PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

นักวิชาการชี้บึ้มเบลเยียมโยงปารีสเหตุไล่ล่าผู้ลี้ภัย

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม นายฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงกรณีเหตุระเบิดสนามบินกรุงบรัสเซลส์ รวมถึงสถานีรถไฟในประเทศเบลเยียม ว่า ส่วนตัวมองว่าไม่สามารถมองเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากการก่อการร้ายที่สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพราะมีการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างที่ข้อมูลต่างๆ ยังไม่ชัดเจนหรืออยู่ระหว่างการสอบสวน จะเป็นสุญญากาศที่เต็มไปด้วยความหวั่นวิตก หน่วยงานความมั่นคงต้องคิดหนัก หากมองภาพรวมและความต่อเนื่องจากกรณีการก่อการร้ายที่กรุงปารีส ตนมองว่าส่วนหนึ่งของกลุ่มคนที่วางแผนดำเนินการดังกล่าวคือกลุ่มที่ข้ามพรมแดนจากเบลเยียม ซึ่งกลายเป็นฐานในการวางแผนและฝังตัว เหตุการณ์ครั้งนี้อาจเป็นการโต้กลับการจับกุมผู้ต้องสงสัยคนสำคัญ สถานการณ์นี้ส่งผลกระทบคือ ทำให้อียูไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เกิดความวุ่นวาย โกลาหล และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้อียูต้องคิดหนักคือ สรุปแล้วผู้ก่อการร้ายเหล่านี้มีจำนวนเท่าไหร่ในเบลเยียม
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ กล่าวอีกว่า มีรายงานว่า ส่วนหนึ่งของผู้ลี้ภัยในอียูมีกลุ่มคนเหล่านี้แฝงตัวอยู่ในฐานะพลเรือน โดยพร้อมที่จะกลายเป็นผู้ก่อการร้ายได้ทันทีเมื่อมีคำสั่ง อีกหนึ่งผลกระทบคือ ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดในอียูเอง เนื่องจากขณะนี้ประเทศอียูแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ยอมรับผู้ลี้ภัย และกลุ่มที่ไม่ยอมรับ ซึ่งเหตุการณ์ระเบิดครั้งนี้เชื่อว่าจะทำให้มีการต่อต้านผู้ลี้ภัยในยุโรปมากขึ้นอีก นอกจากนี้ต้องรอดูต่อไปว่าจะมีการแก้กฎหมายและสร้างมาตรการใดๆ เพิ่มเติมด้วยหรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องของ counter-terrorism หรือการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งมีการอนุญาตข้ามแดนอย่างอิสระที่กลายเป็นจุดอ่อนของอียู โดยถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อการร้าย
“มองว่าส่วนหนึ่งเป็นการโต้กลับจากการจับกุมผู้ต้องสงสัยคนสำคัญในเหตุการณ์ก่อการร้ายที่ฝรั่งเศสพยายามไล่ล่า นี่ขนาดโดนจับไปส่วนหนึ่งแล้ว ยังมีกำลังที่จะก่อการได้อยู่ อียูจึงต้องคิดหนักแล้วว่าสรุปแล้วมีกลุ่มคนเหล่านี้จำนวนท่าไหร่กันแน่ โดยเฉพาะในเบลเยียมซึ่งกลายเป็นฐานฝังตัว มีรายงานว่า ส่วนหนึ่งแฝงมากับผู้ลี้ภัย ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ผู้ลี้ภัยทางการเมืองทั้งหมด ส่วนหนึ่งเป็นการลี้ภัยทางเศรษฐกิจด้วย ยุโรปที่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มรับกับไม่รับผู้ลี้ภัยอยู่แล้วนั้น เชื่อว่าการระเบิดครั้งนี้จะทำให้มีการต่อต้านผู้ลี้ภัยมากขึ้นอีก โดยหลายประเทศก็มีมาตรการต่อต้านผู้ลี้ภัยอยู่แล้ว สิ่งที่ต้องรอดูกันต่อไปคือ จะมีมาตรการหรือการแก้กฎหมายอะไรหรือเปล่า อย่างประเด็นของ counter-terrorism คือการเข้า-ออกโดยไม่ต้องใช้วีซ่า ซึ่งกลุ่มไอเอสอาศัยจุดอ่อนนี้ในการก่อการ” นายฐิติวุฒิกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น: