PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

เปิดปูมชีวิต “ทนายนกเขา” แกนนำคปท.


โดย ลวินีย์ ฮวบน้อย


“ผมต้องล้มรัฐบาลทรราชย์ให้ได้ "

ช่วงกระแสการเมืองร้อนแรงอย่างนี้ ปฎิเสธไม่ ได้ว่าชื่อของ “ทนายนกเขา- นิติธร ล้ำเหลือ” กลาย เป็นบุคคลสำคัญระดับต้นๆ ที่หลายคนจับตามอง เนื่อง จากเขาเป็นบุคคลสำคัญ ในการวางกลยุทธทางการเมือง ในฐานะที่ปรึกษาเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) หลายคนตั้งสมญานามว่าเขาเป็นทนาย ความเพื่อแผ่นดิน ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามบอกว่าเขา เป็นเผด็จการทางการเมือง

แต่ไม่ว่าเขาจะ เป็นอะไรก็ตาม ตัวตนและที่มาของเขาก็น่าสนใจ ไม่น้อย เขาคนนี้แหละที่ยอมควักเงินตัวเองเป็นล้านเพื่อต่อสู้คดี ช่วยเหลือชาวบ้าน เคยผ่านเหตุการณ์ลอบยิงมาแล้วถึง 8 ครั้ง เคยถูกข่มขู่มาแล้วนับไม่ถ้วน แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ ได้ทำให้เขายอมแพ้ และยังคงต่อสู้เพื่อ “ศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์” และ “ล้มรัฐบาลทรราชย์” ให้หมดไป เชื่อว่าถ้าคุณได้รู้จักตัวตนและความ เป็นมาของทนายนักสู้คนนี้แล้ว จะต้องบอกว่า “ ไม่ธรรมดา” จริงๆ

กว่าจะมาเป็นทนายความนกเขา

นิติธรเล่าว่าความที่เขาเติบโตมาในชุมชนแออัด เคยเจอเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อิทธิพลในทางที่ไม่ถูกต้อง บวกกับนิสัยไม่ยอมคน ทำให้กลาย เป็นแรงบันดาลใจอยากจะเป็นทนาย ความมาตั้งแต่เด็กๆ

“ผมเติบโตมาในครอบครัวฐานะปานกลาง คุณพ่อคุณแม่ทำงานรับจ้าง ครอบครัวเราอยู่ ในชุมชนที่เรียกว่าชุมชนแออัดย่านเจริญนคร พออยู่ ในชุมชนแบบนี้ ก็มักถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อิทธิพล ในลักษณะข่มขู่บ่อยๆ เช่น แค่ผมนั่งเล่นกีต้าร์กับเพื่อน ตำรวจสายตรวจขับรถผ่านมาหมั่นไส้ เรียกผม และเพื่อนมาตบกะบาลบอกว่า” เข้าบ้านไปเลยมึง” เลยรู้สึกว่ามันเกินไป เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง “

ตอนแรกอยากเป็นแพทย์ไม่ก็นักกฎหมาย แต่พอรู้สึกว่าถ้าเราไม่รู้กฎหมายก็จะป้องกันตัวเองไม่ ได้ เลยชักอยากเป็นทนายความ สมัยเรียนมัธยมที่โรงเรียนแจงร้อนวิทยา ผมเคยเถียง กับอาจารย์ เพราะไม่ชอบทดลองวิทยาศาสตร์ที่มีสัตว์ หรือใช้สารเคมี อาจารย์เลยบอกว่า “มึง ต้องเรียนกฎหมาย เพราะมึงเรียนพวกนี้ไม่ได้หรอก” และอาจารย์บอกผมว่า “ถ้ามึง ไม่ชอบเรียนชั่วโมงวิทยาศาสตร์ ก็ไม่ต้องเรียน จะไปไหนก็ได้ แต่อย่าเที่ยวไปป่วนคนอื่น แล้วจะ ให้คะแนนมึง”

ผมเลยไปห้องสมุดแทน เพราะ ไม่อยากเรียนวิทยาศาสตร์ เรียกว่าตัวเองมีหัวกบฏตั้งแต่สมัยเรียนก็ว่าได้ ประจวบ กับตอนหลัง คุณแม่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ครอบครัว ต้องใช้เงินเยอะ เลยคิดว่าเรียนแพทย์ไม่ได้แล้ว คง ต้องเรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย ถึง ได้ตัดสินใจไปเรียนรามฯ คณะนิติศาสตร์” นิติธรเล่า

แม้บุคลิกนิติธรจะเป็นคนพูดน้อย แต่ความที่เขา เป็นคนมีหลักการ ชอบอ่านหนังสือ เลยมัก จะมีไอเดียดีๆ กลาย เป็นที่ปรึกษาของเพื่อนมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ แม้กระทั่งเวลาเห็นเพื่อนถูกรังแกหรือไม่ได้รับความ เป็นธรรม นิติธรจะกลายเป็นผู้นำในการเรียกร้องสิทธิ นั้นทันที “ผมเป็นคนไม่ยอมคน แม้จะอยู่นิ่งเฉย ไม่พูดอะไรไร แต่ถ้าถึงเวลา เช่น เห็นระเบียบของโรงเรียนไม่โอเค ผมก็จะไม่ยอม

ครั้งหนึ่งอาจารย์ตีนักเรียน แล้วเอาไมค์ไปจ่อ เพื่อให้คนอื่นได้ยิน เป็นการทำ ให้นักเรียนคนนั้นอาย ผมก็จะไม่ยอม บอกว่ามันไม่ถูก ต้อง เลยนำพวกออกมาโต้แย้ง ในขณะเดียวกันผม จะมีบุคลิกของคนที่รักเพื่อน คือ ไม่พูด แต่ เข้าชาร์ตอีกฝ่ายเลย หรือถ้าไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่ ถ้ารู้ว่าเพื่อนมีเรื่องและบาดเจ็บ ก็จะเข้าไปดูแล” นิติธรเล่า

รามคำแหงช่วยหล่อหลอมแนวคิด 

ช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง นี้เอง นิติธรบอกว่า เขาได้รับปลูกฝังความคิดทางการเมือง โดยเขาเข้าร่วม เป็นสมาชิกของชมรมถ่ายภาพ เน้นถ่ายภาพที่สะท้อนปัญหาสังคมและปัญหาการเมือง “ชมรมถ่ายภาพมีคอนเซ็ปต์ว่า ถ่ายภาพเพื่อสะท้อนปัญหาสังคม ซึ่งดูยากกว่าการทำงานข่าว เพราะภาพจะ ต้องสื่อสารออกมาตรงๆ ผมทำงานอยู่ในกลุ่มสื่อศิลป์ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายการเมือง คือ แม้จะถ่ายภาพไม่ เป็นเลย แต่จะทำงานในเชิงแนวคิด คือ จัดเสวนาว่าควรจะสื่อภาพออกมาในลักษณะไหน เพื่อ ให้ภาพที่ออกมารับใช้สังคมด้วย คือ ฟ้องด้วยภาพถ่าย “แล้วถ้าน้องๆ ในชมรมคนไหนมีแนวคิด เราจะจัด ให้น้องไปถ่ายภาพในตลาดหรือในชุมชนแออัด เพื่อ ให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ในขณะเดียว กันก็ถ่ายภาพในมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อสะท้อนสิ่งที่เป็นปัญหาของมหาวิทยาลัยและชีวิต ความเป็นอยู่ของนักศึกษา จากนั้นนำภาพ จากช่างภาพฝีมือดีมาจัดนิทรรศการประจำปี มีการจัดค่ายพัฒนาชุมชน เช่น ไปทำห้องสมุด ไปทำสนามเด็กเล่น เรียกว่าชมรมถ่ายภาพช่วงที่ผมอยู่ จะมีสีสันมาก ไม่ใช่แค่มีชมรมถ่ายภาพอย่างเดียว ” นิติธรเล่า

ทนายรับใช้สังคม

หลังเรียนจบจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง นิติธรเริ่มต้นทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน คณะกรรมการยุติธรรมและสันติแห่งประเทศไทย โดยทำงานเป็นนักกฎหมายช่วยเหลือชาวบ้าน ในพื้นที่ชายขอบพื้นที่ทางภาคเหนือ เขาเล่าว่าช่วงสองปีที่ทำงานที่นี่ เขาต้องใช้ชีวิตอยู่แต่ ในป่าเขา วันๆ ต้องเดินเท้าอบรมกฎหมาย ในพื้นที่ภาคเหนือ คอยรวบรวมปัญหาที่ชาวบ้านเจอ เพื่อช่วยทำคดีให้ชาวบ้านได้รับสิทธิเสรีภาพ และได้รับ ความคุ้มครอง

นอกจากนั้น นิติธรยังมีบทบาทในการทำคดี ช่วยเหลือสังคมมากมาย ผลงานที่สร้างชื่อให้เขา คือ คดียับยั้งการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ,คดีแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ( ปตท.), คดีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา กรณีเสนอปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกขัดต่อรัฐธรรมนูญ และคดีการเมือง เช่น คดีนายยงยุทธ ติยะไพรัช ทุจริตการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ,คดีการเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นโมฆะ

ความที่นิติธรทำงานแบบถึงลูกถึงคน ไม่ยอมจำนวนต่อ ความอยุติธรรมแบบนี้เอง ทำให้เขาถูกเจ้าหน้าที่ข่มขู่ และถูกลอบยิงมาแล้วถึง 8 ครั้ง! แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ทำ ให้เขารู้สึกกลัว เพราะมองว่าความตาย เป็นเรื่องธรรมชาติ จึงไม่อยากไปยึดติด คิดว่าขนาด เขายังเจอเรื่องแบบนี้ ชาวบ้านยิ่งต้องเจอหนักกว่า กลายเป็นแรงบันดาลใจทำให้ เขาตั้งใจทำงานเพื่อสังคมต่อไป “ตอนที่ได้ยินว่ามีผู้ต้องขังถูกซ้อมที่จังหวัดตรัง ผมก็ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูล ไปเยี่ยมผู้ต้องขัง ไปคุย กับญาติ ระหว่างเดินทางกลับก็ถูกรถไล่ยิง บางครั้งเจอชายฉกรรจ์ขับรถตามเพื่อข่มขู่ คือ จะโดนแบบนี้ตลอด หรือช่วงที่ไปจังหวัดยะลา เพราะ ได้รับร้องเรียนว่ามีผู้ต้องขังหญิงถูกข่มขืน แต่พอลงพื้นที่ไปก็หาข้อมูลไม่ได้ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบอกว่ามีหญิงสาวมารักษา เพราะถูกข่มขืนจริง แต่ไม่ปรากฏข้อมูล ส่วนตัวของหญิงคนนี้ว่าเป็นใครมาจากไหน สอดคล้อง กับเรื่องที่เราได้รับการร้องเรียน แต่ข้อมูลด้านอื่นๆ ไม่เพียงพอ พอมีข่าวออกไปว่าเราลงพื้นที่มาทำข่าว ขับรถออกมาก็เจอรถไล่ยิง แต่รอดมาได้อีก

“ช่วงที่ผมทำงานในฐานะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ มีโอกาสได้ทำคดีของอำเภอแม่อาย เรื่อง เจ้าหน้าที่อำเภอถอนสัญชาติชาวบ้านอำเภอแม่อายออกหมดเลยจำนวนพันกว่าคน ผมต้องลงพื้นที่ไปอยู่เป็นเดือนๆ พองบไม่พอ ผมก็ควักเงินส่วนตัวทำ หมดเงินไปเป็นล้าน เพราะเอาคนไปช่วยทำ 30 คน จึงต้องดูแลเขาทั้งหมด ทำจนฟ้องชนะ ศาลปกครองสั่งคืนสัญชาติ ให้แก่ชาวบ้านที่อำเภอแม่อาย ระหว่างที่ทำ นั้นก็ถูกกดดัน เจอคนข่มขู่ ชาวบ้านถูกข่มขู่ แต่ ถึงทำอย่างนั้น ก็ไม่ได้รู้สึกว่าเหนื่อย คิดแค่ว่าต้องทำ ให้สำเร็จ”

ตั้งแต่ทำงานช่วยชาวบ้านมา คดีไหนที่รู้สึกหดหู่ใจมากที่สุด ? 

“คดีที่ผมรู้สึกหดหู่ใจมากที่สุด คือ คดีตากใบ ตอน นั้นผมถูกมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะทนาย ความเดินทางลงไปภาตใต้ เพื่อไปเยี่ยมผู้ที่ ได้รับบาดเจ็บและผู้ต้องหาที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ซึ่ง เป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมและยังรอดชีวิต อยู่ ไปเถียงทหารอยู่นาน เพราะเขาไม่ยอมให้เข้าเยี่ยม ผมบอกว่า “ถ้าไม่ให้ผมเยี่ยม ผมจะฟ้อง และผม จะบอกว่าคุณจะโดนข้อหาอะไรบ้าง

จากนั้นผมจะ ให้สัมภาษณ์สื่ออย่างนี้ๆ ซึ่งคุณนั่นแหละจะเสียหาย” เขานึกว่าผมพูดเล่น แต่ผมบอกว่าผมทำจริงและลงไป ให้สัมภาษณ์นักข่าวเลย “จากนั้นผมกลับมาบอกทหารว่าบอกว่าเมื่อกี้ ให้สัมภาษณ์นักข่าวไปมีแต่เสียง แต่สักพัก จะมีภาพข่าวเผยแพร่ตามมา และผมจะ ให้สัมภาษณ์แรงกว่าเดิม ในข่าวผมจะระบุชื่อคุณ และบอกว่าคุณใช้วาจากับผมยังไง คุณทำยังไงกับผม ตอนนั้นมีการพูดท้าทายกัน จนสุดท้ายเขาบอกว่าผู้ ใหญ่ประสานมา สรุปว่ายอมให้ผม เข้าเยี่ยมพร้อมนักกฎหมายคนอื่นๆ “ช่วงที่ใช้เวลาคุยกับผู้ต้องหา 3 ชั่วโมง มีเจ้าหน้าที่อีกคนมาโวยวายว่า “ถ้าผมอยู่ คุณไม่ได้ เข้ามาแน่” ผมเลยบอกว่าไล่ผมออกไปสิ คือ ผมเป็นคน ไม่กลัว กล้าจะเผชิญชะตากรรม แม้รู้ว่าทำอย่าง นั้นอาจจะโดนเก็บได้ เพราะอยากให้คนที่ถูกกระทำ ได้รับการดูแลที่ดีขึ้น ความมุ่งหวังของผมมีอยู่แค่นี้ “ สภาพที่เราเห็นมันหดหู่ ผู้ต้องหาก็เป็นคนไทยเหมือน กัน ไม่นึกว่าเจ้าหน้าที่จะทำแบบนี้ บางคน ได้รับบาดเจ็บระหว่างการถูกจับกุม ซึ่งเขาก็ควร ได้รับการดูแลที่ดี ต้องคิดว่าพ่อแม่พี่น้องจะรู้สึกยังไง ถ้าหากเจ้าหน้าที่ทำตัวแบบนี้ เหตุการณ์อื่นๆ จะตามมาทันที เช่น ชาวบ้านไม่ยอมรับอำนาจรัฐ, ชาวบ้านไม่ยอมรับวิธีปฎิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ

ผมเลยคิดว่าตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารน่าจะคิดได้ หลังจากผมออกมาจากพื้นที่ ก็ทราบว่าผู้ ต้องหาถูกเคลื่อนย้ายไปอยู่ในเรือนจำตามปกติ และ ได้รับการดูแล ผมก็ตามไปดูแลที่เรือนจำอีก ผู้ ต้องหาเลยได้รับการดูแลตามสิทธิ ญาติมาเยี่ยมได้ ได้รับการรักษาตัว ทนายเข้าพบได้ง่ายขึ้น นี่จึง เป็นสิ่งที่ผมทำแล้วรู้สึกดี”

บทบาทในฐานะที่ปรึกษาคปท. 

สาเหตุที่ได้กลายมาเป็นแกนนำของคปท. นิติธรบอกว่า เป็นเรื่องบังเอิญ ที่แรก เขาทราบข่าวว่ามีการชุมชุมของแกนนำกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) แล้วมีการประเมินว่าอาจมีเจ้าหน้าที่ใช้ ความรุนแรงเพื่อสลายการชุมนุม จึง เข้ามาสังเกตการณ์ แต่เมื่อมีการประกาศใช้พรบ. ความมั่นคง ทำให้แกนนำต้องถอนพื้นที่ออกมา จากทำเนียบรัฐบาลและต้องการย้ายพื้นที่ไป อยู่ที่สวนลุมพินี กลุ่มผู้ชุมนุมจึงไม่พอใจ เกิดลุกฮือขึ้นมาและไม่ยอมกลับบ้าน เนื่องจาก ต้องการชุมนุมที่หน้าทำเนียบฯ ต่อไป เขาจึงต้องเข้ามา ไกล่เกลี่ย ช่วยกล่อมให้มวลชนสงบ จนยอมถอยออกจากหน้าทำเนียบรัฐบาลและมาชุมนุม ในพื้นที่สี่แยกอุรุพงษ์แทน นิติธรเลย ต้องตกกระไดพลอยโจนมาทำงานร่วมกับคปท. ตั้งแต่ นั้นมา
เรียกได้ว่าช่วงสามเดือนที่นิติธรร่วมต่อสู่กับคปท. เขาเจอทั้งเหตุการณ์ลอบฆ่า เจอตำรวจยิงแก๊สน้ำตา เข้าใส่ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ทนายใจเพชรคนนี้ท้อถอย

“วันที่ 29 ธ.ค. ผมเดินทางออก จากพื้นที่การชุมนุมที่สะพานชมัยมรุเชษฐ์ เพื่อออกไปทำธุระ ระหว่างขับรถไป ถึงแยกอุรุพงษ์มุ่งหน้าราชเทวี สังเกตเห็นว่ามีรถยนต์หลายคันขับตามประกบ และขับรถปาดหน้าแถวบีทีเอสพญาไท แต่ผม ไม่หยุดรถ ให้คนขับฉีกรถออกขวา แต่เจอรถอีกคันปาดหน้าอีก ผมก็บอกคนขับฉีกรถออกขวาอีกและยูเทิร์นกลับรถ ส่วนรถที่ปาดหน้าผมคันที่สองก็ยูเทิร์นตามมา แต่เจอมอเตอร์ไซต์ชนก่อน ผมเลยรอดมาได้ ส่วนกลุ่มชายฉกรรจ์ในรถคันที่ 1 ก็กระโดดข้ามเกาะกลางถนนที่มีต้นไม้อยู่ แต่เกาะมันกว้างเลยข้ามลำบาก พอเขาตั้งท่ายิงปืน M 16 ใส่ผมเลยยิงไม่ถนัด และจังหวะ นั้นรถผมก็ขับผ่านไปแล้ว ถึงรอดมาได้ เจอเหตุการณ์ลอบยิงแบบนี้ ผมก็ไม่ได้กลัวนะ เพราะ ไม่ได้ยึดติดกับอะไรในชีวิต เข้าใจว่าอาจเกิดเรื่องแบบนี้ได้ตลอดเวลา แต่ถ้าจะ ให้ยอมแพ้วิธีการแบบนี้ ผมไม่มีทางยอมเด็ดขาด”

“หรือช่วงที่ชุมนุมแล้วตำรวจยิงแก๊สน้ำตาใส่ ผม อยู่ที่สะพานชมัยมรุเชษฐ์ มันโหดร้ายตรงที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเข้ามาต่อเนื่อง และยิงใส่คน มีบางคนถูกยิงกระสุนจริง คิดว่าไม่ควร ใช้ความรุนแรงกับ
ประชาชนขนาดนี้ เราพูดชัดเจน แล้วว่าไม่เข้าทำเนียบ แต่เรารู้สึกว่าการเอาแท่งเบอริเออร์ และลวดหนามมาวาง เป็นสัญลักษณ์ของความ เป็นเผด็จการของรัฐบาล ซึ่งเท่ากับว่าก้าวเข้าสู่ความ เป็นทรราชย์มากขึ้น ผมเลยบอกว่า จะเอาลวดหนามออก จะเอาแท่งเบอริเออร์ออก แต่เรา จะไม่เข้าทำเนียบ แต่ตำรวจก็ไม่ยอมเหมือนกัน ซัดแก๊สน้ำตาเข้ามาเต็มที่ ซัดกระสุนจริงเข้ามา เลยสู้ กันเต็มที่ ผมจึงต้องสู้”

ช่วงกระแสการเมืองที่ร้อนแรงนี้เอง กลับปรากฏข่าวว่าทนายใจสู้คนนี้แหละที่ เป็นหวานใจของดาราสาว “จอย-ศิริลักษณ์ ผ่องโชค” แว่วมาว่าเป็นการพบรักกลางม็อบ พอถามว่าคบ กับจอยนานหรือยัง นิติธรตอบทันทีว่า “ทุกคำถาม ความรัก ผมขอไม่ตอบ เพราะไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ผมทำ อยากให้พี่น้องประชาชนสนใจเรื่องบ้านเมืองดีกว่า”

นิติธรยังบอกอีกว่าหลังจากเหตุการณ์บ้านเมืองสงบลง เขาไม่คิดลงเล่นการเมืองแต่อย่างใด หวังแค่ได้กลับไป ใช้ชีวิตตามปกติเหมือนเดิม คือ กลับไปเป็นทนาย ความว่าความ ได้ใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่ที่บ้าน เช่น นั่งอ่านหนังสือ เล่นกีต้าร์ ดูหนังดีวีดี ก็ถือเป็น ความสุขอย่างหนึ่งในชีวิตแล้ว เพียงแต่ว่าตอนนี้เขา ยังมีภารกิจที่ต้องทำให้สำเร็จก่อน คือ ภารกิจเพื่อชาติ และบ้านเมือง

 “ตอนนี้ผมคิดแค่ว่าอะไรที่ทำแล้วเป็นประโยชน์แก่คน อื่นและประเทศชาติ ถ้าทำได้ก็ต้องทำ ไม่ใช่ว่าเห็น ความทุกข์ยากของประชานแล้วมองผ่านเลย เพราะสถานการณ์แบบนี้ ทุกคนควรต้องช่วยกัน "

“ ผมเชื่อว่าการต่อสู้ที่สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และ ความเป็นคนไทยที่สุดคือ การต่อสู้เพื่อล้มรัฐบาลทรราชย์ให้ได้ ถือ เป็นการต่อสู้ที่มีคุณค่าที่สุดของชีวิตแล้ว ฉะนั้นผม ต้องทำและเดินหน้าให้สำเร็จ”

ไม่มีความคิดเห็น: