PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ย้อนดูตระกูล"ชินวัตร"

ตระกูล ชินวัตรมีที่ไปที่มาอย่างไร ลองวิเคราะห์กันเอง ทำไมถึงโหดเหี้ยมผิดมนุษย์ ผู้คนที่บริสุทธิต้องมาเสียชีวิตไปหลายพันศพ เพราะใคร DNA มีผลต่อผู้สืบสันดานจริงหรือไม่ โดย บัณรส บัวคลี่ มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า นายเส็ง แซ่คู ต้นตระกูลชินวัตรเคยเป็นอั้งยี่ระดับหัวหน้าและเคยถูกจับติดคุกมาก่อน นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เนื้อหาของเรื่องดังกล่าวสามารถอ่านได้จากบทความเรื่อง “อั้งยี่ที่เมืองจันทน์” ตอน 1 และตอน 2 ต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์สื่อมหาชนออนไลน์ www.mahachonnews.com ที่ได้เขียนไว้ว่า ง่วนเส็ง แซ่คู บุตรนายเช้า (ชาวจีน) เป็นหัวหน้าอั้งยี่คณะงี่เฮ็งบ้านบางกะจะ อำเภอพลอยแหวน เมืองจันทบุรีในยุคที่ถูกฝรั่งยึดครองเป็นหลักประกันให้สยามจ่ายค่าตอบแทน กรณี รศ.112 

ต่อมาถูกทางการจับกุมขังคุก มีลูกชื่อ ชุนเชียง แซ่คู อพยพมาอยู่เชียงใหม่เป็นต้นตระกูลชินวัตร ปู่ของทักษิณ ชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา แม้บทความดังกล่าวไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนและก็ไม่ได้ระบุเอกสารอ้างอิง อันใดไว้แต่มากพอที่ทำให้ยิ่งอยากรู้เข้าไปอีกว่าประวัติศาสตร์ดังกล่าวคัด ลอกอ้างอิงมาจากแหล่งใด ใช้เวลาสืบค้นอยู่พักใหญ่จึงค่อยทราบว่า เนื้อหาที่บทความอั้งยี่ที่เมืองจันทน์นำมาเผยแพร่นั้นแท้ที่จริงปรับแปลงมา จากหนังสือเล่มที่ชื่อว่า “จดหมายเหตุความทรงจำสมัยฝรั่งเศสยึดจันทบุรี ตั้งแต่พ.ศ.2436-2447” เขียนโดย หลวงสาครคชเขต (ประทวน สาคริกานนท์) 

โชคดีที่ยังพอมีหนังสือเล่มนี้ในท้องตลาดแต่กว่าจะได้มาถึงมือใช้ เวลา 2 วัน เล่มที่ใช้อ้างอิงเป็นเล่มปกแข็งพิมพ์ครั้ง 3 โดยสำนักพิมพ์ศรีปัญญาจัดจำหน่ายโดยเคล็ดไทยราคา 500 บาท สำหรับท่านที่สนใจเรื่องแนวนี้ปัจจุบันยังพอหาได้ตามคลังสต๊อกของร้าน หนังสือใหญ่ หลวงสาครคชเขต เป็นข้าราชการฝ่ายปกครองที่อยู่ในเหตุการณ์ฝรั่งเศสถืออำนาจบาตรใหญ่มายึด เมืองจันทน์สมัยปลายรัชกาลที่ 5 กว่าจะคืนกลับมาได้ไทยต้องเสียดินแดนในเขมรในลาวเพิ่มให้ไปอย่างเจ็บปวด หลวงสาครฯมีชีวิตอยู่จนข้ามมาสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียชีวิตเมื่อ 2497 ได้บันทึกเหตุการณ์รายละเอียดที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่งบรรยาย ถึงสภาพบ้านเมืองผู้คนรายละเอียดความสัมพันธ์ของคนฝ่ายต่างๆ ในยุคนั้น เช่นเล่าว่ามีทหารฝรั่งเศสประมาณ 60-70 นายทหารญวนประมาณ 600 มาตั้งค่าย เย็นๆ ก็แก้ผ้าอาบน้ำทั้งฝรั่งทั้งญวน หญิงไทยเดินผ่านเบือนหน้าหลบก็ถูกฝรั่งหัวเราะใส่ ไปจนถึงมีเหตุการณ์จันทรุปราคาชาวบ้านยิงปืนตีเกราะเคาะไม้ผู้บัญชาการทหาร ฝรั่งเศสตกใจเตรียมพร้อมรับมือคนไทยบุก หรือกรณีทหารฝรั่งเศสเมาสุราไปเที่ยวแทะโลมจับนมหญิงชาวบ้าน ฯลฯ เป็นต้น 

บันทึกกรณีเหตุการณ์กรณีอั้งยี่ที่มีการโยงมาถึงตระกูลชินวัตรปรากฏ ในตอนที่ชื่อว่า “สมาคมอั้งยี่กำเริบ ทหารฝรั่งเศสช่วยปราบ” อยู่ในหน้า 61-64 ขอคัดลอกลงมาเพื่อผู้อ่านจะได้เทียบเคียงกับข้อความที่เผยแพร่ก่อนหน้า สมาคมอั้งยี่กำเริบ ทหารฝรั่งเศสช่วยปราบ เมื่อ ฝรั่งเศสเข้าไปตั้งอยู่ที่จังหวัดจันทบุรีแล้วไม่กี่ปี ระหว่างพ.ศ.2438-2439 (ร.ศ.114-115) ก็เกิดมีสมาคมอั้งยี่ขึ้น 2 คณะ คณะหนึ่งใช้สมนามสมญาว่า “งี่ฮก” สำนักตั้งอยู่ที่ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรีแห่งหนึ่งมีนาย อำภณ วิเศษประสิทธิ์ บุตรพระประสิทธิ์พลรักษ์ กรมการพิเศษเป็นหัวหน้า (หลวงสาครฯคงจะใส่นาม สกุลที่เกิดขึ้นภายหลังเข้าในบันทึกไปเลยไม่ได้ใช้เฉพาะชื่อตนตามยุคสมัย อีกทั้งชื่อจังหวัดก็เรียกแบบยุคหลังไม่ได้เรียกว่าเมืองจันทบุรีอันเป็น เชื่อก่อนตั้งมณฑลเทศาภิบาล—บัณรส) อีกคณะหนึ่งมีนามสมญาว่า “งี่เฮ็ง” สำนักงานตั้งอยู่ที่ตำบลบางกะจะ อำเภอพลอยแหวน จังหวัดจันทบุรีแห่งหนึ่ง มีนายง่วนเส็ง บุตรนายเช้า (ชาติจีน) เป็นหัวหน้าสมาคมอั้งยี่ ทั้ง สองคณะนี้ไม่มีความสามัคคีปรองดองกัน ต่างหมู่ต่างคณะได้ถืออำนาจในพวกเหล่าของตนคุมสมัครพรรคพวกทำร้ายซึ่งกันและ กันอยู่เป็นเนื่องนิตย์บรรดาประชาชนคนใดไม่เข้าในคณะใดพวกอั้งยี่ก็เที่ยว กรรโชกขู่เข็ญทำร้ายประชาชนพลเมืองโดยพลการอยู่เนืองๆ บางครั้งคุมสมัครพรรคพวกเที่ยวปล้นแย่งชิงทรัพย์สินพลเมืองก็มี นอกจากนี้ความยังปรากฏว่าบรรดาพวกพ่อค้าแม่ค้าที่อยู่ในท้องที่อำเภอพลอย แหวนซึ่งเคยน้ำสินค้ามาจำหน่ายขายให้แก่พลเมืองทางท้องที่อำเภอเมืองแล้ว พวกคณะอั้งยี่ทางฝ่ายคณะงี่เฮ็งก็ประกาศห้ามปราม................ และ ความเดือดร้อนทั้งนี้ไม่ได้มีแต่พลเมืองฝ่ายเดียวเลยพลอยทำให้กองทหาร ฝรั่งเศสก็มีส่วนได้รับความเดือดร้อนด้วยเหมือนกัน กล่าวคือกองทหารฝรั่งเศสก็ต้องอาศัยสินค้าจากพ่อค้าแม่ค้าทางเขตอำเภอพลอย แหวนเหมือนกันเมื่อความเดือดร้อนของพลเมืองตลอดจนกองทหารฝรั่งเศสไม่ได้รับ ความสะดวกเช่นนี้แล้ว........... ก็ มาขอร้องให้ทางบ้านเมืองจัดการปราบปรามแต่เวลานั้นทางฝ่ายบ้านเมืองก็ไม่มี กำลังพาหนะ ตำรวจหรือพลตระเวนอย่างใดที่จะทำการระงับปราบปรามอั้งยี่ให้เป็นที่เรียบ ร้อยได้ จึงนับว่ายุคนั้นที่จันทบุรีแม้แต่ตามถนนตลาดประชาชนพลเมืองก็มีความหวาด เกรงภัยของคณะอั้งยี่อยู่ถ้วนหน้า........... ทาง ฝ่ายบ้านเมืองจึงได้ปรึกษาทำความตกลงกับกองทหารฝรั่งเศสผลที่สุดฝ่ายกองทหาร ฝรั่งเศสจัดกำลังทหารฝรั่งเศสมอบให้แก่ทางบ้านเมืองทำการปราบปรามจับกุม อั้งยี่ทั้งสองคณะนี้โดยความร่วมมือกับพนักงานฝ่ายบ้านเมืองออกเที่ยวสืบจับ ตามตำบลต่างๆ มีตำบลบางกะจะ ตำบลวัดใหม่และที่แห่งอื่นๆ เป็นต้น เจ้าพนักงานฝ่ายไทยที่ควบคุมทหารฝรั่งเศสและพลเมืองออกไปสืบจับพวกอั้งยี่ นั้นคือท่านพระยาเดชานุชิตเป็นหัวหน้า หลวงพรหมเสนากับหลวงศรีรองเมืองเป็นผู้ช่วยทำการจับกุมอั้งยี่ทั้งสองคณะได้ พรรคพวกและหัวหน้าสำคัญหลายคนมีนายอำภณและนายง่วนเส็งเป็นต้น แล้วจัดการนำตัวส่งไปกรุงเทพฯ ต่อมาปรากฏว่าหัวหน้ากับพรรคพวกถูกรับพระราชอาญาจองจำกักขังไว้หลายๆ ปี ตั้งแต่นั้นมาสมาคมอั้งยี่ก็แตกหมู่แตกคณะควบคุมกันไม่ติดและไม่มีสมาคมใด ที่คิดตั้งคณะอั้งยี่ขึ้นมาอีก นับว่าเหตุการณ์เรื่องอั้งยี่เป็นปกติเรียบร้อยมาจนบัดนี้ นอกจากความเรื่องอั้งยี่ที่กล่าวไปแล้วบันทึกจะหมายเหตุของหลวงสาคร คชเขต หน้า 203 ยังได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่จีน ง่วนเส็ง ไปทำร้ายร่างกายผู้พิพากษาบาดเจ็บ โดยเหตุการณ์ตอนนี้เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสมอบเมืองจันทบุรีคืนแก่สยามใน พ.ศ.2447 หลังจากยึดไว้นานถึง 11 ปีแต่ก็ยังไม่ไปไหนกำลังทหารที่ถอนจากจันทบุรีก็ไปยึดเมืองตราดไว้ต่อ ฝรั่งเศสยึดเมืองตราดนาน 3 ปีจนที่สุดสยามต้องแลกตราดและเกาะกูด กลับคืนมาโดยตัดเฉือนที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงด้านตรงข้ามหลวงพระบางอันเป็นแขวง ไชยะบุรีในปัจจุบันรวมทั้งเสียมราฐ ศรีโสภณ พระตะบองในเขมรให้ไป เหตุการณ์ตอนที่ฝรั่งย้ายไปยึดเมืองตราดจึงมีข้าราชการไทยที่โยกย้าย กลับมา บ้างก็สมัครใจอยู่ที่เดิมหลวงสาครคชเขตได้กล่าวถึง ผู้พิพากษาท่านหนึ่งที่ เกี่ยวข้องเป็นค่ากรณีกับจีนง่วนเส็ง ความว่า “มีข้าราชการบางคนสมัครคงอยู่ในจังหวัดตราดก็มีบ้างดังเช่น หลวงวิพิธพจนการ ผู้พิพากษาศาลคนหนึ่งเป็นผู้มีเคหสถานบ้านเรือนแลเรือกสวนไร่นาอยู่มากจะ ละทิ้งฐานเดิมไปก็รู้สึกเสียดายจึงคงอยู่ที่จังหวัดตราดต่อไปชั่วคราวต่อมา ภายหลังหลวงวิพิธพจนการเห็นว่าการอยู่กับฝรั่งเศสจะไม่เป็นผลดีต่อไปแล้วจึง ได้อพยพย้ายครอบครัวมาตั้งอยู่ที่บ้านตลาดขวาง จังหวัดจันทบุรีแลต่อมาก็ประจวบเวลานั้นอำเภอขลุงได้ยกขึ้นเป็นจังหวัดแลขาด ตัวผู้พิพากษาอยู่ พระยานครไภยพิเฉทซึ่งเป็นอธิบดีผู้พิพากษาเห็นเป็นโอกาสดีจึงได้ขออนุญาต กระทรวงยุติธรรมให้หลวงวิพิธฯเป็นผู้พิพากษาศาลเมืองขลุงบุรีตั้งแต่นั้นมา ระหว่างที่หลวงวิพิธฯ พักอยู่ที่จังหวัดจันทบุรีก่อนยังไม่ได้รับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลเมืองขลุงนั้น ได้ถูกนายง่วนเส็ง (เชิงอรรถของหลวงสาครระบุว่า คือคนๆเดียวกันกับที่ปรากฏเรื่องอั้งยี่) หัวหน้าอั้งยี่คณะงี่เฮ็ง ให้พรรคพวกทำร้ายร่างกายบาดเจ็บ ทั้งนี้ปรากฏว่านายง่วนเส็งมีความเจ็บแค้นหลวงวิพิธฯ ตั้งแต่ครั้งเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดตราดก่อนสมัยฝรั่งเศสปกครองได้ตัดสิน คดีความจำคุกพวกอั้งยี่คณะของเขา การที่หลวงวิพิธฯ ถูกพรรคพวกนายง่วนเส็งทำร้ายครั้งนั้นผลที่สุดการสืบสวนจับกุมค้นร้ายไม่ได้ ทั้งไม่มีหลักฐานอะไรด้วย ตกลงว่าหลวงวิพิธฯถูกทำร้ายเปล่า เมื่อพิจารณาเปรียบถ้อยคำในจดหมายเหตุฯของหลวงสาครคชเขตซึ่งเป็นหลัก ฐานชั้นต้นที่มีอยู่ทั้งหมดตามที่คัดลอกมามีข้อสังเกตดังนี้ 1.จดหมายเหตุระบุชื่อจีน ง่วนเส็ง แต่ประวัติที่เผยแพร่ของตระกูลชินวัตรระบุว่าปู่ทวดชื่อ ชุ่นเส็ง 2.ในจดหมายเหตุไม่ระบุนามสกุล แต่ข่าวสารที่เผยแพร่ไปเรื่องอั้งยี่เมืองจันทน์ เติมนามสกุลแซ่คู ให้กับ จีนง่วนเส็ง 3.ประวัติตระกูลชินวัตรไม่เคยกล่าวถึงบิดาของคูชุ่นเส็ง บอกเพียงว่าปู่ทวดชุ่นเส็งเดินทางจากกวางตุ้งมาขึ้นบกที่เมืองจันทบุรี แต่ในจดหมายเหตุของหลวงสาครระบุชื่อบิดาของ จีนง่วนเส็งว่าชื่อ นายเช้า สัญชาติจีน ดังนั้นหากพิจารณาเฉพาะหลักฐานถ้อยคำในจดหมายเหตุ หัวหน้าอั้งยี่ชื่อ “ง่วนเส็ง” ไม่น่าจะเป็นคนเดียวกับ “คูชุ่นเส็ง” ผู้ที่ต่อมาอพยพครอบครัวจากบางกะจะ เมืองจันทบุรีไปอยู่เชียงใหม่และเปลี่ยนสกุลเป็นชินวัตรในเวลาต่อมาก็ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อมองเหตุการณ์แวดล้อม ดูเงื่อนไขประกอบ และระยะเวลา (Time Line) ของจีนง่วนเส็งมีเหตุทำร้ายร่างกายผู้พิพากษาและมีบทบาทในแวดวงคนจีนบ้านบาง กะจะเมืองจันทบุรี ย่อมอยู่ในยุคสมัยเดียวกับ คูชุ่นเส็ง ซึ่งก็ปักหลักสร้างหลักฐานอยู่ที่บ้านบางกะจะ เมืองจันทบุรีเหมือนกัน หาก จีนง่วนเส็ง ตั้งตัวเป็นหัวหน้าอั้งยี่คณะงี่เฮ็ง รวบรวมสมัครพรรคพวกคนเชื้อสายจีนมีพื้นที่เคลื่อนไหวในเขตบางกะจะในช่วง พ.ศ.2436-38 ย่อมน่าสนใจว่าในตอนนั้นบรรพบุรุษตระกูลชินวัตรผู้มีถิ่นฐานบ้านบางกะจะที่ ชื่อ คูชุ่นเส็ง มีบทบาทใด และหากจะสวมวิญญาณนักจินตนาการประสาคอหนังฮอลลีวูดปะติดปะต่อผูกตำนานใหม่ขึ้นมาอาจจะเป็นเนื้อเรื่องว่า... เมื่อกว่า 100 ปีก่อนจีนง่วนเส็งนายอั้งยี่คณะงี่เฮ็งแห่งบ้านบางกะจะ ตั้งตัวขึ้นมาจากการเป็นผู้นำชาวจีนในยุคที่อำนาจการปกครองของสยามกับ ฝรั่งเศสทับซ้อนกันอยู่ ตั้งสมาคมองค์กรปกครองดูแลชาวจีนด้วยกันซึ่งเป็นเรื่องปกติมากสำหรับ ธรรมเนียมของคนจีนโพ้นทะเล แต่ต่อมาเกิดวิวาทกับสมาคมชาวจีนอีกคณะทำให้ถูกจับกุมคุมขังแต่ก็ยังมีสถานะ เป็นระดับแกนนำของชาวจีนในท้องถิ่น จนกระทั่งเขาเกิดมีวิวาทกับขุนนางผู้กำลังจะรับตำแหน่งผู้พิพากษาด้วยสำคัญ ผิดว่าขุนนางผู้นั้นไม่ได้รับราชการแล้ว ทำให้ต้องอพยพหนีคดีพาครอบครัวลี้ภัยไปอยู่เมืองเหนือ เปลี่ยนชื่อเรียกเสียใหม่เพื่อลบอดีตติดตัวจากเมืองจันทน์ นิยายแต่งใหม่เรื่องนี้คงน่าสนุกไม่น้อยเพราะโยงเอาบรรพบุรุษของนายก รัฐมนตรี 2 คนไปผูกโยงกับเรื่องราวอั้งยี่เมืองจันทบุรีในยุคที่อำนาจการปกครองของสยาม ไม่มั่นคงแถมฝรั่งเศสมาตั้งกำลังเป็นอำนาจทับซ้อนปกครองอยู่ ประวัติศาสตร์คงจะเล่นตลกไม่น้อยหากจีนง่วนเส็งนายอั้งยี่ มาเป็น คูชุ่นเส็งนายอากรเชียงใหม่ !!!? มันจะไม่เล่นตลกได้ยังไงเพราะหลวงวิพิธพจนการผู้พิพากษาที่ถูกทำร้าย คนคนดังกล่าวเป็นคนเดียวกับ หลวงวิพิธพจนการ (แจ่ม สูตะบุตร) ผู้เป็นคุณตาของ พ.ญ.สดใส เวชชาชีวะ (สกุลเดิมสูตะบุตร) มารดาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือนัยหนึ่ง หลวงวิพิธพจนการเป็นคุณตาทวด ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั่นเอง ซึ่งก็หมายถึงว่าก๋งของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ชื่อ คูชุ่นเส็ง-จีนง่วนเส็ง เคยมีกรณีวิวาทขนาดส่งลูกน้องไปทำร้ายร่างกายตาทวดของ อดีตนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เหตุเกิดที่เมืองจันทบุรี ในช่วงพ.ศ. 2449-2450 โดยประมาณ !! แต่เหตุการณ์ในโลกของความเป็นจริงจะเป็นดั่งเช่นที่ผูกนิยายที่กล่าว มาข้างต้นหรือไม่ ก็ต้องมาดูประวัติชีวิตของคูชุ่นเส็งตลอดถึงเหตุการณ์แวดล้อมเมื่อ 100 ปีก่อนโน้นกันเพื่อมาชั่งน้ำหนักว่าตำนานอั้งยี่เมืองจันทน์ที่เผยแพร่ใน อินเตอร์เน็ตนั้นตรงกับข้อเท็จจริงแค่ไหนเพียงใด ตอนหน้าจะมาวิเคราะห์เรื่องราวชีวิตของ คูง่วนเส็ง ช่วงที่อยู่ในเมืองจันทบุรีก่อนจะอพยพโยกย้ายมาเชียงใหม่ซึ่งน่าแปลกนะครับ ขนาดตระกูลชินวัตรเองก็แทบไม่รู้เรื่องปู่ทวดต้นตระกูลของเขาเช่นเดียวกัน.

ไม่มีความคิดเห็น: