PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

42 ปี 14 ตุลาฯ 16 ความเหมือนที่แตกต่างส่งผ่านถึงปัจจุบันนำสู่อนาคต

14102558 42 ปี 14 ตุลาฯ 16 ความเหมือนที่แตกต่างส่งผ่านถึงปัจจุบันนำสู่อนาคต
โดย ไทยรัฐออนไลน์

วันนี้นับเป็นวันครบรอบ 42 ปี เหตุการณ์ วันมหาวิปโยค 14 ต.ค.2516
ในช่วงเวลานั้น พลังเหล่านักศึกษาและปัญญาชนจำนวนมาก ได้ออกมาเรียกร้องให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย ซึ่งทำให้หลายๆ คนได้กลายเป็นวีรชนคนเดือนตุลาฯ เพราะต้องเสียสละชีวิตและเลือดเนื้อ เพื่อเรียกร้องให้ได้มากับคำว่า "ประชาธิปไตย"

อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม 2516
จากวันนั้น มาจนถึงวันนี้ ต้องยอมรับว่า การเมืองของไทยได้พัฒนามาเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย
แม้หัวใจสำคัญของหลักการปกครองด้วยประชาธิปไตยยังคงอยู่ตลอดมา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การพัฒนาทางการเมืองของประเทศไทย ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนาน ล้มลุกคลุกคลานมาก็หลายหน
แต่ก็ยังมีปัญหาสลับกันระหว่างปฏิวัติรัฐประหาร กับการเลือกตั้ง มาโดยตลอด  ไม่ว่าจากยุคปี 2516 มาถึง 6 ตุลาฯ ปี 2519, พฤษภาทมิฬ ปี 2535 หรือจะเป็น 19 กันยาฯ ปี 2549 เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน 22 พ.ค. 2557  ที่เพิ่งผ่านมาสดๆ ร้อนๆ ปัญหาหนึ่งที่เหมือนกันมาโดยตลอด  ซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องเข้าออกเป็นวังวน กว่า 80 ปี ของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยระหว่างอำนาจเลือกตั้งของประชาชน กับ อำนาจพิเศษของกองทัพ
ปัญหายิ่งใหญ่นั้นก็คือ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของเหล่านักการเมืองที่เข้ามาสู่อำนาจร่วมมือกับข้าราชการบางกลุ่ม ที่ขยายตัวอย่างมโหฬาร  จนทำให้ฝ่ายอำนาจพิเศษ สามารถใช้เป็นข้ออ้างในการเข้าทำรัฐประหารได้อยู่เสมอมาจนถึงปัจจุบัน

ญาติพี่น้องวีรชน มาวางพวงรีดระลึกในวันครบรอบและปัญหาเหล่านั้นก็นำมาถึงเหตุการณ์วันที่ 22 พ.ค. 2557 ที่เป็นต้นเหตุทำให้ประเทศไทยต้องเข้าสู่การปฏิรูปขนานใหญ่ทุกด้าน

ในวันนี้ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ยอมรับว่า ได้รับการตอบรับจากประชาชนให้มาเป็นความหวัง เข้ามาจัดการกับปัญหาที่หมักหมมมาหลาย 10 ปี ให้ดีขึ้นอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนให้ได้ ส่วนจะทำได้เพียงใด กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์

ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์

ทีมข่าวไทยรัฐ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สมาชิก สปท. อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ผู้ที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 2516 วันมหาวิปโยค ซึ่งได้สะท้อนมุมมองความแตกต่างของการเมืองในช่วงนั้น ปี 2516 กับการเมืองของไทยในยุคปี 2558
ว่ามีความแตกต่างอย่างไรบ้าง
"พลังนักศึกษากับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในปัจจุบัน เลือนหายไปในความทรงจำของนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หนึ่งในนักศึกษาเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ปี 2516 ที่รวมตัวร่วมกับนักศึกษาและประชาชนราว 5 แสนคน เรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนเกิดจุดพลิกผันทางการเมือง สิ้นสุดอำนาจรัฐบาลเผด็จการ จอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่การเลือกตั้งและประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2517 ได้ในที่สุด"
ภาพประวัติศาสตร์ภายใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รำลึกวีรชนคนเดือนตุลาฯ
สถานที่รำลึก เหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทย
ย้อนไป 42 ปีของเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ศ.ดร.สมบัติ สะท้อนให้เห็นว่า
พลังนักศึกษาในยุคนั้นเป็นพลังบริสุทธิ์ ที่เคลื่อนไหวจากความรู้สึกนึกคิดของตัวเองเพื่อประโยชน์บ้าเมือง แตกต่างจากภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ปี 2519 เมื่อองค์กรนักศึกษาทั่วประเทศได้ถูกยุบลง จากคำสั่งคณะรัฐประหารที่เกิดขึ้นในประเทศอีกครั้ง
การเคลื่อนไหวครั้งนั้นเปลี่ยนไป จากความพยายามเข้าครอบงำของฝ่ายการเมือง ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันในหมู่นักศึกษา ไร้พลังความเข้มแข็ง จนถึงปัจจุบัน พลังนักศึกษาที่เลือนหายไป
ยังถูกตั้งความหวังว่าจะคืนกลับมาเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนแก้ปัญหาของบ้านเมือง โดยเฉพาะการคอร์รัปชัน ปัญหาใหญ่ที่ยังแก้ไขไม่ได้ แม้อาจไม่ใช่รูปแบบเดิมก็ตาม

สมาชิก สปท.ชี้ต่ออีกว่า 42 ปีที่ผ่านไป  สิ่งที่ยังคงมีให้เห็นเหมือนกันต่อเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ คือ
ประชาชนยังคงถามหาคำว่า ประชาธิปไตย-ต่อต้านเผด็จการทหาร-ประเทศยังคงวนเวียนกับการทุจริตคอร์รัปชัน

คนแน่น!อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516
นักศึกษารวมตัวภายใน ม.ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เหตุการณ์การเมืองปี 2516

ดูแลความปลอดภัยสถานีไทยคม
ขณะเดียวกัน ศ.ดร.สมบัติ ยังคงเห็นว่า สิ่งที่แตกต่าง คือ ความหมายของประชาธิปไตยยังคงแตกต่างกัน-ประชาชนแบ่งฝักแบ่งฝ่าย-เรียกร้องให้ทหารเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาบ้านเมือง-พลังนักศึกษาอ่อนแอลง
ขณะที่นักการเมืองได้เข้ามาเคลื่อนไหวโดยตรง มีการใช้อำนาจของคณะรัฐประหารในลักษณะยืดหยุ่น และประนีประนอมมากขึ้น
เช่นเดียวกับพลังของโลกโซเชียลมีเดีย ในโลกยุคไร้พรมแดน ทำให้ไม่สามารถจะปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นได้เหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา
และนั่นคือมุมมองความแตกต่างของการเมือง
ในยุค (ปี 2516) กับข้อแตกต่างของการเมืองในยุค (ปี 2558)
ที่ถูกมองผ่านจากผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรงคนหนึ่ง
ที่ยังมีชีวิตก้าวผ่านมาจนถึงยุคปัจจุบัน และยังคงมีส่วนเกี่ยวข้องกับวงการเมือง
ในยุคที่รัฐบาลกำลังเดินหน้าเพื่อการปฏิรูปประเทศขนานใหญ่อยู่ต่อไป
จะสำเร็จสมดังหวังในเบื้องต้นหรือไม่ต้องรอลุ้นกัน...
ไม่นานเกินรอก็เริ่มน่าจะรู้ผลแล้ว
สามารถติดตามรายงาน 14 ตุลา 16และ 14 ตุลา 58 ความเหมือนที่แตกต่างได้ทางไทยรัฐทีวี ช่วงนิวส์โชว์
ประชาชนออกมาถ่ายรูป ทหาร จากสกายวอล์ก เป็นที่ระลึก
ทหารออกรักษาความสงบ แถวราชประสงค์

ไม่มีความคิดเห็น: