PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

ว่าด้วย นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งที่ 3

Vachara Riddhagni 
วันนี้ฟังข่าวแล้วเศร้าใจ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งที่ 3 ของรัฐบาลเพื่อหวังให้คนไทยมีอำนาจการซื้อมากขึ้น ด้วยแนวคล้ายประชานิยมของระบอบทักษิณลยล่ะ
การขึ้นเงินเดือนข้าราชการชั้นผู้น้อย 1.5 หมื่นล้าน เพื่อหวังให้มีเม็ดเงินกระจายในช่วงสงกรานต์เพื่อให้คนไปเที่ยว กิน พักแรมและใช้จ่ายเต็มที่เพื่อเพิ่ม GDP ในที่สุดก็เอา GDP เป็นมาตรวัดความเจริญทางเศรษฐกิจอีกอย่างเคย
ใครๆก็คิดออกวิธีนี้ ผมก็คิดออก แต่มันย้อนแนวประหยัดและเก็บออม แต่ไม่ได้รักษาแนวเศรษฐกิจพอเพียง และมันเป็นแนวทางทุนนิยม 100 % โดยให้กับข้าราชการระดับล่างและกลางที่ไม่มีเงินประจำตำแหน่ง ซึ่งมีอยู่ 1 ล้านคน จะได้รับเงินเฉลี่ยคนละกว่า 1,000 บาท คาดว่าจะจ่ายเงินได้ช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายในช่วงวันหยุดยาว กระตุ้นการบริโภคทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้เพิ่มเหมือนกับการลดภาษีช็อปปิ้งของรัฐบาลในช่วงส่งท้ายปีเก่า
เอาเป็นว่าใครได้อนิสงค์จากแนวทางนี้ จากเงิน 1,000 X 1 ล้าน และกระจายในหมู่พวกนายทุนเท่านั้น
1. ค่าเดินทางยังมีต้นทุนเท่าเดิม กรรมการและผู้ถือหุ้น ปตท.ได้อนิสงค์จากการใช้จ่ายน้ำมันเขื้อเพลิง
2. ค่าที่พัก นายทุนอสังหาริมทรัพย์และเจ้าของสถานที่พักได้อนิสงค์และมีอยู่ไม่มากนัก
3. การกินอยู่แบบซื้อของร้านซื้อสะดวกหรือ Modern trades นายทุนอุตสาหกรรมอุปโภคและบริโภคได้อนิสงค์ นายทุนผู้ถือหุ้นได้อนิสงค์
4. เจ้าของรถทัวได้อนิสงค์
5. ฯลฯ
หมายเหตุ ลูกจ้างในกลุ่มงานเหล่านี้ คงไม่ได้ค่าตอบแทนมากนักตามอัตราส่วนความรวยของนายทุน เพราะเป็นลูกจ้างรายวัน ไม่มีโบนัสหรือค่าตอบแทนพิเศษ
ข้อควารปฏิบัติอย่างกล้าหาญของรัฐบาล เน้นที่กล้าหาญครับ คือต้องลดต้นทุนการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคให้ได้ ลดราคาเชื้อเพลิงและพลังงานให้ได้ ลดกำไรของปตท.อันเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและผู้ถือหุ้นเท่านนั้น และรัฐวิสาหกิจที่ประชาชนพึ่ง เช่นค่าน้ำและค่าไฟ รฟท.และบขส.
หาดลดต้นทุนการผลิตสำเร็จ ราคาสินค้าลดลง ค่าครองชีพปกติลดลง กำไรของรัฐวิสาหกิจลดลง ค่าตอบแทนรัฐวิสาหกิจลดลง อำนาจการซื้อของประชาชนระดับล่างก็ดีขึ้นโดยทั่วไป ทั้งข้าราชการและผู้ใช้แรงงานและคนไทยทั่วไปครับ
ที่ผมเสนอนี้ไม่ใช่สูตรสำเร็จแต่ปรัชญานั้นอยู่ที่ "ทำอย่างไรประชาชนถึงจะลดต้นทุนการดำรงชีพให้ได้" ไม่ใช่เอาใจแต่นายทุน หากนายทุนตายคนไทยไม่ได้ตายด้วยน่ะครับ เพราะจะมีคนอื่นมาลงทุนทดแทนทันที่ในอุตสาหกรรมนั้นๆเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น: