PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พญ.กมลพรรณ : รัฐประหาร และทุนพลังงาน กับสมบัติแผ่นดิน

 รัฐประหาร  และทุนพลังงาน กับสมบัติแผ่นดิน    ๒๕ ตค ๕๗
          มหากาพย์  การแปรรูปและการฮุบสมบัติชาติโดยใช้ทหาร  และรัฐประหารเป็นเครื่องมือสนองกลุ่มทุน   กลุ่มอำนาจ เก่า+ใหม่   หรือไม่  
          ตัวละคร ใครเป็นใครดูเอาคะ   แต่ประชาชน  ประเทศชาติเจ๊ง ลูกเดียว
         ปฏิวัติทีไร เร่งรีบเสียหายแก่ประชาชน ตั้งแต่การโอน โรงไฟฟ้าระยอง  ขนอม     ท่อก๊าซ  และสัมปทานครั้งที่ ๒๐   ครั้งที่ ๒๑                  มีตัวละครที่เกี่ยวข้องได้แก่
   ขายโรงไฟฟ้า ระยองและขนอม  
เริ่มตัวละคร ตั้งแต่  ๖ สค  ๒๕๓๔  สมัย อานันท์ ปันยารชุน และ ปิยสวัสดิ์​  อัมระนันท์     
รัฐบาลจากการปฏิวัติ    คณะรัฐมนตรี  รัฐบาล อานันท์​ ปันยารชุน       .. ๒๕๓๕        รัฐบาล แต่งตั้ง จากการปฏิวัติ  )  (http://www.eppo.go.th/nepc/NEPC-PRVT-EGAT.html)
 มี นาย ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์​       ๒๕๓๕ ๒๕๓๗   เป็นรองเลขาธิการ  และ เป็นเลขาธิการสำนักงาน คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ  (วันที่ ๒๕๓๗-๒๕๔๓ )   
 ผลงาน   มติ ครม  เมื่อ ๖สค ๒๕๓๔      (อานันท์ ​ปันยารชุน  )     ให้มีการระดมทุน บริษัทผลิตไฟฟ้า ของกฟผ  ( ระยอง และขนอม ) .  ผ่านตลาดหลักทรัพย์​  ( แปรรูปโรงไฟฟ้า) ร่วมกับรัฐบาลชวน หลีกภัย
 มติ กพช. ซึ่ง ครม.   ๑๒   กย  ๒๕๓๗   และ   ๓๑พค ๒๕๓๗    รัฐบาล  ปชป.     เห็นชอบในหลักการการดำเนิน งานตามแผนงานและแนวทาง  จัดตั้งบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (บผฟ.=EGCO ) เพื่อรับซื้อโรงไฟฟ้าระยอง และให้กระจายหุ้นเข้า ตลาดหลักทรัพย์ฯ
 และ  บผฟ.  (EGCO )   รับซื้อโรงไฟฟ้าขนอมทั้งหมด           เตรียมการ  เปลี่ยนแปลง กฟผ. กฟน. และ กฟภ. เป็นบริษัทจำกัด โดยการแก้ไข พรบ. ของทั้ง ๓ หน่วยงาน    ถูกตีตกไป  โดยศาลปกครองสูงสุด 
วันที่  ๒๓ มีค ๒๕๓๗    นาย สมหมาย ภาษี    นายศิรินทร์  นิมมานาเหมินท์ กับพวก จดทะเบียน เป็นบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด  (ต่อมาคือ  EGCO )  รองรับ โรงไฟฟ้า ระยอง     เลขทะเบียน เลขที่  ๐๑๐๗๕๓๗๐๐๐๘๖๖     ต่อมาก็มีนายพรชัย รุจิประภา  เป็นประธานกรรมการบริษัท   (  http://www.egco.com/th/ corporate_gove rnance_message_chairman.asp  )
ปี ๒๕๓๘​      .กฟผ. ได้ดำเนินการ จัดตั้งบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (บผฟมีการถ่ายโอนทรัพย์สิน ของการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย  (โรงงานไฟฟ้า ระยอง  ขนอม  ) ให้บริษัทผลิตกระแส ไฟฟ้าจำกัด  EGCO จำกัด ( เอกชน)    ในสมัยที่ นาย ปิยสวัสดิ์  อัมระนันท์ เป็น เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ   ตามหนังสือ ที่นร (กพช๐๙๐๑/๑๓๑๔​ ลงวันที่ ๑๙ เดือน สิงหาคม ๒๕๓๗   เรื่องมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ   ลงวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๓๗  ข้อ ๕ สัญญาจะซื้อ จะขาย ทรัพย์สิน และสัญญาซื้อขายไฟฟ้า    ที่อนุมัติให้กฟผ.ขาย โอนโรงงานไฟฟ้าระยอง ให้บริษัทผลิต ไฟฟ้าจำกัด (​EGCO )  โดยมีนาย สมหมาย  ภาษี  กับพวก ร่วมจดทะเบียนเป็นกรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (บริษัทเอกชน ) รองรับการถ่ายโอน     ตามหนังสือรับรองกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์​   ทะเบียน เลขที่    ๐๑๐๗๕๓๗๐๐๐๘๖๖     ใน วันที่ ๒๓  มีค ๒๕๓๗  ก่อนที่ จะมีมติ  กพช​​ให้ขายโอนบริษัทผลิตไฟฟ้าระยองให้แก่ บริษัทผลิต ไฟฟ้า จำกัด (EGCO )  ที่เป็นของเอกชน     วันที่ ๘ เดือน สิงหาคม ๒๕๓๗
ปี ๒๕๓๘  ขายโรงไฟฟ้า ขนอม    สมัย นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี  มีนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ

   ขายโรงไฟฟ้าราชบุรี   สมัย รัฐบาล ชวน หลีกภัย  (รัฐบาลเลือกตั้ง)
       คณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติมีมติที่ประชุม เมื่อ ๑๓กค  ๒๕๔๓   แต่เตรียมการ มาตั้งแต่สมัยปิยสวัสดิ์เป็นเลขาเมื่อ ปี ๒๕๔๒  ให้ขายทรัพย์สินของโครงการโรงไฟฟ้า ราชบุรี ให้บริษัทผลิต ไฟฟ้าราชบุรีจำกัด จำนวนเงิน ๕๕,๗๗๒.๙๕๐​   ล้านบาท       โดยมีนาย อารีพงศ์  ภู่ชอุ่ม กับพวก ไปจดทะเบียน บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด  ต่อมาคือบริษัทผลิตไฟฟ้า ราชบุรี โฮลดิงค์ จำกัดมหาชน     ที่ปัจจุบัน มี คุรุจิต นาครทรรพ  เป็นประธานกรรมการ บริษัท  และยังเป้น บอร์ดการไฟฟ้าด้วย    มีการเซ็นต์สัญญา โดยให้ กฟผ จ่ายต้นทุน เงินกู้  ดอกเบี้ย และค่าบริหารจัดการ ค่า บำรุงรักษา ค่าเชื้อเพลิงทั้งหมด  แทนบริษัทเอกชน
               การถ่ายโอนทรัพย์สินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย  (โรงงานไฟฟ้าราชบุรี ) ให้บริษัทผลิตไฟฟ้า ราชบุรีจำกัด    ตามหนังสือ ที่นร (กพช) ๐๙๐๔/๑๘๑๓​       เรื่องมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่   ๖/๒๕๔๓​   ลงวันที่  ๑๓  กรกฎาคม ๒๕๔๓   ข้อ ๒    เรื่องแผนระดมทุนจากภาคเอกชนใน โครงการไฟฟ้าราชบุรี  ข้อ ๒.๑   เห็นชอบราคาทรัพย์สินของโครง การโรงไฟฟ้าราชบุรี    ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะขายและโอนให้บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีจำกัด      และมีนาย  อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม   ร่วมจดทะเบียนเป็นบริษัท ผลิตไฟฟ้า ราชบุรีจำกัด (บริษัทเอกชน รองรับการถ่ายโอน    และ เป็นกรรมการในบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี เมื่อวันที่  ๒๐  มีนาคม ๒๕๔๓   ตามหนังสือรับรอง  สำนักงาน ทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวัดราชบุรี     ทะเบียนเลขที่   ๐๑๒๕๕๔๓๐๐ ๒๒๘๘       ก่อนที่ จะมีมติ  กพช.​​ให้ขายโอนโรงไฟฟ้าราชบุรี ให้แก่ บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด  ที่เป็นของเอกชน           ที่มีบอร์ดการไฟฟ้านายคุรุจิต นาครทรรพ ไปนั่งเป็นประธานกรรมการ กลับมีกำไรเพิ่มเช่น บริษัทราชบุรีโฮลดิงค์ มีกำไรโบนัสให้ตนเอง      การที่กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าที่ซื้อขาย แพงกว่าเอกชนรายอื่น และ กำไรของบริษัทผลิต ไฟฟ้าราชบุรี กำไรเพิ่มขึ้น  กรรมการได้โบนัสเพิ่มถือเป็น ผู้ที่มีส่วนได้เสีย และมีผลประโยชน์ทับซ้อนชัดเจน และ บริษัทราชบุรีโฮลดิงค์   ปี ๒๕๕๔​​​​  กำไรสุทธิ ๔๘๔๐.๖๔ ล้านบาท  และปี​๒๕๕๕ กำไร ,๗๒๖.๒๗​ล้านบาท    ซึ่งกำไรเพิ่มขึ้นกว่า ๕๐​%       แต่ค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นตกเป็นภาระ แก่ประชาชน และนายคุรุจิต  นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน  
และอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  เป็นประธานกรรมการบริษัทผลิตไฟฟ้า ราชบุรีโฮลดิงค์      จนปัจจุบัน (http://www.ratch.co.th/about/structure/board     ) เป็นกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเมื่อ พ..​๒๕๕๓ ถึง  ปัจจุบัน
             นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม กินตำแหน่งในขณะถ่ายโอน ปี ๒๕๔๓ คือ เป็น  นักวิชาการคลัง สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง  และ   กรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด  และ กรรมการ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)   http://www.mof.go.th/home/aripong.html http://www.oic.or.th/fund_nonlife/file/เกรียติประวัติคณะกรรมการบริหารกองทุนประกันวินาศภัย.pdf

     มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ  ครั้งที่ ๑/๒๕๔๒      วันพุธที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.. ๒๕๔๒  อนุมัติในหลักการให้กำหนดค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดอายุสัญญา (Levelized Price) ของโรงไฟฟ้าพลังความ ร้อนร่วมราชบุรี และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี โดยเปรียบเทียบกับค่าไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ดังนี้
·          ค่าไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรีจะกำหนดโดยเปรียบเทียบเฉพาะผล รวม ของค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า (Availability Payment : AP) และค่าใช้จ่ายผันแปรใน การผลิตและบำรุงรักษา (Variable Operation & Maintenance : VOM) กับผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนประเภทโรงไฟฟ้าพลังความ ร้อนร่วมที่ ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งผลรวมของ AP และ VOM จะต้องต่ำกว่าค่ากลาง (Median) ของผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนดังกล่าว
·         ค่าไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรีจะกำหนดโดยเปรียบเทียบค่าไฟฟ้ารวม ซึ่งประกอบด้วย ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า (AP) และค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment : EP) กับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนประเภท โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อ เพลิง ซึ่งค่าไฟฟ้ารวม (AP+EP) จะต้องต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (Average) ของผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนดังกล่าว
และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ ทำให้รัฐสูญเสียประโยชน์  ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย ได้ทำสัญญากับ
บริษัทเอกชน ที่ไม่เป็นธรรม  คือ ได้ตกลงจ่ายค่าไฟฟ้า ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement : PPA) ที่ กฟผ. ทำสัญญากับเอกชน รับผิดชอบแทน เอกชนคู่สัญญา แบ่งเป็น ๒ ส่วนด้วยกันคือ                                                                              
              กคือ ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (Availability Payment : AP)  เป็นค่าไฟฟ้าที่ผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนเสนอ สะท้อนมาจากต้นทุนการเงินของโรงไฟฟ้า เช่น เงินลงทุน ดอกเบี้ยเงินกู้     ค่าใช้จ่ายคงที่ในการผลิต เดินเครื่อง  และบำรุงรักษา ค่าอะไหล่ในการบำรุงรักษา  หลัก ค่าประกันภัย   และผลตอบแทนส่วนเงินลง ทุนของผู้ถือหุ้น   ค่าใช้จ่ายในการบริหาร  และต้องรับ ผิดชอบต่อการ จ่ายคืน เงินกู้และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมีการเดินเครื่อง โรงไฟฟ้าหรือไม่ก็ตาม                                                                                               
                ขค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment : EP) ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment : EP) เป็นค่าไฟฟ้า ที่ที่ผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนเสนอ สะท้อนมาจากค่าใช้จ่ายผันแปรในการผลิตและบำรุงรักษา โดยจะเปลี่ยนแปลง ตาม ราคาเชื้อเพลิงและปัจจัยอื่นๆ ตามสัญญาฯ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการผลิต                                                     
                      สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ.   กฟผ.จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าต้นทุนราคาเชื้อเพลิง  เช่นบริษัทผลิต
ไฟฟ้าราชบุรี   จำกัด ( ทำสัญญาเมื่อ ๙ ตุลาคม พ.. ๒๕๔๓และบริษัทผลิตไฟฟ้าอื่นๆ   
                   ดังนั้น เอกชนผู้ผลิตไฟฟ้าจึงไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ แต่ กฟผ รับผิดชอบหมด   ทั้งเงินลงทุน ค่าจ้างผู้ บริหาร ค่าเงินเดือน ค่าเชื้อเพลิง รับอย่างเดียวคือกำไร เช่น สัญญาที่รัฐสูญเสียผลประโยชน์ แต่ เอกชนได้ ประโยชน์โดย นายพรชัย รุจิประภา และนายคุรุจิต นาครทรรพ เป็นผู้มีส่วนได้เสีย และล่วงรู้ ข้อมูลภายใน และจัดทำร่างสัญญา ที่เอกชนได้ประโยชน์ทั้งหมด   แต่รัฐเสียหาย                ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่รักษาผลประโยชน์ชาติ
๔เตรียมการแยกท่อก๊าซ    http://www.eppo.go.th/nepc/kpc/kpc-067.htm#8   ในการประชุม คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ     วันพุธที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.. ๒๕๔๒      มีนายแผนระดมทุน จากภาค เอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี  มีนายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
และเห็นชอบ  . โครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติตามแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ได้กำหนดให้มีการแยก ระบบท่อส่ง ท่อจำหน่าย (Transportation & Distribution Pipelines) และการจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ (Gas Traders) ออกจากกันโดยการจัดตั้งบริษัทที่ดำเนินการด้านท่อส่งก๊าซฯออกต่างหาก
   รัฐบาลมาจากปฏิวัติ      การแก้ไข กฎหมาย พรบ ปิโตรเลี่ยม พศ ๒๕๑๔  แก้ไข พศ  ปี ๒๕๕๐​    รัฐบาลสุรยุทธ จุลานนท์​  นาย ปิยสวัสดิ  อัมระนันท์​  เป็น รมต พลังงาน    ให้อธิบดี    รมต  ปลัดมีอำนาจมากขึ้น

      ๖  รัฐบาลมาจากปฏิวัติ   สมัยรัฐบาลสุรยุทธ ที่มีนาย ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็น รมว.พลังงาน ได้มีการต่อสัญญาสัมปทาน  ให้กับบริษัท เชฟรอน แปลงสัมปทาน เป็นเวลา ๑๐ ปี  ทั้งที่ยังเหลือ อายุสัญญาอีก ๑๐ ปี และก็พบว่าเป็นแหล่งที่มีการต่อสัญญาที่ใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ชาติไทย   มูลค่า ๑.๓  ล้านล้านบาท
แปลง  ของ ปตท.สผ. มูลค่าปิโตรเลียมต่อปี คือ ประมาณ ๑ แสนล้านเศษ ๑๐ ปี จะได้ ๑.๒ ล้านล้านบาท ผลตอบแทน   ได้ผลตอบแทนจากการต่ออายุ   ๒๓,๒๕๐​​  ล้านบาท คิดเป็น ๑.๗๙   ของมูลค่าปิโตรเลียม ต่อสัญญาทั้งที่เหลือเวลาสัมปทานอีก ๑๐ ปี ให้เอกชน ๒ บริษัทฟาดรายได้ ๒.๕  ล้านล้าน แต่รัฐได้แค่๑ เปอร์เซนต์ !!!  อ้างอิง  http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000032407
 
             รัฐบาลมาจากปฏิวัติ    รัฐบาลสุรยุทธ และปิยสวัสดิ์​ ให้สัมปทานบริษัทต่างๆในครั้งที่๒๐    จำนวน แปลงสัมปทาน  ๓๐ แปลง    มากที่สุดในทุกรัฐบาล  ทั้งๆที่อยู่ในวาระเพีบง  ปีเศษ   อ้างอิงรายงานกรมเชือ้เพลิง ธรรมชาติ ปี ๒๕๕๔

         ๘  รัฐบาลมาจากปฏิวัติ   นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทร์​ รมต พลังงาน  ในสมัย พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์  ได้แก้ไขพรบ ปิโตรเลี่ยม  พศ ๒๕๕๐      http://law.dmf.go.th/detail.php?lan=th&itm_no=I377515290 (มาตรา ๓ แก้ไข มาตรา ๑๕ คณะกรรมการปิโตรเลี่ยม  ) มีปลัดกระทรวงพลังงาน ตอนนี้คือ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม  เป็นประธาน อธิบดีกรมเชือ้เพลิงคือนายคุรุจิต นาครทรรพ เป็นเลขา        ผอ สนพ. คือนายชวลิต เป็นกรรมการ    มีอำนาจกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ ในราชอาณาจักร   (นอกราชอาณาจักรทำไม่ได้เพราะขายไม่ออก ถ้าขายแพงกว่าคนอื่น ) จึงเป็นที่มาของราคาก๊าซธรรมชาติ จากปากหลุมทำไมถึงแพงกว่าตลาดอเมริกา สามเท่า ส่งผลให้ก๊าซ LPG แพงขึ้น
มาตรา ๒๒     อำนาจการให้สัมปทานเป็นของรมต พลังงาน      
มาตรา ๒๘   ขยายพื้นที่ให้สัมปทาน ไม่จำกัด จำนวนแปลง   มาตรา ๙๙ สามารถลดหย่อนค่าภาคหลวงได้ ไม่เกิน 90%   จากเดิมลดได้ไม่เกิน ๓0 % )  ให้เอื้อแก่เอกชน และให้อำนาจ รมต พลังงาน สามารถ ให้สัมปทาน  ลดค่าสัมปทาน     แก่เอกชน ได้ โดยไม่ผ่านความเห็นหรือการมี ส่วนร่วม ของประชาชน       หรือการแบ่ง ประโยชน์ อย่างเป็นธรรม ตาม กติกาสากลว่าด้วยสิทธิของประชาชน สิทธิชุมชน
 
   (   รัฐบาลมาจากปฏิวัติ  ปี ๒๕๕๐​  สุรยุทธ​ จุลานนท์​  มหาวิทยาลัย  ออกนอนกระบบ ตกเป็นการบริหาร ของสภามหาลัย ๗แห่ง  เงินเดือน อธิการบดีเพิ่มสามเท่า )

    รัฐบาลมาจากปฏิวัติ  ปี ๒๕๕๗​  นาย ปิยสวัสดิ​เป็น ประธาน บอร์ด ปตท   เสนอให้แยกท่อก๊าซ  ให้เป็นบริษัทเอกชน       อนุมัติ โดย  จาก กพช มีพลเอก ประยุทธ เป็นประธาน กพช เสนอโดยประจินต์ จั่นตอง
   ๑๐  รัฐบาลมาจากปฏิวัติ การให้สัมปทาน ครั้งที่ ๒๑   รัฐบาลมาจากปฏิวัติ   ประยุทธ์ จันทรโอชา
          อำนาจการให้สัมปทาน อยู่ในมือของรมต พลังงาน โดยความเห็นชอบเสนอแนะจาก คณะกรรมการปิโตรเลี่ยม ตามพรบ ปิโตรเลี่ยม พศ ๒๕๑๔ ที่ปิยสวัสดิ์ และรัฐบาลสมัยนั้น ​แก้ไข พศ​๒๕๕๐   
"มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการปิโตรเลียม" ประกอบด้วยปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานกรรมการ   ผู้อำนวยการสำนักงาน นโยบายและแผนพลังงาน    ฯ   เป็นกรรมการ        ให้อธิบดีกรมเชื้อเพลิง เป็นกรรมการและเลขานุการ  
        
มาตรา ๑๖ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
     (
) ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีตามมาตรา ๒๒   การให้สัมปทาน
     (
) ให้ความเห็นชอบแก่อธิบดีตามมาตรา ๒๒/๑  อธิบดี ขยายอายุสัมปทาน ตามมาตรา ๒๗
     (
) ทำความตกลงราคาขายก๊าซธรรมชาติในราชอาณาจักรตามมาตรา ๕๘

     
 
  ข้อสังเกตุผู้เกี่ยวข้อง
  รัฐบาลมาจากปฏิวัติ  ปี ๒๕๓๕
   ​ ปิยสวัสดิ์  ร่วมกับ อานันต์ ปันยารชุน เริ่มวางแผน แปรรูปการไฟฟ้า ระยอง ขนอม  ​
      ( 
ปิยสวัสดิ์ ร่วมกับชวน หลีกภัย รัฐบาลจากการเลือกตั้ง    ปี ๔๓ แปรรูป ไฟฟ้าราชบุรี    )
    รัฐบาลมาจากปฏิวัติ  ปี ๒๕๔๙-๒๕๕๐​​  ปิยสวัสดิ์ ร่วม  แจกสัมปทานครั้งที่ ๒๐   มากที่สุดในทุก รัฐบาล ๓๐ แปลง  ปี ๒๕๕๐​และแก้ไขพรบ. ปิโตรเลี่ยมให้ ข้าราชการมีอำนาจมากขึ้น ปลัดพลังงาน  อธิบดีกรม เชือ้เพลิง 
    
ปิยสวัสดิ์  ​เริ่มเข้ามาในปตท. โดยขอแยกท่อก๊าซเป็นบริษัทซึ่งเคยเตรียม การตั้งแต่สมัยชวน หลีกภัย ปี ๒๕๔๒   มาเสร็จในสมัยรัฐบาลประยุทธ​รัฐบาลจากรัฐประหารที่จะมา ทำความ สะอาด  คืนความสุขให้ประชาชน
            รัฐบาลมาจากปฏิวัติ   กลุ่มเครือข่ายทุนพลังงาน  ร่วม  กับ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา     จะแจก สัมปทาน ครั้งที่ ๒๑  จำนวน ๒๙ แปลง โดยเชื่อวลีที่อ้างว่าก๊าซ-น้ำมันจะหมดไป    ทุกคนก็เชื่อ โดยไร้หลักฐานใดๆ  และเป็นสิ่งที่ประชาชน นับล้านออกมา ประท้วงเรียกร้องแหล่งพลังงานให้คนไทย ในรูปของกปปส . เพื่อให้เป็นรัฐ สวัสดิการให้ประชาชนทั้งชาติ  แต่พลเอกประยุทธ ยังเดินหน้า  ด้วยวาทะกรรมของ กลุ่มทุนพลังงาน ว่า น้ำมันและก๊าซจะหมดไป

        พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา แต่งตั้ง นายคุรุจิต นาครทรรพ เป็นอธิบดีกรมเชือ้เพลิง ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมผู้ที่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับ การให้สัมปทาน  การขยายอายุสัมปทาน    ซึ่งมีส่วนได้เสีย เป็นประธานบริษัท ไฟฟ้าราชบุรี  โฮลดิงค์  จำกัด ซึ่งเคยแปรรูปมาสมัย ปิยสวัสดิ์​และชวน หลีกภัย
    
พลเอกประยุทธ แต่งตั้ง อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม  เป็น ปลัดกระทรวงพลังงาน  ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ ปิโตรเลี่ยมผู้เกี่ยวข้องในการอนุมัติสัมปทานครั้งที่ ๒๑   และการกำหนดราคาก๊าซ ธรรมชาติใน ราชอาณาจักร และมีส่วนเกี่ยวข้องในการแปรรูปไฟฟ้า ราชบุรี โดยเป็นผู้ ร่วมจดทะเบียนเป็นบริษัท ผลิตไฟฟ้า ราชบุรีจำกัด (บริษัทเอกชน รองรับการถ่ายโอน  ต่อมามีนายคุรุจิต นาครทรรพเป็นประธาน บริษัทจนปัจจุบัน รวมทั้งยังเป็นคณะกรรมการการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย    
           พลเอกประยุทธ แต่งตั้ง คุณปิยสวัสดิ์ อัมระนั้นท์  ​เป็นบอร์ดปตท   ที่เร่งจัดแยกท่อก๊าซ เป็นบริษัททันที   ทั้งที่มีการทักท้วงของประชาชนว่ายังคืนไม่ครบ
    
       พลเอกประยุทธแต่งตั้ง  นาย ณรงค์ชัย อัครเศรษณี  อดีต กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน กลุ่มเดียวกับ ปิยสวัสดิ์​   เป็น รมต พลังงาน
           พลเอกประยุทธแต่งตั้ง  นายพรชัย  รุจิประภา เป็น ประธานกรรมการบริษัทผลิตไฟฟ้า EGCO ที่ถูกแปรรูปไปสมัย ชวน หลีกภัย  และยังป็นประธานบอร์ดการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อีกตำแหน่งหนึ่ง       และ และถูกแต่งตั้งเป็น รมต กระทรวง ICT ในรัฐบาลประยุทธ
ไล่ปิดเวบไซด์​ข้อมูลพลังงานของประชาชนไม่ค่อยปิดเวบหมิ่น

              คนดีๆไม่มีให้ใช้หรือในแผ่นดินไทย ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำพลเรือนชนะ เลือกตั้งผู้นำทหาร แล้วมาเลือก ครม โดยตรวจสอบประวัติ เกี่ยวโยงกับคอรัปชั่นทุกคน แล้วปลดออกถึง๗-๘ คน  แต่พลเอกประยุทธ  แต่งตั้ง ทั้งๆที่ประชาชน ทักท้วง ให้แต่งตั้งคนดี ไม่ให้ตั้งคนเคยมีประวัติไม่ดี กลับเดินหน้าตั้งหน้าตาเฉย   แถมยังเชื่อถือ วลีต่างๆที่พากันโฆษณษา ชวนเชื่อประชาชน

            ผลประโยชนฺ์ทับซ้อนหรือไม่   คนเสือ้เหลือง   คน กปปส.   คนอโศก  ทหารหาญ   คนดีๆของสังคมทั้งหลาย   สื่อมวลชน   แกนนำที่ออกมาเชิญชวนประชาชนออกมาร่วมกันสู้บาดเจ็บล้มตายไปหลายคน  อยู่ไหน  ช่วยออกมา  ช่วยด้วย    ช่วยกันพิจารณาว่าถูกต้องแล้วหรือไม่   ที่ควรจะมีคนเหล่านี้ในรัฐบาลประยุทธ จันทร์โอชา  ที่บอกว่าจะมากวาดล้างทำความสะอาด     (ดูแล้วจะทำความสกปรกมากขึ้น    ) จะคืนความสุขหรือ ความทุกข์ให้ ประชาชน      
             

             ตกลงที่ออกมาปฏิวัติกันนี้  จะทำเพื่อจะฮุบสมบัติขอแผ่นดินหรือไม่    หรือต้องการกวาด ล้างทำความ สะอาดประเทศ   ดูต่อไป   กฎหมายเลือกตั้ง   การศึกษา    การแก้ไขคอรัปชั่น องค์กรอิสระที่มีปัญหา ไร้ประสิทธิภาพ    รัฐธรรมนูญจะออกมาแบบไหน  

สงสารประชาชนไหม
สงสารประเทศไหม
สงสารในหลวงไหม
ประชาชนเดือดร้อนแตกแยกนะ ท่านพี่ประยุทธ
            พร้อมหรือยังคนดีๆของสังคมไทยที่จะกวาดล้างทำความสะอาดจริงๆไม่ใช่เพียงวลีที่พ่นออกมา
เท่านั้น    
เคารพทุกๆคนที่รักบ้านเมือง
พท.พญ.กมลพรรณ   ชีวพันธ์ศรี   ๒๕  ตค ๒๕๕๗​  thai9lee@gmail.com










 








  

ไม่มีความคิดเห็น: