PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล:เห็นด้วยให้รีบคลี่คลายความเดือดร้อนชาวนาชี้กู้ออมสินไม่น่ามีปัญหาอะไร

ชาวนา
หน้าสนง.ปลัดกระทรวงกลาโหม

ปัญหาหนี้ค่าข้าวชาวนาเวลานี้ มีหน่วยงานที่เกี่ยวพันอยู่คือ
1 คณะกรรมการนโยบายข้าว(กนข.)
2
กระทรวงการคลัง (กค)
3
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.)
4
ธนาคารออมสิน (ธส)

ความเกี่ยวพันอินุงตุงนังคือ คณะกรรมการนโยบายข้าว(กนข) ซึ่งนายกรัฐมนครี เป็นประธาน มอบหมายให้ กระทรวงการคลัง(กค) หาเงินใช้หนี้ค่าข้าวที่ค้างชาวนาอยู่ประมาณ 1.3 แสนล้าน บาท เพื่อ ใช้หนี้ชาวนาที่ ถึงกำหนด กระทรวงการคลัง ขอให้ธนาคารออมสินปล่อยกู้แก่ ธกส. เพื่อชำระหนี้ชาวนา

ผมบังเอิญเคยเกี่ยวข้องกับหน่วยงานดังกล่าวข้างต้นทุกหน่วยงาน คือระหว่างปลายปี 2540 ถึง ต้นปี 2544 ผมเคยทำหน้าที่เป็น
-รองประธาน กนข.
-รมช.กค. (ผู้ดูแลกรมภาษี)
-ประธาน กก. ธกส.
-รมต.ผู้กำกับดูแล ธ ออมสิน

ปัญหาขณะนี้คือ (1)รัฐบาลขณะนี้เป็นรัฐบาลรักษาการ มีข้อจำกัดตาม กฎหมายในการปฎิบัติราชการ เพราะไปด่วนยุบสภา ผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 ธค. 56 ทั้งที่เป็นช่วงเริ่มปิดสมัย การประชุมสภา มีเวลาอีก2 เดือนที่จะบริหารราชการแผ่นดินได้เต็มที่ เพื่อแก้ไขปัญหา หนี้ชาวนาให้เสร็จสิ้นก่อน แต่กลับยุบสภาทำให้ตกฐานะรัฐบาลรักษาการ
(2)
เดือนธันวาคมเป็นช่วงสิ้นปี เงินคงคลังต่ำ เงินจะมาจากภาษีเข้าในช่วง มค.-มีค. ของทุกปี
(3)
กค.ไม่มีเงินมากพอชำระหนี้ชาวนาได้ ต้องอาศัยเงินกู้ แต่ รัฐบาลรักษาการถูกจำกัดตามกม.ไม่อาจทำนิติกรรมหรือสร้างภาระผูกพันรัฐบาลหน้าได้ จึงไม่สามารถกู้เงินได้ และไม่สามารถกระทำการใดในลักษณะสัญญาว่าจะให้ผูกพันรัฐบาลหน้าได้ จึงไม่อาจ กู้เงินจาก ธกส. โดยตรง หรือจากธนาคารทั่วไป(อินเตอร์แบงค์)ได้
กระทรวงการคลังในฐานะเจ้าของธนาคารออมสินจึงขอให้ ธ.ออมสินปล่อยเงินกู้ให้แก่ ธกส.(ซึ่ง กค.ถือหุ้นอยู่เกือบ ร้อยละ90) เพื่อเลี่ยงการที่ กค.จะต้องกู้เงินจาก ธ.ออมสินโดยตรง ซึ่งปกติเงินจากธนาคารออมสินส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดก็มักจะปล่อยกู้ให้แก่กระทรวงการคลังอยู่แล้ว

ข้อผิดพลาดของรัฐบาล
(1) ทันทีที่พรรค ปชป.ประกาศลาออกเมื่อวันที่8 ธันวาคม 2556 รัฐบาลประกาศยุบสภาทันทีในวันที่ 9 ธค.56 เพื่อหวังผลทางการเมือง ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นในทางนิติบัญญัติ เนื่องจากขณะนั้นเพิ่งจะมี พรฎ.ปิดสมัยประชุมถึงประมาณ 2 เดือน ไม่มีปัญหาเรื่ององค์ประชุม
(2) ก่อนยุบสภา รัฐบาลน่าจะคำนึงถึงข้อจำกัดรัฐบาลรักษาการ และดำเนินการเพื่อการชำระ หนี้ชาวนาให้เสร็จสิ้นเสียก่อน
แต่กลับมองข้ามปัญหา
(3) รัฐบาลโดยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่เคยมีใคร ออกมาชี้แจงปัญหาให้ประชาชนทั่วไป และชาวนาทั้งหมด ได้เข้าใจ ทำให้เกิดความ สับสนไปหมด จนมีผู้ไปปิด บัญชีถอนเงินจาก ธ.ออมสิน ทำให้เกิดผลกระทบต่อธนาคารทั่วไป

ธนาคารออมสินเคยให้กระทรวงการคลังกู้เงินไปทำโครงการกองทุนหมู่บ้านเมื่อประมาณปี 2545ถึง 8หมื่นล้านบาท ตั้งงบประมาณคืนปีละ1หมื่นล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย บัดนี้ก็ได้ใช้หนี้ครบถ้วนไปแล้วโดยไม่มีปัญหาใดๆ หากจะกู้ ธ. ออมสินสัก 4 หมื่นล้านบาท เพื่อชำระหนี้ ให้แก่ชาวนา ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ

หนี้ค่าข้าวของชาวนา เป็นการที่รัฐบาลต้องชำระหนี้ตามใบประทวนสินค้า ไม่ใช่เงินทดแทนหรือชดเชย นอกจากต้นเงินตามใบประทวนแล้ว รัฐบาลผู้ผิดนัด มีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามยอดหนี้และเวลาที่ค้างชำระหนี้ให้แก่ชาวนาด้วย

ผมประกาศวางมือทางการเมืองแล้ว จึงไม่มีเจตนาจะ เขียนอะไรเพื่อผลในทางการเมือง เห็นว่าหนี้ของชาวนา เป็นหนี้ที่จำเป็นรีบด่วน ต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายช่วยเหลือชาวนาผู้เป็นเจ้าหนี้โดยรีบด่วนที่สุด
วิธีการช่วยเหลือด้วยกลไกของกระทรวงการคลังมีหลายอย่างหลายประการ ข้อสำคัญคือต้องยอมรับในความผิดพลาด และทำความเข้าใจในปัญหากับประชาชนอย่างชัดเจนโดยไม่ต้องกลัวเสีนหน้า

พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล
17-02-57
////
พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ธ.ออมสินอาจมีกำไรจากดอกเบี้ยเงินฝากที่ถอนก่อนกำหนดจำนวนหนึ่ง ผมกำกับธ.ออมสินอยู่ 2 รอบ เป็นเลขานุการรมต. 2 ปีกว่า และเป็นรมต.กำกับโดยตรงอยู่ 3 ปีกว่า ผมเป็นคนตั้งคุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็น ผอ.ธ.ส.
และตั้งธนาคารชุมชน เป็นช่องธนาคารอิสลาม
ธ. ออมสินมีสัญญลักษณ์ เป็นต้นไทร หรือร่มไทร ตั้งโดยสมเด็จพระธีรราชเจ้า รัฐบาลเป็นเจ้าของ ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไป จะล้มไม่ได้ ผมขอปกป้อง ธส.โดยไม่มีการเมือง


ไม่มีความคิดเห็น: