PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ธีระชัย:กรณี ปลัดกระทรวงพลังงานแถลงข่าวโต้ คปพ

วันนี้ ปลัดกระทรวงพลังงานแถลงข่าวโต้ คปพ.
ปลัดอธิบายประเด็น และผมขอให้ข้อมูลตอบกลับ ดังต่อไปนี้
1 ปลัดว่า ร่างกฎหมายนี้ ไม่เกี่ยวกับแปลงสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุในปี 2565-2566
ผมตอบว่า ตามข้อความที่ผมอ่าน ร่างกฎหมายสามารถใช้กับกรณีแปลงที่กำลังจะหมดอายุได้
เพราะไม่มีข้อความห้ามไว้แต่อย่างใด
ถ้าปลัดยืนยันเจตนาดังกล่าว ก็ควรระบุให้ชัดเจนในกฎหมาย
แต่ตามร่างที่เสนอ ครม. ไม่เห็นมีข้อห้าม
2 ปลัดว่า อำนาจในการคัดเลือกเอกชน เป็นของ ครม. จึงไม่สามารถใช้ดุลพินิจส่วนบุคคลได้
ผมตอบว่า ข้ออ้างนี้น่าจะไม่ถูกต้อง
การที่มีคณะบุคคล ที่ประชุมกันในการคัดเลือกเอกชน ถ้าหากมีขั้นตอนการที่คณะบุคคลดังกล่าว ต้องให้คะแนนเอกชนแต่ละราย
การให้คะแนนเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจส่วนบุคคล ในคณะกรรมการดังกล่าว
การไม่ใช้ดุลพินิจส่วนบุคคล คือเฉพาะกรณีมีการประมูล แบบเปิดเผยโปร่งใส ที่แข่งขันกันในปัจจัยเดียวกัน
และเป็นปัจจัยที่เปรียบเทียบระหว่างเอกชนได้โดยง่าย และมีขั้นตอนดำเนินการ ที่ประชาชนสามารถเฝ้าดู ติดตาม ตรวจสอบ ได้เต็มที่
ทั้งนี้ การที่ ครม. เป็นผู้เห็นชอบตามที่ รมว พลังงานเสนอนั้น ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะไม่สามารถมีการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง
เพราะข้อมูลท่ีผมสืบค้นในอดีตนั้น
มีกรณีที่รัฐบาล เคยมีการให้พื้นที่สัมปทานแก่ 3 บริษัท
3 บริษัทที่ไม่มีทุนพอ ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีผลงาน ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมาก่อน
3 บริษัทที่ได้พื้นที่ไปกว้างขวางถึง 31,000 ตารางกิโลเมตร
3 บริษัทที่ภายหลังได้พื้นที่ดังกล่าวเพียง 6-7 เดือน ก็โอน 60% ของพื้นที่ไปให้แก่บริษัทปิโตรเลียมที่สำรวจและผลิตจริง ซึ่งเป็นของประเทศตะวันออกกลางประเทศหนึ่ง
3 บริษัทที่โอนพื้นที่ไปให้แก่บริษัทอื่น มากถึงเกือบ 20,000 ตารางกิโลเมตร
3 บริษัทที่ผมตั้งข้อสงสัยว่า เป็นขบวนการจับเสือมือเปล่าหรือไม่
กรณี 3 บริษัทนี้ ก็ใช้ระบบการพิจารณาคัดเลือกแบบนี้แหละ โดยมีการเสนอให้ ครม. ขณะนั้นอนุมัติด้วย
ดังนั้น การร่างกฎหมาย โดยกำหนดให้อำนาจเป็นของ ครม. ก็ปรากฏตัวอย่างในอดีต ว่าไม่สามารถป้องปรามการทำงานที่ไม่ชอบมาพากลได้แต่อย่างใด
3 ปลัดว่า ทั้งสองทางเลือกไม่สามารถเจรจาโดยไม่เปิดเผยได้
ข้อนี้ปลัดคงหมายความว่า การให้สัมปทานนั้น ไม่สามารถเจรจาโดยไม่เปิดเผยได้
ข้อนี้ผมงง เพราะคำว่าเจรจา เป็นขบวนการทำงานที่แตกต่างกับการประมูลโปร่งใส แบบขาวกับดำ
คำว่าเจรจา ย่อมหมายถึงการพูดคุย โอ้โลมปฏิโลม ต่อรอง
ผมไม่เคยเห็นว่ามีการเจรจาสัมปทาน ที่ทำต่อหน้ากล้องทีวี ที่มีสื่อมวลชนร่วมฟัง
อย่าว่าแต่การเจรจาเลยครับ ที่ผ่านมา เคยมีการเปิดเผยสัญญาสัมปทานต่อประชาชนหรือไม่
เคยมีการเปิดเผยเงื่อนไขที่เอกชนเสนอครั้งแรก หรือไม่
เคยมีการเปิดเผยเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไปจากครั้งแรก หรือไม่
ส่วนระบบแบ่งปันผลผลิต ควรจะใช้วิธีประมูลแข่งขัน ใครเสนอแบ่งรัฐสูงสุด ให้ชนะ
ทำไมจะไม่ใช้วิธีประมูลโปร่งใสล่ะครับ
รังเกียจวิธีนี้หรือเปล่า เพราะเหตุใด
ประชาชนเขาสงสัยครับ มีระเบียบวาระซ่อนเร้นใดหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น: