PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บูรพาพยัคฆ์ขั้วอำนาจใหม่ความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น

บูรพาพยัคฆ์ ขั้วอำนาจใหม่กับความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น

ต้องยอมรับว่าเมื่อพูดถึงการเมือง และอำนาจในประเทศไทย ปฏิเสธไม่ได้ว่ากองทัพบกคือขั้วอำนาจสำคัญที่เปี่ยมไปด้วยอำนาจ และอิทธิพลทางการเมืองอย่างมหาศาล แม้ว่าประเทศไทยของเราจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเป็นหลัก แต่ก็ถูกขั้นกลางด้วยระบอบเผด็จการทหารจากการรัฐประหารอยู่บ่อยครั้ง
ในห้วงระยะเวลาไม่ถึงสิบปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง คือ การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แต่ทั้งนี้ การรัฐประหารทั้ง 2 ครั้งไม่เพียงแต่นำความเปลี่ยนแปลงต่อระบบการเมืองของประเทศเท่านั้น แต่ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับโครงสร้าง และสายอำนาจการบังคับบัญชาของกลุ่มทหารในกองทัพบกอย่างชัดเจน
หากเราย้อนไปพิจารณาโครงสร้างของกองทัพบกไทยในยุคหลังจากจอมพลถนอม กิตติขจรสิ้นอำนาจ กองทัพบกไทยนับว่ามีกลุ่มนายทหารที่มีอิทธิพลสูงอยู่เพียง 2 ขั้ว ก็คือ นายทหารสายวงศ์เทวัญ ซึ่งก็คือนายทหารที่ส่วนใหญ่สืบทอดนามสกุลจากนายทหารใหญ่ในยุคก่อน และรับราชการอยู่ในกองพลที่ 1 หรือใกล้เคียง นายทหารกลุ่มนี้มักมีอิทธิพลทางการเมืองสูงเนื่องจากคุมกำลังรักษาพระนคร ซึ่งเป็นขุมกำลังที่ใช้ในการรัฐประหารยึดอำนาจ
ในยุคที่นายทหารสายวงศ์เทวัญเรืองอำนาจที่สุด คือ นับตั้งแต่ยุคของพล.อ.กฤษณ์ สีวะรา จนถึงยุคพล.อ.สุนทร คงสมพงศ์ พล.อ.สุจินดา คราประยูร และพล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี ที่เรืองอำนาจอย่างที่สุดในช่วงปี 2533-2535 โดยมีกลุ่มนายทหารสายลูกป๋า สอดแทรกขึ้นมามีอำนาจเป็นระยะ

13948631561394863190lspd_20080912101551_bSuchinda_Kraprayoon200px-อิสระพงศ์_หนุนภักดี
นายทหารอีกกลุ่มที่มีอำนาจไม่แพ้วงศ์เทวัญในยุคหลังพล.อ.กฤษณ์ สีวะรา เสียชีวิตก็คือกลุ่มนายทหารสายลูกป๋า คำว่า “ลูกป๋า” ก็คือ นายทหารที่มีความสนิทสนมกับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเรืองอำนาจในยุคเปลี่ยนผ่านของวงศ์เทวัญมายาวนาน
ทั้งนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า กองทัพบก ก็คือหน่วยราชการ ดังนั้นเส้นสายจึงเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความสำคัญในการเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เมื่อกองทัพบกมีกลุ่มนายทหารสายวงศ์เทวัญที่มีอำนาจบารมีอยู่แล้ว นายทหารที่ไม่ได้สังกัดอยู่ในกลุ่มวงศ์เทวัญย่อมต้องแสวงหาเส้นทาง เส้นสายในการก้าวเข้าสู่สายอำนาจการบังคับบัญชา และพล.อ.เปรม หรือ “ป๋าเปรม” ก็คือผู้ที่สามารถตอบสนองความต้องการให้แก่นายทหารเหล่านั้นได้ จึงเกิดขั้วอำนาจใหม่ที่เรียกว่า “ลูกป๋า”

12.6
อย่างไรก็ตามภายหลังจากความรุนแรงทางการเมืองในยุคพฤษภา ปี 2535 นายทหารสายวงศ์เทวัญก็ดูจะเสื่อมอำนาจไปไม่น้อย กลับกลายเป็นนายทหารสาย “ลูกป๋า” ที่มีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงการรัฐประหารในปี 2549 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์เองก็ถูกมองว่าเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนการรัฐประหารครั้งนี้ อีกทั้ง ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายทหารสาย “ลูกป๋า” ซึ่งถูกมองว่าเป็นคนสนิทที่สุดคนหนึ่งของพล.อ.เปรม

P8830239-vote6
แต่ภายหลังการรัฐประหารในปี 2549 ขั้นอำนาจอีกขั้วในกองทัพบกก็เกิดขึ้น นั่นก็คือทหารสายบูรพาพยัคฆ์ หรือนายทหารที่เติบโตจากการรับราชการในหน่วยทหารภาคตะวันออก กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และหน่วยในสังกัดได้แก่ กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์(ทหารเสือราชินี) กองพันทหารม้าที่ 2 กองพันทหารม้าที่ 30 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์
ในอดีตทหารสายบูรพาพยัคฆ์นั้นแม้จะขึ้นตรงกับกองทัพภาคที่ 1 แต่ก็มักจะได้ไม่ตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 เนื่องจากคุมกำลังในการรัฐประหาร ส่วนใหญ่จะเป็นนายทหารจากสายวงศ์เทวัญหรือสายลูกป๋าสลับกันมากกว่า แต่ทหารสายบูรพาพยัคฆ์ได้กลายเป็นขั้วอำนาจใหม่จากหลายสถานการณ์ ซึ่งต้องย้อนไปถึงการขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์

995665640dc3199L
กล่าวคือในสมัยที่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นผู้บัญชาการทหารบกนั้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งเป็นนายทหารที่เติบโตมาจากสายบูรพาพยัคฆ์ และรอคิวขึ้นเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 แต่กลับถูกโยกย้ายไปแขวนในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ทำให้มีกระแสข่าวว่าพล.อ.สุรยุทธ์ นั้นไม่ถูกกับพล.อ.ประวิตร
ซึ่งต่อมาในยุคของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ก็ได้มีการย้ายพล.อ.ประวิตรกลับเข้าสู่สายการบังคับบัญชา ได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกตามลำดับ
และภายหลังได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก ขั้วอำนาจในกองทัพภาคที่ 1 ก็เปลี่ยนแปลงไป

ทหารสายบูรพาพยัคฆ์ได้รับตำแหน่ง แม่ทัพภาคที่ 1 มาถึง 4 คนรวมเวลากว่า 8 ปี ได้แก่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.คณิต สาพิทักษ์ และพล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ซึ่งทุกคนล้วนแต่ได้รับตำแหน่งใหญ่ในกองทัพบกทั้งสิ้น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาก็ได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก และพล.อ.อุดมเดช สีตบุคร ก็จ่อคิวรอขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกเช่นกัน

tnews_1261730840_650ประยุทธ์_จันทร์โอชา1015
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจหากทหารบางกลุ่มจะเกิดความไม่พอใจ ที่อำนาจในกองทัพบกถูกทหารกลุ่มบูรพาพยัคฆ์ครอบครองเบ็ดเสร็จเช่นนี้ แม้แต่กลุ่มทหารสายลูกป๋า และวงศ์เทวัญก็เช่นกัน แม้จะมีการร่วมมือกันเพื่อล้มรัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทย แต่เมื่อล้มได้แล้ว อำนาจกลับยังคงอยู่ในมือของบูรพาพยัคฆ์อย่างเบ็ดเสร็จเช่นเดิม
การโยกย้ายพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา นายทหารสายวงศ์เทวัญเพียง 1 เดียวที่มีอำนาจเป็น 5 เสือทบ.ในยุคบูรพาพยัคฆ์เรืองอำนาจ ไปแขวนไว้ในตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด จนถึงท่าทีของสื่ออย่าง ASTVผู้จัดการ ที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่า “ยุ” และ “เสี้ยม” โดยยกเอาพล.อ.ไพบูลย์ ขึ้นมาเปรียบเทียบกับพล.อ.ประยุทธ์ อีกทั้งยังโจมตีรัฐบาลคสช.เรื่อยๆทั้งๆที่เคยร่วมกันล้มรัฐบาลเพื่อไทย

640_dbkhiggae85fgdce7f6b6
จึงต้องจับตามองกันต่อไปว่าความขัดแย้งภายในของขั้วอำนาจบูรพาพยัคฆ์ กับวงศ์เทวัญ รวมถึงทหารสาย “ลูกป๋า” ที่เริ่มหมดอำนาจ จะกลายเป็นคลื่นใต้น้ำลูกใหญ่ที่ทำลายความมั่นคงของรัฐบาลคสช.และบูรพาพยัคฆ์หรือไม่ อย่าลืมว่าทหารไทยมักมีคำพูดติดปากมาจากวลีอันโด่งดังของพล.อ.แมคอาเธอร์ว่า “ทหารแก่ไม่มีวันตาย”

ไม่มีความคิดเห็น: