทุกที ซึ่งมีผลอาจทำให้เกิดปัญหาการขัดกัน

แห่งผลประโยชน์ ซึ่งควรเขียนให้ชัดเจนในกฎหมายลูก เพราะ ร่างรธน.ปี 59 ไม่ได้ระบุห้ามไว้อย่างชัดเจน
     
       "เรื่องของสินบนข้ามชาติโรลส์-รอยซ์ หากเป็นเช่นนี้เชื่อว่าจะจบเหมือนซีทีเอ็กซ์ คือเอาผิดใครไม่ได้ ทั้งที่เป็นยุคของการสะสางเอาคนผิดมาลงโทษ แต่คนที่มีหน้าที่โดยตรงยังไม่กระตือรือร้น

อ้างรอข้อมูลจากต่างชาติ ถ้าสุดท้ายเอาผิดใครไม่ได้ คนที่รับผิดชอบต้องได้รับผิดด้วย เพราะมีหน้าที่สะสาง ถ้าทำไม่ได้ ก็ต้องออกไป ถ้าหน้าด้านนั่งอยู่ตรงนี้อีก มีคนดำเนินคดีกับพวกท่านแน่ เรื่อง

ซีทีเอ็กซ์ ที่ป.ป.ช.ยกคำร้อง บอกว่าไม่มีชื่อ หลักฐานคนที่ได้รับสินบนนั้น ก็มีข้อสงสัยว่า จากการสอบก็รู้ว่าใครเกี่ยวข้องบ้างอ้างแค่ว่าไม่มีชื่อบุคคล ทำให้เอาผิดใครไม่ได้ จึงมีแนวโน้มว่า ป.ป.ช.

จะต้องถูกเอาผิดย้อนหลังด้วย พอมาถึงกรณีสินบนโรลส์-รอยซ์ ก็ดูจะซ้ำรอยเดิมอีก คิดว่าคนไทยคงไม่ยอม" นายชาญชัย กล่าว
//////////////
ความเห็นนักการเมือง กรณีใช้ ม.44 ลดโทษผู้จ่ายสินบน

นักการเมือง ค้านแนวคิด กระทรวงการคลัง เสนอนายกรัฐมนตรี ใช้ มาตรา 44 ลดโทษคนจ่ายสินบน เพราะอาจเป็นการส่งเสริมให้มีการทุจริตเพิ่มขึ้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นด้วยที่กระทรวงการคลังเสนอ

ให้ใช้มาตรา 44 ลดโทษให้ผู้ที่จ่ายสินบนให้ รับผิดทางแพ่งและอาญา เพื่อให้ได้ข้อมูลเอาผิดผู้ที่รับสินบนว่า อยากให้มีการศึกษาให้รอบคอบ เพราะ ในเมื่อเป็นความผิด จะเป็นเรื่องยากที่จะได้พยาน

หลักฐาน เพราะคนที่ให้สินบนก็คือผู้กระทำผิดด้วย และหากปราศจากความผิด จะเป็นการส่งสัญญาณที่ไม่ดี เนื่องจากเท่ากับว่าการจ่ายสินบนไม่ใช่ความผิด

ทั้งนี้มองว่า ปัญหาใหญ่ในประเทศ คือ การบังคับใช้กฎหมาย เช่น การตรวจสอบการทุจริตติดสินบนการจัดซื้อเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่เป็นข่าว เพราะข้อมูล

ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยกลับไม่มีการรับรู้มาก่อน ภาครัฐควรปรับปรุงด้านนี้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะการสืบสวนหาผู้กระทำผิด

"ชาญชัย" ชี้ ข้อเสนอลดโทษคนโกง-ส่งเสริมให้ทุจริต

ขณะที่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นข้อเสนอที่ไร้สาระ หากเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่ายิ่งส่งเสริมให้มีการทุจริตมากขึ้น แล้วก็มาสมยอมยุติคดีกัน ทั้งที่

มีกฎหมาย ปปช.ที่ทันสมัย และก้าวหน้ากว่าข้อเสนอของกระทรวงการคลังมาก ที่ผ่านมากระทรวงการคลังก็ถือเป็นปัญหาใหญ่ของการทุจริตในไทย ที่ส่งคนไปอยู่ในรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ และไปร่วม

ทุจริตด้วย พร้อมตั้งคำถามว่า คนทุจริตมีจิตสำนึก ธรรมาภิบาล หรือความรับผิดชอบต่อสังคมมากพอ เท่ากับต่างประเทศหรือไม่

"เรืองไกร" ค้านลดโทษจ่ายสินบน ชี้ เป็นความผิดแล้ว

ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ผู้ที่จ่ายเงินสินบนให้เจ้าหน้าที่รัฐถือว่าสมรู้ร่วมคิดในการทุจริตแล้ว จะมาลดโทษทางอาญาได้อย่างไร และมองว่าการปราบปราม

ทุจริตควรใช้วิธีการเช่นเดียวกับคดียาเสพติด ในการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้เกี่ยวข้อง กับ ผู้ต้องสงสัย จะได้ไม่มีใครกล้ากระทำผิด ที่สำคัญวิธีการนี้ไม่จำเป็นต้องตามหาใบเสร็จเหมือนที่ผ่านมา

เพราะเรื่องแบบนี้ไม่ได้ทำกันบนโต๊ะ

"พิชัย" มองใช้ม.44 ปราบโกงไม่ยั่งยืน

ส่วนนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและแกนนำพรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่อยู่ในสังคมไทยมาโดยตลอด การจะใช้มาตรา44 มา

แก้กฎหมายคอร์รัปชั่น จะเป็นเรื่องที่ไม่ยั่งยืน

ทั้งนี้มองว่า ปัญหาพื้นฐานของคอร์รัปชั่นจะต้องแก้ที่วิธีคิด การปลูกฝังจิตสำนึก การปฎิบัติ และการยอมรับของประชาชน และการใช้มาตรา44 ของคสช.ต้องดูว่าจะใช้กับคนกลุ่มใด หากรัฐบาล

ไม่ปฎิบัติสองมาตรฐาน เอาจริงกับการแก้ปัญหาทุจริตกับทุกฝ่าย ก็จะถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี

"ศรีสุวรรณ" ติงเว้นโทษสินบน เอื้อประโยชน์นักการเมือง-ขรก.โกง

ปิดท้ายที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การแก้ไขกฎหมายไม่เอาผิดทางอาญากับผู้ที่ให้สินบนนั้น แม้จะเป็นเจตนารมณ์ที่ดี แต่เนื่องจากระบบอุปถัมภ์ของ

ประเทศไทยมีมากเกินความสมควร ซึ่งอาจไปเอื้อประโยชน์ให้กับข้าราชการหรือนักการเมืองที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ได้ และอาจกระตุ้นให้ผู้ประกอบการหรือเอกชนที่มีพฤติการทุจริตคอร์รัปชั่นได้

ใช้ประโยชน์ในการจ่ายสินบนให้กับผู้ที่มีอำนาจ หรือข้าราชการมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: