PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กรณีสภากรีซผ่านมาตรการของเจ้าหนี้


Pat Hemasuk

เมื่อคืนนี้ผมนั่งฟังถ่ายทอดสดกระประชุมสภาวิสามัญของกรีซจนถึงเช้า ได้เห็นอะไรมากมายแต่ไม่พ้นจากที่คาดเดาเอาไว้คือ ประธานาธิบดี ซีพราส ตัดสินใจเรียกร้องให้สมาชิกสภาสนับสนุนให้กรีซเป็นหนี้ต่อโดยกู้เงินมาจ่ายดอกเบี้ยและเงินผ่อนส่ง ไม่เช่นั้นระบบการเงินของกรีซจะล่มสลาย

เวลานี้กรีซเป็นหนี้อยู่ 3.16 แสนล้านยูโร หรือคิดเป็นร้อยละ 175 ของ GDP ซึ่งต้องใช้หนี้กันหัวโตถึงรุ่นลูกหลานเพราะนโยบายอัดฉีดเงินเพื่อเอาใจประชาชนให้ลงคะแนนเสียงเลือกพรรคของตัวเองเข้าบริหารประเทศมานับสิบปี ทุกพรรคในทุกรัฐบาลก็ใช้นโยบายประชานิยมแบบนี้หมด ลดแลก แจก แถม ของฟรีให้ประชาชนเสพติดการแบมือขอผลประโยชน์จากรัฐบาลและนักการเมือง

เรื่องนี้ถ้าตามเรื่องกรีซที่ผมเขียนมาตั้งแต่การชนะเลือกตั้งของรัฐบาลชุดนี้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจะทราบว่าการที่พรรคนี้ชนะได้เพราะชูนโยบาลไม่รัดเข็มขัดตามที่กลุ่มเจ้าหนี้สามสิงห์ทรอยก้าของยูโรบังคับให้กรีซทำ และรัฐมนตรีคลัง นายยานิส วารูฟากิส ก็เข้ารบกับอียูตั้งแต่สองวันแรกที่เข้ารับตำแหน่ง โดยชูนโยบายว่า ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ไม่กู้หนี้เพิ่มมาจ่ายดอกเบี้ย กลุ่มเจ้าหนี้ยูโรต้องลดมูลค่าหนี้ให้กรีซโดยตัดดอกเบี้ยออกทั้งในอดีตและอนาคตเพื่อให้กรีซมีกำลังพอที่จะจ่ายหนี้ได้ ซึ่งนายยานิส ก็สู้บนหลักการนี้มาตลอดหกเดือนที่ดำรงตำแหน่ง เรื่องของการไม่รัดเข็มขัดตามที่เจ้าหนี้บังคับนี้ถูกใจประชาชน เพราะทุกเหรียญที่กรีซจะต้องจ่ายหนี้ไปคือเงินภาษีของประชาชนและลูกหลานในอนาคตที่ต้องเติบโตบนกองหนี้ทั้งสิ้น

เรื่องนี้โดนโยนความรับผิดชอบให้กับประชาชนโดยให้ลงประชามติเมื่อต้นเดือนโดยผลออกมา ประชาชนโหวต 61%ไม่เอาแผนฟื้นฟูกรีซของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ทันที่ผลโหวตออกมา นายยานิส รัฐมนตรีคลัง มาดมาเฟียแบดบอยของกรีซน่าจะทำงานต่อไปได้แบบลื่นๆ แต่ไม่เป็นเช่นนั้น นายยานิส กลับลาออกจากตำแหน่งโดยให้เหตุผลว่าเปิดทางให้รัฐบาลตกลงกับยูโรแบบลื่นกว่าที่จะมีเขาอยู่ เพราะว่าตลอดเวลานายยานิสใช้ไม้แข็งกับพวกนายแบ็งค์เจ้าหนี้มาตลอด เรื่องนี้ผมก็รู้สึกว่ากลิ่นตุตุมาตั้งแต่แรกแล้ว คนที่ประชาชนเห็นด้วยและรักว่าทำงานดีถูกใจ ลาออกในวันที่ผลประชามติออกมาเข้าข้างนโยบายของเขาเองเสียด้วย ซึ่งไม่มีทางอื่นให้คิดนอกจากนายยานิสโดนนายซีพราสบีบให้ลาออก

ทันที่ที่นายยานิส พระเอกของประชาชนกรีซแต่ผู้ร้ายในสายตาเจ้าหนี้ ลาออก ประธานาธิบดี ซีพราส ก็แต่งตั้งมือรอง นางนาเดีย วาลาวานิ ขึ้นนั่งเก้าอี้รักษาการรัฐมนตรีคลังทันทีแล้วดำเนินนโยบายสวนประชามติและนโยบายเก่าของนายยานิส โดยยอมรับแผนการฟื้นฟูและกู้เงินก้อนใหม่อยู่ตลอดสัปดาห์จนประชาชนไม่พอใจมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดเมื่อวานนี้ที่ประชาชนลุกฮือขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลของนายซีพราส มีการปะทะกับทหารและตำรวจ โมโลต๊อฟค็อกเทลและแกสน้ำตาบินว่อนท้องถนนกรุงเอเธนส์เมื่อคือที่ผ่านมาตามที่ผมรายงานสดให้อ่านกันกลางดึกนั่นแหละครับ

*************************************************************************
เรื่องนี้มันมีสองแนวทางที่ต่างกันมากมายระหว่างทางเดินของประธานาธิบดีซีพลาส กับของรัฐมนตรีคลังคนเก่านายยานิส คือถ้าทำตัวเป็นเด็กดีของนายทุนกลุ่มยูโร กรีซก็จะเป็นหนี้ไปถึงหลานแก่ แต่กรีซยังจะพอเดินต่อได้ ระบบการเงินการธนาคารก็ยังไม่ล้ม แต่กรีซต้องตัดสมบัติของประเทศขายกินจนหมดตัว แล้วหลังจากนั้นกลุ่มนายทุนยุโรปก็จะเข้ามาช็อปปิ้งของดีราคาถูกกันสะดวกมือ ทั้งรัฐวิสาหกิจ ธนาคาร อสังหา โดนเจ้าหนี้บังคับให้ขายมาจ่ายดอกเบี้ยและผ่อนต้นกันหมดประเทศ
กับอีกแนวทางหนึ่งของนายยานิสรัฐมนตรีคลังนั้น ตั้งตัวเป็นเด็กเลว แบดบอยมาตั้งแค่วันแรกที่รับตำแหน่ง โดยเปิดทางให้กรีซอยู่ได้โดยเจ้าหนี้ต้องลดมูลหนี้ลงโดยหยุดดอกเบี้ย ลดต้นที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ย เพื่อให้กรีซยืนบนขาตัวเองได้โดยไม่ต้องเป็นทาสอียูเหมือนแนวทางของนายซีพลาส ซึ่งแนวทางนี้ถูกใจประชาชนกรีซที่ลงคะแนนให้เป็นรัฐบาลเมื่อเจ็ดเดือนก่อน และตรงกับประชามติที่ประชาชนออกเสียเมื่อต้นเดือนว่าไม่รับแนวทางของเจ้าหนี้ ไม่ต้องการขายประเทศใช้หนี้
*****************************************************************************

เมื่อคืนนี้ที่ผ่านมาประธานาธิบดี ซีพราส ออกมาเรียกร้องให้สมาชิกสภาช่วยแบ็กอัพแนวทางเดินของเขา ในสภามีการถกเถียงกันวุ่นวาย ผมนั่งฟังอยู่ตั้งแต่ตีสามจนถึงเช้า ผลออกมาว่าสนับสนุน มาตรการของเจ้าหนี้ 229 เสียง ไม่เห็นด้วย 64 เสียง งดออกเสียง 6 คน โดยก่อนหน้านี้ นางนาเดีย วาลาวานิ รักษาการรัฐมนตรีคลัง ลาออกจากตำแหน่งตั้งแต่เริ่มประชุมสภา คาดว่าคงรับไม่ได้กับนโยบายของ นายซีพลาสที่ยอมรับการเป็นขี้ข้านายทุนทุกกรณีที่เจ้าหนี้เสนอมา
คนที่คัดค้านคือประธานสภา นายชอย คอนสแตนติโพลโลว ที่เดินลงจากบัลลังค์ประธานสภามาลงคะแนนเสียงด้วย และรัฐมนตรีพลังงาน นายปานากิโอติส ลาฟาซานิส ซึ่งแน่นอนต้องมีแบดบอยของเจ้าหนี้แต่เป็นที่รักของคนกรีซอย่างอดีตรัฐมนตรีคลัง ยานิส วารูฟากิส และรักษาการรัฐมนตรีคลังที่เพิ่งลาออกก่อนการประชุมสภา นางนาเดีย วาลาวานิ รวมเข้าไปด้วย
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป กรีซจะด้องทำสิ่งหกประการตามเจ้าหนี้กำหนดเป็นต้นว่า ลดงบรายจ่าย เพิ่มภาษี ลดบำนาญและเปลี่ยนแปลงการจ่ายทั้งหมด และรับการกู้เงินเพิ่มสร้างหนี้ใหม่เพื่อเอามาจ่ายหนี้เก่า โดยสภาต้องออกกฎหมายมารองรับ การกู้ก้อนใหม่นั้นเป็นจำนวน 8.6พันล้านยูโร โดยต้องแลกกับการตัดทรัพย์สินของประเทศออกขายเพื่อจ่ายดอกและใช้หนี้เป็นมูลค่า 5หมื่นล้านยูโร และให้อำนาจเต็มที่กองทุน ไอเอ็มเอ็ฟ เข้าบริการทรัสตีของสินทรัพย์ที่ขายออกมา
ผมบอกได้เลยว่า ประธานาธิบดี ซีพราส ถูกประชาชนกรีซมองว่าเป็นคนขายชาติขายตัวให้นายทุน ชนะเลือกตั้งโดยหลอกว่าจะสู้กับนายทุนเจ้าหนี้แต่กลับหักหลังประชาชนโดยยอมเจ้าหนี้ทุกอย่าง และฉีกข้อตกลงผลงานที่เจ้าหนี้กลัวเกรงของอดีตรัฐมนตรีคลัง ยานิส วารูฟากิส ทิ้งแบบเอาใจเจ้าหนี้ทุกอย่าง

งานนี้ไม่จบง่ายๆหรอกครับ ขอบอก

เครดิตภาพ BBC world News


ไม่มีความคิดเห็น: