PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558

“หม่อมกร” ขอบคุณบิ๊กตู่ตีกลับ กม.ปิโตรเลียมฯ หนุนร่าง สนช.ชูตั้งบรรษัทฯ



9 ธันวาคม 2558 11:03 น. (แก้ไขล่าสุด 9 ธันวาคม 2558 11:09 น.)manager
“หม่อมกร” ขอบคุณบิ๊กตู่ตีกลับ กม.ปิโตรเลียมฯ หนุนร่าง สนช.ชูตั้งบรรษัทฯ
        “หม่อมกร” กราบงามๆ “ครม.” บิ๊กตู่วานนี้ (8 ธ.ค.) ที่ตีกลับร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมฉบับกระทรวงพลังงานซึ่งถือว่าท่านได้ยินเสียงค้านแล้ว โดยหลังจากนี้ต้องกลับไปแก้ไขใน 26 ประเด็น หนุนร่าง “สนช.” แก้ 57 มาตรามีระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) และรับจ้างผลิต โดยตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติรองรับ
       
      
       ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี แกนนำเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงาน (คปพ.) เปิดเผยว่า ต้องขอขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ได้ตีกลับข้อเสนอของกระทรวงพลังงานในการขอยื่นร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ…..และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ…..โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาปรับปรุงกฎหมายใหม่ ซึ่ง พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน ระบุไว้ว่าจะแก้ไขใน 26 ประเด็น
      
       “ครม.ตีกลับก็แสดงว่าท่านได้ยินเสียงประชาชน และชี้ให้เห็นว่าร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับที่เสนอโดยกระทรวงพลังงานนั้นมีข้อบกพร่องจริงๆ เพราะก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าก่อนหน้านั้นสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติโหวตไม่ผ่านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม ต่อมานายกฯ ก็มอบให้คณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งก็ได้รวบรวมความเห็นจากทุกส่วนจนใกล้จะเสร็จแล้ว แต่ปลาย เม.ย.กระทรวงพลังงานก็กลับเสนอเข้า ครม.ในแบบฉบับของตนเอง” ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าว
      
       ทั้งนี้ คปพ.ได้แสดงจุดยืนมาตลอดว่าหนุนร่างแก้ไขของ สนช.ที่ศึกษาพบว่าจะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงรวม 57 มาตรา แต่ฉบับกระทรวงพลังงานกลับมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักๆ แค่ 3 ประเด็น โดยเฉพาะมีการนำระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) เข้าไปจริงแต่ไม่ได้เขียนรายละเอียดต่างๆ รองรับไว้เลย ขณะที่ร่าง สนช.ศึกษาจะมีระบบเพิ่มที่ไม่เพียงแต่สัมปทาน แต่จะมี PSC และระบบรับจ้างผลิตเป็นระบบรองรับของแหล่งสัมปทานที่จะหมดอายุในอีก 5-6 ปีข้างหน้า ซึ่งจะต้องมีการตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติมาบริหารจัดการถ่วงดุลอำนาจ” ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าว
      
       อย่างไรก็ตาม หากกระทรวงพลังงานไม่คัดค้านแนวทางการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ที่จะถูกตีกลับไปยังกฤษฎีกาใหม่เพื่อปรับปรุงและนำร่างของ สนช.มาดำเนินการประกอบเชื่อว่าจะใช้เวลาเพียง 1 เดือน เพราะจริงๆ ร่างของ สนช.นั้นได้มีการทำกฎหมายประกอบพร้อมเข้าสภาฯ อยู่แล้ว และก็สามารถเดินหน้าเปิดให้เอกชนยื่นสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 ได้ทันที จึงขอย้ำว่าที่ทุกอย่างล่าช้าก็เพราะกระทรวงพลังงานเอง 

ไม่มีความคิดเห็น: