PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เตรียมส่งมอบรถเกราะยูเครน

"พลเอกประวิตร" นำ ผบ.เหล่าทัพ เดินชมนิทรรศการอาวุธ ยันกห.หนุนเหล่าทัพ-กห.วิจัย สร้างยุทโธปกรณ์ใช้เอง เล็งเพิ่มงบฯ แต่ต้องร่วมทุนภาคเอกชนก่อน เผยราคายังสูงอยู่ หวังเหล่าทัพเป็นลูกค้า /พบหารือ Gen Stepan Poltorak รมว.กห.ยูเครน และเดินชมนิทรรศการDefense & Security2015 ในส่วนของ ยูเครน ด้วย โดยพลเอกประวิตร เผยว่า ทางยูเครน ยืนยัน จะส่งมอบ รถถัง Oplot และรถเกราะ BTR3-E1 ให้ ทบ.ตามสัญญา โดยจะส่งรถถังOplotมาอีก5คันปลายปีนี้ หลับจากที่ส่งมาแล้ว10 คัน และ ส่ง รถเกราะBTR อีกราว40คัน ให้ต้นปี2016
ที่อิมแพค เมืองทองธานี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรมว.กลาโหม พร้อมด้วย พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกลาโหม พลเอกสมหมาย เกาฏีระ ผบ.สส. พลเอกธีรชัย นาควานิช ผบทบ. พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผบ.ทร. พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ผบทอ. และ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ได้ร่วมพิธีเปิด และเดินชมนิทรรศการการ Defense & Security 2015 จัดโดยกระทรวงกลาโหม ซึ่งมี พลเอกปรีชา ปัดกลาโหม เป็นแม่งาน
ในการนี้ พลเอกประวิตร ได้พลหารือกับ Gen Stepan Poltorak รมว.กห.ยูเครน และเดินชมนิทรรศการDefense & Security2015 ในส่วนของ ยูเครน ด้วย
โดยพลเอกประวิตร เกิดเผยว่า ทางยูเครน ยืนยัน จะส่งมอบ รถถัง Oplot และรถเกราะ BTR3-E1 ให้ ทบ.ตามสัญญา โดยจะส่งรถถังOplotมาอีก5คันปลายปีนี้ หลับจากที่ส่งมาแล้ว10 คัน และ ส่ง รถเกราะBTR อีกราว40คัน ให้ต้นปี2016
พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า จากสถานการณ์ด้านความมั่นคงในปัจจุบันที่มีความซับซ้อน และมีลักษณะข้ามชาติ ทำให้อาวุธยุทโธปกรณ์ เทคโนโลยีมีความทันสมัย นอกจากกองทัพมีหน้าที่ปฏิบัติด้านการทหารแล้ว ยังต้องมีความพร้อมช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเมื่อประสบพิบัติ ตลอดจนแก้ไขปัญหาอื่นๆ เช่น การป้องกันการค้ามนุษย์ และแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมทั้งสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ ดังนั้นงาน
Defense & Security 2015 จะนำเสนอเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ผลิต ผู้แทนนายทหารระดับโลกได้แลกเปลี่ยนความรู้ และเสริมสร้างความร่วมมือในระยะยาว ทั้งยังเป็นช่องทางพิเศษให้กับภาคการผลิตจากนานาประเทศอีกด้วย

พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า งานนึ้ จัดมาต่อเนื่องกันมา ร่วมกับกระทรวงกลาโหม และภาคเอกชน เพื่อให้ต่างประเทศมาออกบูธแสดงสินค้า ซึ่งในปีนี้มีกว่า 300 บูธ
พลเอกประวิตร กล่าวถึงการสนับสนุนอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ ในส่วนของไทยว่า เนาสนับสนุนการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ใช้เองอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถนำเข้าประจำการในกองทัพได้ โดยเฉพาะในส่วนกระทรวงกลาโหมที่ร่วมกับภาคเอกชนได้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ มีความคืบหน้าไปมาก และพยายามดึงทุกเหล่าทัพมาเป็นลูกค้า แต่ติดที่ราคาสูง และผลิตได้จำนวนจำกัดเพียง 1-2 ชิ้น เพราะฉะนั้นต้องดูว่าในอนาคตจะดำเนินการอย่างไร เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอด
นอกจากนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากต่างประเทศด้วย เช่น ประเทศยูเครน เราจะประกอบรถลำเลียงพลหุ้มเกราะแบบล้อยาง หรือ BTR-3E-1 ในประเทศไทย
ส่วนการหารือกับ รมว.กลาโหมยูเครน กรณีการจัดซื้อรถถัง Oplot ที่ไทยสั่งซื้อนั้น โดยทางยูเครนทราบดี และบอกว่าจะทำตามสัญญา เพียงแต่ยังติดขัดสถานการณ์ภายในประเทศของเขา ซึ่งภายในปีนี้จะส่งมาอีก 5 คัน โดยทาง พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.ก็ติดตามอยู่ตลอดเวลา ส่วนรถเกราะBTR อีก40 คัน จะมาในต้นปี2016

พล.อ.ประวิตร กล่าวต่อว่า กระทรวงกลาโหมพยายามสร้างอุปกรณ์มาใช้เอง เพียงแต่ติดขัดที่มีงบประมาณน้อย และต้องอาศัยบริษัทเอกชนให้ความร่วมมือ ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการก็มีขีดความสามารถ แต่ต้องเข้าใจว่าเราไม่สามารถสร้างโรงงานผลิตเองได้ เพราะไม่มีงบประมาณ ทั้งนี้ตนมองว่าภายในปีหน้าถ้ามีงบประมาณ และร่วมงานกับเอกชนก็จะมีความชัดเจนมากขึ้น
นอกจากนี้ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) ได้ ”เปิดตัว ยานเกราะล้อยาง 8x8
รุ่น Black Widow Spider ที่ผลิตขึ้นเองคันแรกของประเทศ
โดยถือเป็นก้าวสำคัญสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เกิดความเข้มแข็งมีศักยภาพเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเอง พร้อมนำทัพอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ โชว์ฝีมือนักวิจัยไทย ในงาน Defense & Security 2015
พลเอก สมพงศ์ มุกดาสกุล ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) เปิดเผยว่า ประสิทธิภาพของยานเกราะล้อยาง DTI 8x8 นี้เป็นไปตามมาตรฐานทางทหารของกลุ่มประเทศนาโต้ (NATO STANAG) ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ผลงานที่เป็นนวัตกรรมชิ้นสำคัญคือ “ยานเกราะล้อยาง DT 8x8” คันแรกของเมืองไทย ชื่อรุ่นBlack Widow Spider ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทยของ DTI บูรณาการความร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ MTEC และภาคเอกชนทีความเชี่ยวชาญในด้านนิรภัยยานยนต์ ทำให้ เกิดต้นแบบยานเกราะนี้ขึ้นมา โดยใช้เทคโนโลยีของตัวเองมากกว่า 60% และใช้ระยะเวลาเพียง 2 ปี ซึ่งถือเป็นก้าวกระโดดสำคัญของโครงการพัฒนายุทธยานยนต์เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี
โดยที่คุณสมบัติสำคัญของยานเกราะล้อยาง DTI 8x8 คือ สามารถขับเคลื่อนได้ทั้งบนบกและในน้ำ รองรับผู้ปฏิบัติงานได้ 12 นาย ติดตั้งป้อมปืนได้ถึงขนาด 30 มม. มีกล้องตรวจการณ์รอบคันรถจึงปฏิบัติภารกิจได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เป็นยานบัญชาการ มีตัวถังเกราะได้มาตรฐานนาโต้
STANAG 4569 ระดับ 4 คือ ทนทานต่อกระสุนปืนเล็กทุกขนาด ทนต่อกระสุนปืนกลหนักขนาด 14.5 x 114 มม. หรือ 0.57 คาลิเบอร์ ที่ยิงระยะ 200 เมตร และยังทนต่อแรงระเบิดของกระสุนปืนใหญ่ขนาด 155 มม.ที่ตกระยะ 30 เมตรอีกด้วย
อีกทั้งยังมีสมรรถนะสูงที่เหมาะสมต่อการ ปฏิบัติงานในสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างได้เป็นอย่างดียิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการไต่ลาดชันได้ไม่น้อยกว่า 60% การไต่ลาดเอียงได้ไม่น้อยกว่า 30%
ปัจจุบันอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยถือว่ามีความรุดหน้าไปมาก โดย DTI ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีความสามารถและมีความตั้งใจ ในการพัฒนาและผลักดันให้เกิดการวิจัยและสร้างยุทโธปกรณ์ของไทยให้กับกองทัพ ซึ่งเมื่อเกิดความเข้มแข็งแล้วในอนาคตก็จะมีโอกาสในการร่วมมือพัฒนาด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศระหว่างชาติ ในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน
“ช่วงปี 2558 - 2559 DTI ซึ่งเป็นหน่วยงานด้าน R & D อาวุธยุทโธปกรณ์ให้กองทัพไทย ได้สร้างผลงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศไปแล้วกว่า 20โครงการ โดยหลายโครงการที่นำมาจัดแสดงนั้นได้มีการส่งมอบให้กองทัพไปใช้งานแล้ว ซึ่งต้องขอบคุณหน่วยผู้ใช้ที่ให้การสนับสนุนและร่วมผลักดันอุตสาหกรรมป้องกันประเทศสะท้อนได้ว่าDTI กำลังพัฒนาไปถูกทาง สามารถสร้างอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เติบโต ได้สร้างประโยชน์ ต่อภาคเศรษฐกิจ นำรายได้เข้าสู่ประเทศและสร้างงานให้แก่ประชาชนได้เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมประเภทอื่น”พลเอกสมพงศ์ กล่าว
นอกจากนี้ ภายในงาน DTI ยังมีผลงานพัฒนาอื่น ๆ ที่นำมาจัดแสดงอีกมากมายเช่น ระบบอากาศยาน ไร้คนขับ ระบบจำลองยุทธ์ จรวดขนาด 122 มม.
ความพิเศษอีกอย่างคือการแสดงแบบจำลองของรถสายพานType 85 ที่ติดตั้งแท่นยิงจรวดขนาด 122 มม. เป็นครั้งแรกที่นี่อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: