PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รธน.ชั่วคราววางกรอบ "ร่างรธน.ฉบับใหม่" 10 เรื่องเน้นปราบทุจริต-ป้องกันประชานิยม

รธน.ชั่วคราววางกรอบ "ร่างรธน.ฉบับใหม่" 10 เรื่องเน้นปราบทุจริต-ป้องกันประชานิยม

เขียนวันที่
วันพฤหัสบดี ที่ 03 กรกฎาคม 2557 เวลา 18:18 น.
เขียนโดย
isranews
"ล่าสุดมีการเพิ่มเติมเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว กำหนดกรอบเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ “คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ” จำนวน 35 คนพิจารณาศึกษาเพื่อบรรจุในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 10 ประเด็น"
rattatamnon
ขั้นตอนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ใกล้เสร็จสิ้นเต็มทีแล้ว โดยคณะกรรมการยกร่างได้ส่งร่างให้ “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ” (คสช.) ได้พิจารณาแล้วหลายรอบแล้ว
ล่าสุด “พ.อ.วินธัย สุวารี” คณะโฆษกคสช. ออกมาระบุว่า “คสช.” ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2557 โดย “คสช.” สั่งให้นำร่างกลับไปแก้ไขอีกเพียงเล็กน้อย
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดนเร่งจากไทม์มิ่งของ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ผบ.ทบ. หัวหน้าคสช. ที่ต้องการให้มีผลบังคับใช้ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org จึงประมวลภาพรวมและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อฉายให้เห็นภาพว่า “ประเทศไทย” จะเดินไปในทิศทางใด
มีการคาดการณ์ว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราวจะมีประมาณ 45 มาตรา กำหนดให้ “คสช.” ตั้ง “สภานิติบัญญัติแห่งชาติ” (สนช.) จำนวน 200 คน เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกกฎหมาย และกำหนดสนช. โหวตเลือก “นายกรัฐมนตรี” โดย “ประธานสนช.” จะเป็นผู้นำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ
นอกจากนี้ยังกำหนดคุณสมบัติคนที่จะมาเป็น “นายกรัฐมนตรี-รัฐมนตรี” สามารถเป็นข้าราชการประจำและมาจากระบบราชการได้ด้วย และ “นายกรัฐมนตรี” ต้องแถลงนโยบายก่อนเข้าบริหารประเทศแต่ไม่มีการลงมติ
ส่วน “สภาปฏิรูป” กำหนดให้มี 250 คน ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญและดูแลเรื่องกรอบการปฏิรูปประเทศ โดยแต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการสรรหาจังหวัดละ 5 เพื่อไปคัดเลือกตัวแทนมา 5 คน โดยจะต้องไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม แล้วให้ “คสช.” เลือกเหลือจังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน
สำหรับที่เหลืออีก 173 คน จะมีการตั้งคณะกรรมการสรรหาขึ้นมา 11 ชุด ชุด 5-7 คน เพื่อเลือกตัวตัวแทนจาก 11 กลุ่ม ประกอบด้วย การเข้าสู้อำนาจ (นิติบัญญัติ) การใช้อำนาจบริหาร (รวมอำนาจ กระจายอำนาจ) การควบคุมอำนาจรัฐ(องค์กรตุลาการ,กระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ) กลุ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
กลุ่งพลังงาน กลุ่มการศึกศึกษา กลุ่มการเรียนรู้ กลุ่มสื่อมวลชน กลุ่มความเหลื่อมล้ำด้านเศรฐกิจและสังคม กลุ่มด้านจัดสรรทรัพยากรที่ดินน้ำและป่าไม้ ด้านการทุจริตคอรัปชั่นและด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ทั้งหมดจะไปคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมชุดละ 50 คนจากบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม รวมเป็น 550 คน เพื่อให้ “คสช.” เลือกให้เหลือเป็นสมาชิกสภาปฏิรูป 173 คน
ขณะที่ขั้นตอนการจัดทำ “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่” จะมีการแต่งตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา 35 คน โดยมาจากสภาปฏิรูป 20 คน คณะรัฐมนตรี (ครม.) 5 คน สนช. 5 คน คสช.5 คน
หลังร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก็เสนอ “สภาปฏิรูป” ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ แต่จะไม่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ และไม่มีการนำไปทำประชามติเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550
สำหรับระยะเวลาในการจัดทำ “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” หลังจากมี “สภาปฏิรูป” แล้วกำหนดให้ “สภาปฏิรูป” หาแนวทางปฏิรูป 45-60 วัน จากนั้นส่งให้ “กมธ.ยกร่างรธน.” มีเวลา 120 วันในการยกร่างเมื่อยกร่างเสร็จแล้วส่งให้ “สภาปฏิรูป” โหวตให้ความเห็นชอบ 15- 30 วัน ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 9 เดือน
นอกจากนี้คณะทำงานยกร่างรัฐธรรมนูญได้เห็นควรให้มีการใส่เรื่องอำนาจของ “คสช.” ไว้ด้วย โดยอาจจะระบุไว้ในมาตรา 17 กำหนดให้ “คสช.” มีอำนาจเทียบเท่าหรือเหนือรัฐบาล เพื่อให้สามารถคุมรัฐบาลได้
ที่สำคัญรัฐธรรมนูญชั่วคราวจะมีบทบัญญัติที่กำหนดจะไม่ให้มีการเอาผิดกับ “คสช.” รวมอยู่ด้วย ตลอดจนการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจาก “คสช.” หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำความผิดนั้นพ้นจากการรับผิดโดยสิ้นเชิง
นอกจากนี้ ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ยังมีการกำหนดกรอบเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ “คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ” จำนวน 35 คนพิจารณาศึกษาเพื่อบรรจุในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 10 ประเด็น อาทิ
1.ทบทวนความจำเป็นและการมีอยู้ขององค์กรอิสระ และองค์กรตามรัฐธรรมนูญว่า มีจำนวนมากเกินไปหรือไม่ และให้คงอยู่เท่าที่จำเป็น
2.การสร้างกลไกการป้องกันการและปราบปรามการทุจริตอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ
4.การสร้างระบบคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารราชการแผ่นดิน
5.การกำกหนดความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
6.การใช้จ่ายงบประมานแผ่นดินและการป้องกันนำงบประมาณไปใช้ในนโยบายหรือโครงการประชานิยมจนส่งผลกระทบต่อระบบการเงินการคลัง
ทั้งหมดคือทิศทางของ “รัฐธรรมนูญชั่วคราว” ที่จะกำหนดความเป็นไปของ “ประเทศไทย” ก่อนจะเข้าสู่การปฏิรูปในด้านต่างๆ ต่อด้วยการมี “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ไว้ใช้ปกครองประเทศต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: