PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ใครเป็นใคร5ป.ป.ช.คนใหม่

ใครเป็นใคร5ป.ป.ช.คนใหม่

ใครเป็นใคร5ป.ป.ช.คนใหม่ : สำนักข่าวเนชั่น โดย ประภาศรี โอสถานนท์

            เป็นไปอย่างเรียบร้อยสำหรับ 5 ว่าที่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช. ) ที่ประกอบด้วย 
1.นายวิทยา อาคมพิทักษ์ อดีตกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 2.นางสุวณา สุวรรณจูฑะ ปลัดกระทรวงยุติธรรม 3.พล.ต.อ.วัชรพล 
ประสารราชกิจ อดีตรอง ผบ.ตร. 3.นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ และ 5.พล.อ. บุณยวัจน์ 
เครือหงส์ อดีตผอ.สำนักตรวจสอบภายในกองทัพบก หลังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติให้ความเห็นชอบไปเมื่อ
วันที่ 19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
            5 กรรมการป.ป.ช.คนใหม่ ถอดด้าม ก็จะรับไม้ต่อจากกรรมการ ป.ป.ช.คนเก่าที่ต้องหมด
วาระไป โดยหน้าที่หลักคือ การปราบปรามการทุจริต และสะสางคดีที่อยู่ในป.ป.ช. ทั้ง 5 คนนี้
ก็เป็นที่รู้จัก คุ้นหน้าคุ้นตากัน เพราะอยู่ในแวดวงการเมือง ข้าราชการ ซึ่งแต่ละคนมีประวัติ
ผลงาน ไม่ธรรมดา


            นายวิทยา อาคมพิทักษ์ เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาฯ ป.ป.ช. ถือเป็นลูกหม้อของ
ป.ป.ช. โดยเริ่มทำงานตั้งแต่ปี 2525 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวน 3 สมัยที่หน่วยงานยังใช้ชื่อ
ป.ป.ป. หลังโยกย้ายมาจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จากนั้นก็ทำงานใน
ป.ป.ช.มาตลอดจนในปี 2551 เป็นผู้อำนวยการสำนักการข่าวและกิจการพิเศษ ปี 2554
เป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ปี 2556 เป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการ
ป.ป.ช. ท้ายสุดไปดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เรียกได้ว่ารู้ทุกซอก
ทุกมุมของ ป.ป.ช.ทั้งหมด
            นางสุวณา สุวรรณจูฑะ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปัจจุบันอายุ 59 ปี จบปริญญา
ตรีบัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโทรัฐศาสนมหาบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์
ทำงานอยู่ในกระทรวงยุติธรรมมานาน โดยปี 2545 เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม
ปี 2549 เป็นอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ปี 2554 เป็นรองปลัด
กระทรวงยุติธรรม และปี 2557 เป็นอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ล่าสุด
ก็ก้าวขึ้นมานั่งเก้าอี้กระทรวงยุติธรรม และยังได้รับความไว้วางใจจากคสช.ให้เป็นกรรม
การสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ถือว่า นางสุวณามีความสัมพันธ์ที่ดีกับ คสช.
            พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ  อดีตรองผบ.ตร. ก็เป็นบุคคลที่รู้จักกันดี ก่อน
หน้านี้ได้รับการแต่งตั้งเป็น สนช. แต่ลาออกไปสมัคร ป.ป.ช. และได้รับเลือกในที่สุด
พล.อ.อ.วัชรพลจบปริญญาตรีรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ก่อนที่
จะไปศึกษาต่อต่างประเทศที่สหรัฐอเมริกา และแคนาดานานหลายปี และกลับมา
เป็นผู้บังคับการกองการต่างประเทศ/หัวหน้าตำรวจสากลไทย ในปี 2539 ขึ้นเป็นผู้
บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (ปส.) ในปี 2546 ต่อมาปี 2553 ขึ้นดำรงตำแหน่ง
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก่อนขึ้นนั่งรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
แทน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ในปี 2557 และยังเคยเป็นรองเลขาธิการนายก
รัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี) นอกจากนี้ยังเป็นที่
ปรึกษาบริษัทเอกชนอีกหลายแห่ง
            นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ และอดีต
ประธานศาลอุทธรณ์ อายุ 66 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์
จบเนติบัณฑิตไทย และรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์ ในปี 2519 เป็นรองสารวัตร
สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม ปี 2521 ย้ายมาเป็นรองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจ
นครบาลหัวหมาก จากนั้นปี 2535 เปลี่ยนสายงานมาเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ ในปี 2535 ต่อมาในปี 2540 ขึ้นเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และในปี 2551
 เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ ปี 2552 ขึ้นตำแหน่งประธานศาลอุทธรณ์
ภาค 5 ปี 2553 ก็ขึ้นนั่งเป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3 และปี 2554 ดำรงตำแหน่งผู้
พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ปัจจุบันเป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา
            พล.อ.บุณยวัจน์ เครือหงส์ อดีต ผอ.สำนักตรวจสอบภายในกองทัพบก อายุ 63 ปี
 จบปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) ปริญญาบัตร
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 47 เติบโตก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ในกองทัพ
มาโดยในปี 2539 การดำรงตำแหน่ง ผอ.กองตรวจสอบและวิเคราะห์ สำนักงานปลัดบัญชี
กองทัพบก ในปี 2543 เป็น ผอ.กองสำรวจและจัดหน่วย สำนักงานปลัดบัญชี ปีต่อมาในปี 2545
เป็นผู้ช่วยปลัดบัญชีทหารบก และในปี 2547 เป็น ผอ.สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก
ต่อมาในปี 2552 ขึ้นเป็นรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม และท้ายสุดในปี
2554 เป็น ผอ.สำนักงบประมาณกลาโหม ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงาน กสทช. หรือซูเปอร์บอร์ด กสทช. ว่ากันว่า
 เป็นแคนดิเดตตำแหน่งประธาน ป.ป.ช.
            ทั้งหมดคือประวัติของ 5 กรรมการป.ป.ช.คนใหม่ ซึ่งคงจะการันตีคุณภาพกันได้
อย่างไรก็ตามคงต้องดูกันยาวๆ เพราะมีเวลาอีก 9 ปี ที่จะพิสูจน์ผลงานว่าจะมีฝีมือในการ
ปราบโกงได้มากน้อยแค่ไหน และจัดการคดีต่างๆ ด้วยความเป็นกลาง เพื่อป้องกันข้อครหา
รับ "ใบสั่ง” เพราะคดีที่ ป.ป.ช.ทำอยู่ที่เป็นคดีใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับนักการเมืองเกือบทั้งสิ้น
 โดยขณะนี้รอเพียงการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอย่างเป็นทางการก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่
อย่างเต็มตัว โดยกรรมการ ป.ป.ช.ป้ายแดงทั้ง 5 คน จะไปรวมกับกรรมการ ป.ป.ช.เดิม
4 คน ครบจำนวนกรรมการ ป.ป.ช. 9 คน
พล.อ.บุญวัจน์ เครือหงษ์
            “คงต้องจัดลำดับความเร่งด่วนคดี งานไหนมีผลกระทบในวงกว้างกับประชาชน
 ทำให้เกิดความเสียหาย ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องทำก่อน นอกจากนี้ในเรื่องของการทำฐาน
ข้อมูลกลาง เพื่อให้กรรมการป.ป.ช.ทุกคนได้รับทราบเพื่อให้ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป
เพราะ ป.ป.ช.ต้องทำงานเป็นทีม อย่างไรก็ตามไม่หนักใจกับการทำหน้าที่ เพราะนายกฯ
ย้ำให้ทุกฝ่ายทำตามกฎหมาย ยึดกฎหมายเป็นหลัก ผิดก็ว่าไปตามผิด ถูกก็ว่าไปตามถูก
เพราะทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมาย ใช้ดุลพินิจไม่ได้ ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า เป็นแคนดิเดตประธาน
 ป.ป.ช.คนใหม่นั้น ไม่ทราบ อยู่ที่ ป.ป.ช.ทั้งหมด”



นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร

            “ผมทำงานเกี่ยวกับกฎหมายมากว่า 30-40 ปี ดูสำนวนคดีความมามากมาย ซึ่งการ
ทำงานต้องดูสำนวนคดีความทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อถือ สร้างการยอมรับ
ของสาธารณชน มองว่า ระบบการบริหารสำนวนคดีความต่างๆ มีความสำคัญ บางคดีก็ถูกวิพากษ์
วิจารณ์จากภายนอก ดังนั้นต้องทำให้มีประสิทธิภาพ โดยคดีต่างๆ ที่ ป.ป.ช.รับมาทำนั้นมา
จากประชาชนที่ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. บางเรื่อง ส.ส.-ส.ว.ลงชื่อยื่นเรื่องผ่านประธานวุฒิสภา
หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อส่งต่อให้ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวน และชี้มูล และ
 ป.ป.ช.เองก็มีอำนาจมีเหตุอันควร ที่จะหยิบเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาทำเองก็ได้ ซึ่งขณะนี้
ป.ป.ช.มีคดีที่ต้องทำจำนวนมาก บางคดีก็เป็นที่สนใจของสาธารณชน ภารกิจของ ป.ป.ช.
ไม่น่าหนักใจเท่าไร แต่การทำให้ประชาชนยอมรับการทำงานของ ป.ป.ช.เป็นเรื่องที่สำคัญ
มากเหมือนกับผู้บริโภคกับผู้ประกอบการ เมื่อมีผลิตภัณฑ์ออกมา ผู้บริโภคพอใจ ก็ถือว่าดี
แต่การให้ทุกคนพอใจทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ ได้ 90 เปอร์เซ็นต์จาก 100 เปอร์เซ็นต์ก็ถือ
ว่าดีที่สุดแล้ว”


            “หลังจาก ป.ป.ช.เข้าไปปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มตัวแล้วคงต้องสะสางคดีต่างๆ
ที่มีอยู่ในมือเป็นหมื่นกว่าเรื่อง โดยเฉพาะคดีใหญ่ๆ ที่ประชาชนให้ความสนใจ ไม่มีเวลา
ที่จะดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์อีกแล้ว ซึ่งป.ป.ช.ทั้ง 9 คน ต้องสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ 
ไต่สวน ชี้มูลคดีต่างๆ ด้วยความเป็นธรรม ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อสร้างความ
เชื่อมั่นและเชื่อถือจากทุกฝ่ายกลับมา”



รายชื่อ 9 กรรมการ ป.ป.ช.



ณรงค์ รัฐอมฤต



สุภา ปิยะจิตติ



พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง



ปรีชา เลิศกมลมาศ



วิทยา อาคมพิทักษ์



สุวณา สุวรรณจูฑะ



พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ



สุรศักดิ์ คีรีวิเชียร



พล.อ.บุณยวัจน์ เครือหงส์

ไม่มีความคิดเห็น: