PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

สังคมความจำสั้น การทำให้ลืมและการทำให้จำของสื่อ

โดย ธาม เชื้อสถาปนศิริ

ในทฤษฏีจิตวิทยา มีแนวคิด ที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์ทางสังคมของผู้คนยุคปัจจุบัน ว่าเป็นโรค
"ความทรงจำร่วมเสื่อม" (collective amnesia) และนำมาสู่อาการของสังคม ที่เรียกว่า
"สังคมความจำเสื่อ" (social amnesia)
ซึ่งเป็นแนวคิดของ Russell Jacoby ในปี 1970s. ที่อธิบายว่าคือปรากฎการณ์ที่ผู้คนในสังคมนั้นๆ พากันหลงลืมเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ กระทั่งค่านิยม วัฒนธรรม และข้อเท็จจริงบางอย่างไป
ที่เป็นเช่นนี้ได้ มีหลายสาเหตุ คือ

(1) ปริมาณข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อที่มากมาย

ข้อมูลข่าวสารที่สื่อมวลชนป้อนให้นั้น มีอิทธิพลในการกำหนดว่ามวลชน ประชาชนในวันนี้ ควรสนใจอะไร หรือไม่สนใจอะไร
(ซึ่งก็ตรงกับทฤษฏีการกำหนดวาระข่าวสาร ในเวอร์ชั่นทศวรรษ 1990) ที่อธิบายว่า มิใช่เฉพาะสื่อเท่านั้น
ที่กำหนดว่าอะไรควรรู้ ไม่ควรรู้ แต่ยังเป็นหน่วยงาน สถาบันทางสังคมอื่นๆ ด้วย
ที่จะบอกว่าอะไรสำคัญไม่สำคัญ เช่น รัฐบาล เอกชนธุรกิจ หรือภาคประชาสังคม

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะกำหนดว่า อะไรควรจำ อะไรควรลืมนั้น มีสื่อเป็นเครื่องมือหลักในการผลิต
เมื่ออธิบายดังเช่นนี้แล้ว คุณจะเห็นว่าสื่อมอิทธิพลและบทบาทมาก ในการ "ทำให้สังคมลืมบางเรื่อง และจำบางเรื่อง"

เช่น ช่วยลืมๆ ไปเถอะ ความเลวร้ายของรัฐบาลที่ผ่านมา ช่วยกันไปเลือกตั้งใหม่เถอะ
หรือ ผมจำไม่ได้นะ ว่า ทักษิณเคยทำอะไรไว้ในสังคมไทย หรือ รัฐบบาลนี้ไปทำอะไรให้กลุ่มผู้ชมุนุมโกรธแค้นหรือ
หรือสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่อาจจะคลายพื้นที่ข่าวสารลงไปในหน้าสื่อมวลชน

หรือ ลืมไปแล้วว่า นักการเมืองทุจริตคอร์รัปชั่นโกงกินในคดีความต่างๆ นั้น หายไปไหนหมดแล้ว

ก็ด้วยข่าวสารใหม่ๆ ถูกผลิตหมุนเวียนมาป้อนให้เราทุกวัน จนมนุษย์รุ่นปัจจุบันไม่สามารถจดจำเรื่องราวได้ทั้งหมด
หน่วยความทรงจำระยะยาว จึงถูกทำลายลงไปให้เหลือเพียงหน่วยความทรงจำระยะสั้น


(2) ผู้นำสังคม เช่น นักการเมือง นักวิชาการ

บุคคลเหล่านี้เคยและยังคงเป็นผู้นำความคิดทางสังคมอยู่ (opinion leader) ที่มีบทบาทในการให้ข่าว ให้ความรู้ ให้ทัศนความเห็นที่สื่อมวลชนต้องเอาไปนำเสนอต่อสังคม
ประชาชนจะได้เสพรับข้อมูลช่าวสารส่วนมากมาจากคนสองกลุ่มนี้เป็นหลัก เพราะฉะนั้น นักการเมือง (ซึ่งพร้อมจะลืมง่ายสำหรับความชั่วร้ายของตนเอง) และนักวิชาการ (ซึ่งมักจะชี้นำสังคมไปข้างหน้าด้วยสายตาของตนในแบบหัวก้าวหน้า)
ทั้งสองกลุ่มนี้ จึงเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาความจำเสื้อมสั้นถดถอยให้กับประชาชนมากลงไปอีก

นักการเมืองในแต่ละวันต้องโต้เถียง โต้ต่างกับประเด็นความขัดแย้งอื่นๆ มากมายในแต่ละวัน
จึงไม่ใคร่ที่จะสนใจ หรือพอใจนักที่ต้องพูดเรื่องความผิดพลาดของตนเอง - เลือกตั้งใหม่ ง่ายกว่า
ด้านนักวิชาการ ก็สนใจที่จะประดิษฐ์หาข้อเสนอทางออกที่นำพาสังคมออกไป จนบ่อยครั้งที่จะละเลยความทรงจำในอดีต
และข้อเท็จจริงของปัญหาบางอย่าง เพราะใจจดจ่ออยู่ที่จะมองข้างหน้าเท่านั้น


(3) คนดู คนฟัง คนเสพรับข่าวสาร

อีกด้านที่สำคัญคือ สังคมข้อมูลข่าวสารปัจจุบัน ผู้รับสารมีความสะดวกสบายมากขึ้นในการเข้าถึงข่าวสาร
แต่กับสังคมไทยที่มีความกระตือรือล้นต่ำ และเคยชินกับการที่สื่อจะตักข่าวสารป้อนเข้าปากโดยไม่สงสัยถาม
(สังคมข่าวสารยุคเก่า คนรุ่นเก่า ที่ชินกับสื่อโทรทัศน์ วิทยุ)

ผมว่าคนไทยหลายส่วน ด้วยความที่ไม่เสพข่าวสารมาก ไม่หลากหลาย ไม่รอบด้านและไม่เสพข่าวด้วยตนเอง อาศัยและพึ่งพิงความจำไปที่สื่อมวลชน เช่น นักข่าว นักเล่าข่าว
หรือสื่อบางช่อง ด้วยคววามไว้วางใจว่า สื่อช่องนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ

นั่นจึงทำให้เราพึ่งพิงกำลังในการแสวงหาข้อมูลความรู้ด้วยตนเองลงไป เราไม่ขวนขวายมากพอ แต่เราเอาแต่รอว่าสื่อจะรายงานอะไรบ้าง
คนแบบนี้คือคนที่เชื่อสื่อกระแสหลักมาก อยู่ในโลกยุคเก่า และกำลังจะตายไปด้วยโรคความทรงจำสั้น

ยิ่งเด็กรุ่นใหม่ที่ไม่เสพข่าวสาร ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ และแชร์ข่าวสารผิดๆ ถูกๆ ออกไปด้วยความรวดเร็ว นั่นยิ่งทำให้พวกเขามีความจำสั้นมากขึ้นไปอีก

สังคมข้อมูลข่าวสารในโลกอินเตอร์เน็ต เร็วกว่านั้น มันมีทั้งข้อดี คือ ดึงเอาประวัติศาสตร์ย้อนเวลากาลเก่า เอามานำเสนอใหม่ได้ มันจึงช่วยให้เรา "เรียกความทรงจำเก่าๆ ที่หายไป กลับมาจำได้อีก"

ขณะเดียวกัน มันก็เร็วมาก ด้วยปริมาณข้อมูลข่าวสารจากสื่อกระแสหลัก ที่พยายามโถมทับข้อมูลใหม่ๆ ของตนเอง
ข่าวล่าสุด ข่าวใหม่สุด ข่าวด่วน ข่าวพิเศษ เหล่านี้ ซึ่งเป็นข้อมูลข่าวสารใหม่ที่พยายามเขียนทับลงไปที่หน่วยความจำของเรา

สมองเราจึงหลงลืมเรื่องราวเก่าๆ ไป หลงลืมความเลวร้ายของรัฐบาลคอร์รัปชั่นที่แล้ว แล้วสื่อก็จะเขียนความทรงจำใหม่ว่า
"ไม่เป็นไร รักประชาธิปไตย ก็ไปเลือกตั้งเถอะ" ทั้งๆ ที่ความเก่า ปัญหาเก่า ยังไม่ได้แก้ไขอะไร?

และนักวิชาการบางท่าน หลายท่าน ก็พยายามกลบเกลื่อน เบี่ยงเบนประเด็น
และให้ข่าวให้สัมภาษณ์บนฐานอคติ และพยายามทำให้เรื่องบางเรื่องหายไปด้วยการไม่พูดถึง แต่เลือกที่จะพูดเรื่องบางเรื่องที่ตนเองคิดว่าสำคัญ
และทำให้เรื่องยางเรื่อง ดูไม่สำคัญ ดูผ่อนคลาย ผิดความหมายไป


สื่อเองติดกับดักกับความรวดเร็วของข่าวสารและเหตุการณ์ นักการเมืองเองก็พยายามเล่นเกมการเมืองดึงตนเองไปสู่สถานการณ์ใหม่ๆเสมอ
สื่อเองคิดว่า "ตัวเองต้องตามให้ทัน ไม่เช่นนั้นก็จะตกข่าว" จึงพากันกระโจนลงหลุมความเร็วของกระสแข่าว
ทำให้ไม่มีเวลาย้อนรอย ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าว ใครพูดอะไร ใครว่าอะไร นักวิชาการคนไหนพูดเก่ง ลีลาดี เร้าใจ ตรงไปตรงมา
มีประเด็น มีเรื่องราว ก็พร้อมที่จะแย่งตัวกันไปออกรายการ ไปนำเสนอในพื้นที่สื่อของตน

สื่อทำตัวเองให้กลายเป็นคนความจำสั้น - ทำให้สังคมมีความจำเชิงประวัติศาสตร์ที่สั้น
หลงลืมไปกับเรื่องราว ที่มาและความสำคัญของเหตุการณ์ ที่มาของความขัดแย้ง
แต่ทำข่าวเชิงสถานการณ์ วันนี้ นาทีนี้ ปรากฎการณ์ขณะนี้เท่านั้น!

ด้วยสังคมแบบนี้ ความรวดเร็วข่าวสารเช่นนี้ เราจึงอยู่ภายใต้กับดักของสื่อ ที่กำหนดข่าวสารด้วยความเร็วและลบล้างประวัติศาสตร์ความชั่วเลวของนักการเมืองที่เคยทำในอดีต

เรากลายเป็นคนความจำเสื่อม และสังคมไทยก็กลายเป็นคนขี้ลืมเอาง่ายๆ
หลงลืมไปว่า ความขัดแย้งทางการเมืองที่มาทุกวันนี้ มาจากอะไร เพราะสื่อไม่รายงานมันอีกต่อไปแล้ว

และความรู้สึกเดียวที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ผู้มีความจำสั้น ที่สนใจเฉพาะวันนี้ นาทีนี้ก็คือ "รำคาญมันไปเสียทุกอย่าง"
วิธีเดียวที่จะแก้ความจำสั้นของคนในสังคม คือ "จงอย่าเสพสื่อมากเกินไป อย่าเชื่อสื่อทุกอย่าง แต่จงแสวงหาประสบการณ์นั้นด้วยตัวคุณเอง" คือ ปิดทีวี และออกไปดู ไปเดิน ไปเห็นด้วยตาคุณเอง
3

ไม่มีความคิดเห็น: