PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

(ย้อนหลัง)ธง - สัญญาณ 2 ขั้วอำนาจ


ธง - สัญญาณ 2 ขั้วอำนาจ
บทความ วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ.2556 15:18น.
426803
ก้าวย่างเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 เปิดทำงานศักราชใหม่ ที่มีหลายเรื่องใหม่ ๆ ในนโยบายรัฐบาล ซึ่งขีดเส้นเริ่มในปีใหม่ อันส่งผลกระทบกับชีวิตปากท้องของคนไทย ไม่ว่าจะเป็น ค่าแรง 300 บาท ที่มีผลทันทีทุกจังหวัด กระทบต่อหลายผู้ประกอบกิจการ ต้องปิดกิจการเลิกจ้าง ฯลฯ จนเดือดร้อนกันไป
ขณะที่ทางด้านค่าครองชีพ ปากท้อง ปรากฏว่า มีการขึ้นค่าโน่นนี่ หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น อาหารการกิน ค่าไฟ ที่เพิ่มขึ้น ค่ากินค่าอยู่ ค่ารถค่าลา จิปาธะ ที่เริ่มมีการลักไก่ผสมโรง ขึ้นกันตั้งแต่เปิดทำงานกันเลยทีเดียว ทำเอาทีมงานนายกฯ ต้องออกทีวีแจงกันอุดตลุด
ทว่า พอเข้าสู่ไทม์ไลน์ในสัปดาห์ที่ 2 ของปีใหม่ 56 ก็ฮอตขึ้นมาอีกโหมด หนนี้ ว่าด้วย "การเมือง" ที่ไม่นับ เรื่องวุ่น ๆ ละครกับการเมือง กรณี ละครเหนือเมฆ ช่อง 3 นั่นคือ ทริปของพรคเพื่อไทย ในการไปหาข้อสรุป ที่ไม่มีข้อสรุป จากปมที่ค้างตั้งแต่ปีที่แล้ว ว่าด้วยวิธี กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อันเป็น "ธง" ของพรรคที่รับปากไว้กับมวลชนคนเสื้อแดง
ที่ยังไม่นับรวม กรณีท่าที เขาพระวิหาร ที่ทิ้งทุ่นชิมลางกันไว้ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดย "คำนูณ สิทธิสมาน" ก่อนจะถูกนำมา "เปิดหัว"  ในต้นสัปดาห์ผ่านที่ประชุมวุฒิ วันนี้ (7ม.ค.56) และสอดรับทิศทาง กับการออกมา ทั้งการแถลงจุดยืนของพันธมิตร และการขานรับจากกลุ่มเคลื่อนไหวการเมือง สาย "น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ" ที่เคยชู "เสธ.อ้าย" ออกมาประกาศ "แช่แข็งประเทศไทย" จนถูกฝ่ายตรงข้ามตีโต้ ที่วางไลน์ไว้แล้วว่า จะมีการนัดชุมนุมใหญ่ ขับไล่รัฐบาล"ยิ่งลักษณ์" กันแต่หัววันของปีนี้กันเลยทีเดียว (21ม.ค.56)
ไม่นับรวมก่อนหน้าที่มีการกำหนดประเด็นเนื้อหา สถานการณ์อันสุ่มเสี่ยงทางการเมืองจากฝ่ายสังเคราะห์ทางการเมืองของขั้วข้างกลุ่มอำนาจฝ่ายตรงข้ามอำนาจรัฐ ที่นอกเหนือจาก กลุ่มพันธมิตร ที่เต็มไปด้วย "ธง-สัญญาณ"  ท่ามกลางการปฏิบัติการตีโต้ในจุดต่าง ๆ เพื่อช่วงชิงพื้นที่ และความชอบธรรมระหว่างกัน ไม่นับรวม ปรากฏการณ์ เล่นงาน"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" และ "ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัฒน์" ผู้ว่าฯกทม. ที่กำลังจะหมดวาระ 10 ม.ค.56 และถูกวางตัวลงสมัครใหม่อีกครั้ง แต่หัววันเช่นกัน
สำหรับประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ นั้น ไม่ควรลืมว่า รัฐบาลเพื่อไทย ลุยเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 มาตั้งแต่รับหน้าที่ เพื่อเปิดทางให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โละทิ้งรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่มองว่า เป็นมรดกเผด็จการ ยุค "คมช."
กระทั่ง มีการผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา สามารถผนึกเสียงสมาชิกวุฒิสภา โหวตผ่านวาระ 2 ฝ่าแนวต้านจากฝ่ายค้าน และม็อบนอกสภามาได้ จนมาสะดุดอยู่ในช่วงทิ้งระยะไว้ 15 วัน ก่อนลงมติวาระ 3 เมื่อมีผู้ไปร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ถือเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ จนมีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า ไม่ถือเป็นการล้มล้างการปกครอง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา เป็นอำนาจของรัฐสภา แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ควรต้องทำประชามติสอบถามความเห็นของประชาชนก่อน
นี่เอง เป็นเหตุให้รัฐบาลไม่กล้าโหวตลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 วาระ 3 ที่ค้างอยู่ในรัฐสภา เพราะเกรงจะถูกยื่นตีความว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจส่งผลให้ถูกยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งและรัฐบาล อาจไม่รอด....
รัฐบาล จึงตั้งคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลขึ้นมาศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่มี นายโภคิน พลกุล ที่ปรึกษานายกฯ เป็นประธาน โดยได้ข้อสรุปว่า ต้องเดินหน้าโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 วาระ 3 ที่ค้างอยู่ในรัฐสภา เพื่อเปิดทางให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
แต่ก็สะดุดที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกฯ ที่ส่งสัญญาณให้ใช้วิธี ทำประชามติก่อนโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 วาระ 3 จนมีการรณรงค์กันแนวนี้ กระทั่ง สะดุดอีก เมื่อมีผู้ทักท้วงว่า อาจมีปัญหาใน มาตรา 165 เอง และมี แกนนำรัฐบาลบางคนเสนอให้กลับไปใช้แนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา
กาลดำเนินไปแบบนี้ สลับกลับไปกลับมาแบบไม่มีข้อสรุป แม้กระทั่งหนล่าสุด กับการประชุมใหญ่พรรคเพื่อไทยที่เขาใหญ่ (7ม.ค.) ก็ไม่มีการเคาะสรุปแบบ "ฟันธง" เช่นเคย จนเริ่มมีท่าทีไม่พอใจกันเองภายในระหว่างสายเพื่อไทย กับ สาย นปช.
กระทั่ง เป็นอีกครั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาส่งสัญญาณ ธงการขับเคลื่อนการเมือง ผ่านช่องสื่อกระส และพยายามเบียดแทรกเข้าไปให้ กระแสยอมรับผ่านองค์กรต่าง ๆ มากขึ้นแบบเจตนาขัดหวังผล หลังเคยปรากฏแว่บ ๆ ผ่าน ช่อง 11 ช่วงปลายปีที่ผ่านมา
"ทักษิณ" ส่งสัญญาณ ประหนึ่งมั่นใจอะไรบางอย่างว่า การเมืองปีนี้จะ "ตกผลึก" และมี "ข้อสรุป" บางอย่างกับ ปมขัดแย้งที่ผ่านมา เขาเชื่อว่า จะมีการ "ชนะ อย่างเด็ดขาด" ของฝ่ายเขาต่อพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามด้วยการที่ประชาชนรู้และเข้าใจ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถทำอะไรเขาได้
ซึ่งสัญญาณแบบนี้ คล้ายเหมือนการแสดงความมั่นใจ จนฝ่ายตรงข้ามสะดุดหูของ "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" ที่พูดในงานเลี้ยงปีใหม่ที่ประกาศว่า ลูกสาว จะดองกับลูกชายนักการเมืองกัมพูชา ว่า มั่นใจ ทุกอย่างจะสรุป และรัฐบาลเพื่อไทย จะอยู่ยาวไปอีกไม่ต่ำกว่า 4 ปี แน่
ส่วนประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ "ทักษิณ" ยังยืนยันว่า ทางออกจากความขัดแย้งของรัฐบาลคือ ต้องทำประชามติให้ประชาชนเป็นฝ่ายตัดสิน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปรองดองของประเทศ และไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ดังนั้น ปีนี้จะเป็นเรื่องของกระแสการทำประชามติ และปลดล็อกคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ แม้กระนั้น เขาก็แสดงท่าที ห่วง ปมการสร้างเงื่อนไขให้ ทหาร ออกมาร่วมเล่นของอีกฝ่าย ทั้งเงื่อนไข เรื่องชาติ (เขาพระวิหาร) และสถาบัน (กรณีแกนนำแดง) ที่อาจส่งผลให้กลับเข้าสู่วงจรเดิม
ทั้งหมดจึงเป็น ไทม์ไลน์ และ ไซน์ "สัญญาณ" และ "ธง" ของ ทั้งสองฝ่ายคู่ขัดแย้งทางการเมือง ที่น่าติดตามยิ่งในสารพัดปรากฏการณ์และผลกระทบในห้วงถัดไปจากนี้

ไม่มีความคิดเห็น: