PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

สนช.มติเอกฉันท์ ผ่านร่างกม.กสม. หลังกมธ. 3 ฝ่ายแก้ไข

สนช.มติเอกฉันท์ ผ่านร่างกม.กสม. หลังกมธ. 3 ฝ่ายแก้ไข


สนช.มติเอกฉันท์ผ่านร่างกม.กสม. หลังกมธ. 3 ฝ่ายแก้ไข ข้อโต้แย้งไม่ตรงตามรธน.1 ประเด็น

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 14 กันยายน ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) โดยมีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช.คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม) พ.ศ.. ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาฯ(กรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย)ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 เป็นประธานฯ ได้พิจารณาแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว เพียง 1 ประเด็นจาก 6 ประเด็นที่กสม.ได้โต้แย้งว่าร่างพ.ร.บ.ที่ผ่านความเห็นชอบของสนช.ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 

ดยประเด็นที่แก้ไขคือ มาตรา 11 วรรคห้า เกี่ยวกับการทำหน้าที่คณะกรรมการสรรหา โดยในการสรรหาจะต้องให้มีผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนมีส่วนร่วมในการสรรหาด้วยอย่างน้อย 1 คน จากร่างเดิมกำหนดหากกรรมการสรรหาไม่ครบก็ให้กรรมการสรรหาเท่าที่ได้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เลย ส่วนอีก 5 ประเด็นที่เหลือไม่มีการแก้ไข โดยยังให้มีการเซตซีโร่กสม.ตามร่างผ่านความเห็นชอบของ สนช.ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนจากนี้จะส่งร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวให้ครม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

สำหรับประเด็นที่กม. ได้โต้แย้งว่า สนช.ผ่านความเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมี 6 ประเด็น ดังนี้ 1.ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 8 ที่กำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของกกรมการกสม.เกินกว่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 246 วรรคสอง 2.ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธธรรมนูญฯมาตรา 11 วรรคห้า ที่กำหนดให้คณะกรรมการสรรหาเท่าที่ทีมีอยู่ปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจไปพลางก่อนได้ ในกรณีที่พ้นกำหนดเวลาเลือกกรรมการสรรหาตาม(6)แล้ว ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งในส่วนของผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนตาม(4)ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 246 วรรคสี่ 3.การกำหนดให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่แต่ในเฉพาะกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เป็นการจำกัดหลักการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม 4.หน้าที่และอำนาจของกสม.ในการตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามร่างมาตรา 34 ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ ตามอารัมภบทของรัฐธรรมนูญ และมาตรา 247(1) 5.การกำหนดให้คณะกรรมการต้องตรวจสอบและชี้แจงหรือจัดทำรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชัดช้า ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการการรายงายสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ทำให้คณะกรรมการขาดความเป็นอิสระในการทำหน้าที่ และ6 การกำหนดให้ประธานและกรรมการ กสม.พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญใช้บังคับ
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบอย่างเอกฉันท์ด้วย 177 คะแนน งดออกเสียง 5 แล้วส่งรายงานให้รัฐบาลต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: