PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ผบ.ทบ. สั่ง ทหารช่วยแจง3ข้อ แทนบิ๊กตู่

สั่ง ทหารช่วยแจง3ข้อ แทนบิ๊กตู่

"พลเอกธีรชัย"สั่งคสช.บังคับใช้กฎหมาย ดูแลสถานการณ์ในประเทศให้สงบเรียบร้อย สั่งทหารทั่วประเทศช่วยแจง3 ข้อแทนรัฐบาล"บิ๊กตู่"
ทำไมต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ตัวเลข 6-4,6-4 คืออะไร-รัฐบาลสั่งห้ามใช้น้ำหรือสั่งห้ามทำนาจริงหรือ -Road Map คสช. สั่งทหาร ออกชี้แจงข่าวเข้าใจผิด ต่อนโยบายรัฐ /สั่งทหาร เดินหน้า จัดระเบียบสังคม ต่อ ทั้ง จยย.สถานบันเทิง เผย ช่วยแก้ปัญหา ประชาชนร้องเรียน แล้ว1,186,077เรื่อง คิดเป็นร้อยละ95.7 /ประชุม สำนักเลขาฯคสช.

ที่ กองบัญชาการกองทัพบก พลเอก ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมสำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

พันเอกหญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษก คสช. เผยว่า ได้มีการชี้แจงการปฏิบัติงานในรอบสัปดาห์ ที่สำคัญ เช่น การช่วยเหลือประชาชนจากเหตุอุทกภัย ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด, การพบปะส่วนราชการและภาคประชาชนเพื่อเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ การเดินหน้าจัดระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างยั่งยืน และป้องกันมิให้กลับมาเกิดปัญหาอีก เช่น การจัดระเบียบรถรับจ้างสาธารณะ การสนับสนุนกระทรวงยุติธรรมในการควบคุมสถานบริการ, การป้องกันและแก้ไขปัญหาการแข่งขันรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในทาง จำนวน 214 ครั้ง ใน 34จังหวัด

การเข้าช่วยคลี่คลายและควบคุมสถานการณ์การประท้วงที่สถานีตำรวจภูธรถลาง จ.ภูเก็ต รวมทั้งการปรับแผนงานและกระจายโครงการของศูนย์ปรองดองสมานฉันท์ลงสู่จังหวัด

การประชุมในวันนี้ พลเอกธีรชัย เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้สั่งการให้ทุกส่วน ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สนับสนุนนโยบายเร่งด่วนและปฏิบัติตามบัญชาของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยเคร่งครัด
ทั้งในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายเพื่อดูแลสถานการณ์ในประเทศให้เกิดความสงบเรียบร้อย
การชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องนโยบายและแผนการปฏิบัติงานที่สำคัญของรัฐบาล ให้ประชาชนและต่างประเทศได้รับทราบ การดูแลปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มต่างๆ ให้ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยมีเรื่องสำคัญเร่งด่วนได้แก่ การรับมือและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ซึ่ง พลเอกธีรชัย เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้กำชับให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย เข้าประสานงานกับฝ่ายปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรอำเภอ จัดทีมงานเข้าสำรวจและรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งความต้องการของเกษตรกร เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสนับสนุนให้รัฐบาลพิจารณาหามาตรการความช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป

นอกจากนี้ให้สำรวจปัญหาที่เกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ กำลังประสบอยู่ด้วย เช่น ปัญหายางพารา ปาล์มน้ำมัน การชุมนุมเรียกร้องด้านมลภาวะในขณะเดียวกัน ให้ใช้กลไกของคณะทำงานร่วมฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร ลงพื้นที่ถึงระดับหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ ผ่านกิจกรรมประชาคมหมู่บ้าน เพื่อพบปะและนำผลการดำเนินงานของรัฐบาลที่สำคัญไปชี้แจงกับประชาชน

โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจใน 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ ทำไมต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ตัวเลข 6-4,6-4 คืออะไร /รัฐบาลสั่งห้ามใช้น้ำหรือสั่งห้ามทำนาจริงหรือ และ Road Map ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยการชี้แจงจะดำเนินการควบคู่ไปกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้ง ได้แก่ สถานการณ์น้ำในพื้นที่นั้นๆ การขอความร่วมมือและให้คำแนะนำในเรื่องการปลูกพืชใช้น้ำน้อย สำหรับพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง บนพื้นฐานของความเห็นใจในความเดือดร้อนของเกษตรก

ทั้งนี้การแก้ปัญหาหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรให้อยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจ
อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือภัยแล้ง ซึ่งรัฐบาลได้กำหนด 8 มาตรการช่วยเหลือ และแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วนคือ ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด และพื้นที่นอกเขตชลประทาน 55 จังหวัด นั้น พลเอกธีรชัย เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กำชับให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ประสานในเรื่องการจัดทำและเสนอ โครงการความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง โดยให้ฝ่ายปกครอง กระทรวงเกษตร และฝ่ายทหาร ร่วมกันทำประชาคมกับประชาชน เสนอเป็นโครงการความช่วยเหลือ ภายในเดือนตุลาคม 2558เพื่อให้สามารถเริ่มเปิดโครงการได้ตั้งแต่พฤศจิกายน 2558ทั้งนี้รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือในลักษณะเมล็ดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์

ส่วนการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย และศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป ให้ทำงานสอดคล้องกันและสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ และจังหวัด อย่างเต็มที่ ในการแก้ไขปัญหาที่ประชาชนร้องเรียน โดยยึดถือความเดือดร้อน ความไม่เข้าใจ และความต้องการของประชาชนเป็นหลัก
ซึ่งที่ผ่านมาศูนย์ดำรงธรรมได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน ร้องทุกข์ของประชาชนไปแล้ว 1,186,077เรื่อง คิดเป็นร้อยละ95.7

ทั้งนี้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ให้ยึดถือหลักการเช่นเดียวกันด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: