PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

"ใช้ศาลทหารผิดตรงไหน"



"ใช้ศาลทหารผิดตรงไหน"

นายกรัฐมนตรีสงสัยว่าเหตุใดคนจึงตั้งข้อรังเกียจศาลทหาร ทั้งๆ ที่จบกฎหมายเหมือนกัน แตกต่างกันแค่มียศเท่านั้น นายกรัฐมนตรีคงไม่เข้าใจว่าหลักการที่สำคัญของศาลคือหลักความเป็นกลาง (impartiality) คือการไม่มีส่วนได้เสียทั้งในเนื้อหาของคดีและผู้เป็นคู่ความ และหลักความเป็นอิสระ (independence) ของผู้พิพากษาและองค์กรที่ต้องปลอดจากการถูกแทรกแซงจากฝ่ายอื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 10 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประเทศไทยให้การรับรองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2491

เมื่อปี พ.ศ. 2528 (1985) สหประชาชาติได้กำหนดหลักการพื้นฐานว่าด้วยความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ (Basic Principles on the Independence of the Judiciary) เป็นผลให้รัฐสมาชิกต้องนำหลักการดังกล่าวไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาก็ได้นำเอาหลักการดังกล่าวมาบัญญัติไว้ เช่น การแต่งตั้ง การโยกย้าย เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือนและการลงโทษต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการของศาลนั้น อีกทั้งองค์กรศาลจะต้องมีความเป็นอิสระไม่ขึ้นกับฝ่ายบริหารและมีหน่วยธุรการของตัวเอง โดยมีบทบัญญัติให้ตรวจสอบถ่วงดุลเพื่อเป็นหลักประกันว่า การใช้ดุลพินิจของศาลจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ผู้พิพากษาจึงอาจถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งได้หากมีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ หรือส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง เป็นต้น

หลักการดังกล่าวข้างต้นรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ใช้กับศาลยุติธรรมและศาลปกครอง แต่ไม่บังคับใช้กับศาลทหารที่ไม่มีความเป็นอิสระ เนื่องจากอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหมทั้งยังอยู่ใต้การบังคับบัญชาของคณะผู้ยึดอำนาจ ดังนั้น สูตรสำเร็จของคณะรัฐประหารนอกจากการนิรโทษกรรม การอนุมัติสองขั้นพร้อมวันเวลาทวีคูณให้กับตัวเองและพวกพ้องแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการเอาคดีสำคัญไปขึ้นศาลทหาร ทั้งที่ศาลพลเรือนก็มีอยู่แล้วซึ่งขัดต่อหลักนิติธรรม ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศและขัดกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศาลทหารเองก็ตาม นี่คือเหตุผลที่ UPR ตำหนิรัฐบาลไทยอย่างรุนแรงเพราะเห็นว่า การเพิ่มการใช้ศาลทหารก็เพื่อกำจัดคู่แข่งทางการเมือง ส่วนคำแก้ตัวของคณะผู้แทนไทยที่คล้ายกับคำพูดของนายกรัฐมนตรี ได้ถูกที่ประชุม UPR กล่าวหาว่าปากอย่างใจอย่าง (hypocrisy) หรือที่คนไทยมักพูดกันว่า "ตอแหล" ซึ่ง คสช. อาจจะไม่รู้สึกแต่ผมและคนไทยทั่วไปอับอายกับคำประณามนี้มากครับ

วัฒนา เมืองสุข
พรรคเพื่อไทย
17 พฤษภาคม 2559

ไม่มีความคิดเห็น: