PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เบื้องหลัง "สุวณา สุวรรณจูฑะ" ทำไมถึงคว้าเก้าอี้อธิบดีดีเอสไอ "ร่วมงานใกล้ชิด คสช.- สามีสนิทนายกรัฐมนตรี

เบื้องหลัง "สุวณา สุวรรณจูฑะ" ทำไมถึงคว้าเก้าอี้อธิบดีดีเอสไอ "ร่วมงานใกล้ชิด คสช.- สามีสนิทนายกรัฐมนตรี - ลดกระแสคนในต่อต้านคนนอก ทีมา "สุวณา"คว้าเก้าอีอธิบดี "ดีเอสไอ"

ถึงวันนี้คงไม่มีใครเถียง ดีเอสไอวันนี้ตกต่ำที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งมา และเป็นการตกต่ำในยุคของรัฐบาล "น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรี มีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ นั่งเป็นอธิบดี เนื่องสังคมมองเห็นตรงกันนว่า นายธาริต ใช้อำนาจของดีเอสไอ ไปรับใช้รัฐบาลมากกว่าที่จะอำนวยความยุติธรรมาให้กับประชาชน

จึงไม่แปลกที่หลังจากการเข้ามายึดอำนาจของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) อธิบดีดีเอสไอจึงโดนเด้งในลำดับแรกๆ และแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ไปรับผิดชอบแทน แต่ก็ทำหน้าที่ได้ในระยะเวลาไม่นาน เมื่อถึงฤดูการโยกย้ายใหญ่ประจำปี 2557 พล.ต.อ.ชัชวาลย์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม แม้ว่าก่อนหน้าจะมีการแต่งตั้งจะเกิดกระแสต่อต้านคนนอกดันคนในที่เป็นลูกหม้อยุติธรรมขึ้นมาก็ตาม

หลังจากนั้น กระแสต่อต้านบุคคลภายนอกที่จะข้ามห้วยมาเป็นอธิบดีดีเอศไอก็แรงเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากหน่วยงานดังกล่าวสังกัดกระทรวงยุติธรรม แต่ที่ผ่านมาคนในหรือลูกหม้อเองน้อยนักจะได้ไปนั่ง ส่วนใหญ่ที่มานั่งจะเป็นตำรวจเสียมากกว่า เมื่อเกิดแรงกระเพื่อมมาก พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รวม.ยุติธรรมจำเป็นต้องลดกระแสลดแรงกระเพื่อมดังกล่าวลง นี่คือปฐมบทของโอกาสที่เกิดขึ้นกับ "สุวณา" ซึ่งนั่งเป็นรองปลัดกระทรวงอยู่ในเวลานั้น

วันที่ 15 ตุลาคม 2557 พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม เซ็นคำสั่งส่ง นางสุวณา สุวรรณจูฑะ ไปรักษาการในตำแหน่งอธิบดีดีเอสไอจึงคลอดออกมา แต่กระนั้นกระแสคลื่นก็ยังหาสงบลงไปไม่ เพราะข่าววงในยังสะพัดอยู่ว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะผลักดัน พล.ต.ท.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา รักษาราชการแทนผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาเป็นอธิบดีดีเอสไอ 

ในที่สุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมารายชื่ออธิบดีดีเอสไอจึงได้ข้อยุติ กระทรวงยุติธรรมเสนอให้ย้ายนางสุวณา สุวรรณจูฑะ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งก่อนหน้านี้มีคำสั่งให้ไปรักษาราชการแทนอธิบดีดีเอสไอ ขึ้นเป็นอธิบดีดีเอสไอเต็มตัว

สำหรับนางสุวณาแม้จะไม่ได้เป็นนักกฎหมาย เพราะจบการศึกษาคณะบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่มีบทบาทเข้าไปร่วมงานกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มาตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ นายก่อพงศ์ สุวรรณจูฑะ สามีของนางสุวณา เป็นผู้พิพากษาอาวุโส ก็ทำงานใกล้ชิดกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และก่อนหน้านี้ ได้รับการแต่งตั้งจาก คสช.ให้เป็นกรรมสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นเหตุผลให้นางสุวณาได้รับการสนับสนุนให้ขยับมาคุมงานดีเอสไอ และเพื่อลดกระแสต้านจากคนในที่ไม่ต้องการให้โอนตำรวจมาเป็นอธิบดีดีเอสไอ

นางสุวณา สุวรรณจูฑะ จึงเป็นอธิบดีดีเอสไอที่เป็นผู้หญิงคนแรก. โดยนางสุวณา เกิดเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2498 ปัจจุบันอายุ 58 ปี จบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เมื่อปี 2521 สมรสกับนายก่อพงศ์ สุวรรณจูฑะ มีบุตรชาย 3 คน โดยประวัติรับราชการตั้งแต่ปี 2522 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน 3 สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม จากนั้นอีก 10 ปี ในปี 2533 รับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการเงิน กองคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ปี 2538 เป็นผอ.กองคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ปี 2544 เป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวงยุติธรรม และปี 2545 ได้ขึ้นเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จากนั้นได้เลื่อนเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม

ประวัติโดยละเอียด
ชื่อ นางสุวณา สุวรรณจูฑะ วัน เดือน ปีเกิด 26 พฤศจิกายน 2498 อายุ 58 ปี สถานภาพ สมรส ชื่อคู่สมรส นายก่อพงศ์ สุวรรณจูฑะ
จำนวนบุตร ชาย 3 คน ที่อยู่ 11/4 ซอย 15 หมู่บ้านมัณฑนา ตำบล ปลายบาง อำเภอ บางกรวย จังหวัด นนทบุรี 11130
การศึกษา : พ.ศ. 2521 บัญชีบัญฑิต : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2547 รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การฝึกอบรม : พ.ศ. 2527 - หลักสูตร “เสริมสร้างประสิทธิภาพข้าราชการ” รุ่นที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2528 - หลักสูตร “ผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการ” รุ่นที่ 6 กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2532 - หลักสูตร “เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินการบัญชี” รุ่นที่ 11 กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2532 - หลักสูตร “การเงินสำหรับผู้บริหาร” รุ่นที่ 3 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2537 - หลักสูตร “เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับผู้บริหาร” รุ่นที่ 1 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2543 - หลักสูตร “การบริหารสำหรับนักบริหารระดับกลาง” รุ่นที่ 15 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. 2543 - หลักสูตร “ การวางแผนครบวงจร” รุ่นที่ 12 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2543 - หลักสูตร “การพัฒนาภาวะผู้นำของสตรีในภาครัฐ” รุ่นที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2543 - หลักสูตร “เทคนิคการนำประชุม” รุ่นที่ 27 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 17:49 mod_thaipost -2- พ.ศ. 2544 - หลักสูตร “ โครงการอบรมทักษะการสื่อสารด้านการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ” (Oral Communication Skills) สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2544 - หลักสูตร “ประกาศนียบัตรกฎหมายปกครอง” รุ่นที่ 2 สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
พ.ศ. 2544 - หลักสูตร “การปฏิบัติการจิตวิทยาฝ่ายอำนวยการ” รุ่นที่ 89 สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
พ.ศ. 2545 - หลักสูตร “การเงินการคลังยุคใหม่กรุงไทยร่วมรัฐพัฒนา” ธนาคารกรุงไทย จำกัด พ.ศ. 2545 - หลักสูตร “นักบริหารระดับสูงหลักสูตรที่ 1” รุ่นที่ 36 สำนักงาน ก.พ. พ.ศ. 2546 - หลักสูตร “ เกษตรมินิ M.B.A” รุ่นที่ 30 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2547 - หลักสูตร “ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.)” รุ่นที่ 8 สำนักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2548 - หลักสูตร “วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ว.ป.อ.)” รุ่นที่ 48 สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
พ.ศ. 2551 - หลักสูตร “การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จ” รุ่นที่ 4 มหาวิทยาธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2551 - หลักสูตร “การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง” รุ่นที่ 12 สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2554 - หลักสูตร “วิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 1 สำนักงาน คปภ. พ.ศ. 2556 - หลักสูตร “วิทยาลัยตลาดทุน” วตท. รุ่น 16 พ.ศ. 2556 -หลักสูตร “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (รอส.) รุ่นที่ 1
การศึกษาดูงานและประชุมต่างประเทศ : - ศึกษาดูงานศาลและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ณ ประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา สวีเดน ฝรั่งเศส ฮ่องกง เดนมาร์ก เกาหลี เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย สเปน โปรตุเกส เบลเยี่ยม
ประวัติการรับราชการ เริ่มรับราชการในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน 3 สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2533 - หัวหน้าฝ่ายการเงิน กองคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2538 - ผู้อำนวยการกองคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2544 - ผู้ช่วยปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2545 - ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม (ระดับ 9) พ.ศ. 2545 - รักษาการรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (อีกหน้าที่หนึ่ง) พ.ศ. 2547 - ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม (ระดับ 10)
พ.ศ. 2547 - ที่ปรึกษาอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (อีกหน้าที่หนึ่ง) พ.ศ. 2549 - คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พ.ศ. 2554 - คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงยุติธรรม - ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองปลัดกระทรวงยุติธรรม หัวหน้ากลุ่มภารกิจ ด้านบริหารความยุติธรรม (กำกับดูแลกรมบังคับคดี และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) พ.ศ. 2555 - ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองปลัดกระทรวงยุติธรรม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้าน อำนวยความยุติธรรม (กำกับดูแลกรมสอบสวนคดีพิเศษ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : พ.ศ. 2527 - จตุรถาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. 2529 - ตริตาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ. 2534 - ตริตาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2536 - ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ. 2540 - ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. 2544 - ประถมาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ. 2547 - ประถมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. 2550 - มหาวชิรมงกุฎ พ.ศ. 2555 - มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
เกียรติประวัติ : พ.ศ. 2519 – 2520 - ได้รับพระราชทานทุนภูมิพล คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2541 - สตรีตัวอย่างแห่งปี สาขาการเงินและการคลัง มูลนิธิเพื่อสังคมไทยและหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น: