PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ปฏิทินการเมืองร้อน ๆ : สิ้นสุดของสปช. เดือนหน้า โดย : กาแฟดำ

10082558 ปฏิทินการเมืองร้อน ๆ : สิ้นสุดของสปช. เดือนหน้า โดย : กาแฟดำ
@ ความเห็นฉันสหาย
กาแฟดำ พูดถูก Road Map หรือ Bule Print ไม่ได้มีฉบับเดียว
แต่ขอเน้นประเด็นสำคัญคือ
" เมื่อเห็นชัดๆแล้วว่า ร่างรธน.ฉบับนี้ ไม่ได้ปฏิรูปถึงโครงสร้าง"
เพราะความจำกัดของกมธ.ยกร่างรธน. และการคิดเรื่องเฉพาะตัวของสปช.
อีกทั้งถูกแรงอัดจากนักการเมืองเก่าสื่อของนายทุนฯและจากรัฐบาลและข้าราชการประจำ
ก็จะไปเสี่ยงให้ประชาชน ถูกนักการเมืองพรรคการเมืองเก่า ปกครองอีกทำไม
คนฉลาดและเฉลี่ยว อ้อ ต้องคิดถึงบ้านเมืองก่อน
ต้องมีสติปัญญา คิดว่า " จะทำอะไร และอย่างไร "
โปรดระลึกว่า
การลงมติผ่านหรือไม่ผ่านครั้งนี้
พวกคุณทั้งหมด 250 สปช. จะต้องรับผิดชอบ
รวมทั้งกมธ.ยกร่างรธน.ด้วย
หากเกิดความเสียหายขึ้นมาแก่ประชาชนและประเทศชาติ
อย่าไปชี้นิ้วลงโทษ นักการเมืองและพรรคการเมืองรวมทั้งนายทุนสามานย์เท่านั้น
........................................

กับการเกิดของ ‘สภาขับเคลื่อนฯ’
ภายในวันที่ 7 ก.ย.หรืออีกไม่ถึงเดือนข้างหน้า สภาปฎิรูปแห่งชาติหรือ สปช. จะต้องลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

หลังยกมือเสร็จ สมาชิก 250 คนของ สปช. ก็จะตกงาน เพราะ สปช. จะสลายตัว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะประธาน คสช. ก็จะตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปซึ่งมีสมาชิก 200 คนขึ้นมาทำหน้าที่แทน

ถ้า สปช. ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็จะมีการตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาร่างใหม่ ให้เวลา 6 เดือนจึงจะเดินเข้าสู่การทำประชามติ ซึ่งจะผ่านหรือไม่ก็เป็นอีกเปลาะหนึ่งที่จะต้องเฝ้าติดตาม เพื่อวิเคราะห์ทิศทางการเมืองของประเทศต่อไป

สปช. ทำหน้าที่มาไม่ถึงปี แต่มีภารกิจมากมายที่ทำให้เกิดคำถามว่า “ปฏิรูป” ใน 11 หัวข้อภายใต้ 18 คณะกรรมการที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีและประชาชนในวันที่ 13 สิงหาคมนี้ จะสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคมไทยดั่งที่คาดหวังได้มากน้อยเพียงใด

สปช. บางคนบอกว่าหน้าที่หลักของพวกเขาคือเป็น “สถาปนิก” ที่เขียนกรอบและข้อเสนอการปฏิรูป แต่การจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ก็อยู่ที่รัฐบาลทั้งชุดนี้และชุดต่อ ๆ ไป

“กรอบงาน” ของ สปช. ที่กำลังจะหมดสภาพมี 3 เรื่องหลัก คือ
ทำแผนแม่บทหรือพิมพ์เขียวการปฏิรูปประเทศ หรือที่มีคนเรียกว่า Blueprint for Change ซึ่งมีนัยว่าการปฏิรูปครั้งนี้จะต้องนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม การพิจารณาตั้งคำถามประกอบการทำประชามติ ซึ่งเป็นการเสนอคำถามเพิ่มเติม (จะเป็นกี่คำถามไม่แน่ชัด) ในแบบฟอร์มการทำประชามติให้ประชาชน โหวตว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ เพราะมีการเสนอจากสมาชิก สปช. บางคนว่าควรจะถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่ กับการที่จะให้รัฐบาลชุดนี้อยู่ต่อไปอีกสองปี เพื่อปฏิรูปบ้านเมืองก่อนจะมีการเลือกตั้ง หรือจะเป็นคำถามอื่นใดอย่างไรก็อยู่ที่การพิจารณาของสมาชิก สปช.การลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ

ได้ยินคุณอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมการประสานงานหรือ “วิป” ของ สปช. บอกทางวิทยุวันก่อนว่า สปช. กับ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็น “ฝาแฝดอิน-จัน” เพราะจาก 36 คนเป็นสมาชิก สปช. 21 คน

เมื่อเสร็จร่างแรก คณะกรรมาธิการยกร่างฯก็ส่งมาให้ สปช. ซึ่งก็ส่งกลับไปพร้อมข้อเสนอปรับเปลี่ยนมากมายหลายจุด และวันสุดท้ายที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯจะต้องเขียนร่างสุดท้ายเสร็จคือ 22 ส.ค.ก่อนที่จะส่งให้ สปช.

สปช. มีเวลา 15 วันที่จะกำหนดวันลงมติว่าจะรับหรือไม่รับ

หากคณะกรรมาธิการยกร่างฯส่งก่อน 22 ส.ค. ก็จะต้องเริ่มนับ 15 วันจากวันนั้น

ดังนั้น วัน “ดีเดย์” สำหรับ สปช. ลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจึงคาดว่าจะอยู่ระหว่างวันที่ 5-7 ก.ย. แต่อย่างไรก็ไม่เกิน 7 กันยายนซึ่งเป็นวันสำคัญของเส้นทางการเมืองของประเทศอีกวันหนึ่งกันทีเดียว
คนร่างรัฐธรรมนูญบอกว่าฉบับนี้แตกต่าง และมีความพิเศษไปจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ตรงที่ว่ามีการกำหนดการ “ปฏิรูป” เป็นหัวใจของกฎหมายสูงสุดของประเทศฉบับนี้ด้วย

ท่ามกลางข่าวที่ว่าสมาชิก สปช. กลุ่มหนึ่งกำลังรวบรวมลายชื่อที่จะให้มีการ “คว่ำ” ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

ขณะเดียวกันก็มีความเคลื่อนไหวใน สปช. ให้เพิ่มคำถามให้ปฏิรูป 2 ปีก่อนการเลือกตั้งในการทำประชามติหรือไม่

จะเป็นกลุ่มเดียวกันหรือไม่ไม่มีใครยืนยันหรือปฏิเสธ แต่เป็นสีสันของกระบวนการการเมืองที่ตีความได้ว่าเวลาใครพูดถึง Roadmap การเมืองทุกวันนี้อย่าได้สับสนงุนงงหรือถูกพาให้หลงเข้าใจผิดว่ามี Roadmap ฉบับเดียวเท่านั้น

Roadmap “ฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่” ยังเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา!

ไม่มีความคิดเห็น: