PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

ญี่ปุ่นกังวลหากทรัมป์ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี

ญี่ปุ่นกังวลหากทรัมป์ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี

จากการรายงานของสื่อญี่ปุ่น ถึงแม้ญี่ปุ่นจะไม่ได้เปิดเผยอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีการแสดงออกถึงความไม่สบายใจในเรื่อง ความเป็นไปได้สูงที่เศรษฐีอสังหาอย่างโดนัลด์ ทรัมป์จะได้เป็นตัวแทนผู้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคพรรครีพับลิกัน และได้รับคะแนนสูงในการเลือกตั้ง

สิ่งที่ญี่ปุ่นกังวลไม่ใช่เพียงแค่คำพูดที่เหยียดผู้อพยพและสตรีเพศแต่ยังกังวลถึงคำพูดของทรัมป์ที่กล่าวตำหนิพันธมิตรอีกด้วย 
“ถ้าเกิดญี่ปุ่นถูกโจมตี สหรัฐฯจำเป็นต้องช่วยญี่ปุ่น แต่ถ้าหากสหรัฐฯถูกโจมตี ญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องช่วยก็ได้ นี่มันไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย”

สื่อญี่ปุ่นกล่าวว่า ในขณะที่สหรัฐฯมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการป้องกันญี่ปุ่น ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็สนับสนุนฐานทัพและสนับสนุนเงินค่าที่พักอาศัยต่างๆเป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งมีเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯออกมากล่าวว่า “ทรัมป์ยังไม่รู้ว่าทางฝ่ายญี่ปุ่นได้ทำคุณประโยชน์อะไรบ้าง”

แต่ทว่าก็มีคนออกมาแสดงความคิดเห็นว่า การวิจารณ์ของทรัมป์ไม่ใช่แค่ความคิดผิวเผินหรือเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน แต่เป็นความเชื่ออันหนักแน่น

นายThomas Wright จากสถาบันBrookings ของอเมริกาได้ลงบทความชิ้นหนึ่งเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยวิเคราะห์ว่า เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ทรัมป์ก็มีแนวคิดว่าความสัมพันธ์ของสหรัฐฯกับประเทศพันธมิตรนั้นไม่เสมอภาค และถ้าเขาได้รับเลือก จะมีนโยบายในด้านนี้ออกมาอย่างไร?การคาดการณ์ของWright ได้ทำให้ทุกคนรู้สึกตระหนกตกใจไปตามๆกัน

“ไม่เพียงแต่จะมีการเจรจาเรื่องสนธิสัญญาการรักษาความปลอดภัยของประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาใหม่อีกครั้ง อาจจะมีการถอนกำลังทหารอเมริกาออกจากเอเชีย และอาจจะมีท่าทีที่อ่อนลงในประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงเช่นปัญหาทะเลจีนใต้

สื่อญี่ปุ่นชี้ว่า ถ้าเกิดเป็นเช่นนี้ สหรัฐฯก็จะไม่ใช่ผู้นำของโลกอีกต่อไป และถ้าเกิดภูมิภาคนี้เข้าสู่สถานการณ์ที่วุ่นวาย สหรัฐอเมริกาก็จะได้รับความเดือดร้อนและการสูญเสียมากมายมหาศาล

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ที่มีข้อมูลเชิงลึกของญี่ปุ่นและสหรัฐฯได้ ส่งจดหมายที่สามารถเรียกได้ว่า “จดหมายท้าทาย” ให้ทรัมป์ อีกทั้งมูลนิธิ Sasakawa Peace Foundationของญี่ปุ่นและศูนย์เพื่อการศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (CSIS) ของสหรัฐฯยังได้รวบรวมนโยบาย 40 ประการในการกระชับความสัมพันธ์ของญี่ปุ่นและสหรัฐฯอีกด้วย

คำแนะนำนี้ค่อนข้างมีน้ำหนักเพราะจัดทำโดยชาวญี่ปุ่นร่วมกับชาวสหรัฐฯที่เข้าใจในประเทศญี่ปุ่น เช่น ริชาร์ด อาร์มิเทจ (Richard Armitage) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ John Hamre อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการการทรวงกลาโหมสหรัฐฯทั้งยังใช้เวลาร่างนานถึง 3 ปีเลยทีเดียว
(ขอบคุณข่าวจาก www.chinanews.com)

ไม่มีความคิดเห็น: