PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

11092558 'ชัยวัฒน์'ชี้ปัญหาในประเทศไทยคือ'การหลอกตนเอง'



โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คณะนิเทศน์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงาน ครบรอบ 50 ปี และในงานได้มีการปาฐกถาโดย "ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์" อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ การจัดการความจริง-ความลวงในสื่อกับศานติภาวะของสังคมไทย"

โดยเขา ได้ระบุว่า ความสำคัญระหว่างนิเทศศาตร์กับความจริงถือว่าเป็นผลผลิตของการสร้างชุมชน ซึ่งในภาควิชาสสังคมศาสตร์ ในศตวรรษที่ 20 ถึง ปัจจุบันได้ให้เหตุผล เกี่ยวกับความจริงว่าเป็นความเข้าใจในอำนาจของคำหรือการเปลี่ยนแปลง ในอำนาจของภาษา หากจะอธิบายความจริง ผ่านถ้อยคำ อาจทำให้เกิดปััญหาที่ว่าจะเผชิญความจริงได้อย่างไร เพราะการสื่อสารผู้พูดมักจะเลือกคำมาพูด แต่ผู้ฟังจะเข้าใจอย่างไรเป็นเรื่องของผู้ฟัง ซึ่งถือว่าเป็นธรรมชาติ ที่ผู้พูดไม่สามารถทำให้คนเข้าใจอย่่างที่คำพูดได้ ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสัมพันธ์กับความจริงในประเทศไทยมีปัญหากับการจัดการทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งคน ทั้งเรื่องที่ดิน หรือ 21 อรหันต์ ที่จะเข้ามาทำงาน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมักจะมีกระบวนการจัดการกับความจริง ซึ่งทีผ่านมาการจัดการกับความจริงเกิดขึ้นมาตลอด ทั้งเรื่องความจริงทางการค้า ความขัดแย้งทางการเมือง การสงคราม สิ่งแรกที่มักจะถูกจัดการก็คือความจริง แต่ในปัจจุบันปัญหาของความขัดแย้งที่รุนแรงท่ามกลลางสังคมที่แตกแยกเป็นส่วนๆ ตนไมก็ไม่ทราบว่าาความจริงอยู่ตรงไหน

"นอกจากนั้น ปัญหาโลกทางการเมืองเหตุผลข้ออ้างมากจะนำมาถูกจัดการกับความจริงซึ่งทำให้เกิดความสับสนว่าเหตุที่นำมาอ้างนั้นเป็นความจริงหรือไม่ เช่นการยึดอำนาจล้วนมีปรากฏการณ์ มีเหตุผล มีข้ออ้างจนทำให้ ประเด็นต่างๆนั้นกลายเป็นความจริงทั้งที่จะจริงหรือไม่ก็ยังไม่ชัดเจน"

ดร.ชัยวัฒน์ ระบุว่า ขอยกตัวอย่างว่าในภ่าวะสงครามที่มีการใส่ร้ายป้ายสี มีโฆษณาชวนเชื่อ แต่โจทย์ที่นำมากล่าวอ้างมักจะถูกผลิตออกมา ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องแยกประเด็นของข้อเท็จจริง ออกจากความจริง ทั้งนี้ข้อเท็จจริงจะหมายถึงการโยงกับประสาทสัมผัส แต่ความจริงจะมีนัยยะทางสังคมมากกว่าเพราะการรับรู้ ตามเหตุผลของแต่ละบุคคล ซึ่งในข้อเท็จจริง หรือความเป็นจริง เมื่อมาถึงบุคคลเดียวกันเมื่อมาถึงช่วงเวลาที่ต่างกัน ความหมายก็จะไม่เหมือนกันคล้ายกับปรากฏการณ์ของฝนตกที่บางคนบอกว่าให้คงวามชุ่มฉ่พ แต่ในบางเวลาก็ถูกมองว่าสร้างความเปียกแฉะ

การมีอยู่กับการไม่มีอยู่พึงพิจารณาไตร่ตรงเช่น การเมืองมักมีตัวแทน แต่อาจจะไม่ใช่ตัวจริง ซึ่งตัวแทนที่เราเห็นเขาอาจไม่ใช่ตัวจริง วันนี้หากพูดถึงจำนวน และสิทธิของคนที่สามารถลงคะแนนประชามติได้ จะมีอยู่ประมาณ 40 ล้านคน แต่ปัญหาคือการมีตัวแทนก็จะมีอยู่เท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด

ซึ่งตรงนี้มีข้อถกเถียงในเรื่องของคนที่จะมาทำประชามติ โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯได้ชี้แจงว่า ผลโหวตต้องดูจากคนที่มาลงคะแนน ไม่ได้ดูจากคนที่มีสิทธิ ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้น เรื่องความเป็๋นตัวแทนในประเทสไทยยังมีปัญหา ทั้งนี้ในทางการเมืองของระบบตัวแทน ที่ผ่านมาย่อมมีเป้าหมาย แต่การจะนำไปสู่เป้าหมายทางสังคมย่อมขึ้นอยู่กับตัวแปร โดยปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าสังคมแบ่งเป็นสองขั้ว และแต่ละขั้วก็มีตัวแทนและตัวจริงอยู่จริง ซึ่งสังคมไทย ในประเด็นเรื่องตัวแทนในระบบการเมือง มีประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ การเมืองมักจะสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ เพื่อมากลบประวัติศาสตร์ในส่วนอื่นๆเช่นประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ดังนั้นประเด็นดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการขัดแย้งที่เกิดขึ้นและกลายเป็นปัญหาใหญ่ เช่นในพื้นที่ภาคใต้ ดังนั้นสังคมที่มีตัวแทนมักมีความจริงที่ต่างกัน เป็นความต่างที่ดำรงอยู่ไม่ใช่ ซึ่งถือเป็นธรรมชาติฐานะตัวแทนของความจริง

"ในปี 2540 มีผู้พยายามจัดการกับความจริงด้วยสันติวิธีแต่ก็ถูกนำไปไว้บนหิ้ง ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นถือเป็นการจัดการความจริงอีกรูปแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตามความจริงในเชิงข้อเท็จจริงจะมีลักษณะเป็นเผด็จการจะทำใ้หสังคมต้องตั้งคำถามว่าความจริงอยู่ที่ไหน และในสังคมทางการเมืองมักจะมีการทำลายข้อเท็จจริงด้วยการเขัียนประวัติศาสตร์ใหม่หรือการสร้างภาพพจน์หรือการโกหก ซึ่งการโกหกทางการเมืองที่นำไปสุ่การรับรู้ของสาธารณะถือว่าเป็นการลบประวัติศาตร์ของบุคคลออกไป ทั้งนี้การใช้ความพยายามเพื่อให้กลุ่มคนเงียบก็ถือเป็นการจัดการความจริงอีกรูปแบบ"

ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นปัญหาและส่งผลกระทบตามมาได้ แต่จะมีผลอะไรตามมาต้องช่วยกันพิจารณา ซึ่งการศึกษาเรื่องการโกหกยุคใหม่ ที่เกี่ยวกับการซ่อนจะมีผลน้อยกว่าการทำลายเรื่อง ส่วนตัวมองว่าผู้ที่ทำหน้าที่บอกความจริงถือเป็นตัวกลางของคนสองฝ่าย โดยงานวิจัยสามารถที่จะบ่งบอกได้ว่าความรุนแรงอยู่ตรงไหนและวิธีการจัดการกับความจริงการ การที่บอกว่าสังคมไทยมีความรุนแรงแม้จะมีผลกระทบแต่ก็จะนำไปสู่จุดเคลื่อนของการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ปัญหาในประเทศไทยก็คือ "การหลอกตนเอง"

ในปี 2553 มีรายงานที่ศึกษาเรื่องข้อเท็จจริงของการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมจำนวน 3 ฉบับ ซึ่งในรายงานมีข้อมูลที่เลือกจะบอกรายละเอียดไม่เหมือนกัน ทำให้เห็นว่าแม้การศึกษาความจริงก็ยังมีความลับ มีข้อมูลไม่ตรงแม้จะเป็นเหตุการณ์เดียวกัน เรื่องเดียวกันในสถานการณ์เดียวกัน จึงทำให้ไม่แน่ใจงว่าความจริงอยู่ตรงไหน ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองจะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวละครที่หลากหลาย ทำให้ความเป็นจริงมีหลายชั้น อย่างไรก็ตามเมื่อถามเรื่องมุมมองทางการเมืองต่อสถานการณ์ความขัดแย้ง

ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังเผชิญหน้าอยู่กับความอันตรายเนื่องจากความซับซ้อนชของความขัดแย้งที่จะนำพาประเด็นไปสู่การไม่สามารถที่จะประสานสัมพันธ์หรือประสานประโยชน์ของบุคคลในฝ่ายต่างๆได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากังวลใจ โดยตนมองถึงตัวปัญหามากกว่าตัวบุคคล ดังน้ั้นสิ่งที่สาธารณะต้องติดตามในข้อมูลที่มีความซับซ้อนนั้นต้องมองให้เห็น ถึงความขัดแย้ง ที่อาจจะมองไม่เห็นอย่างชัดเจนในปัจจุบัน

"ประเทศไทยอาจจะเข้าสุ่จุดอันตรายหากเพราะด้วยความศับซ้อนของข้อมูลที่ไม่ยอมเปิดเผยออกมา และนำมาซึ่งการไม่สานสัมพันธ์ของหลายฝ่าย และในที่สุดอาจะไม่มีทางออก"

ไม่มีความคิดเห็น: