PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

(ย้อนหลัง2555)พ.ร.บ.ความมั่นคง


พ.ร.บ.ความมั่นคง
บทความ วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 11:50น.
417233
น่าสนใจติดตาม ผลจากวงประชุม "หน่วยงานด้านความมั่นคง" (10 พ.ย. 55) เพื่อประเมินสถานการณ์การชุมนุมของ"องค์การพิทักษสยาม" วันที่ 24 - 26 พ.ย. 55 ที่มีการประกาศเข้าร่วมจากหลายองค์กร รวมถึงพันธมิตรประชาชนเพื่อประขาธิปไตย เพื่อสรุปว่า จะประกาศใช้ "พ.ร.บ.ความมั่นคง" หรือไม่
โดยเฉพาะการประเมินจากหน่วยงานด้านการข่าว อย่าง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และกองบัญชาการตำรวจสันติบาล ว่า ข้อมูลที่ได้รับ เพียงพอที่รัฐบาลจะต้องมีการใช้ "กฎหมายพิเศษ" เพื่อเตรียมพร้อมและรองรับสถานการณ์ หากเกิดเหตุการณ์วุ่นวาย หรือความรุนแรงเกิดขึ้นหรือไม่ โดยในเบื้องต้น มีการเตรียมแผนกรกฎ และ พ.ร.บ.ความมั่นคง ไว้
น่าสนใจว่า ภายใต้ขอมูลฝ่ายรัฐ โดย เลขาฯสมช. ก่อนหน้า รวมถึงข้อมูลจากรัฐมนตรีแดง มักออกไปในท่วงทำนอง"น่าจะมีสถานการณ์ความรุนแรง" .. มีการอ้างถึงการจับตา "มือที่สาม" ที่จะทำให้สถานการณ์ การชุมนุม นำไปสู่การบานปลายรุนแรง ว่ามีอยู่ 3 กลุ่ม ที่เหตุผลส่อไปในทางจำเป็นที่ต้องใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ในขณะที่ฝ่ายกองทัพ"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ผบ.ทบ. ไม่เห็นด้วยว่า สถานการณ์มีเหตุผลถึงระดับที่ต้องใช้กฎหมายนี้ (18 พ.ย. 55)
น่าสนใจว่า มักมีการให้ข้อมูลที่ออกไปในแนวทางรุนแรง และเชื่อมโยงไปถึงเบื้องสูง รวมไปถึง การให้ข้อมูลที่ระบุอ้างถึง "แผนการ" ของฝ่ายการเมืองตรงข้ามรัฐบาล ในการสะสมกำลัง ทั้ง "มวลชน" และ "กองกำลังอำาจแฝงของรัฐ" ที่หมายตาไปที่ กำลังพลของกองทัพในกองทัพ และกำลังพลของ "นายทหาร" นอกกองทัพ
น่าสนใจว่า ในขณะที่มีการให้ข้อมูลเหล่านี้ และการแสดงท่าทีกังวลต่อการมาชุมนุมของมวลชนจำนวนมาก ที่อาจกระทบกระทั่งอีกฝ่าย ทางด้าน "มวลชนแดง" ที่สนับสนุนรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเอง กลับมีการเคลื่อนไหวแสดงพลังคัดค้านการนัดชุมนุมของ "องค์การพิทักษ์สยาม" ของ "พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์" หรือ "เสธ.อ้าย" กันอย่างคึกคัก ตามหัวเมืองรอบๆ กรุงเทพฯ และมีแผนที่จะเคลื่อนไหวทั่วประเทศตามหัวเมืองใหญ่แต่ละภาค ในท่ามกลางข่าวการสั่งการไปยัง ผู้ว่าฯ นายอำเภอ สกัดไม่ให้มวลชนชาวบ้านเข้ามาชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยาม
น่าสนใจว่า แม้ทางหนึ่งการขยับของฝ่ายรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ พ.ร.บ.ความมั่นคง หรือมวลชน ไม่ว่าเจตนา จะเป็นการบลัฟ หรือปราม ทั้งต่อบุคคลที่อยู่เบื้องหลัง และเบื้องหน้า "องค์การพิทักษ์สยาม" และต่อ มวลชนผสมพันธมิตร และมวลชนการเมือง หรืออะไรก็ตาม แต่ในทางหนึ่งอาจถูกมองว่า ก็หมิ่นเหม่นำไปสู่ "เงื่อนไข" สงครามประาชน ในสถานการณ์นี้เช่นกัน
อย่าลืมว่า พ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ศ.2551 ที่ก่อเกิดในรัฐบาล "พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์" เคยถูกใข้อย่างเข้มข้นมาแล้ว ในรัฐบาล "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ที่มี "สุเทพ เทือกสุบรรณ" เป็นรองนายกฯด้านความมั่นคง (23 มี.ค. 53)
โดยเฉพาะในมาตรา 18 ที่ให้อำนาจรัฐสามารถห้ามบุคคลใดๆ ในการกระทำการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้า หรือออกอาคารสถานที่ต่างๆ หรือแม้กระทั่งสั่งห้ามใช้เส้นทางในการคมนาคม โดยครั้งนั้น นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลที่ใช้ พ.ร.บ.นี้ ซึ่งส่งผลให้ทั้งทหารและตำรวจจำนวนมาก เข้ารักษาการณ์ ณ ถนนต่างๆ รวมทั้งด้านหน้ารัฐสภา พร้อมทั้งตั้งรั้วลวดหนาม และเครื่องกั้นคอนกรีตไว้อย่างหนาแน่น จนถูกมองว่าเกินกว่าเหตุ กระทั่ง สถานการณ์นำไปสู่การท้าทายเคลื่อนไหวของเสื้อแดง กระทั่งเดินไปสู่เหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ 2553" จลาจลเผากรุงเทพฯ
การประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ของรัฐบาล อาจถูกตั้งคำถามมากมายว่ากำลังใช้ "เครื่องมือในการขจัดศัตรูทางการเมือง" ด้วยการป้องกันการชุมนุมคัดค้านรัฐบาลโดย "เจ้าของอำนาจอธิปไตย" เอง แบบรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ที่ตนเองและมวลชนแดง ตอนนั้นก็เคยไม่เห็นด้วยหรือไม่
เพราะโดยสภาพแล้ว กฎหมายดังกล่าวเอื้อต่อรัฐบาลในการประกาศใช้ เพียงเพราะข้ออ้างที่ว่า "กรณีรัฐบาลจำต้องรักษาความสงบเรียบร้อย" หรือ "กรณีรัฐบาลจำต้องรักษาความมั่นคงภายใน" อันเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ยากอยู่แล้ว ว่าเมื่อใดเราจะถือได้ว่าเป็นกรณีกระทบกับความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของประเทศ
ไม่แปลกที่เวลารัฐบาลที่ผ่านมา เมื่อมีการใช้กฎหมายนี้ จะถูกมองว่า ทำลาย "เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน"และที่สุด มักได้รับกระทบทางการเมือง แต่กว่าจะถึงจุดนั้น ประชาชน บ้านเมือง ก็บอบช้ำ เจ็บ-ตาย จากสถานการณ์ไปเรียบร้อยแล้วทุกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น: