PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เมาท์กระจาย เมื่อประธานศาล ปค.สูงสุดโร่แจ้งความ

เมาท์กระจาย เมื่อประธานศาล ปค.สูงสุดโร่แจ้งความ

Author by  11/02/14No Comments »
 
โดย ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์
กลายเป็นทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ในศาลปกครอง เมื่อมีข่าวว่า นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ได้มอบอำนาจให้ นายอโนชา ชัยวงศ์ นิติกร สำนักงานศาลปกครองไปแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่โพสต์ข้อความเฟซบุ๊คในข้อหาดูหมิ่นประธานศาลปกครองสูงสุดที่ สน.ทุ่งสองห้อง โดยไม่ระบุว่า “ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด”
คำถามคือ ใครโพสต์ข้อความอะไรลงในเฟซบุ๊ค ถึงขนาดทำให้นายหัสวุฒิโกรธ ถึงขั้นไปแจ้งความดำเนินคดี
ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557 ร.ต.ท.ชัยรัตน์ ธรรมสีหา พนักงานสอบสวน ได้ออกหมายเรียกพยานคือ นายพุฒิพงศ์ พงศ์อเนกกุล อยู่ย่านตลาดพลู เขตธนบุรี กทม.ไปให้การเป็นพยานในในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2557
(ในภาพหมายเรียก)
จากการตรวจสอบพบว่า นายพุฒิพงศ์ เป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์ เคยเรียนกับนายหัสวุฒิที่เป็นยังอาจารย์พิเศษสอนอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ด้วย
นายพุฒิพงศ์ยอมรับว่า เคยโพสต์ภาพนายหัสวุฒิสองภาพและข้อความวิพากษ์วิจารณ์ลงในเฟซบุ๊ค Phuttipong Ponganekgul  ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ให้ถูกพนักงานสอบสวนเรียกตัวไปเป็นพยาน
ขณะที่ ร.ต.ท.ชัยรัตน์ ธรรมสีหา พนักงานสอบสวน ยอมรับว่า ประธานศาลปกครองสูงสุดให้มาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้โพสต์ภาพดังกล่าว แต่ถ้าต้องการทราบรายละเอียดให้ไปที่สถานีตำรวจ
เมื่อตรวจสอบภาพสองภาพที่มีการโพสต์ลงในเฟซบุ๊คแล้ว  ถ้าดูเฉพาะภาพไม่แล้วไม่น่าจะเป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทใดๆ
ภาพแรกเป็น นายหัสวุฒิใช้มือแตะศรีษะผู้หญิงรายหนึ่ง นั่งหลับตาทำท่าเหมือนบริกรรมคาถา
ภาพสอง นายหัสวุฒิกำลังยืนกุมมือพระสงฆ์รูปหนึ่งแล้วทำท่าเหมือนบริกรรมคาถาเหมือนภาพแรก
ที่สำคัญภาพนี้มีการแพร่กระจาย และส่งต่อๆกันในหมู่ตุลาการและเจ้าหน้าที่สำนักงานศาลปกครองเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง

แต่ที่มีปัญหาจนถึงขั้นนายหัสวุฒิไปแจ้งความดำเนินคดีนั้น น่าจะเป็นข้อความใต้ภาพที่พูดถึงความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมในพฤติกรรมดังกล่าว
อย่างไรก็ตามข้อหาดูหมิ่นเป็นความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ซึ่งระบุว่า ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางทาจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ว่ากันตามจริงแล้ว กรณีนี้เป็นเพียงเรื่องอื้อฉาวเล็กๆที่เกิดขึ้นในศาลปกครองเพราะในช่วงที่ผ่านมานับแต่ยุคนายอัขราทร จุฬารัตน์  เป็นประธานศาลปกครองสูงสุดจนมาถึงนายหัสวุฒิ ได้มีกรณีอื้อฉาวขึ้นในศาลปกครองหลายเรื่อง และมีการนำไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) อาทิ การเปลี่ยนองค์คณะศาลปกครองสูงสุดในการพิจารณาคดีแถลงการณ์ร่วมปราสาทพระวิหาร การแต่งตั้งอดีตตุลาการศาลปกครองสูงสุดเป็นที่ปรึกษาโดยหลายคนไม่มีภาระงานที่ชัดเจน  แต่ได้รับเงินเดือนสูงๆรวมแล้วปีละกว่า 5 ล้านบาท  ลูกสาวของผู้บริหารระดับสูงในศาลปกครองสูงสุดเป็นผู้ช่วยทนายความในคดีที่ผู้บริหารรายดังกล่าวเป็นผู้พิจารณาคดีด้วย
น่าเสียดายที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช.เองก็ไต่สวนบางคดีอย่างล่าช้านานกว่า 3 ปี ทั้งๆที่มีพยานหลักฐานชัดเจนจนเชื่อกันในศาลว่า กรรมการ ป.ป.ช.บางคนให้ความช่วยเหลือเพราะมีความสัมพันธ์กันในอดีต
เรื่องราวเหล่านี้น่าจะมีการนำมาร้อยเรียงให้ทราบในคราวต่อๆไป

ไม่มีความคิดเห็น: