PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

กรมศิลป์ - รัฐบาลพม่า ไม่รับรอง การขุดค้นสถูปพระเจ้าอุทุมพร

วันที่ 04 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 23:15 น. ข่าวสดออนไลน์

กรมศิลป์ - รัฐบาลพม่า ไม่รับรอง การขุดค้นสถูปพระเจ้าอุทุมพร

จากการที่กรมศิลปากรนำคณะผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ศึกษาพื้นที่สุสานลินซินกง เมืองอมรปุระ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งทางสมาคมจิตพรรณของไทยได้จดทะเบียนในพม่า เพื่อทำการขุดค้นในสุสานลินซินกง โดยอ้างว่ามีสถูปบรรจุพระบรมอัฐิ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หรือสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร กษัตริย์พระองค์ที่ 32 แห่งกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น

เมื่อวันที่ 4 มี.ค. นายวิจิตร ชินาลัย สถาปนิกอำนวยการ โครงการอนุรักษ์โบราณสถานและอุทยานประวัติศาสตร์เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานมหาเถระพระเจ้าอุทุมพร ทำการในนามสมาคมจิตพรรณ กล่าวว่า สถานที่แห่งนี้เป็นแลนด์มาร์ค ฐานเจดีย์ที่ค้นพบเป็นที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์ต่างชาติในประเทศราชพระองค์เดียวที่พระเจ้าผดุง พระมหากษัตริย์พม่าจัดพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพให้ และมีการสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากนั้นเมืองอมรปุระก็ล่มสลายไป

นายวิจิตร กล่าวต่อว่า หลักฐานชิ้นสำคัญที่พบเป็นบาตรแก้วมรกตบรรจุอัฐิเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 เซนติเมตร ลวดลายแปลกตา ไม่ใช่พม่าและไม่ใช่ลายไทยที่เห็นกันโดยทั่วไป มียอดเป็นทรงดอกบัวตูม มีโครงไม้พานแว่นฟ้ายืนยันชัดเจนว่า จะต้องเป็นบาตรบรรจุอัฐิของสมณศักดิ์พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น ซึ่งพระเจ้าอุทุมพรมาอยู่ที่อมรปุระ พระองค์เป็นพระมหาเถระ 1 ใน 7 องค์ ในอาณาจักรอมรปุระที่ประทับอยู่ที่เมืองนี้ และเป็นมหาเถระต่างชาติองค์สุดท้าย ที่สิ้นพระชนม์ลง บาตรนี้จึงมีความสำคัญมาก ที่จะบ่งชี้หลักฐานการค้นพบสถูปบรรจุพระบรมอัฐิได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบหลักฐานใหม่หลังคากระเบื้องซึ่งพม่าในยุคนั้นไม่มีใช้ แต่จะปรากฏในอยุธยาตอนปลาย รวมถึงยังพบตุ๊กตาดินเผาเด็กหัวแกละ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมของเด็กอยุธยาเท่านั้นที่ไว้ผมทรงนี้

สถาปนิกอำนวยการ กล่าวอีกว่า ที่สำคัญขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์และรัฐบาลพม่า ได้เชื่อในหลักฐานที่คณะทำงานค้นพบ และอนุญาตให้ทำอนุสรณ์สถานสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจึงไม่ต้องพิสูจน์อะไรมาก เพราะมั่นใจว่ามีหลักฐานเชื่อมโยงการค้นพบพระบรมอัฐิครบถ้วน แต่นักวิชาการฝ่ายไทยได้พูดคุยกันทางสื่อเยอะมาก และจากที่ตนเชิญผู้เชี่ยวชาญไทยมาตรวจสอบ กลับไม่เคยมีใครสอบถาม อย่างไรก็ตาม ตนทำหนังสือถึงนายกเมืองมัณฑะเลย์ เพื่อยืนยันหลักฐานการค้นพบและขอจัดทำอนุสรณ์สถานพระเจ้าอุทุมพร โดนหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ จะมอบให้เป็นของขวัญแก่รัฐบาลมัณฑะเลย์ และเป็นอนุสรณ์สถานพระเจ้าอุทุมพรในอมรปุระ ไม่ใช่เพียงแค่การทำงานของรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า แต่สิ่งที่ทำเป็นความยิ่งใหญ่กว่านั้นมาก เพราะเป็นโครงการที่เป็นสัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนไทยและพม่า เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมหาเถรของไทยและพม่าที่มีความใกล้ชิดกันมาก ที่สำคัญเป็นความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์ไทยกับพม่าในอดีต ซึ่งเป็นพระองค์เดียวที่กษัตริย์พม่าถวายพระเพลิง

ด้าน นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรหารือกับกรมโบราณคดีพม่าแล้ว รับทราบข้อมูลว่า การขุดค้นดังกล่าวจากรัฐบาลกลาง เพียงแต่ขออนุญาตจากคณะกรรมการพัฒนาเมืองมัณฑะเลย์ จึงไม่ถือว่า ได้รับการรับรองจากรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ ขณะเดียวกันรายงานการขุดค้นที่เสนอมายังกรมศิลปากร ก็มีข้อขัดแย้งหลายประการที่ทำให้มีความไม่มีความน่าเชื่อถือ และการดำเนินงานก็ไม่มีนักโบราณคดีของไทยและพม่าเข้าร่วม จึงไม่อาจสรุปหลักฐานทางโบราณคดีว่า สถูปที่ค้นพบเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจริงหรือไม่ ดังนั้น จึงถือว่า ทางการไทยไม่รับรองการขุดค้นดังกล่าว และควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้านมากกว่านี้

ขณะที่ นายนิติ แสงวัณณ์ นักโบราณคดีเชียวชาญ กล่าวว่า จากการที่ตนไปลงพื้นที่จริง และพิจารณารายงานสรุปผลการปฏิบัติงานด้านโบราณคดีที่สุสานลินซินกง พบว่าเอกสารต่างประเทศที่ทางภาคเอกชนไปขุดค้น กล่าวอ้างว่า มีการบันทึกถึงสถูปองค์นี้ว่าบรรจุพระบรมอัฐิ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งที่จริงแล้วเอกสารฉบับดังกล่าวไม่ได้บอกรายละเอียดถึงขนาดนั้น ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อมูลในระดับสามัญสำนึกทางโบราณคดี หากคนในพื้นที่รู้ว่าที่นี่คือ สุสานของเจ้าชายไทยจริงทำไมถึงเรียก ลินซินกง ซึ่งแปลว่า สุสานล้านช้าง ทำไมถึงไม่ เรียกโยเดียกง

ในขณะเดียวกันรายงานที่ทางกลุ่มทำงานเอกชนส่งมาให้กรมศิลปากรพิจารณา ตั้งแต่หน้าที่หนึ่งเป็นต้นมา จะกล่าวถึงหลักฐานที่ถือว่าสำคัญมากชิ้นหนึ่ง คือภาชนะทำด้วยดินเผาประดับกระจกโดยตลอด แต่พอมาหน้าสุดท้ายกลับมาเรียกภาชนะนี้ว่าบาตรแก้วมรกต ทำไมจึงไม่ใช้ชื่อนี้ตั้งแต่ต้น ถือว่าเป็นการเขียนที่ไม่สุจริต เป็นการโน้มน้าวข้อมูลในสิ่งที่อยากให้คนอื่นเชื่อ โดยไม่มีการกล่าวถึงที่มาของบาตร ว่ามาได้อย่างไร ทำไมถึงต้องเป็นบาตรมรกต เพราะจะทำให้คนเข้าใจได้ว่า บาตรนี้เกี่ยวข้องกับเจ้านาย

นักโบราณคดีเชียวชาญ กล่าวต่อว่า ข้อมูลที่น่าสนใจคือ รายงานฉบับนี้นักโบราณคดีทั่วโลก ไม่ถือเป็นรายงานทางโบราณคดี เพราะไม่มีการอ้างอิงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น ไม่บอกกำหนดอ้างอิง ไม่บอกพิกัดที่ตั้ง ไม่บอกลักษณะการขุด เป็นต้น นอกจากนี้ เอกชนกลุ่มนี้ยังมีรายงานถึงการอ้างอิงเอกสารว่า เอกสารที่เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพรนั้น มาจากเอกสารโบราณพม่า ชื่อพาราไบเก ซึ่งเอกสารดังกล่าวถูกเก็บรักษาที่ห้องสมุดลอนดอน ชิ้นที่ 99/288 บันทึกถึงที่ตั้งพระสถูป

“ผมขอยืนยันว่า ข้อความนี้ไม่มีบรรจุไว้ในเอกสารพาราไบเก ไม่มีระบุขนาดนั้น แต่ถ้ามี ก็เป็นเอกสารอื่น ซึ่งรายงานนี้ไม่เคยอ้างอิงถึงเอกสารอื่นเลย จึงทำให้ข้อมูลที่กลุ่มขุดค้นส่งมาให้ ไม่มีความน่าเชื่อถือ ในเมื่อหลักฐานยังไม่มีความชัดเจน จึงไม่อยากให้ด่วนสรุปจนทำให้เกิดความเชื่อว่า เป็นพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์แห่งอยุธยา และทำให้คนไทยหรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ต้องมาเคารพสักการะโดยที่ยังไม่รู้แน่ชัดว่าเป็นอัฐิของใคร” นายนิติ กล่า


ไม่มีความคิดเห็น: