PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

ต้องปฏิรูปประชาธิปไตยที่รากเหง้า

โดย : รศ.วิทยากร เชียงกูล

1.ภาษิตรัสเซียที่ว่า “คุณไม่สามารถซื้อภูมิปัญญาจากต่างประเทศมาใช้งานได้
นอกจากคุณจะต้องมีภูมิปัญญาของคุณเองอยู่แล้ว”
2.แต่ยังคงล้มเหลวถึงทุกวันนี้
เพราะเราเก็บได้เฉพาะตัวรูปแบบ เช่น การเลือกตั้งผู้แทน แต่ไม่ได้พัฒนา “เนื้อหาสาระ” ความคิดประชาธิปไตยให้กับคนไทยอย่างแท้จริง
3. ที่น่าสนใจคือ กระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคเรืองปัญญาเกิดมาจากประชาชน
ไม่ใช่การปฏิรูปของคนชั้นสูงจากบนลงล่าง ไม่ได้มาจากมหาวิทยาลัยของทางการ
4. แต่คนไทยเลือกรับจากตะวันตกเฉพาะรูปแบบการดำเนินชีวิตภายนอกมากกว่าที่จะรับเนื้อหาสาระความรู้
ภาษิตรัสเซียที่ว่า “คุณไม่สามารถซื้อภูมิปัญญาจากต่างประเทศมาใช้งานได้
นอกจากคุณจะต้องมีภูมิปัญญาของคุณเองอยู่แล้ว”
ทำให้คิดถึงกรณีของไทยว่าที่พยายามสั่งเข้าความรู้เรื่องประชาธิปไตยและการพัฒนาเศรษฐกิจ
มาจากประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ยังคงล้มเหลวถึงทุกวันนี้
เพราะเราเก็บได้เฉพาะตัวรูปแบบ เช่น การเลือกตั้งผู้แทน แต่ไม่ได้พัฒนา “เนื้อหาสาระ” ความคิดประชาธิปไตยให้กับคนไทยอย่างแท้จริง
เช่น เราไม่ได้ปฏิรูปการศึกษาและทางสังคมวัฒนธรรมที่จะเปลี่ยนแปลงให้คนไทยรู้จักคิด วิเคราะห์ อย่างมีเหตุผล หาข้อมูลเชิงประจักษ์ เข้าใจ, สนใจเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคของปัจเจกชน
และความสำคัญของการร่วมมือกันทำตามเสียงส่วนใหญ่ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมอย่างจริงจัง

ก่อนหน้าที่คนยุโรปจะปฏิวัติประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 18 ได้ สังคมยุโรปได้ก้าวข้ามยุคศักดินา
และบาทหลวงแนวคิดโบราณไป “ยุคเรืองปัญญา (Enlightenment)” หรือยุคแห่งเหตุผล
ในช่วงราวหนึ่งร้อยปีก่อนเกิดการปฏิวัติประชาธิปไตยของชั้นนายทุนในอเมริกาและฝรั่งเศส
ยุคเรืองปัญญาเป็นยุคสมัยที่นักเขียน, ปัญญาชนและประชาชนที่ตื่นตัว ตั้งข้อสงสัย คิดในเชิงเหตุผล เชิงวิทยาศาสตร์ ท้าทายความคิดเก่า สิทธิอำนาจของสถาบันดั้งเดิม ทั้งศาสนาคาทอลิก
ระบบราชาธิปไตย เรียกร้องการปฏิรูปสังคมให้ประชาชนมีความอดกลั้น ใจกว้าง เลิกการคิดและทำแบบสุดโต่ง

จากยุคแห่งเหตุผลนี้เองที่ชาวยุโรปได้พัฒนาทั้งทางสังคม ความคิดอ่าน และทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่นำไปสู่ทั้งการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม และการปฏิวัติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม จากระบบฟิวดัลเป็นระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมก่อนชนชาติอื่นๆ เมื่อราวสองร้อยกว่าไปที่แล้ว

ที่น่าสนใจคือ กระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคเรืองปัญญาเกิดมาจากประชาชน
ไม่ใช่การปฏิรูปของคนชั้นสูงจากบนลงล่าง ไม่ได้มาจากมหาวิทยาลัยของทางการ
ที่แม้ยุโรปจะมีการตั้งมหาวิทยาลัยมาก่อนหน้ายุคนี้แล้ว
แต่มหาวิทยาลัยยุคแรกๆ ก็ยังจารีตนิยม, ศาสนานิยม แม้จะมีกษัตริย์บางพระองค์ที่สนใจวิทยาการความก้าวหน้า การพัฒนาทางภูมิปัญญาอยู่บ้าง มีสมาคมราชบัณฑิตและสมาคมนักวิทยาศาสตร์
หรือนักคิดนักเขียนที่มีผลงานที่ทรงพลังที่มาจากครอบครัวคนชั้นสูง คนชั้นกลางที่มีบทบาท
แต่ขณะเดียวกันมีนักคิดนักเขียน นักเคลื่อนไหวทางความคิด และ
มีการรวมกลุ่มประชาชนที่มาจากชาชั้นกลางระดับล่างมาก

การตื่นตัวแสวงหาชีวิตและสังคมที่มีเหตุผลของประชาชนยุโรปในยุคเรืองปัญญา
เกิดขึ้นทั้งในร้านกาแฟ ร้านขายเหล้า หอพักคนงาน สมาคมช่างฝีมือ และสมาคมต่างๆ
ซึ่งคนมีความสนใจเรื่องบางอย่างร่วมกันหรือใช้ร้านกาแฟ ร้านเหล้าเป็นที่นัดพบสังสรรค์กันหลังเลิกงาน การพิมพ์นิตยสารและหนังสือเริ่มแพร่หลาย และคนบางส่วนอ่านหนังสือกัน ทั้งซื้อเองและไปอ่านในห้องสมุดสาธารณะ ร้านกาแฟ ร้านเหล้า ที่มีนิตยสารให้ลูกค้าอ่าน
ในยุคนั้นเป็นยุคที่เริ่มมีการส่งเสริมการรู้หนังสือ มีการพิมพ์หนังสือและการผลิตสินค้าแบบทุนนิยมได้มากขึ้น คนที่สนใจเริ่มมีเงินซื้อหนังสือหรือหาหนังสืออ่านกันมากขึ้น

แม้คนยุโรปส่วนใหญ่จะไม่ได้อ่านหนังสือปรัชญาหรือการเมืองของนักคิดนักเขียนผู้มีชื่อเสียงอย่าง
วอลแตร, มองเตสกิเออร์, จอห์น ล็อค, รุซโซ่, ไอแซค นิวตัน, อาดัม สมิธ ฯลฯ
แต่อย่างน้อยพวกเขาได้อ่านนิตยสารและหนังสือที่นักเขียนระดับกลาง ระดับล่างที่เขียนกันออกมาพอสมควรในยุคนั้น
เนื้อหานิตยสารหนังสือเหล่านี้อาจไม่ดีหรือก้าวหน้านัก แต่ก็ส่งเสริมให้คนอ่าน คิดแบบเชื่อมโยงไปถึงเรื่องว่าทำอย่างไรชีวิตและสังคมของเราจะเจริญก้าวหน้าขึ้นในระดับหนึ่ง
รวมทั้งในยุคนั้นมีการส่งเสริมการประกวดเรียงความ บากวี ฯลฯ อย่างแพร่หลาย
มีประชาชนร่วมด้วยมาก ความตื่นตัวเรื่องการอ่าน การคิด การเขียนของประชาชน
มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติประชาธิปไตยในยุคต่อมา

หนังสือที่มีอิทธิพลทางความรู้ ความคิดชุดหนึ่งคือ ชุดสารานุกรมที่นักคิดนักเขียนชาวฝรั่งเศส
ระดมนักคิดนักเขียนเก่งๆ มาช่วยกันเขียน เป็นการให้ความรู้สมัยใหม่แก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง
เป็นหนังสือที่ขายดีและมีชื่อเสียงให้ความรู้ความคิดอ่านแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง
นอกจากเผยแพร่ในฝรั่งเศสแล้ว บทความ, หนังสือของนักเขียนฝรั่งเศสยังขยายไปในหมู่ผู้มีการศึกษาในประเทศยุโรปอื่นๆ ที่ถือว่าฝรั่งเศสคือผู้นำทางวัฒนธรรมในยุคนั้น การแปลหนังสือดีๆ ก็มีมากเช่นกัน

ในยุคปัจจุบัน ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของโลก รวมทั้งของไทยด้วย
ทำให้คนไทยยุคปัจจุบันได้รับการศึกษาข่าวสารจากโลกสมัยใหม่มากกว่าเมื่อ 3 ร้อยกว่าปีที่แล้วมาก
แต่คนไทยเลือกรับจากตะวันตกเฉพาะรูปแบบการดำเนินชีวิตภายนอกมากกว่าที่จะรับเนื้อหาสาระความรู้ ความคิดอ่านระดับลึกของชาวตะวันตก ถึงจะแต่งตัวและใช้ชีวิตแบบชาวตะวันตก
แต่ในแง่ความคิดความอ่านของ คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
อาจยังมีความคิดความอ่านไม่ต่างจากคนในยุคมืด ยุคความเชื่อแบบงมงายของยุโรป
เมื่อ 4-5 ร้อยกว่าปีที่มาแล้ว
ยังไม่ก้าวหน้าไปถึงยุคเรืองปัญญาหรือยุคแห่งเหตุแห่งผลของยุโรปเลยด้วยซ้ำ

ที่ผมตั้งข้อสังเกตแรงแบบนี้ เพราะผมเห็นว่าคนไทยยังมีความเชื่อแบบเก่าๆ ด้วยศรัทธา อารมณ์ อคติ ความงมงาย ฯลฯ อยู่มาก
มีการคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผล ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์แบบวิทยาศาสตร์น้อยมาก
คนไทยส่วนใหญ่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่ชอบค้นคว้า คุยกันถกกันเรื่องชีวิต สังคม การเมือง วัฒนธรรม ฯลฯ สนใจใฝ่รู้เชิงวิทยาศาสตร์ค่อนข้างน้อย (แม้จะสนใจเทคโนโลยีแบบหาความบันเทิงมาก)
คิดวิเคราะห์ไม่เป็น ระบบการสอนในโรงเรียนยังคงเป็นแบบท่องจำและฝึกทักษะเหมือน
การศึกษายุคโบราณ
โดยแทบไม่มีการพัฒนาเลย นอกจากการท่องจำองค์ความรู้ใหม่และฝึกทักษะใหม่บ้าง

ไทยพัฒนาทุนนิยมช้ากว่ายุโรป เพราะเราเป็นเศรษฐกิจแบบศักดินาและเกษตรพึ่งตนเองได้
ไม่มีเงื่อนไขความจำเป็นต้องปฏิวัติเป็นทุนนิยมอุตสาหกรรมเหมือนในยุโรป
ประชาชนไทยส่วนหนึ่งเคยตื่นตัวอ่านหนังสือ แสวงหาความรู้และการเปลี่ยนแปลงสังคมในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และ 14 ตุลาคม 2516 อยู่ระยะหนึ่ง
แต่กระแสไม่แรงพอ ความคิดสถาบันจารีตนิยมดั้งเดิมกลับมาครอบงำสังคมไทยได้อีก
บางเรื่องถอยหลังด้วย
ในปี 2557 เกิดกระแสความขัดแย้งทางการเมืองที่ทำให้ประชาชนอย่างน้อย 5-6 ล้านคน ออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่ฉ้อฉลและเรียกร้องการปฏิรูป
แต่ตอนจบกลายเป็นกระแสแบบเฉพาะกิจ เฉพาะเรื่อง ที่ไหลวูบระยะสั้นเท่านั้น
แม้ตอนนี้เราจะมีคนที่มีการศึกษาและส่วนที่สนใจการเมืองพอสมควร
แต่แม้กระนั้นพวกเขาก็ยังไม่สนใจ ไม่ตื่นตัว
ที่จะอ่านศึกษาค้นคว้าเรื่องการปฏิรูปประเทศอย่างจริงจังต่อเนื่อง

ถ้าคนไทยคิดจะพัฒนาประชาธิปไตยและปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ได้จริง
ต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ว่าจะรณรงค์ให้คนไทยทั้งประเทศก้าวข้ามพ้นยุคที่ค่อนข้างมืด งมงาย ล้าหลังเหมือนคนยุโรปเมื่อ 4-5 ร้อยปีที่แล้ว
ไปสู่ยุคเรืองปัญญาหรือยุคแห่งเหตุแห่งผลที่ยุโรปเคยผ่านมาเมื่อ 3 ร้อยปี แล้วได้อย่างไร
เราถึงจะมีทางปฏิรูปหรือปฏิวัติประเทศให้เป็นประชาธิปไตยและเจริญก้าวหน้าได้อย่างแท้จริง
- See more at:http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634174…

ไม่มีความคิดเห็น: